วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Azure Migration Part 3

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  ห่างหายกันไปพอสมควรเนื่องจากผมติดงานหลายอย่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาครับ เริ่มจะมีเวลาซักหน่อยก็เลยลงมือเขียนบทความต่อครับ เอาล่ะครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาสำหรับบทความของผมตอนนี้จะเป็นภาคต่อนะครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องราวของการ Migration ไปยัง Microsoft Azure โดยตอนก่อนหน้านี้ผมได้พาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับเครื่องที่จะช่วยเราในเรื่องของการทำ Discover และ Assess เพื่อที่จะใช้ข้อมูลที่ได้นี้ นำไปวางแผนประกอบการตัดสินใจสำหรับการทำ Migration ในองค์กรหรืออฟฟิศของท่านผู้อ่านต่อไปครับ  สำหรับบทความตอนนี้ผมจะพาท่านไปทำความรู้จักกับเครื่องมืออีกตัวหนึ่ง ซึ่ง ณ ปัจจุบันเครื่องมือตัวนี้มีความครบเครื่องมากครับ โดยเครื่องตัวนี้มีชื่อว่า "Azure Migrate" ครับ


Azure Migrate คืออะไร?



Azure Migrate เป็นเครื่องมือที่ให้บริการอยู่ใน Microsoft Azure ครับ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยท่านผู้อ่านในการทำ Discover, Assess, และ Migrate ครับ โดยเจ้า Azure Migrate นี้เพิ่งจะออกเวอร์ชั่นใหม่ได้ไม่นานนี้ครับ ซึ่งบางท่านอาจจะเรียกว่าเป็น Azure Migrate เวอร์ชั่น 2 ก็ได้ครับ โดย Azure Migrate เวอร์ชั่นใหม่นี้จะมีความสามารถครบเครื่องกว่าเวอร์ชั่นแรกครับ คือ สามารถทำได้ตั้งแต่ Discover, Assess, และ Migrate ครับ โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือตัวอื่นๆ มาช่วยโดยเฉพาะการทำ Migration ครับ ซึ่งในขณะที่ถ้าย้อนกลับไปที่ Azure Migrate เวอร์ชั่น 1 จะได้แค่เพียง Discover และ Assess ครับ สำหรับการทำ Migrate จะต้องอาศัยเครื่องมือตัวอื่นๆ เช่น Azure Site Recovery (ASR) เป็นต้นครับ

นอกจากนี้แล้ว Azure Migrate ยังนำเอาเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยท่านผู้อ่านในการทำ Assess และ Migrate Database, Web Application, รวมถึงการย้ายข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้ Azure Data Box  อีกทั้งยังรองรับและสามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือต่างๆ ของ ISV เช่น Cloudamize, UnifyCloud, และอื่นๆ ครับ

ความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาอีกใน Azure Migrate เวอร์ชั่น 2 คือ สามารถทำ Discover, Assess, และ Migrate จาก On-Premise Data Center ของท่านผู้อ่าน ที่ใช้ VMware, Hyper-V, Physical Servers, รวมถึง Workloads ที่รันอยู่ใน Cloud Providers อื่นๆ ด้วยครับ ในขณะที่ Azure Migrate เวอร์ชั่น 1 ใช้ได้กับ VMware เท่านั้นครับ อันที่จริงแล้ว Azure Migrate เวอร์ชั่น 2 นี้ยังมีความสามารถอีกเยอะครับ แต่ผมหยิบเอาที่เป็น Highlight ฟีเจอร์มาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับผม


เริ่มต้นใช้งาน Azure Migrate

สำหรับการเริ่มต้นใช้งาน Azure Migrate ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายครับ โดยให้ท่านผู้อ่านไปที่ Azure Portal แล้วไปที่ All Services แล้วพิมพ์คำว่า Azure Migrate ดังรูปด้านล่างครับ




ทำการคลิ๊ก Azure Migrate เลยครับ จากนั้นจะเข้าสู่หน้าหลักของ Azure Migrate ดังรูปครับ



จะสังเกตว่าใน Azure Migrate จะมีเครื่องมือต่างๆ ให้ท่านผู้อ่านเลือกใช้สำหรับการทำ Migration ตามที่ผมได้อธิบายไว้ในข้างต้นครับ  สำหรับในบทความนี้ สมมุติว่าผมกำลังวางแผนและ Migrate เครื่องต่างๆ ที่อยู่ใน On-Premise Data Center ของผมขึ้นไปที่ Microsoft Azure ครับ ดังนั้นจากหน้าหลักของ Azure Migrate ผมจะทำการคลิ๊กที่ Servers ดังรูปครับ


แล้วคลิํก Add Tools ครับ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป ดังรูปด้านล่างครับ



จากรูปด้านบน ท่านผู้อ่านจะต้องกำหนดค่าต่างๆ เริ่มตั้งแต่ Azure Subscription, Resource Group, ชื่อของ Azure Migrate Projcet และ Location ครับ จากนั้นคลิ๊ก Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนในการเลือก Assessment Tools ดังรูปด้านล่างครับ



