วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

Automating Azure Virtual Machine Start/Stop

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของ Microsoft Azure ในส่วนของ Azure Virtual Machine หรือ Azure VM ครับ โดยที่มาที่ไปของบทความนี้สืบเนื่องมาจากลูกค้าของผมได้สอบถามผมเกี่ยวกับ แนวทางตลอดจนวิธีการกำหนด Schedule Start/Stop ให้กับ Azure Virtual Machine โดยอัตโนมัติว่าสามารถทำได้หรือไม่ และทำอย่างไรครับ สำหรับคำถามดังกล่าวนี้ ผมได้ตอบกลับไปว่าสามารถทำได้ครับ และมีหลากหลายวิธีที่สามารถเลือกใช้ได้ครับ และในบทความนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ครับ

ซึ่งจากจุดนี้เอง ผมจึงคิดว่าคำถามนี้น่าจะทำมาถ่ายทอดโดยการนำเสนอเป็นบทความให้กับท่านผู้อ่านที่ติดตาม WT Blog ของผม ได้ทราบกันด้วยครับ และโดยส่วนตัวผมเชื่อว่าจากคำถามดังกล่าวที่ลูกค้าได้สอบถามผมมานั้นน่าจะมีท่านผู้อ่านที่ใช้ Microsoft Azure อยู่ อาจจะมีความต้องการที่จะทำแบบเดียวกันก็เป็นได้ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

เริ่มต้นกันที่ Azure Portal ครับ จากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Create Resources แล้วพิมพ์คำว่า  Automation Account ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้กด Enter แล้วตามคลิ๊ก Create ครับ หลังจากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Automation  ดังรูปครับ




สำหรับขั้นตอนต่อมาจะเป็นการสร้าง Automation Account ซึ่งให้ท่านผู้อ่านกำหนดค่าต่างๆ ตามรูปด้านล่างครับ




เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิ๊ก Create และรอซักครู่ครับ หลังจากนั้นให้ท่านผู้อ่านไปคลิ๊กที่ Automation Account ที่ได้สร้างตามขั้นตอนข้างต้น ดังรูปครับ




จากนั้นให้คลิ๊กที่ Runbooks ตามรูปครับ




จากนั้นให้คลิ๊ก Browse Gallery ดังรูปด้านล่างครับ




ให้คลิ๊ก Stop Azure V2 VMs จาก Gallery ดังรูปครับ




แล้วคลิ๊ก Import ดังรูปครับ




แล้วคลิ๊ก OK ครับ จากนั้นให้รอซักครู่ครับ  เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้ท่านผู้อ่านกลับไปที่ Runbook ที่ได้สร้างจาก Gallery เมื่อซักครู่ แล้วคลิ๊กที่ Runbook ดังกล่าว ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้คลิ๊ก Edit  ดังรูปด้านล่างครับ




แล้วคลิ๊กที่ Publish ดังรูป



จากนั้นคลิ๊ก Yes ครับ แล้วรอซักครู่สำหรับกระบวนการ Publish Rubook ที่ได้สร้างขึ้นมาครับ จากนั้นให้คลิ๊กที่ Schedule แล้วคลิ๊ก Add a Schedule ดังรูป



จากนั้นให้คลิ๊ก Schedule, Link a Schedule to your runbook ตามด้วย Create a new schedule เพื่อทำการกำหนดเวลาหรือ Schedule ที่ต้องการให้ Runbook ที่ได้สร้างก่อนหน้านี้ทำงานครับ ดังรูปด้านล่างครับ




เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิ๊ก Create แล้วรอซักครู่ครับ จากนั้นให้ไปคลิ๊กที่ Parameters and run settings, Configure parameters and run settings จากนั้นในส่วนของ Parameters ให้ท่านผู้อ่านกำหนดชื่อของ Resourc Groups, Azure VMs ที่ต้องการ ดังรูป




จากนั้นให้คลิ๊ก OK 2 ครั้งครับ มาถึงตรงนี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นสำหรับกระบวนการกำหนด Schedule เพื่อทำการ Stop Azure VM ตามเวลาที่กำหนดแล้วครับ สำหรับในส่วนของการกำหนด Schedule เพื่อทำการ Start Azure VM นั้นก็ใช้ขั้นตอนเดียวกันครับ แตกต่างกันตรงที่ตอนที่เลือก Template จาก Gallery เท่านั้นครับ เป็นไงบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่มั๊ยครับ ลองไปทดสอบกันดูนะครับ และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการ Automating Azure Virtual Machine Start/Stop ครับผม…..




วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Budgets

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับทความนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับฟีเจอร์ใหม่ใน Micrsoft Azure ซึ่งโดยส่วนตัวผมอยากให้มีฟีเจอร์นี้มาตั้งนานแล้วครับ ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของผมเองที่ใช้ Microsoft Azure อยู่ก็มีความต้องการอยากให้ Microsoft Azure มีฟีเจอร์ที่ว่านี้ครับ

ผมขอเริ่มต้นที่ เมื่อองค์กรหรือออฟฟิศของท่านผู้อ่านได้ทำการสร้าง Resources ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Azure Virtual Machines, Azure Virtual Network, Azure Storage, และอื่นๆ ภายใน Resource Groups บน Microsoft Azure ขึ้นมาใช้งานไม่ว่าจะใช้สำหรับ Production หรือสำหรับ Developing/Testing ก็ตาม  หลังจากนั้นได้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการดูแล Resource Groups ซึ่งภายในประกอบไปด้วย Resources ต่างๆ ให้กับแต่ละหน่วยงานนั้นๆ สิ่งที่ผู้ดูแลระบบกังวลก็คือ ผู้ที่ดูแล Resource Groups นั้นอาจจะเข้าไปทำการสร้าง Resources ต่างๆ เพิ่มเติม และ Resources ดังกล่าวนั้น อาจมีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องของการจัดการและการควบคุมค่าใช้จ่ายอีกด้วย

ผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมนะครับ สำหรับในกรณีที่องค์กรนั้นๆ มีทีม Developer และต้องการ Dev/Test Environment สำหรับใช้ในการพัฒนาและทดสอบแอพพิเคชั่น ซึ่งแน่นอนท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ดูแลระบบสามารถสร้าง Dev/Test Environment บน Microsoft Azure เพื่อให้ทีม Developer เข้าไปจัดการและทำงานต่างๆ ได้ แต่สิ่งที่น่ากังวลและเป็นความเสี่ยงคือ หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้ทำการสร้าง Resource Group ตลอดจน Resources ต่างๆ สำหรับ Dev/Test Environment ตามที่ทางทีม Developer ต้องการเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นทางทีม Developer ได้ไปจัดการและทำงานต่างๆ และมีความเป็นไปได้ในเวลาต่อมาทางทีม Developer จะทำการสร้าง Resources ต่างๆ บน Microsoft Azure เพิ่มเติม และมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ Resources ที่สร้างขึ้นมานั้ มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งจะส่งผลกับเรื่องของเครดิตของ Azure Subscription ในองค์กรนั้นทันที ปัญหาดังกล่าวนี้จะจัดการได้อย่างไร สิ่งที่ผู้ดูแลระบบต้องการคือ การจำกัดหรือ Limit การใช้งาน Resources ต่างๆ ให้กับแต่ละทีมหรือหน่วยงานที่เข้ามาใช้งาน Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure ตลอดจนการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้งาน Resources เกินกว่าที่กำหนดไว้ และนี่คือคำถามและความต้องการที่ลูกค้าที่ใช้งาน Microsoft Azure ต้องการแนวทางหรือ Solution ในการแก้ไขครับ เพราะที่ผ่านมาใน Microsoft Azure ไม่สามารถกำหนด Limit และ Alert ตามที่ลูกค้าต้องการได้เลย

แต่ ณ วันนี้ใน Microsoft Azure มีส่ิ่งที่จะมาช่วยจัดการและตอบโจทย์ของปัญหาหรือความต้องการที่ผมได้อธิบายไว้ในข้างต้นได้แล้วครับ และอย่างที่ผมเกริ่นเอาไว้ในตอนต้นเช่นกันว่าฟีเจอร์นี้เป็นส่ิ่งที่ผมอยากให้ Microsoft Azure มีตั้งนานแล้วหรือมีได้ซักทีครับ ฟีเจอร์ที่ว่านี้มีชื่อว่า "Budgets" ครับ โดยตัว Budgets จะเข้ามาช่วยจัดการปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการข้างต้น เพราะด้วยความสามารถของ Budgets ทำให้ท่านผู้อ่านสามารถ Limit และ Alert การใช้งาน Resources ต่างๆ สำหรับแต่ละหน่วยงานหรือแผนกได้ครับ

ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปสร้าง Budgets ได้ผ่านทาง Azure Portal ในส่วนของ Cost Management + Billing จากนั้นไปที่ Subscriptions แล้วเลือก Subscription ที่ต้องการ จากนั้นให้เลือก Budgets ดังรูป




โดยท่านผู้อ่านสามารถสร้าง Budgets ขึ้นมา จากนั้นสามารถกำหนดค่าต่างๆ เช่น ระยะเวลา เช่น Monthly, Quarterly, หรือ Annual และ ในส่วนของ Alert สามารถกำหนดว่าจะส่งเมล์ไปแจ้งใครครับ ดังรูปด้านล่างครับ



หลังจากที่สร้างและกำหนดค่าต่างๆ ของ Budgets เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดต่างๆ ของ Budgets ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ครับ




ณ ตอนนี้ Budgets มีให้บริการเฉพาะลูกค้าที่มี Azure Subscription ที่เป็นแบบ " Enterprise Account" หรือ EA เท่านั้น สำหรับ Azure Subscription ในแบบอื่นๆ ยังไม่สามารถใช้งาน Budgets ได้ ณ เวลานี้ครับ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเร็วๆ นี้ น่าจะมีให้ใช้สำหรับ Azure Subscription ในรูปแบบอื่นๆ ครับผม อดใจรอกันหน่อยนะครับ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Azure Budgets สามารถไปที่ Link นี้ได้เลยครับผม, https://docs.microsoft.com/en-us/azure/cost-management/tutorial-acm-create-budgets  และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Budgets ครับผม…..







Transfer ข้อมูลไปยัง Microsoft Azure โดยใข้ Microsoft Azure Storage AzCopy Part 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เรามาต่อกันที่เรื่องราวของ Microsoft Azure Storage AzCopy หรือ AzCopy  หลังจากที่ Part 1 ผมได้อธิบายคอนเซปและตลอดจนการติดตั้ง Microsoft Azure Storage AzCopy กันไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับบทความตอนนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านทำการย้ายข้อมูลจาก On-Premise ไปยัง Azure Storages ของ Microsoft Azure ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยครับ

เริ่มด้วยการไปที่ Azure Portal ก่อนนะครับ จากนั้นผมจะทำการสร้าง Azure Storage Account ขึ้นมา โดยสามารถ Searh จาก Azure Marketplace โดยให้ใส่คำว่า Storage Account แล้วกด Enter ครับ ก็จะปรากฎดังรูปด้านล่างครับผม




ให้คลิ๊กที่ Storage Account ตามรูปด้านบนครับ จากนั้นให้คลิ๊ก Create เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง Storage Account ครับ โดยให้ท่านผู้อ่านกำหนดต่างๆ ตามที่ต้องการหรือดูตัวอย่างจากรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ ไปเรื่อยๆ ครับ จนสุดท้ายให้คลิ๊ก Create เพื่อทำการสร้าง Storage Account ครับผม *สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่คุันเคยกับเรื่องราวของ Azure Storage สามารถย้อนไปอ่านบทความก่อน้าหน้านี้ของผมได้เลยครับ

หลังจากที่สร้าง Storage Account เสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้าง Storage Type โดยบทความนี้ผมจะทำการสร้าง Storage Type ที่เป็น Files ครับ โดยวิธีการเริ่มจากไปที่ Storage Account ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ครับ ดังรูป




จากนั้นให้คลิ๊ก Files ครับ จากน้้นให้คลิ๊กที่ + Add File Share เพื่อทำการสร้าง File Share ครับ จากนั้นให้ท่านผู้อ่านกำหนดชื่อของ File Share และกำหนด Quotas คือ ขนาดหรือกำหนดพื้นที่ของ File Share จากนั้นให้คลิ๊ก Create ดังรูปด้านล่างครับ



เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนข้างต้นแล้ว ให้รอซักครู่ครับ จากนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าตา ดังรูปด้านล่างครับ





จากนั้นสิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมต่อมาก่อนที่จะทำการย้ายข้อมูลจาก On-Premise มาที่ Azure Storage (File Storage)  คือ

1.  URL  วิธีการคือ ให้ไปคลิ๊กที่ File Share ที่เพิ่งสร้างขึ้นก่อนหน้า จากนั้นให้เลือกคลิ๊กที่ Properties แล้วทำการ Copy URL นั้นไว้ที่ Notepad ครับ ดังรูป






2. Access Key วิธีการคือ ไปที่ Storage Account จากนั้นให้คลิ๊กที่ Access Key  จากนั้นให้ Copy Access Key ไปไว้ที่ Notepad ดังรูป




จากนั้นให้ไปที่ AzCopy แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้ครับ AzCopy /Source:C:\OnPremise (On-Premise Location) /Dest:https://demowtstorage.file.core.windows.net/wtfileshare (URL ของ Azure Storage File Share) /DestKey: Pmq/C+k52341UkcOoNY1Ih+JiEy5aMtUtAkexxx12356666778wwdkkddkdk== (Access Key ที่ได้ Copy ไว้ก่อนหน้านี้)/S (เป็น Parameter สำหรับเพื่อทำการ Copy)  จากนั้นกด Enter จะได้ผลลัพธ์ ตามรูปด้านล่างครับ ซึ่้งผมได้ทำการ Copy 1 ไฟล์ไปที่ Azure Storage File Share ครับ




และเมื่อกลับเข้าไปดูที่ Azure Storage File Share ก็จะปรากฏไฟล์ที่ผมได้ใช้ AzCopy ทำการ Copy ไปที่ Azure Storage File Share ครับ





ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการ Copy ข้อมูลจาก On-Premise ไปที่ Azure Storage โดยใช้ Microsoft Azure Storage AzCopy ครับผม.....



วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

Transfer ข้อมูลไปยัง Microsoft Azure โดยใข้ Microsoft Azure Storage AzCopy Part 1

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับบทความนี้ของผม จะนำเสนอเครื่องมือตัวหนึ่งที่มีความสามารถในการ Transfer, Copy หรือ Migrate ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Microsoft Azure ครับ โดยเครื่องมือหรือ Tools นี้มีชื่อว่า "Microsoft Azure Storage AzCopy" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "AzCopy" ครับ  โดย AzCopy เป็น Command Line ทูลที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำการ Copy หรือ Migrate ข้อมูลระหว่าง On-Premise กับ Azure Storages (Blobs, Files, และ Tables) ใน Microsoft Azure ครับ โดยผมขอยกตัวอย่าง Scenarios ที่สามารถนำเอา AzCopy ไปประยุกต์ใช้งานได้ ดังนี้ครับ:

- Copy หรือ Migrate ข้อมูลจาก On-Premise File Server ไปยัง Azure Storage (Files) 
- Copy หรือ Migrate ข้อมูลจาก Azure Storage (Files) ไปยัง On-Premise File Server
- Copy หรือ Migrate ข้อมูลระหว่าง Azure Storage Accounts ที่อยู่ใน Azure Subscription เดียวกัน
- Copy หรือ Migrate ข้อมูลระหว่าง Azure Storage Accounts ที่อยู่คนละ Azure Subscriptions

ณ ขณะนี้ทาง Microsoft Azure มี AzCopy ให้ท่านผู้อ่านสามารถเลือกดาวน์โหลดไปใช้งานได้ 2 แบบ คือ

1. AzCopy สำหรับ Windows
2. AzCopy สำหรับ Linux

โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก Link นี้ครับ, https://docs.microsoft.com/en-us/azure/storage/common/storage-use-azcopy







เอาล่ะครับ ผมจะทำการดาวน์โหลด AzCopy สำหรับ Windows จาก Link ข้างต้น มาติดตั้งที่เครื่องของผมครับ หลังจากที่ดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อย ผมทำการดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ได้ทำการดาวน์โหลดมา เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง AzCopy ดังรูปด้านล่างครับ







