วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

มาทำความรูัจักกับ Microsoft Azure Storage ตอนที่ 2

     สวัสดีครับทุกท่าน เรามาต่อกันที่เรื่องของ Microsoft Azure ในเรื่องราวของ Azure Storage กันต่อครับ  หลังจากที่ตอนที่ 1 ผมได้อธิบายเรื่องราวของ Azure Storage ไปจนถึงเรื่องของ Durability (LRS, GRS, และอื่นๆ)  ท่านผู้อ่านท่านใดยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 ผมแนะนำให้ไปอ่านตอนที่ 1 ก่อนนะครับ  สำหรับในหัวข้อต่อไปของ Azure Storage ที่ผมจะนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันต่อจากเรื่องของ Durability ก็คือ เรื่องของ Performance ครับ

Performance (ใน Azure Storage มีให้เลือกระหว่าง Standard กับ Premium)

โดยปรกติแล้ว Standard จะถูกเลือกใช้งานสำหรับการสร้าง Azure VM ซึ่งมีให้ท่านผู้อ่านเลือกโดย Default ในทุก ๆ Azure VM Sizes ครับ การเก็บข้อมูลใน Azure Storage ที่เป็นแบบ Standard นั้นข้อมูลดังกล่าวจะถูกเก็บลงไปใน Disk ปรกติที่ไม่ Solid State Disk (SSD) ครับ ซึ่งถ้ามองในเรื่องของค่าใช้จ่าย Azure Storage ที่เป็นแบบ Standard ก็จะมีราคาที่ย่อมเยาว์กว่าหรือถูกกว่า Azure Storage ที่เป็นแบบ Premium ซึ่งผมกำลังจะอธิบายต่อจากนี้ครับผม  รูปด้านล่างเป็นรูปของ Azure Storage ที่เป็นแบบ Standard ที่ผมใช้ใน Azure VM ของผมครับ




เอาล่ะครับมาดูกันต่อที่ Azure Storage อีกแบบหนึ่ง นั่นก็คือ แบบ Premium สำหรับ Storage  แบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งาน Applications ต่างๆ ที่ต้องการหรือเน้นเรื่องของ Performance เป็นหลักเช่น SQL  ก็ต้องเลือก Premium ครับ เพราะข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บใน Solid State Disk (SSD) ครับ  และแน่นอนครับ Premium จะมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า Standard อย่างที่ผมได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ครับ ดังนั้นผมแนะนำให้ใช้ Azure Storage ที่เป็นแบบ Premium ถ้าท่านผู้อ่านโฟกัสหรือต้องการ Performance และ High Availability ครับ
ดังรูปด้านล่าง ท่านผู้อ่านสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Azure Storage แบบไหน ระหว่าง Standard กับ Premium ครับ






Persistency

สำหรับเรื่องต่อมาคือ เรื่องของ Persistency ครับ เมื่อท่านผู้อ่านทำการสร้าง Azure VM ขึ้นมา ข้อมูลต่างๆ ซึ่งก็คือตัว Azure VM (.VHD), ข้อมูลต่างๆ และอื่นๆ ก็จะถูกเก็บลงไปใน Azure Storage ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเลือก Standard หรือ Premium ตามที่ผมได้อธิบายไปในหัวข้อ Performance ก่อนหน้านี้  สิ่งที่ต้องมาทำการพิจารณาคือ Persistency เพราะ ข้อมูลที่เราเก็บนั้นจะยังคงอยู่หรือไม่ ถ้ามีการ Stopping และ Starting Azure VM โดยมีให้เลือก 2 แบบ คือ

1. Persistent  Storage หมายถึง ข้อมูลจะยังคงอยู่ หลังจากที่มีการ Stopping และ Restarting Azure VM
2. Non-Persistent Storage หมายถึง ข้อมูลจะหายไป หลังจากที่มีการ Restarting Azure VM


และทั้งหมดนี้คือ 3 หัวข้อหรือเรื่องหลัก ๆ ที่ผมได้เกริ่นไว้ตั้งแต่ตอนที่ 1 สำหรับการพิจารณาเมื่อจะมีการใช้ Azure Storage ครับ  โดย 3 หัวข้อหลักๆ มีอะไรบ้าง ผมทวนให้อีกทีครับ คือ Durability, Performance, และ Persistency ครับผม

เรื่องต่อมาที่ผมจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ "Azure Storage Account" ครับ

Azure Storage Account คืออะไร?