สำหรับขั้นตอนข้างต้นในการเลือก Assessment Tools นั้น ผมเลือก Azure Migrate:Server Assessment ครับ ซึ่งเป็นเครื่องมือของ Azure Migrate ในการทำ Assess และ Discover ครับ และจากรูปด้านบน ท่านผู้อ่านจะเห็น Tools หรือเครื่องมือตัวอื่นๆ อีกเยอะเลยครับ โดย Tools หรือเครื่องมือเหล่านี้มาจาก ISV ครับ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายนะครับ แต่ถ้าเป็น Azure Migrate:Server Assessment ที่ผมได้เลือกไว้ก่อนหน้านี้ ฟรีครับผม จากนั้นคลิ๊ก Next ต่อไปครับ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเลือก Tools หรือเครื่องมือในการ Migrate ดังรูปด้านล่างครับ



จากรูปด้านบนจะเป็นการเลือก Migration Tools ครับ โดยผมจะทำการเลือก Azure Migrate:Server Migration ครับ โดยเครื่องมือตัวนี้จะเป็นเครื่องตัวใหม่ที่นำเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถให้กับ Azure Migrate เวอร์ชั่น 2 ครับ โดยเครืองมือตัวนี้จะมาช่วยท่านผู้อ่านในการทำ Migration ครับ โดยไม่ต้องใช้ Azure Site Recovery ครับผม

เมื่อกำหนดค่าต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ สำหรับ Azure Migrate Project เรียบร้อยแล้ว ก็จะเริมเข้าสู่ Phase แรก นั่นก็คือ การทำ Discover และ  Assess ครับ ดังรูปด้านล่างครับ



โดยในส่วนของ Phase Discover และ Assess นี้ จะมีการ Download ไฟล์ๆ หนึ่ง ซึ่ง ไฟล์ดังกล่าวนี้คือ Virtual Machine ที่จะต้องการ Import ม้นเข้าไปใน On-Premise Data Center ครับ ซึ่งรองรับทั้ง VMware และ Hyper-V ซึ่งขึ้นอยู่กับ On-Premise Data Center ของท่านผู้อ่านใช้ตัวไหนครับ โดย Virtual Machine ดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่ในการ Discover เครื่องต่างๆ ที่อยู่ใน On-Premise Data Center ของผมหรือของท่านผู้อ่าน แล้วนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ส่งกลับไปที่ Azure Migrate เพื่อทำการประเมินหรือทำ Assessment ต่อไปครับ ดังรูปครับ



จากนั้นให้ท่านผู้อ่านทำตามขั้นตอนต่างๆ ไปครับ ซึ่งเท่าที่ผมลองทดสอบดู ขั้นตอนเหล่านั้นไม่ได้ยุ่งยากมากเท่าไรครับ เมื่อทำการกำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่ได้จากการ Discover ก็ถูกส่งกลับมาที่ Azure Migrate ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่างครับ




หลังจากที่ได้ข้อมูลจาการก Discover มาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำ Assess ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการ Discover มาทำการวิเคราะห์และประเมิน โดยท่านผู้อ่านสามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น Azure Reserved Instances (Azure RIs), Azure Hybrid Benefits, และอื่นๆ  เพื่อใช้ในการประเมินหรือ Assessment ได้ครับ ดังรูป



และเมื่อทำการกำหนคค่าตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ในการทำ Assessment เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็คลิ๊กที่ Create Assessment ดังรูปครับ




รอซักครู่ครับ ท่านผู้อ่านจะได้เห็นผลลัพธ์ของการทำ Assessment ดังรูปด้านล่างครับ







จากข้อมูลที่ได้จากการทำ Assessment ท่านผู้อ่านก็จะทราบว่า ถ้าทำการ Migrate เครื่องหรือ Virtual Machines จาก On-Premise ขึ้นไปที่ Microsoft Azure นั้น Virtual Machines ดังกล่าวนั้นจะใช้ Azure Virtual Machine Series ใด, Sizes ใด, และจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไรครับ และยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการทำ Assessment ด้วยครับ เช่น Azure Migrate จะแนะนำและแจ้งเราว่า Virtual Machines ตัวใดบ้างที่พร้อมทำการ Migrate ไปที่ Microsoft Azure เลย หรือตัวไหนที่ไม่พร้อมและต้องทำอย่างไร ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นท่านผู้อ่านจะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบกับปัจจัยหรือข้อมูลอื่นๆ เพื่อทำการวางแผน, ออกแบบและตัดสินใจว่าจะทำการ Migate เครื่องหรือ Virtual Machines ตัวใดบ้างจาก On-Premise ไปยัง Microsoft Azure ครับ และเมื่อตัดสินใจแล้ว ก็จะเข้าสู่ Phase ของการ Migrate ซึ่ง ท่านผู้อ่านยังคงใช้ Azure Migrate เพื่อทำการ Migrate เครื่องหรือ Virtual Machines เหล่านั้น ได้เลยครับ

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Migration ครับผม…..




วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Dedicated Host

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความนี้ผมขอแนะนำ Service ใหม่ใน Microsoft Azure ที่เพิ่งออกมาไม่นานนี้ครับ Service ใหม่นี้มีชื่อว่า "Azure Dedicated Host" ณ ตอนนี้ที่ผมเขียนบทความนี้ยังเป็น Preview อยู่นะครับ  โดย Azure Dedicated Host นี้จะเป็น Service ที่ให้ท่านผู้อ่านสามารถสร้างและรัน Azure Virtual Machines ใน Single-Tenant Physical Services นั่นหมายความว่าท่านผู้อ่านสามารถสร้างและรัน Azure Virtual Machines โดยไม่ต้องไปแชร์ทรัพยากร (CPU, Memory, และอื่นๆ) กับคนอื่นครับ  ซึ่งแตกต่างจาก "Isolated Virtual Machine" ซึ่งเป็น Service ที่มีให้บริการก่อนหน้านี้ครับ โดย Isolated Virtual Machine ให้บริการ Virtual Machines ที่มีสเปคแรงหรือขนาดใหญ่อยู่ 2 แบบ และแน่นอนสำหรับ Azure Dedicated Host มีความแตกต่างออกไปครับ จะเป็นอย่างไรและมีรายละเอียดอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Dedicated Host กันเลยครับผม


Azure Dedicated Host คืออะไร?

เป็น Service ที่ให้บริการและรองรับการสร้างและรัน Virtual Machines ไม่ว่าจะเป็น Windows, Linux, และ SQL โดยคิดค่าใช้จ่ายตาม Host ครับ โดยไม่สนใจว่าจะรันกี่ Virtual Machines ครับ  ผมขอยกตัวอย่างสเปคของ Host ที่ให้บริการ Azure Dedicated Host เช่น

Type 1: Intel Xeon 2.3 GHz E5-2673 v4 โดย Clock Seed สามารถอัพได้ถึง 3.5 GHz
Type 2: Intel Xeon Platinum 8168 กับ Single-Core Clock Speed โดยสามารถอัพได้ถึง 3.7 GHz




สำหรับ Memory มีให้เลือกตั้งแต่ 144 GiB - 448 GiB และมี Azure Virtual Machine Series และ Sizes ให้เลือกใช้ เช่น Dsv3, Esv3, และ Fsv2 Series รวมถึง Azure Storage ที่มีให้เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็น Standard HDDs, Standard SSDs, และ Premium SSDs สำหรับรายละเอียดของ Azure Dedicated Host สามารถดูได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/details/virtual-machines/dedicated-host/




Azure Dedicated Host เป็น Service ที่สามารถช่วยองค์กรที่มีความต้องการเกี่ยวกับ Compliance สำหรับ Physical Security, Data Integrity, และ Monitoring  โดย Dedicated Host ยังคงรันและทำงานเหมือนกับ Hosts อื่นๆ ที่ติดตั้งและทำงานใน Azure Data Centers แตกต่างกันตรงที่ ท่านผู้อ่านสามารถควบคุมและดูแลรักษา Host นั้นได้ครับ นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถนำเอา Dedicated Hosts เข้ามาเพื่อทำการสร้างกลุ่มของ Physical Servers (Dedicated Servers) โดยใข้ Availability Zones For Fault Isolation หรือ Fault Domain For Fault Isolation เพื่อรองรับ High Availability และแน่นอนหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับ Hardware ของ Host นั้นๆ ก็จะส่งผลกระทบกับ Virtual Machines ที่รันอยู่ใน Dedicated Host นั้นๆ ครับ  สำหรับ Azure Dedicated Host ท่านผู้อ่านสามารถเลือกใช้ได้จาก Azure Marketplace ใน Azure Portal ดังรูป






สำหรับในส่วนของ License และราคาของ Azure Dedicated Host นั้นคิดค่าใช้จ่ายตาม Host ที่ใช้งาน โดยไม่คำนึงถึงจำนวนของ Azure Virtual Machines ที่รันใน Host (Azure Dedicated Hosts) นั้น สำหรับในส่วนของ License จะมีค่าใช้จ่ายต่างหากไม่รวมกับ Compute Resources ที่ใช้งานครับ โดยคิดตาม Virtual Machine ที่ใช้งานครับ ในกรณีที่ออฟฟิศผู้ใช้งานมีการซื้อ Windows และ SQL Server Licenses พร้อมกับ Software Assurance และมีการ Migrate Workloads หรือ Virtual Machines มารันใน Azure Dedicated Host, ท่านผู้อ่านสามารถใช้  "Azure Hybrid Benefit" รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/hybrid-benefit/





ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้ Microsoft จะคิดค่าใช้จ่าย Azure Dedicated Host ในรูปแบบ pay-as-you-go นั่นก็คือ เราใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับ ข้อมูลเพิ่มเติมของ Azure Dedicated Host สามารถติดตามได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/services/virtual-machines/dedicated-host/




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Dedicated Hosts ครับผม…..





วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Azure Migration Part 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความ Azure Migration ของผมในบทความนี้จะเป็น Part หรือตอนที่ 2 แล้วนะครับ โดยบทความนี้ผมจะเข้าสู่กระบวนการหรือ Phases ต่างๆ สำหร้บการทำ Migration ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วว่ามี Phases อะไรบ้างในบทความของผมตอนที่แล้วครับ โอเคครับ เพื่อให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าสู่ Phase แรกกันเลย นั่นก็คือ "Assess" ครับ

Assess-Phase นี้จะว่ากันด้วยเรื่องราวของการทำเก็บรวบรวมข้อมูลของ Workloads หรือเครื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Physical หรือ Virtual Machines ที่รันและทำงานใน On-Premise Data Center ของท่านผู้อ่านครับ ซึ่งเราต้องการย้ายหรือ Migrate ครับ คำถามคือ เราจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจัดทำ Inventory ของเครื่องหรือ Workloads ต่างๆ เหล่านี้อย่างไร มันคงไม่สะดวกแน่ถ้าเราจะใช้วิธีการเดินไปจดหรือเก็บข้อมูลทีละเครื่อง

ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ท่านผู้อ่านก็จะต้องหา Tools หรือเครื่องมือที่จะมาช่วยเก็บข้อมูลเพื่อทำการประเมินแล้วล่ะครับ ปัญหาคือ เครื่องมือเหล่านี้ต้องซื้อหรือไม่ และความยากง่ายในการใช้งาน ตลอดจนสามารถทำการประเมินเพื่อทำการ Migration ได้หรือไม่ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าเมื่อมาถึงจุดนี้เราต้องการเครื่องมือเข้ามช่วยสำหรับ Phase นี้แล้วครับ ดังนั้นผมขอแนะนำเครื่องมือตัวแรกก่อนเลยนะครับ โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า "Microsoft Assessment and Planning Toolkit" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "MAP" ครับผม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยเราในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการประเมินสำหรับการทำ Migration ครับผม และที่สำคัญคือ เครื่องมือตัวนี้ (MAP), ทาง Microsoft ได้จัดทำขึ้นให้กับลูกค้าให้ไปใช้งานกันได้ฟรีครับผม !!!!!


Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP)

MAP เป็น Agentless Inventory, Assessment, และ Reporting Tool นั่นหมายความ เราไม่ต้องทำการติดตั้ง Agent หรือ Components ใดๆ เลยที่เครื่องที่เราต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลครับ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นและไม่ทำให้เกิดปัญหากับระบบของลูกค้าด้วยครับผม เพราะจากประสบการณ์ที่ผมเจอเวลาที่จะทำ Assessment ระบบให้กับลูกค้า ทางลูกค้าจะถามผมก่อนเลยครับว่า ต้องติดตั้ง Agent ที่เครื่อง Servers รึป่าว เพราะทางลูกค้ากังวลว่าเมื่อติดตั้ง Agent ไปที่ Servers แล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ครับ แต่พอผมบอกกับลูกค้าว่าเป็น Agentless ทางลูกค้าจึงคลายความกังวลและพร้อมที่จะทำ Assessment ระบบต่อไปครับ  ด้วยตัวของ MAP เองสามารถทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (Assess) เพื่อทำ Migration ได้จากหลาย Platforms เช่น Windows 10, Windows 7, Office 2xxx, Office 365, Windows Server 2012 R2, 2016, SQL Server, Hyper-V, VMware และอื่นๆ ครับผม  ดังนั้นท่านผู้อ่านจะต้องทำการวางแผนก่อนนะครับว่าจะใช้ MAP ใน Scenario ใด เช่น การทำ Migration ไปที่ Azure, การทำ Windows 10 Deployment, และอื่นๆ ครับ ซึ่งในบทความนี้เรามีวัตประสงค์คือ การทำ Migration ไป Microsoft Azure ครับ

หลังจากที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่อง Servers หรือจาก Environment ของท่านผู้อ่านมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว  MAP ก็จะจัดทำ Report หรือรายงานสำหรับการทำ Assessment ดังรูปด้านล่างครับ





จากรูปด้านบนคือ Reports หรือรายงานที่ทาง MAP ได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาครับ ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นว่ามีทั้งเครืองที่รันเป็น Virtual Machines รวมถึงรันอยู่ใน VMware ด้วยครับ

"ผมขอสรุปง่ายๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงตัวของ MAP นะครับ เริ่มจาก MAP จะทำเก็บข้อมูลจากเครื่องต่างๆ ที่อยู่น On-Premise Data Center จากนั้นก็จะทำการประเมินให้ด้วยว่าเครื่องใดบ้างที่พร้อมจะทำการ Migrate รวมถึงทำการประเมินให้ด้วยครับว่า เครื่องเหล่านี้เมื่อ Migrate ขึ้นไปบน Microsoft Azure จะใช้ Azure Virtual Machine Series และ Sizes ใดครับ"

มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านอยากจะดาวน์โหลด MAP มาติดตั้งและลองใช้งานดูแล้วใช่มั๊ยครับ :)  MAP สามารถดาวน์โหลดได้จาก Link นี้ครับ,
https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=7826

เมื่อดาวน์โหลดมาเรียบร้อย ให้ท่านผู้อ่านทำการติดตั้ง MAP ได้เลยครับ โดยเครื่องที่จะทำการติดตั้ง MAP คือเครื่องของท่านผู้อ่านเองนะครับ ไม่ต้องไปติดตั้ง MAP ที่เครื่องหรือ Servers ที่เราจะทำ Assessment นะครับ เพราะอย่างที่ผมบอกเอาไว้ในตอนต้นว่า MAP เป็น Agentless Tools ครับ การติดตั้ง MAP ไม่มีอะไรยุ่งยากสลับซับซ้อนครับ เหมือนกับการติดตั้งโปรแกรมปรกติทั่วไปครับ สำหรับ OS ที่รองรับสำหรับการติดตั้ง MAP มีด้งนี้ครับ

- Windows 10 (Professional, Enterprise, และ Ultimate Editions)
- Windows 8 (Professional และ Enterprise Editions)
- Windows 7 + SP1 (Professional, Enterprise และ Ultimate Editions)
- Windows Server 2012 และ 2012 R2
- Windows Server 2016

