วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สำรองข้อมูล Windows Server หรือ Client ไปยัง Microsoft Azure ด้วย Azure Backup (MARS) Agent Part 3

     สวัสดีครับทุกท่าน มาต่อกันที่ Part 3 กันเลยครับ ไปที่ขั้นตอนต่อไปกันเลยครับผม

ขั้นตอนที่ 4: ทำการสำรองข้อมูล
มาถึงขั้นตอนนี้ให้ท่านผู้อ่านกลับไปยัง Windows 10 ที่ได้ทำการติดตั้งและรีจีสเตอร์ไว้ก่อนหน้านี้  จากนั้นให้ทำการเปิดหรือเรียก Microsoft Azure Recovery Services Agent (ที่ผมได้หยุดเอาไว้ก่อนหน้านี้ครับ)  ดังรูป



รูปด้านบนคือหน้าตาของ Microsoft Azure Backup ที่ได้ทำการติดตั้งไปครับ ในขั้นตอนต่อมา ผมจะทำการกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนของ Schedule Backup ครับ ดังนั้นให้คลิ๊กที่ Schedule Backup ครับ จะเข้าสู่ในส่วนของ Getting Started จากนั้นให้คลิ๊ก Next ครับ



ต่อมาในรูปด้านล่าง  จะเป็นส่วนของ Select Items to Backup จะเป็นส่วนที่ให้เราทำการกำหนดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการสำรองข้อมูลครับ  ดังนั้นให้ท่านผู้อ่านเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการสำรองข้อมูลได้เลยครับ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิ๊ก Next ครับ

ในส่วนของ Specify Backup Schedule จะเป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดตารางหรือ Schedule ที่จะทำการสำรองข้อมูลครับ โดยจากตัวอย่างนี้ผมขอใช้ค่าดีฟอลต์นะครับ ดังรูป


ในส่วนของ Select Retention Policy คือ การกำหนดให้ Azure Backup ทำการเก็บรักษาข้อมูลไว้นานเท่าไรครับ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิ๊ก  Next ครับ
ในส่วนของ Choose Initial Backup Type ให้คลิ๊ก Next ต่อไปเลยครับ


จากนั้นในส่วนของ Confirmation ให้คลิ๊ก Finish ครับ

จากนั้นให้รอซักครู่ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฏหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ

ให้คลิ๊ก Close ครับ  จากนั้นก็รอเวลาที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ครับ เมื่อถึงเวลา Azure Backup ก็จะเริ่มทำการสำรองข้อมูลจากเครื่อง Windows 10 ของผมไปเก็บไว้บน Microsoft Azure ครับ  สำหรับในกรณีที่ท่านผู้อ่านไม่ต้องการกำหนด Schedule แต่ต้องการให้ทำการสำรองข้อมูลเลย ก็สามารถทำได้โดยเลือก Backup Now ดังรูปด้านล่างครับ


และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวต่างๆ ของการสำรองข้อมูลจาก Windows Server หรือ Client ไปเก็บไว้บน Microsoft Azure ซึ่งเป็น Solution หนึ่งของ Azure Backup ครับ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถสร้างและกำหนดค่าต่างๆ ได้อย่างง่ายดายครับ  สุดท้ายผมอยากให้ท่านผู้อ่านไปทดลองใช้งาน Azure Backup กันดูครับผม…..

สำรองข้อมูล Windows Server หรือ Client ไปยัง Microsoft Azure ด้วย Azure Backup (MARS) Agent Part 2

     สวัสดีครับทุกท่าน มาต่อ Part 2 กันครับ สำหรับเรื่องราวของการสำรองข้อมูล Windows Server หรือ Client ไปยัง Microsoft Azure Backup (MARS) และมาดูขั้นต่อไปกันเลยครับผม


ขั้นตอนที่ 3: ทำการติดตั้งและรีจีสเตอร์ Agent
โดยขั้นตอนจะมาทำที่เครื่อง Windows 10 ของผมครับ โดยจะเริ่มการติดตั้ง Recovery Services Agent ที่ได้ทำการดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้ครับ โดยให้ทำการดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์ MARSAgentInstaller ครับ 


จากนั้นจะเข้าสู่การติดตั้ง Recovery Services Agent ดังรูปด้านล่าง จากนั้นให้คลิ๊ก Next ครับ