Azure Storage Account คือ Secure Account ที่ให้เราเข้าถึงหรือ Access ไปยัง Azure Storage Services ได้ครับ ในระหว่างที่ทำการสร้าง Azure Storage Account จะมี Option ให้เลือก 2 Options ดังนี้:

1. General-Purpose Storage Account
2. Blob Storage Account

มาดูกันที่ General-Purpose Account กันก่อนครับ สำหรับ Option นี้จะให้เราสามารถเข้าถึง Azure Storage Services ต่างๆ ทั้งหมด เช่น

- Blobs
- Tables
- Files
- Queues

ส่วน Blob Storage Account จะถูกออกแบบมาเพื่อเก็บ Unstructured Data เท่านั้นครับ ดังนั้นจะมี Azure Storage Service เดียวเท่านั้นที่ใช้งานได้กับ Blob Storage Account นั่นก็คือ Blob Storage ครับ

มาถึงตรงนี้ผมจะสาธิตวิธีการสร้าง Azure Storage Account ให้ท่านผู้อ่านได้ดูกันครับผม  โดยเริ่มที่เปิด Azure Portal ขึ้นมาครับ จากนั้นให้คลิ๊ก New ดังรูปครับ




จากนั้นให้พิมพ์ Storage Account ในช่อง Search the Marketplace แล้วกด Enter รอซักครู่ก็จะพบกับ Storage Account ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นให้เลือก Storage Account ครับ แล้วคลิ๊ก Create ดังรูปครับ



หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่การกำหนดค่าต่างๆ ซึ่งผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ ไม่ว่าจะเป็น Azure Storage Types หรือ Kinds, การกำหนด Azure Storage ว่าจะเป็นแบบ Standard หรือ Premium เป็นต้น ดังรูปด้านล่างครับผม



จากนั้นให้คลิ๊ก Create ครับ จากนั้นให้รอซักครู่ครับ Microsoft Azure ก็จะทำการสร้าง Azure Storage Account ให้ครับผม

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวบางส่วนของ Azure Storage ที่ผมนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รูัจักกันครับผม.....





วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

มาทำความรูัจักกับ Microsoft Azure Storage ตอนที่ 1

     สวัสดีครับทุกท่านกลับมาพบกันเช่นเคย  สำหรับบทความนี้จะเป็นเรื่องราวของ "Azure Storage" ครับ  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน Microsoft Azure ครับ  ผมขอเริ่มด้วยคำว่า "Storage" ก่อนแล้วกันนะครับ เมื่อเอ่ยหรือพูดถึงคำนี้ ส่วนใหญ่จะนึกถึงที่ๆ เก็บข้อมูลต่างๆ ขององค์กรหรือแม้กระทั่งของตัวเราเอง  และต้องถือว่า Storage มีบทบาทสำคัญของทุกๆ ระบบไอทีเลยก็ว่าได้ครับ  เช่นกันกับ Microsoft Azure ครับ เราไม่สามารถสร้าง Azure Virtual Machines, Azure Web Apps, และอื่นๆ ได้เลยถ้าปราศจากหรือไม่มี Storage ครับ  เพราะทุกฟีเจอร์หรือเซอร์วิสใน Microsoft Azure จะต้องมี Azure Storage เข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน 

โดยคอนเซปและการทำงานของ Azure Storage นั้นจะมีความแตกต่างจาก Storage ปรกติที่เราใช้กันครับ เช่น สำหรับ Azure Storage รองรับกับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ๆ  เช่น หลายๆ ร้อย Terabytes ได้ และสามารถเก็บข้อมูลที่ไหนก็ได้ครับ เป็นต้น  เอาล่ะครับ ผมขอเกริ่นคร่าวๆ สำหรับ Azure Storage ประมาณนี้ก่อนครับ จากนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Storage ให้มากขึ้นกันครับ


ทำไมต้องใช้ Azure Storage?


มีเหตุผลหลักๆ ที่ต้องใช้ Azure Storage ดังนี้ครับ:

- Global Presence  สามารถเก็บข้อมูลใน Azure Storage ที่ไหนก็ได้ครับ เพราะ ณ ปัจจุบัน Microsoft Azure  มี Azure Data Centers มากถึง 42 Azure Regions กระจายอยู่ทั่วโลก ดังรูป





- Redundancy & Recovery
เกี่ยวเนื่องกับ Global Presence ซึ่งท่านใช้บริการสามารถเลือกเก็บข้อมูลใน Azure Storage จากที่ไหนก็ได้แล้วทาง Microsoft Azure ยังได้ทำการดูแลและรักษา Storage ให้พร้อมใช้งานนั่นคือเรื่องของ High Availability (HA) พร้อมกับมีการทำ Data Replication อีกด้วย เพื่อป้องกันในเรื่องของ Disaster Recovery

