วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

รู้จักกับ Microsoft Azure (Introducing to MS. Azure) Part 2

     หลังจากบทความตอนแรกออกไป มีหลายๆ ท่านถามว่าเมื่อไรตอนต่อไปจะมา ก่อนอื่นต้องขอโทษทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับที่ตอนที่ 2 มาช้าเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผมติดภาระกิจหลายอย่างๆ ครับ แต่อย่างไรก็ดีบทความตอน 2 มาแล้วครับ  เชิญติดตามและทำความรู้จักกับ MS. Azure กันต่อได้เลยครับผม :)


Microsoft Azure คืออะไร?
     MS. Azure คือ Cloud Services ที่ทาง Microsoft ได้เตรียมเอาไว้สำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุง Datacenter ให้มีความยืดหยุ่นและรองรับกับความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ อีกทั้งยังมีฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายให้เราได้เลือกใช้ครับ และเหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาดครับไม่ว่าจะเป็น เล็ก, กลาง หรือใหญ่ครับ  และที่สำคัญคือยังช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วยครับ  และเมื่อเรานำเอา MS. Azure เข้ามาใช้งานจะทำให้การบริหารและจัดการ Datacenter หรือระบบไอทีมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ  แต่ที่ผ่านมานั้นเท่าที่ผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับลูกค้าหลายๆ ราย ยังสับสนว่า MS. Azure คืออะไรกันแน่ บางคนก็บอกว่า MS. Azure คือ การทำ Web Hosting  บ้างก็บอกว่าคือการทำ Co-Location และอื่นๆ อีกมากมายครับ จึงทำให้หลายท่านเกิดความไม่แน่ใจว่า  MS. Azure คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร หากนำเข้ามาใช้งานในองค์กร  และอีกหลายๆ คำถามและข้อสงสัยครับ  จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมนำเอาเรื่องราวของ MS. Azure มานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบและได้รู้จักกันตั้งแต่เนิ่นๆ  เพื่อจะได้นำเอาความรู้นี้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบไอทีของทุกท่านครับ
สำหรับ MS. Azure นั้นคือ Cloud Platform ที่ให้บริการ Cloud Services 2   รูปแบบคือ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และ Platform-as-a-Service (PaaS) ตามรูปด้านล่างที่แสดงถึง Cloud Service Models ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันครับ
นั่นหมายความว่า MS. Azure มีความสามารถในการจัดการ Infrastructure  คือ  เราสามารถทำการสร้าง Virtual Machines และทำการติดตั้งแอพพเคชั่นต่างๆ  ที่ต้องการเพื่อให้บริการกับผู้ใช้งานได้เลย โดยที่เราไม่ต้องเสียตังค์หรือลงทุนซื้อ Hardware และ Software ครับ  ซึ่งคอนเซปนี้จะแตกต่างจากการบริหารและจัดการระบบไอที หรือ Datacenter ในรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันครับ 

เพราะการบริหารและจัดการ Datacenter นั้นองค์กรจะต้องมีการลงทุนจัดซื้อหลายอย่างครับ เช่น Server, Storage, Network เป็นต้นครับ อีกทั้งยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบอีกต่างหาก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกครับ  ผู้ดูแลระบบก็จะต้องรับผิดชอบตั้งแต่ส่วนที่ Hardware ที่ผมได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ รวมถึง Virtual Machines ต่างๆ ที่รันและทำงานอยู่ภายใน Hardware เหล่านั้นด้วย 

ซึ่งจากรูปด้านบนให้ท่านผู้อ่านดูรูปกล่องต่างๆ ที่เรียงกันเป็นสีน้ำเงินหมด ที่อยู่ด้านซ้ายสุดครับ  นั้นคือ ส่วนประกอบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น Hardware และ Virtual Machines ต่างๆ  ที่อยู่ใน Datacenter ของท่านซึ่งท่านผู้อ่านจะต้องดูแลทั้งหมดเองตั้งแต่กล่องแรกที่อยู่ล่างสุดไปจนถึงกล่องที่อยู่บนสุดเองครับ  และโดยส่วนใหญ่ระบบ Datacenter ณ วันนี้ก็จะเป็นในรูปแบบนี้ครับ  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็นครับ สำหรับการบริหารจัดการ Datacenter ที่ผู้ดูแลระบบต้องบริหารและจัดการเองทั้งหมด เช่น การลงทุนที่ต้องใช้เงินค่อนข้างเยอะพอสมควรขึ้นอยู่กับความต้องการ รวมถึงการดูแลรักษาด้วยครับ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเช่นกัน  และอื่นๆ อีกครับ  ประเด็นต่อมาคือ การปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการแอพพิเคชั่นหรือ Services ต่างๆ  กับผู้ใช้งานหรือลูกค้า ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้การบริการเหล่านี้สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ 