ในส่วนของ Proxy Configuration ให้คลิ๊ก Next ต่อไปเลยครับ


 ในส่วนของ Microsoft Update Opt-In ให้คลิ๊ก Next ครับ


จากนั้นในส่วนของ Installation ให้คลิ๊ก Install ครับ

จากนั้นให้รอซักครู่ครับกระบวนการติดตั้ง Recovery Services Agent  เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะปรากฎหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ

จากนั้นให้คลิ๊กปุ่ม Proceed Registration เพื่อทำการรีจัสเตอร์เครื่อง Windows 10 ของผมกับ Azure Backup ครับ  จากนั้นจะเข้าสู่ในส่วนของ Vault Identification ดังรูปด้านล่างครับ


จากนั้นให้ทำการกดปุ่ม Browse เพื่อหาไฟล์ Vault Credential ที่ได้ทำการดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้ครับ แล้วคลิ๊ก Next ครับ ในส่วนของ Encryption Setting จะให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดหรือจะให้สร้าง Passphrase เพื่อทำการเข้าและถอดรหัสสำหรับการสำรองข้อมูลครับ สำหรับตัวอย่างนี้ผมให้ทำการสร้าง Passphrase ขึ้นมาให้ผมครับ โดยการกดปุ่ม Generate Passphrase และให้กำหนดที่ที่จะเก็บด้วยครับ ดังรูปด้านล่างครับ

ให้คลิ๊ก Finish ครับ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการรีจีสเตอร์ ดังรูปด้านล่างครับ


จากนั้นให้รอซักครู่ครับ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าตาดังรูปครับ

จากนั้นให้หยุดไว้ที่หน้าจอนี้ก่อนครับ  ให้ท่านผู้อ่านกลับไปที่ Azure Portal  แล้วไปที่ MANAGE ให้คลิ๊กที่ Backup Infrastructure ดังรูปครับ
  จากนั้นให้คลิ๊กที่ Protected Server >  ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นว่าในส่วนของ Azure Backup Agent มีค่าเป็น 1 (PROTECTD SERVER COUNT)  ให้คลิ๊กที่ Azure Backup Agent  ดังรูปด้านล่าง

จากนั้นจะเห็นเครื่องของผมที่ได้มีการติดตั้งและรีจีสเตอร์ตามขั้นตอนต่างๆ ก่อนหน้านี้ ดังรูปด้านล่างครับ
โปรดติดตามกันต่อใน Part 3 ครับผม.....

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สำรองข้อมูล Windows Server หรือ Client ไปยัง Microsoft Azure ด้วย Azure Backup (MARS) Agent Part 1

    
     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน บทความตอนนี้ของผมเป็นเรื่องราวของการสำรองข้อมูลโดยใช้ Microsoft Azure Backup โดยบทความนี้ผมจะเน้นไปที่ขั้นตอนและวิธีการสำรองข้อมูลจากเครื่อง Windows Server หรือ Client ไปเก็บไปยัง Microsoft Azure ซึ่งการสำรองข้อมูล จากเครื่อง Windows Server หรือ Client นี้เป็น Solution หนึ่งที่ Microsoft Azure สามารถทำได้ครับ สำหรับรายละเอียดของ Solutions ต่างๆ สามารถติดตามได้จากบทความของผมก่อนหน้านี้ครับ  สำหรับรูปด้านล่างเป็นภาพรวมซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ Azure Backup สำรองข้อมูลจากเครื่อง Windows Server หรือ Client ไปเก็บไปยัง Microsoft Azure ครับ


สำหรับ Solution นี้เรียกว่า Azure Backup (MARS) Agent  เป็น Solution ที่มีความง่ายต่อการใช้งานและมีคล้ายคลึงกับ Windows Server Backup โดยท่านผู้อ่านสามารถทำการกำหนด Schedule, เลือก Files หรือ Folders ที่ต้องการ Backup ได้ และหากต้องการ Backup ข้อมูลเครื่องไหนก็ให้ทำการติดตั้ง  Azure Backup (MARS) Agent ลงไปที่เครื่องดังกล่าว และทำการ Import Azure Backup/Recovery Vault
จากนั้นก็ทำการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ Backup รวมถึงการกำหนด Schedule อย่างที่แจ้งไว้ในข้างต้นครับ  เพราะฉะนั้น Solution นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่เยอะมากครับ  เอาล่ะครับเรามาเริ่มดำเนินการกันเลยครับ  โดยผมจะทำการสำรองข้อมูลจากเครื่อง  Windows 10 ของผมไปเก็บไว้ที่ Microsoft Azure ครับ
ขั้นตอนที่ 1: ทำการสร้าง Recovery Service Vault
โดยให้ท่านผู้อ่านไปที่  Azure Portal ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊กที่ More services >   แล้วพิมพ์คำว่า Recovery ดังรูปด้านล่างครับ