และเมื่อทำการติดตั้ง MAP, จะมีการติดตั้ง SQL Server 2xxx Express LocalDB นะครับ หรือจะใช้เป็น  SQL Server ปรกติก็ได้เช่นกันครับ  เมื่อติดตั้ง MAP เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านผู้อ่านทำการเปิดใช้งาน MAP เลยครับ ก็จะปรากฏหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นก็เริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกันได้แล้วครับ โดย MAP รองรับการเก็บข้อมูลจากหลากหลายวิธีครับ มีอะไรวิธีใดบ้างไปดูกันเลยครับผม




เมื่อกำหนดวิธีการเสร็จเรียบร้อยแล้ว MAP ก็จะเริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ Inventory ครับ ดังรูป




จากนั้นก็สามารถไปดูผลลัพธ์ครับและรวมถึง Reports หรือรายงาน ซึ่งผมได้แสดงให้ดูในตอนต้นครับผม

ในขั้นตอนต่อไปคือการประเมินค่าใช้จ่ายของ Azure Virtual Machines ครับ ซึ่งตรงจุดนี้ MAP ยังไม่สามารถทำ Costing หรือประเมินค่าใช้จ่ายได้นะครับ ดังนั้นท่านผู้อ่านจะต้องข้อมูลตรงนี้ไปคำนวนค่าใช้จ่ายจากเครื่องมือที่ชื่อว่า "Azure Pricing Calculator",  https://azure.microsoft.com/en-in/pricing/calculator/ครับ ดังรูป




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Assess Phase สำหรับการทำ Migration ครับ ในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเครื่องมือตัวอื่นๆ ที่จะมาช่วยท่านผู้อ่านในการทำ Assessment ครับ โปรดติดตามครับผม…..




Azure Migration Part 1

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สบายดีกันนะครับ สำหรับผมห่างหายไปจากการเขียนบทความไปซักระยะหนึ่งเนื่องจากมีงานหลายๆ อย่างต้องทำครับเลยไม่มีเวลา แต่ว่าตอนนี้พอจะมีเวลาแล้วครับ ประกอบกับตัวผมเองอขากจะนำเอาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ Microsoft Azure มาถ่ายทอดเป็นบทความให้กับทุกท่าน ได้ติดตามกันครับผม  เอาล่ะครับทักทายทุกท่านกันเรียบร้อย มาเข้าสู่บทความเกี่ยวกับเรื่องราวของ Microsoft Azure กันเลยครับ

โดยบทความนี้จะเป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องของ Migration ครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้เป็น Topic ที่หลายๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนสำหรับการ Migrate ระบบขึ้นไปทำงานบน Cloud ครับ  และในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าไปให้คำปรึกษากับลูกค้าตลอดจนได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรที่ Microsoft ไปพูดคุยและอธิบายถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกันครับ  และพบว่าหลายๆ ท่านและหลายๆ องค์กรยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Migration ครับ จึงทำให้หลายๆ องค์กรยังไม่แน่ใจและไม่มั่นใจ เพราะยังไม่ทราบว่าถ้าจะทำการ Migration นั้นจะต้องเริ่มต้นจากตรงไหน อย่างไร และอื่นๆ เป็นต้น และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าสู่เรื่องราวของ Azure Migration กันเลยครับ

อย่างที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้นว่า ณ วันนี้ หลายๆ องค์กรกำลังเตรียมความพร้อมที่จะทำการวางแผนและพิจารณาที่จะทำการย้ายระบบงานต่างๆ ที่รันและทำงานอยู่ใน On-Premise Data Center ไปที่ Cloud
(Microsoft Azure)




โดยมีสิ่งที่องค์กรจะต้องทำการพิจารณาหลายอย่างครับ เช่น ค่าใช้จ่าย, ROI, เทคนิค, และอื่นๆ  และคำถามที่ตัวผมเองมักจะถูกถามบ่อยๆ คือ จะเริ่มจากตรงไหนและมีกระบวนการของการทำ Migration ที่จะต้องทำการวางแผนนั้นมีรายละเอียดอย่างไร เป็นต้น จากจุดนี้เอง ผมขอเริ่มด้วยการอธิบาย Phases งานต่างๆ สำหรับการทำ Azure Migration ซึ่งประกอบไปด้วย Phases ต่างๆ ดังนี้ครับ:

1. Assess-เป็น Phase ที่ให้ท่านผู้อ่านทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเครื่อง Physical หรือ Virtual Machines ที่ต้องการทำการ Migrate



จากนั้นนำเอาข้อมูลที่ได้มาทำการประเมินในเรื่องต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่าย, ขนาดหรือ Size ของ Azure Virtual Machines ที่จะใช้เมื่อ Migrate เครื่องต่างๆ ขึ้นไปแล้ว เป็นต้น  โดยข้อมูลที่ได้จาก Phase นี้ก็จเป็นข้อมูลตั้งต้นที่จะนำมาใช้ประกอบในการวางแผนในการทำ Migrate ต่อไปครับ

2. Migrate-เป็น Phase ที่จะทำการ Migrate เครื่องต่างๆ หลังจากที่ได้ทำการประเมินและวางแผนเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

3. Optimize-เป็น Phase ที่เกี่ยวกับการเข้าไปตรวจสอบและพิจารณาดูว่า หลังจากที่ได้ทำการ Migrate เครื่องต่างๆ ขึ้นไปทำงานบน Microsoft Azure แล้วเป็นอย่างไร จะต้องทำการปรับ, แก้ไข, หรือเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น เรื่องของ High Availability, Performance, และอื่นๆ เป็นต้นครับ