- Features 
ตัวของ Azure Storage เองมาพร้อมกับฟีเจอร์หลายๆ อย่าง เพื่อรองรับในเรื่องของ Resiliency, Durability, Performance และอื่นๆ ให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้ตามสถานการณ์หรือความต้องการ

- Pay As You Go 
ถ้ามองในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกเรื่องที่จะต้องนำมาวางแผนและพิจารณาครับ สำหรับ Azure Storage คิดค่าใช้จ่ายตามที่ใช้จริงครับ หรือใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับ



เรื่องต่อมาจะเป็นการสร้าง Azure Storage ใน Microsoft Azure จะมี  2 วิธีครับ

1. สร้างโดยใช้ ASM Model ผ่านทาง Azure Classic Portal
2. สร้างโดยใช้ ARM Model ผ่านทาง Azure Portal


ผมแนะนำให้เลือกวิธีที่ 2 ครับเนื่องจากเป็นวิธีใหม่และมีข้อดีหลายๆ อย่างครับ เช่นในเรื่องของการบริหารและจัดการที่มีความยืดหยุ่น หรือเรียกว่า "RBAC" เป็นต้นครับ  จากรูปด้านล่างเป็น หน้าตาของ Azure Portal ครับ





ก่อนที่จะเลือกใช้ Azure Storage มีสิ่งที่เราจะต้องทำการพิจารณาและทำความเข้าใจหลักๆ อยู่ 3 เรื่องครับ คือ:

- Durability (หรือ Replication)
- Performance (ใน Azure Storage มีให้เลือกระหว่าง Standard กับ Premium)
- Persistency


Durability (หรือ Replication)

สำหรับเรื่องแรกคือ Durability หรือ Replication, อย่างที่ผมได้เกริ่นหรืออธิบายไปในข้างต้นว่า Azure Storage นั้นมีการทำ Data Replication ให้เลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ Microsoft Azure ว่าข้อมูลเดียวกันจะถูก Replicated ไปยังอีก Azure Data Center หนึ่ง หรือไปอีก Azure Regions หนึ่งครับ 

สำหรับเรื่องการทำ Data Replication หรือการทำ Azure Storage Replication จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ ให้เลือกใช้งาน ดังนี้ครับ:


1. Locally Redundant Storage (LRS)
LRS จะทำการ Replicates ข้อมูลของเรา 3 ชุด แล้วเก็บไว้ใน Azure Data Center ที่ข้อมูลเราถูกเก็บอยู่ครับ

2. Zone Redundant Storage (ZRS)
ZRS จะทำการ Replicates 3 ชุด ที่ Azure Data Center ที่ข้อมูลเราถูกเก็บอยู่ซึ่งก็คือ LRS บวกกับจะทำการ Replicates อีก 3 ชุดไปเก็บที่ Azure Data Center อื่นๆ ที่อยู่ภายใน Azure Regions เดียวกัน

3. Geo-Redundant Storage (GRS)
GRS จะทำการ Replicates ข้อมูล 3 ชุดไปเก็บใน Azure Regions เดียวกันและจะทำการ Replicates ข้อมูลอีก 3 ชุดไปเก็บใน Azure Regions อื่นๆ 

4. Read-Access Geo-Redundant Storage (RA-GRS)
RA-GRS จะทำงานแบบเดียวกับ GRS แต่ให้ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหรือ Read-Access ข้อมูลที่ถูก Replicated ไปเก็บไว้ที่ Azure Regions อื่นๆ ได้ด้วย


สำหรับเรื่องราวของ Azure Storage ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้ครับ 
https://docs.microsoft.com/en-us/azure/storage/common/storage-redundancy 




ส่วนเรื่องและรายละเอียดเกี่ยวกับราคาของ Azure Storage สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับผม
https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/details/storage/




โปรดติตตามตอนที่ 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

รู้จักกับ Azure Monitoring Tools-Activity Log

     สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับเรื่องราวของบทความตอนนี้ของผม ต้องบอกว่าเป็นความตั้งใจมานานพอสมควรของตัวผมเองที่อยากจะเขียนและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบ (Monitoring) ใน Microsoft Azure เนื่องจากที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสใช้งานและศึกษาข้อมูลต่างๆ จึงทำให้รู้ว่าใน Microsoft Azure นั้นมีเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบหรือ Monitoring อยู่เยอะเลยครับ โดยที่แต่ละตัวก็จะถูกออกแบบมาให้ใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปครับ และในบางกรณียังมีเครื่องมือมากกว่าหนึ่งตัวให้เลือกใช้งานอีกด้วยครับ 

ดังนั้นผมจึงคิดและตั้งใจที่จะลงมือเขียนบทความที่จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ "Azure Monitoring Tools" เพื่อให้ทุกท่านที่ใช้งาน Microsoft Azure ได้เข้าใจและนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อไปครับผม  เอาล่ะครับและเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเครื่องตัวแรกสำหรับการตรวจสอบหรือ Monitoring ใน Microsoft Azure กันเลยครับ โดยเครื่องมือตัวแรกที่ผมนำมาเสนอมีชื่อว่า
"Azure Activity Log" ครับ


Azure Activity Log คืออะไร?