ประเด็นต่อมาคือ การวางแผนในเรื่องของ Disaster Recovery ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ  เช่น น้ำท่วม, ไฟไหม้ หรือภัยธรรมชาติ   และประเด็นต่อมาคือ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมและทรัพยากรสำหรับการพัฒนาและทดสอบแอพพิเคชั่น สำหรับองค์กรที่มีทีมพัฒนาแอพพิเคชั่น  เพราะเค้าเหล่านี้ต้องสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่พร้อมสำหรับการทดสอบครับ  และทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้ท่านผู้อ่าน


ได้เห็นภาพของการบริหารและจัดการ Datacenter ณ ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร รวมถึงปัญหา เพื่อจะได้เตรียมพร้อมวางแผนที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้ระบบ Datacenter ของท่านมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ  จากประเด็นต่างๆ  ที่ผมได้หยิบยกมานั้น  เราสามารถนำเอา MS. Azure เข้ามาช่วยจัดการได้ครับ  อย่างที่ผมเกริ่นไว้ตอนต้นว่า MS. Azure ให้บริการในส่วนที่เป็น Iaas และ Paas  ส่วนแรกที่ MS. Azure เข้ามาช่วยคือส่วนที่เป็น Iaas ครับ  โดย MS. Azure ได้เตรียม Infrastructure เอาไว้ให้เราเรียบร้อยแล้วครับ ท่านผู้อ่านไม่ต้องลงทุนซื้อ Hardware รวมถึง Software ด้วยครับ  ผมอยากให้ท่านผู้อ่านดูรูป Cloud Services  โดยให้ดูรูปที่สองจากซ้ายครับ  ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า 4 กล่องแรกจะที่เคยเป็นสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว  นั่นหมายความว่า MS. Azure ได้เตรียม Server (Hyper-V), Storage และ Network ให้เรียบร้อยแล้วครับ  ท่านผู้อ่านมีหน้าที่และรับผิดชอบแท่งที่เป็น OS คือ การติดตั้ง OS ไปยัง Virtual Machine ขึ้นไปจนถึงกล่องที่อยู่บนสุด  ทำให้เราประหยัดเงินไม่มากพอสมควรเลยครับ เพราะไม่ต้องเสียเงินมาซื้อและดูแลรักษา Hardware อีกต่อไปครับ !!!!!
 