4. Secure & Manage-เป็น Phase ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในส่วนต่างๆ เช่น เรื่องของ การป้องกันข้อมูลสูญหาย (Data Loss Protection), เรื่องของความปลอดภัย (Security), เรื่องของ Disaster Recovery, และอื่นๆ

ซึ่งแต่ละ Phases ที่ผมได้อธิบายในข้างต้นนั้น ทาง Microsoft ได้เตรียมข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ สำหรับนำไปใช้งานในแต่ละ Phases ให้กับลูกค้าเรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งผมจะนำเสนอในบทความของผมต่อไปครับผม

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจอยากไปศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Azure Migration สามารถไปที่ "Azure Migration Center" จาก Link นี้ได้เลยครับ, https://azure.microsoft.com/en-us/migration/




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Migration Part 1 ครับ เป็นการปูเรื่องราวต่างๆ ของการทำ Migration กันก่อนครับ สำหรับในตอนหน้า ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักในรายละเอียดของ Phases ต่างๆ พร้อมกับเครื่องมือที่จะเข้ามาช่่วยงานครับผม…..


วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Service Health

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Services หรือ Resources ต่างๆ ของ Microsoft Azure อยู่ ไม่ว่าจะเป็น Azure Virtual Machines, Azure Storage, Azure App Service, และอื่นๆ  เคยนึกถึงเหตุการณ์นี้มั๊ยครับ ถ้าวันหนึ่ง Services หรือ Resources ต่างๆ ที่เราได้มีการสร้างและใช้งานอยู่เกิดมีปัญหา สิ่งที่อยากรู้หรืออยากทราบแวบแรกเลยก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มันเป็นที่เราหรือเป็นที่ฝั่งของ Microsoft Azure กันแน่

สำหรับคำถามนี้สำหรับตัวผมเองนั้นก็เจอบ่อยพอสมควรครับ เช่น ลูกค้าผมรายหนึ่งมีการสร้าง Azure Virtual Machine เพื่อทำหน้าที่เป็นรันและให้บริการแอพพิเคชั่นครับ อยู่มาวันหนึ่งผู้ใช้งานไม่สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปใช้งานได้ ปัญหาที่ผมอธิบายไว้ในข้างต้น คือ คำถามที่ลูกค้าโทรมาสอบถามผมครับ  และผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Microsoft Azure อยู่ ก็น่าจะมีคำถามแบบเดียวกันครับ ถ้าเจอกับปัญหาข้างต้นครับ และสิ่งที่เราอยากรู้หรืออยากทราบก็คือ มันเกิดที่เราหรือเกิดที่ฝั่งของ Microsoft Azure กันแน่ และด้วยเหตุนี้เอง ทาง Microsoft Azure ได้เตรียมเซอร์วิสที่ชื่อว่า "Azure Service Health" มาช่วยจัดการกับปัญหาข้างต้นครับผม และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Health Service กันเครับ โดยส่วนตัวผมคิดและเชื่อว่า Azure Health Service เป็น Service หนึ่งที่มีประโยชน์กับลูกค้าหรือท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Resources ต่างๆ บน Microsoft Azure ครับ


Azure Health Service คืออะไร?

Azure Service Health จะช่วยเราโดยการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหากับ Azure Services เช่น Incident, Planned Maintenance, และอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบกับเรา โดย Azure Service Health ได้เตรียม Personalized Dashboard ที่จะแสดงข้อมูลของ Health ของ Azure Services ต่างๆ รวมถึงการกำหนดการแจ้งเตือนครับ สามารถเข้าไปที่ Link นี้ครับ  https://azure.microsoft.com/en-us/features/service-health/  เพื่อดูข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ Azure Health Service ครับผม สำหรับบทความนี้ผมจะเริ่มทำการกำหนดต่างๆ สำหรับ Personalized Dashboard ใน Azure Health Service ครับผม




โดยจากรูปด้านบน ผมคลิ๊กที่ View your personalized dashboard ครับ ให้ท่านผู้อ่านทำการ Sign-In ครับ จากนั้นให้รอซักครู่ก็จเข้าสู่ในส่วนของ Azure Health Service ดังรูปด้านล่างครับ




จากรูปด้านบนจะเห็นว่ามีปัญหาหรือ Issues เกี่ยวกับเซอร์วิสของ Microsoft Azure ซึ่งจากรูปมี Issues เกี่ยวกับเรื่องของเน็คเวิรค์ครับ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถคลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดของ Issues นี้ได้ครับ ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะสาเหตุใดครับ ส่วนต่อมาจะเป็นส่วนของ Planned Maintenance, สำหรับในส่วนนี้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูเกี่ยวกับ Planned Maintenance ของ Microsoft Azure ได้ครับ ว่าจะเมื่อไรและมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เช่นกันครับ สำหรับส่วนต่อมาที่ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปดูคือ ส่วนที่ชื่อว่า Health History ครับ โดยส่วนนี้จะเก็บข้อมูลของ Health ของ Azure Services ต่างๆ เอาไว้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปดูได้ครับ ดังรูป