เลือก   Recovery Service Vaults ครับ แล้วคลิ๊กปุ่ม + Add ดังรูปครับ

จากนั้นทำการใส่ข้อมูลต่างๆ   เช่น Name, Subscription, Resource Group และ Location สำหรับการสร้าง Recovery Service Vault แล้วกดปุ่ม Create ครับ ดังรูป

อธิบายเพิ่มเติมสำหรับข้อมูลต่างๆ ที่ใส่เข้าไป ดังนี้ครับ
Name  คือ ชื่อของ Vault ซึ่งต้องไม่ซ้ำกันใน Azure Subscription สามารถตั้งชื่อได้อย่างน้อย 2-50 ตัวครับ โดยสามารถเป็นตัวอักษร, ตัวเลข, และ Hyphens
Subscription  คือ Azure Subscription ที่ใช้งานอยู่
Resource Group  คือ จะเก็บ Resource Service Vault ที่ Resource Group ไหน หรือสร้าง Resource Group ใหม่
Location  คือ Geographic Region หรือ ที่ที่ข้อมูลที่ถูกแบ็คอัพจะไปเก็บไว้ที่นั่น ซึ่งแนะนำว่าให้เลือกที่ใกล้เรามากที่สุดครับ เพื่อลดเรื่องของ Network Latency เมื่อทำการสำรองข้อมูล
จากนั้นให้รอซักครู่ครับ ท่านผู้อ่านจะเห็น Resource Group ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อทำการสำรองข้อมูล ดังรูปด้านล่างครับ


ขั้นตอนที่ 2: ทำการดาวน์โหลด Recovery Services Agent
จากนั้นให้คลิ๊ก Wisit-Surface-Vault (Resource Group) จากนั้นให้ไปในส่วนของ GETTING STARTED แล้วคลิ๊กที่ Backup ดังรูปด้านล่าง

จากนั้นในส่วนของ Backup goal Select > ให้กำหนดค่าต่างๆ ดังรูปด้านล่างครับ แล้วกดปุ่ม OK ครับ


จากนั้นในส่วนของ Prepare infrastructure Instructions ให้ทำการดาวน์โหลด Recovery Services Agent ดังรูปด้านล่าง

จากนั้นให้ทำการดาวน์โหลด Vault Credential ดังรูป จากนั้นคลิ๊ก OK ครับ  *Vault Credential จะใช้สำหรับการรีสจีสเตอร์เครื่องที่ต้องการสำรองข้อมูลกับ Microsoft Azure

ยังไม่จบนะครับ โปรดติดตาม Part 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เครื่องมือช่วยในการ Convert Physical & Virtual Machine ไป Hyper-V หรือ Microsoft Azure

    
     สวัสดีครับทุกท่าน  สืบเนื่องมาจากช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสได้ไปพบลูกค้ารวมถึงได้สอน Course เกี่ยวกับ Microsoft Azure ผมได้เจอคำถามที่ลูกค้ามักจะถามคือ  Microsoft มีเครื่องมือสำหรับการ Convert จาก Physical Machine ไปเป็น Virtual Machine (Hyper-V) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "P2V" หรือการ Convert จาก Virtual Machine (VMWare) ไปเป็น Virtual Machine (Hyper-V)  หรือเรียกสั้นๆ ว่า การทำ "V2V"และสามารถทำการ Convert  Virtual Machine ที่อยู่ใน On-Premise Datacenter ขึ้นไปเป็น Virtual Machine บน Microsoft Azure หรือไม่  คำตอบที่ผมได้ตอบลูกค้าไปคือมีครับ  โดยเครื่องนั้นลูกค้าสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานฟรีๆ เลยครับผม  และจากคำถามนี้จึงเป็นที่มาของบทความตอนนี้ซึ่งจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องมือหรือ Tools ตัวนึงของทาง Microsoft ที่ได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องครับ โดย Tools ตัวนี้มีชื่อว่า "Microsoft Virtual Machine Converter 3.0" หรือผมขอเรียกสั้นๆ ว่า MVMC นะครับ