จากนั้นให้คลิ๊ก Next ต่อไปได้เลยครับ สำหรับในส่วนของ End-User License Agreement ให้คลิ๊กที่ I accept the term in the License Agreement แล้วคลิ๊ก Next ครับ





จากนั้นในส่วนของ Destination Folder ให้คลิ๊ก Next ครับ





จากนั้นในส่วนของ Ready to install Microsoft Azure Storage AzCopy ให้คลิ๊ก Install ครับ





จากนั้นให้ท่านผู้อ่านรอซักครู่สำหรับกระบวนการติดตั้ง Microsoft Azure Storage AzCopy ซึ่งใช้เวลาไม่นานครับ และเมื่อติดต้้งเสร็จเรียบร้อยก็จะปรากฏหน้าตา ดังรูปด้านล่างครับ






จากนั้นผมจะทำการเรียกใช้งาน Microsoft Azure Storage AzCopy ที่ได้ทำการติดตั้งไปเมื่อซักครู่ครับ ดังรูป




และนี่คือหน้าตาของ Microsoft Azure Storage AzCopy ครับผม




ท่านผู้อ่านสามารถเรียกใช้งาน AzCopy ได้อีกทางหนึ่ง โดยการเรียกผ่านทาง CMD แล้วไปที่ Path นี้ครับ C:\Program Files (x86)\Microsoft SDKs\Azure\AzCopy\ ดังรูป




เอาล่ะครับ เมื่อมาถึงตรงนี้การติดตั้ง Microsoft Azure Storage AzCopy ได้เสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้งานแล้วครับผม ใน Part 2 ผมจะทำการคอนฟิกค่าต่างๆ เพื่อทำการย้ายหรือ Transfer ข้อมูลจาก On-Premise ไปยัง Azure Storage โดยใช้ Microsoft Azure Storage AzCopy ครับผม.....
























วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการสร้าง VNet Peering ใน Microsoft Azure Part 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านหลังจาก Part 1 ผมได้เกริ่นและอธิบายเรื่องราวต่างๆ ของ Azure Virtual Network หรือ VNet กันไปพอสมควรแล้ว สำหรับบทความนี้เนื้อหาจะต่อเนื่องจาก Part 1 นะครับ โดยบทความตอนนี้ของผมจะพาท่านผู้อ่านไปทำการสร้างและติดตั้ง Option หนึ่งของ Cross-Virtual Network ที่ชื่อว่า "Azure VNet Peering" ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปติดตามกันเลยครับ

Azure VNetPeering คืออะไร?

Azure VNetPeering คือ Option หนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อกันระหว่าง Azure Virtual Network ครับ โดยจะมีความแตกต่างจากการเชื่อมต่อในรูปแบบของ VNet-to-VNet ครับ โดยข้อแตกต่างที่สำคัญคือ การเชื่อมต่อ Virtual Network ในรูปแแบบที่เรียกว่า VNet Peering นั้น ไม่ต้องใช้ Azure VPN Gateway ครับผม เอาล่ะครับมาดูขั้นตอนของการคอนฟิก VNet Peering กันเลยครับผม

เริ่มด้วยการไปที่ Azure Portal ก่อนเลยครับ โดยผมได้เตรียมสร้าง Azure Virtual Network เอาไว้เรียบร้อยแล้ว 2 VNets ชื่อว่า VNetA และ VNetB ดังรูปด้านล่างครับ





โดยที่แต่ละ Virtual Network (VNetA และ VNetB) มี Subnet และรายละเอียดตามรูปด้านล่างครับ







สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดจะทำตามผม แต่ยังไม่มี Azure Virtual Network รบกวนท่านผู้อ่านไปสร้างก่อนเลยนะครับ เอาล่ะครับมาต่อกันในขั้นตอนต่อไปครับ ให้ไปที่ VNetA แล้วคลิ๊กที่ VNet Peering ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้คลิ๊ก Add ครับ แล้วให้กำหนดค่าต่างๆ ตามรูปด้านล่างครับ




โดยค่าต่างๆ ที่ต้องกำหนดนั้นคือ ชื่อของ VNet Peering โดยในบทความนี้ผมตั้งชื่อว่า VNet-AToB-Peering ครับ จากนั้นให้เลือก Virtual Network ที่ต้องการทำ Peering ในบทความนี้คือ VNetB ครับ เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิ๊ก OK ครับ