 
ผมกำลังจะบอกทุกท่านว่าท่านผู้อ่านสามารถที่จะขยายระบบ Datacenter ของท่านไปอยู่บน MS. Azure ได้ครับ โดยการย้ายงานบางส่วนหรือทั้งหมดก็สามารถทำได้ครับ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรครับ เพราะฉะนั้นจะทำให้ขอบเขตของการบริหารและจัดการ Datacenter ของท่านไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในตึกๆ หนึ่งเท่านั้น ขอบเขตการบริหารและจัดการจะไม่มีขอบเขตอีกต่อไปครับ  เพราะเราได้ยืดระบบ Datacenter ของเราเข้าไปทำงานอยู่ใน MS. Azure   ผมขอยกตัวอย่างระบบงานที่เราสามารถย้ายขึ้นไปทำงานอยู่ใน MS. Azure เช่น  Active Directory, Web Applications และอื่นๆ อีกมากมายครับ  ข้อดีอีกข้อที่สำคัญสำหรับการที่เราย้ายงานต่างๆ ไปอยู่บน MS. Azure คือเรื่องของ Availability   ครับ  เพราะทาง MS. มี SLA และคอยดูแลและรักษา Hardware ให้อยู่แล้วครับ  เรามีหน้าที่จัดการ Virtual Machines และแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่เราเป็นคนติดตั้งเท่านั้นครับ  นั้นคือเหตุผลส่วนหนึ่งและเป็นประโยชน์ที่ท่านผู้อ่านจะได้รับเมื่อนำเอา MS. Azure เข้ามาใช้งานในส่วนที่เป็น IaaS ครับ 
สำหรับส่วนที่เป็น PaaS นั้นทาง MS. Azure ได้เตรียม Platforms และ Components ต่างๆ  เอาไว้ให้กับนักพัฒนาโปรแกรมครับ  ดังนั้นถ้าท่านผู้อ่านท่านใดเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพิเคชั่น และต้องการ Platform รวมถึง Environment ที่จะใช้ในการพัฒนา ก็ไม่ต้องไปเสียตังค์ซื้อเครื่องสเปคแรงมาใช้ครับ รวมถึงเวลาที่จะต้องใช้ในการติดตั้งและเตรียม Environment ครับ  สามารถมาใช้งานบน MS. Azure ได้เลยครับ มีให้เลือกหลาย Platforms ครับไม่ว่าจะเป็น .Net, Node.js, Python, Ruby และอื่นๆ   ตัวผมเองยังแนะนำให้รุ่นน้องผมที่เป็นนักพัฒนาจากเดิมต้องของบประมาณจากผู้ใหญ่มาทำการติดตั้ง Environment ที่ต้องการ  ให้มาใช้บน MS. Azure แทนครับ ประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาครับผม  
ก่อนจะที่ผมจะพาท่านผู้อ่านเริ่มใช้งาน MS. Azure ผมอยากให้ท่านผู้อ่าน ดูรูปต่อไปนี้ครับ เป็นรูปที่แสดงถึงฟังกชั่นต่างๆ ที่ MS. Azure ให้บริการอยู่ครับ ซึ่งเยอะมากๆ ครับผม
เริ่มต้นการใช้งาน MS. Azure
    ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน MS. Azure ท่านผู้อ่านต้องเตรียมสองสิ่งครับ
1. Outlook.com, Hotmail หรือ LiveID Account
2. หมายเลขบัตรเครดิต
พอผมพูดถึงบัตรเครดิต ผมเชื่อได้เลยครับว่าท่านผู้อ่านเริ่มกังวลครับว่า ต้องจ่ายเงินเลยเหรอเมื่อจะใช้ MS. Azure คำตอบคือ ยังไม่ต้องจ่ายครับ เพราะทาง Microsoft เค้าใจดีครับให้เราทดลองใช้งานได้ 30 วัน และมีเงินให้เรา 200 เหรียญครับ การใช้งาน MS. Azure นั้นเค้าคิดจากการใช้งานทรัพยากรต่างๆ ครับ เช่น Processor, Memory, Storage, Network และอื่นๆ ครับ เมื่อมีการใช้งานทรัพยากรเหล่านี้ทาง Microsoft เค้าก็จะคิดตังค์เราครับ โดยตัดจากเงิน 200 เหรียญนี่ละครับ หากถึงกำหนด 30 วันหรือเงิน 200 เหรียญหมด คืออย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ก็เป็นอันว่าการทดสอบใช้งาน MS. Azure หรือ Trial ก็เป็นอันจบสิ้นครับ ทาง Microsoft ก็จะส่งเมล์มาแจ้งครับว่าหมดแล้ว และสอบถามเราว่าสนใจจะใช้บริการต่อมั๊ย ตรงนี้ล่ะครับที่เราจะต้องเสียตังค์ โดยทาง Microsoft จะให้เราเลือกรูปแบบการใช้งานครับ ซึ่งก็คล้ายๆ กับที่เราเลือกแพ็คเกจโทรศัพท์ครับ เช่น ใช้เท่าไรจ่ายเท่านั้นครับ งานเราไม่ต้องการใช้งานต่อหลังจากจบ Trial หรือการทดลองใช้งานก็จบครับ เราไม่ต้องเสียตังค์ใด ๆ ทั้งสิ้นครับ ถ้าท่านผู้อ่านเตรียมสองสิ่งที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วก็ไปใช้งาน MS. Azure กันได้เลยครับผม โดยไปที่ www.azure.microsoft.com ครับ ดังรูปด้านล่างครับ
 


เลือก Try for free ครับ



จากนั้นให้ท่านผู้อ่านเลือก   Try it now ได้เลยครับ เพื่อทำการ Register ใช้งาน MS. Azure ที่เป็นแบบ Trial   ครับ  หลังจากผ่านกระบวนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถ Log On เข้าไปใช้งาน MS. Azure กันได้แล้วครับผม  สำหรับเรื่องราวการใช้งานฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ต่างๆ  ของ MS. Azure เช่น การสร้าง Virtual Machine, การสร้าง Virtual Network (Vnet) และอื่นๆ ผมจะนำเสนอในบทความตอนต่อๆ ไปครับ อย่าลืมคอยติดตามกันนะครับผม.....