Azure Activity Log เป็นส่วนหนึ่งของ Azure Monitor Service/Solution ครับโดยมันจะทำการบันทีกหรือ Log การทำงานหรือ Activities ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน Subscription นั้นๆ ครับ  และ Logs ที่ Azure Activity Logs ทำการบันทึกนั้นจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานต่างๆ กับทรัพยากรหรือ Resources ใน Microsoft Azure ครับ ดังรูป


หรือจะอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจง่ายคือ สิ่งที่ Azure Activity Log ทำการเก็บ Logs หรือ Activities ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็คือการทำ Auditing นั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น การสร้าง/ลบ Azure VM, การกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนของ Azure Virtual Network, และอื่นๆ เป็นต้นครับ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นก็จะถูกบันทึกใน Azure Activity Logs ครับ  รูปด้านล่างคือหน้าตาของ Azure Activity Log ครับ



โดยใน Azure Activity Log, สามารถจะทำการ Filter Logs ตาม Subscription, Resource Group, Resource Type, และอื่นๆ ครับ  ในรูปด้านล่างผมทำการ Filter Resource Type โดยเลือก Virtual Machine ครับ



หลังจากเลือก Resource Type เป็น Virtual Machine แล้ว สิ่งต่อมาที่เราสามารถกำหนดได้คือในส่วนของ Operations ครับ เพื่อทำการเลือกดูข้อมูลที่เกิดจาก Activities ที่เราสนใจเท่านั้น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ Resource Type ที่เลือกนะครับ  ดังรูป



ผมขอเลือกดังนี้ในส่วนของ Operations ครับ



เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ให้กด Apply ครับ รอซักครู่ ผมก็จะเห็น Activities ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ Azure Virtual Machine ตามเงื่อนไขที่ผมได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ครับ ดังรูป



สำหรับหรับผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ผมสามารถทราบได้ว่ามีเหตุการณ์และ Activities ใดเกิดขึ้นกับ Azure Virtual Machine ของผมบ้าง โดยผมสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำการตรวจสอบได้ครับ นอกจากนี้แล้วผมยังสามารถทำการ Save ผลลัพธ์ที่ได้เป็น .CSV ไฟล์ได้ด้วยครับผม

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Monitoring Tools ที่ชื่อว่า Azure Activity Log ครับผม.....




วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

รู้จักกับ Azure Cost Management

     สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งครับ โดยบทความนี้ยังเป็นเรื่องราวของ Microsoft Azure ครับ โดยผมจะหยิบยกเอาฟีเจอร์หนึ่งซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์กับผู้ใช้งาน Microsoft Azure เป็นอย่างมากครับ และอย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่แล้วว่าการที่เราเลือกและใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ใน Microsoft Azure จะต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับฟีเจอร์หรือ Services ที่เราเลือกใช้งานครับ 

สำหรับการใช้งาน Cloud แทบจะทุกค่ายหรือทุกยี่ห้อเรื่องของค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรเพราะองค์กรหรือลูกค้าที่จะมาใช้บริการ Cloud ก็จะต้องมีการวางแผนการใช้งาน Services ต่างๆ ให้ละเอียดและรอบคอบ  เมื่อถึงเวลาที่ใช้งานแล้วจะได้ไม่เกิดปัญหาครับ  ซึ่งที่ผมเกริ่นมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่าการใช้งาน Services หรือบริการต่างๆ ของ Cloud นั้นมีราคาและแตกต่างกันไปตาม Services ครับ ดังนั้นเราควรจะต้องมีข้อมูลต่างๆ มาช่วยประกอบในการวางแผนและตัดสินใจครับ