จากนั้นให้รอซักครู่ครับ Microsoft Azure จะทำการสร้าง VNet Peering และจะผลลัพธ์ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นไปที่ VNetB แล้วคลิ๊กที่ Peering โดยขั้นตอนจะเหมือมกับที่ทำกับ VNetA ครับผม  รายละเอียดตามรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้รอซักครู่ครับ ผลลัพธ์จากปรากฎตามรูปด้านล่างครับ และท่านผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่า Status ของการทำ Peering (Peering Status) จะแสดงเป็น Connected นั่นหมายความว่า เราได้ทำการสร้างและกำหนดค่าต่างๆ สำหรับการทำ VNet Peering เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ





มาถึงตรงนี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างและกำหนดค่าต่างๆ สำหรับ Azure VNet Peering ครับ หลังจากนี้ท่านผู้อ่านลองทดสอบโดยการเชื่อมต่อจาก Azure VM ที่อยูใน VNetA ไปยัง Azure VM ที่อยู่ใน VNetB ครับ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับเรื่องราวของ Azure VNet Peering นั้น ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูได้จาก Link นี้ครับผม, https://docs.microsoft.com/en-us/azure/virtual-network/tutorial-connect-virtual-networks-portal




และทั้งหมดนี้คือเรื่องของ Azure VNet Peering ครับผม…..

















ขั้นตอนการสร้าง VNet Peering ใน Microsoft Azure Part 1

     สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่นเลยขอกล่าวคำว่าสวัสดีปีใหม่ 2019 ครับ ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขมากๆ และมีสุขภาพแข็งแรงนะครับ เอาล่ะครับผมขอเริ่มบทความแรกสำหรับปี 2019 ด้วยเรื่องราวของ Virtual Network หรือเรียกสั้นๆ ว่า "VNet" ใน Microsoft Azure ครับ ก่อนที่จะพาท่านผู้อ่านไปทำการคอนฟิกฟีเจอร์ Vnet Peering ผมขออธิบายคร่าวๆ สำหรับเรื่องของ Vnet ใน Microsoft Azure ว่าคืออะไร และมีคอนเซปการทำงานอย่างไร สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคยกับ Virtual Network หรือ VNet ใน Microsoft Azure มาก่อนครับ

Virtual Network (VNet) คืออะไร?

Virtual Network หรือ VNet คือ Resource ชนิดหนึ่งใน Microsoft Azure โดยเป็น Resource ใช้สำหรับการสร้างและจัดการ Infrastructure หรือ IaaS บน Microsoft Azure ครับ จากประสบการณ์ของผม  Azure Virtual  Network หรือ VNet เป็น Resource ที่องค์กรส่วนใหญ่ที่ใช้ Microsoft Azure ใช้งานกันมากที่สุดตัวหนึ่งเลยครับ สำหรับ VNet นั้นเปรียบเสมือน Physical Network ที่ถูกสร้างและจัดการใน On-Premise Data Center ครับ โดยปรกติทั่วๆ ไปใน Physical Network ท่านผู้อ่านสามารถแบ่งเป็นหลายๆ Subnets และแต่ละ Subnets นั้นท่านผู้อ่านสามารถกำหนด Address Spaces ได้ จากนั้นก็นำเอาเครื่อง Physical หรือ Virtual Machines มาทำการเชื่อมต่อเข้ากับ Network ดังกล่าว เพื่อให้เครื่องต่างๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ครับ

คอนเซปดังกล่าวนี้ก็เหมือนกับ Azure Virtual Network หรือ VNet ครับ โดยใน VNet ท่านผู้อ่านสามารถสร้างและกำหนด Subnets และกำหนด Address Spaces ให้กับแต่ละ Subnets ได้ครับ และแน่นอนในการทำงานจริง มีความเป็นไปได้ที่จะมีหลาย VNets ครับ เพิ่มเติมอีกนิดนึงนะครับ สำหรับการสร้าง VNet ใน Microsoft Azure ท่านผู้อ่านสามารถสร้าง VNets และกำหนดค่าต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้ได้ก่อนเลยครับ และวิธีนี้เป็นวิธีที่ผมแนะนำครับ ส่วนอีกวิธีหนึ่งสำหรับการสร้าง VNet คือ สร้างไปพร้อมกับตอนที่สร้าง Azure Virtual Machine หรือ Azure VM ครับ สิ่งที่อยากให้ท่านผู้อ่านจำไว้คือ Azure VM เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับ VNet นะครับ ไม่สามารถสร้าง Azure VM เฉยๆ โดยที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับ VNet ได้ครับ