 โดย MVMC เป็น Microsoft -Supported, Stand-Alone Solution และยัง support  Windows PowerShell โดยสามารถทำ Scripting และยังทำการ Integration กับ Data Center Automation Workflows เช่น System Center 2012 R2 Orchestrator เป็นต้น  เราสามารถใช้ MVMC ทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ครับ 

- ทำการ Convert Virtual Machines และ Disks จาก VMware Hosts ไปยัง Hyper-V   และ Microsoft Azure (V2V)
- ทำการ Convert จาก Physical Machines (ที่เป็น Windows Server 2008 R2 ขึ้นไป) และ Disks
  มาเป็น VMs ใน Hyper-V Hosts  (P2V)  *เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาในเวอร์ชั่น 3.0 นี้ครับ

สำหรับเจ้า MVMC นั้นทำการติดตั้งและใช้งานได้อย่างง่ายดายมากครับ เพราะถ้าเป็นแต่ก่อนถ้าผมต้องการทำ P2V ผมต้องใช้ System Center 2012 Virtual Machine Manager ครับ และต้องใช้เวลาในการติดตั้งและกำหนดค่าต่างๆ พอสมควร  แต่พอมาเป็นเวอร์ชั่น System Center 2012 R2 ฟังกชั่นการทำ P2V ไม่มีแล้วครับ 

ดังนั้นจึงทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าต้องการทำ P2V โดยใช้ Tools ของ Microsoft จะใช้อะไร?  ซึ่ง ณ เวลานี้มีคำตอบแล้วครับคือ ใช้ MVMC นี่แหละครับ  ข้อดีของ MVMC อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นคือ มันเป็น Stand-Alone Solution ครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถทำการติดตั้งและใช้งานได้เลยครับผม

ท่านผู้อ่านสามารถทำการดาวน์โหลด MVMC 3.0 ได้จาก Link นี้ครับ  http://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=42497  เมื่อดาวน์โหลดมาเรียบร้อยแล้ว จะได้มาทั้งหมด 3 ไฟล์ครับ ดังรูป




จากนั้นเริ่มติดตั้ง MVMC กันเลยครับ ให้ท่านผู้อ่านทำการดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ชื่อว่า mvmc_setup ครับ  จากนั้นจะมี Wizard สำหรับการติดตั้งปรากฏขึ้นมาดังรูปครับ


จากนั้นให้คลิ๊ก Next ต่อไปได้เลยครับ จากนั้นในส่วนของ End-User License Agreement ให้คลิ๊ก Check Box, I accept the terms in the License Agreement แล้วคลิ๊ก Next ต่อไปได้เลยครับ

ในส่วนของ Destination Folder ให้คลิ๊ก Next เลยครับ ดังรูป

จากนั้นให้คลิ๊ก Install ดังรูปด้านล่างครับ

จากนั้นจะเริ่มเข้าสู่การติดตั้ง MVMC 3.0 ครับ ดังรูป

จากนั้นให้รอสักครู่ครับ การติดตั้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ดังรูปครับ


จากนั้นเราสามารถเรีย MVMC 3.0 ขึ้นมาใช้งานได้เลยครับผม ดังรูปด้านล่างครับ



ส่วนอีกรูปด้านล่างคือ Options ให้เราเลือกครับว่าจะทำ V2V หรือ P2V ครับ


ส่วนรายละเอียดรวมถึงวิธีการต่างๆ  นั้น  ท่านผู้อ่านสามารถดูเพิ่มเติมได้จากเอกสารที่ได้มาจากตอนที่เราดาวน์โหลด MVMC 3.0 ครับผม  ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถทำได้ด้วยตัวเองครับ ดังรูป

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ MVMC 3.0 ที่เป็น Tools ที่ทาง Microsoft เพิ่งจะออกมาให้เราใช้งานกันครับ  อยากให้ท่านผู้อ่านลองเล่นและทดสอบดูกันครับผม…..