ดังนั้นสิ่งที่ผมแนะนำคือ องค์กรจะต้องมีวางแผนและเตรียมความพร้อมให้ดีก่อนที่จะใช้งานครับ หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาใช้งาน Services ต่างๆ ของ Microsoft Azure แล้วก็จะมีคำถามตามมาครับว่า จะทราบได้อย่างไรว่า มีการใช้งานทรัพยากรหรือ Resources ต่างๆ ไปเท่าไรบ้าง เพราะจะได้นำเอาข้อมูลนี้มาทำการวิเคราะห์, ประเมินคาดการณ์และจัดสรรค่าใช้จ่ายต่อไปครับ  การที่เราจะติดตามดูการใช้งานทรัพยากรหรือ Resources ต่างๆ ที่ถูกใช้งานใน Microsoft Azure นัันไม่ยากเลยครับ โดยผมจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ "Azure Cost Management" ซึ่งจะเป็นตัวที่จะเข้ามาช่วยจัดการเรื่องนี้ เอาล่ะครับมาดูกันเลยครับว่า Azure Cost Management คืออะไรและสามารถทำอะไรได้บ้างครับ


Azure Cost Management คืออะไร?



Azure Cost Management (By Cloudyn) ใน Microsoft Azure จะมาช่วยในการติดตามการใช้งานและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เราได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ใน Microsoft Azure รวมถึง AWS และ Google ครับ




โดย Azure Cost Management (By Cloudyn) จะเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยเราในการติดตามการใช้งานทรัพยากรต่างๆ และค่าใช้จ่าย โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงผลเป็นรายงานหรือ Report ของการใช้งานทรัพยากรต่างๆ ให้ครับ โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องของการจัดสรรหรือจัดเตรียม Cost Allocation  อีกทั้งยังทำให้เราทราบว่ามีการใช้งานทรัพยากรเป็นอย่างไร อันไหนใช้น้อยกว่าที่จำเป็น หรือใช้มาก ซึ่งจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขการใช้งาน Resources นั้นต่อไปครับ ดังรูปด้านล่างเราสามารถกำหนดได้ว่าเราจะให้ Azure Cost Management (By Cloudyn) นำเอาข้อมูลการใช้งานและอื่นๆ ไปทำการวิเคราะห์ในด้านใดครับ





และต้องบอกว่าการตรวจสอบการใช้งานและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ Cloud (Monitoring Usage และ Spending) เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับองค์กรครับ  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าองค์กรของเราเลือกใช้งาน IaaS คือการสร้างและใช้งาน Infrastructure บน Microsoft Azure เช่น การสร้าง Azure VM, Azure Storage, เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือทรัพยากรหรือ Resources ที่เราสร้างขึ้นมาและใช้งาน และแน่นอนว่ามันคือค่าใช้จ่ายที่องค์กรจะต้องจ่ายครับ แต่จะทำอย่างไรในการติดตามและวิเคราะห์การใช้งานทรัพยากรต่างๆ เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการวางแผนและคาดการณ์หรือ Forecast สำหรับค่าใช้จ่าย  และนี่คือสิ่งที่ Azure Cost Management เข้ามาช่วยครับ

เพราะ Azure Cost Management ได้เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ตลอดจนรายงานหรือ Reports เอาไว้ให้อย่างที่ผมได้เกริ่นไปในข้างต้นครับ อีกทั้ง Azure Cost Management ยังช่วยในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่าย (Managing Cost) โดยการนำเอารายละเอียดของการใช้งานทรัพยากรต่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาๆ  ทำการวิเคราะห์การใช้งานและค่าใช้จ่ายว่าเป็นอย่างไรเพื่อดูแนวโน้มของการใช้งานทรัพยกรนั้นๆ เพื่อนำไปประเมินและคาดการณ์ (Forecast) ในอนาคตให้ครับ ซึ่งทำให้องค์สามารถวางแผนและจัดเตรียมค่าใช้จ่ายต่างๆ ของทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพครับ



สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจอยากลองใช้งาน Azure Management Cost (By Cloudyn) จะต้องมี Azure Subscription ก่อนนะครับ จากนั้นให้ทำการ Register ใช้งาน Azure Management Cost โดยเข้าไปในส่วนของ
Cost Management + Billing ตามรูปด้านล่างครับ



หลังจากที่ได้ทำการ Register เสร็จเรียบร้อย ท่านผู้อ่านก็จะสามารถเข้าไปที่ Portal ของ Azure Management Cost (By Cloudyn) ดังรูปครับ



ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าจากรูปด้านบนยังไม่มีข้อมูลอะไรปรากฎขึ้นมา เพราะจะต้องไปกำหนดค่าต่างๆ เพื่อให้ Azure Cost Management (By Cloudyn) ทำงานครับ

สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจอยากทราบเรื่องราวของ Azure Management Cost (By Cloudyn) เพิ่มเติมสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ

https://azure.microsoft.com/en-us/services/cost-management/



และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Management Cost ครับผม.....