กลับมาที่เรื่องของ Azure Virtual Network หรือ VNet นั้น อย่างที่ผมได้อธิบายไปซักครู่ที่ผ่านมาว่า ในการทำงานจริงนั้นมีความเป็นไปได้แน่นอนครับ ที่จะต้องมีหลายๆ Virtual Networks (VNets) จึงทำให้มีความต้องการต่อมาคือ การเชื่อมต่อ Virtual Networks แต่ละอันเข้าด้วยกันครับ เพื่อให้เครื่องหรือ Azure VMs สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ถถึงแม้ว่าจะอยู่คนละ Virtual Networks กันครับ และรูปด้านล่างคือ Options ต่างๆ ของการเชื่อมต่อ Azure Virtual Network หรือ VNet ครับ




จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านจะเห็นว่ามีรูปแบบหรือ Options สำหรับการเชื่อมต่อของ Azure Virtual Network
หรือเรียกว่า Azure Virtual Network Connectivity มีหลากหลาย Options ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรหรือผู้ใช้งานเป็นหลักครับ โดยสามารถแบ่ง Options ในการเชื่อมต่อได้ดังนี้:

1. Cross-Premise
1.1 Point-to-Site
1.2 Site-to-Site
1.3 Express Route

2. Cross-Virtual Network
2.1 VNet-to-VNet
2.2 VNet Peering

ผมขอยกตัวอย่างการเชื่อมใน Options ต่างๆ ข้างต้นที่เรียกว่า Cross-Premise สำหรับ Option นี้ใช้ในกรณีที่องค์กรมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อ Networks ที่อยู่ใน On-Premise Data Center เข้ากับ Azure Virtual Network ครับ โดยใช้ Option ของ Cross-Premise ที่เรียกว่า Site-to-Site ครับ โดย Option ดังกล่าวนี้ก็คือการทำ VPN Site-to-Site นั่นเองครับ ซึ่งโดยปรกติผมเชื่อว่าองค์กรส่วนใหญ่จะมี Networks หลายวงและมีหลาย Locations เมื่อต้องการเชื่อมต่อ Networks ที่อยู่ในแต่ละ Locations ทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันก็คือการทำ VPN Site-to-Site ครับ ดังนั้นท่านผู้อ่านสามารถใช้คอนเซปเดียวกันสำหรับการเชื่อมต่อ Networks ที่อยู่ใน On-Premise กับ Azure Virtual Network หรือ VNet ได้เช่นกันครับ โดยใน Microsoft Azure จะมี VPN Gateway ให้สำหรับการเชื่อมต่อแบบ Site-to-Site ครับ

สำหรับอีก Option หนึ่งคือการเชื่อมต่อแบบ Cross-Virtual Network โดยจะใช้ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อระหว่าง Virtual Network ด้วยกันครับผม โดยมีให้เลือก 2 Options คือ VNet-to-VNet ครับ คือการเชื่อมต่อระหว่าง Virtual Network ด้วยกันโดยอาศัยการทำ Site-to-Site ครับ เพราะฉะนั้นคอนเซปและวิธีการติดตั้งก็จะคล้ายคลึงกับการเชื่อมต่อแบบ Site-to-Site หรือการทำ VPN Site-to-Site ที่ผมได้อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้ครับ ด้วยวิธีหรือ Option นี้จำเป็นต้องใช้ Azure VPN Gateway เหมือนกันครับผม ส่วนอีก Option หนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อแบบ Cross-Virtual Network ซึ่งก็คือ VNet Peering ครับ โดย Option นี้เป็น Option ที่ผมอยากนำเสนอให้กับท่านผู้อ่านได้รู้จักครับ สำหรับ VNet Peering ผมขอยกยอดไป Part 2 นะครับผม…..