และในส่วนต่อมาคือ ส่วนที่เรียกว่า Health Alerts ซึ่งผมถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งใน Azure Health Service เพราะในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องการกำหนดการแจ้งเตือนเมื่อมีปัญหาหรือ Issues ที่เกิดขึ้นกับ Services หรือ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure แล้วมีผลกระทบกับการทำงานของสิ่งต่างๆ หรือ Resources ต่างๆ ที่ท่านผู้อ่านได้มีการสร้างและใช้งานอยู่ครับผม เริ่มด้วยให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Health Alerts แล้วไปคลิ๊กที่ Create service health alert ครับ จากนั้นจะเข้าสู่การกำหนดค่าในส่วนการสร้าง Rule (Create rule) เพื่อที่จะให้ทาง Azure Service Health ทำการแจ้งเตือนเราครับ ดังรูป




สิ่งที่ผู้อ่านจะต้องทำการกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนของ Rule ใน Health Alerts ดังนี้:

 ALERT TARGET เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านกำหนด Subscription, Services, และ Regions ที่ต้องการให้ทำการแจ้งเตือน ต่อมาในหัวข้อ Service health criteria ให้ทำการเลือกรูปแบบหรือชนิดของ Azure Services เช่น Service Issues, Planned Maintenance, และอื่นๆ ครับ

ACTION GROUPS เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดกลุ่มของผู้ใช้งานที่ต้องการให้ Azure Health Service ทำการแจ้งเตือน รวมถึงวิธีการแจ้งเตือน เช่น แจ้งผ่านทางอีเมล์, ทาง SMS, เป็นต้นครับ ในกรณีที่ท่านผู้อ่านยังไม่เคยมีการสร้าง Action Group มาก่อนเลย ก็สามารถสร้างได้จากตรงนี้เลยครับ แต่ถ้าในกรณีที่มีอยู่แล้วก็สามารถกำหนดได้เลยครับผม

ALERT DETAILS เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านตั้งชื่อของ Alert rule name ตลอดจนรายละเอียด และกำหนด Resource Group ใดที่จะเก็บ alerts ครับผม




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Health Service ครับผม…..















วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

     สวัสดีครับทุกท่าน สืบเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสจัด Workshop "Practical Microsoft Azure IaaS" ให้กับลูกค้าที่หนึ่ง และมีเนื้อหาของ Azure Virtual Machine หัวข้อหนึ่งที่เน้นหรือโฟกัสเรื่องของ High Availability และ Performance สำหรับ Applications ที่รันและทำงานอยู่ใน Azure Virtual Machines ว่าจะทำอย่างไรให้ Applications ที่รันอยู่ใน Azure Virtual Machines นั้นสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพตลอดจนเรื่องของ High Availability เมื่อให้บริการผู้ใช้งานหรือลูกค้าจำนวนมากๆ  สำหรับ Challenges หรือความต้องการนี้สามารถใช้เซอร์วิสหนึ่งใน Microsoft Azure ที่ชื่อว่า "Azure Virtual Machine Scale Set" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "VMSS" มาช่วยได้ครับ  และต้องบอกว่า VMSS ถือว่าเป็นเซอร์วิสที่ทำให้หลายๆ องค์กรอยากย้ายหรือสร้างระบบงานต่างๆ บน Cloud กันเลยล่ะครับ เพราะด้วยความสามารถของ VMSS นั้นทำให้องค์กรได้ประโยชนในเรื่องของ "Rapid Elasticity" ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งที่สำหรับของ Cloud (Cloud Characteristics) ครับ เพราะทำให้องค์กรหรือผู้ดูแลระบบที่ย้ายขึ้นไปทำงานบน Cloud นั้นสามารถขยายหรือลดทรัพยากร (Resources) ที่ใช้งานได้ตามความต้องการ (On-Demand) ครับ

ผมขอยกตัวอย่าง เช่น ถ้าท่านผู้อ่านมี Web Application รันใน Virtual Machine และอยู่ใน On-Premise Datacenter เพื่อรองรับการเข้ามาใช้บริการของผู้ใช้งานไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกออฟฟิศ ในเวลาต่อมาท่านผู้อ่านพบว่ามีผู้เข้ามาใช้งาน Web Application ดังกล่าวเยอะมาก ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของ Performance ดังนั้นสิ่งที่ท่านผู้อ่านจะต้องทำการวางแผนและพิจารณาคือ จะทำอย่างไรให้ Web Application ดังกล่าวสามารถมี Performance ที่ดีและรองรับ HA (High Availability)  ซึ่งแน่นอนในตลาดมีโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการข้างต้น แต่มีค่าใช้จ่ายเท่าไรล่ะครับ เพราะมีความเป็นไปได้ที่โซลูชั่นดังกล่าวนัั้นจะมาพร้อมกับ Hardware, Software, และค่า Services ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการข้างต้นครับ  แต่ในทางกลับกันถ้า Web Application ดังกล่าวถูกสร้างและติดตั้งเป็น Virtual Machine บน Microsoft Azure ท่านผู้อ่านสามารถใช้ VMSS ได้เลยครับ โดยที่ไม่ต้องรอการจัดซื้อและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด้วยครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ VMSS กันเลยครับผม


Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

คือเซอร์วิสหนี่งใน Microsoft Azure ที่ให้เราสามารถทำการสร้างและจัดการกลุ่มของ Azure Virtual Machine ที่เป็น Identical คือ เป็น Azure Virtual Machine ที่มีทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น Series, Sizes, OS Disks, Configuration, และอื่นๆ รวมถึงการทำ Load Balancing ด้วยครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถกำหนดเงื่อนไขใน VMSS เพื่อทำการเพิ่มหรือลด Instances (Azure VM ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Azure VM ตัวแรกใน VMSS โดยจะมีทุกอย่างเหมือนกัน) ได้ตามความต้องการ (On-Demand) หรือกำหนดเป็น Schedule ครับ เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของ Application ที่ให้บริการนั้นดีและมีความยืดหยุ่นขึ้นครับ เพราะ ณ ขณะใดขณะหนึ่งมี Azure Virtual Machines มากกว่าหนึ่งตัว (Instances) ช่วยกันทำงานครับ ในแง่ของการใช้จ่ายสำหรับ VMSS นั้นทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะ Azure VMs หรือ Instances ที่รันและทำงานอยู่เท่านั้นครับ ดังนั้นทำให้ผู้ใช้บริการอย่างเราๆ สามารถใช้งาน VMSS ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ Compute ไม่มากเท่าไร เนื่องจาก Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Compute (Azure VM หรือ Instance) ใน VMSS ที่รันและทำงานเท่านั้น ทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครับ






ทำไมต้องใช้และประโยชน์ของ Azure Virtual Machine Set (VMSS)

จากตัวอย่างที่ผมได้เล่าไปในข้างต้นว่า องค์กรนั้นจะวางแผนและจัดการในเรื่องของ Redundancy และ Performance ของ Web Application ตัวนั้นๆ อย่างไร ในกรณีที่ Web Application ดังกล่าวรันและทำงานอยู่ใน On-Premise Datacenter และประสบกับปัญหาข้างต้น แน่นอนครับ องค์กรนั้นๆ ก็จะต้องทำการวางแผนเพื่อจัดซื้อโซลูชั่นเพื่อมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่สิ่งสำคัญคือ โซลูชั่นนั้นๆ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร และจะต้องใช้เวลาเท่าไรในการติดตั้งใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษา (Maintainance) ครับ และในทางกลับกันถ้า Web Application ดังกล่าวติดตั้งและทำงานอยู่ใน Azure Virtual Machine องค์กรนั้นๆ สามารถใช้งาน VMSS ได้เลยครับและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าด้วยครับ จากจุดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ที่องค์กรนั้นๆ จะได้รับจากการนำเอาระบบงานต่างๆ ขึ้นไปทำงานอยู่บน Cloud (Microsoft Azure) ครับผม  และนอกเหนือจากที่ VMSS จะเข้าช่วยในเรื่องของการจัดการ Performance และ High Availability แล้ว ในส่วนของผู้พัฒนา Web Application จะสามารถทำการแก้ไขหรืออัพเดทได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้นครับ

ในแง่เทคนิคสำหรับ Infrastructure นั้น, VMSS ยังสามารถทำงานร่วมกับ Azure Load Balancer และ Azure Application Gateway ด้วยครับ รวมถึงการทำ Availability Zones เพื่อรองรับการทำ High Availability อีกด้วยครับผม  VMSS สามารถรองรับจำนวน Instances (Azure VMs) ได้มากถึง 1,000 VM Instances ครับ ถ้า Azure VM ที่ถูกสร้างขึ้นใน VMSS ท่านผู้อ่านเลือกจาก Azure Marketplace ครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านใช้ Custom Images, VMSS จะรองรับจำนวน Instances ได้ 600 VM Instances ครับผม

*ข้อมูลตัวเลขตลอดจนความสามารถต่างๆ ของ VMSS อาจมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ ข้อมูลตัวเลขตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ของ VMSS ที่อยู่ในบทความนี้ อ้างอิงจาก Microsoft ณ วันที่ผมเขียนบทความนะครับ


การสร้าง Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

เริ่มจากให้ท่านผู้อ่านเปิดและ Sign-In Azure Portal ขึ้นมาครับ จากนั้นให้ไปที่ Azure Marketplace ดังรูปครับ




จากนั้นในช่อง Search ให้พิมพ์คำว่า Virtual Machine Scale Set แล้วกด Enter ครับ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่างครับ



ให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Virtual Machine Scale Set จากรูปด้านบนครับ แล้วคลิ๊ก Create ครับ จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างและการกำหนดค่าต่างๆ (Create virtual machine scale set) ซึ่งจะมีหลายส่วนนะครับ สำหรับ VMSS ดังรูปด้านล่างครับ





ในการทำงานจริงหรือเพื่อทดสอบ, ท่านผู้อ่านสามารถกำหนดค่าต่างๆ ใน VMSS ได้ตามความต้องการเลยครับ สำหรับในบทความนี้ในส่วนแรก คือ ส่วนของ BASIC ครับ  *VMSS รองรับ Azure VM ที่ติดตั้ง OS เป็น Open Source ด้วยนะครับ




ในส่วนของ BASIC สำหรับท่านผู้อ่านที่คุ้นเคยและใช้งาน Microsoft Azure อยู่แล้ว ผมเชื่อว่าสามารถกำหนดค่าต่างๆ จากรูปข้างต้นได้เองเลยครับ  จากนั้นในส่วนต่อมาที่จะต้องกำหนดค่าต่างๆ คือ ส่วนของ INSTANCES ครับ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ท่านผู้อ่านจะต้องกำหนดค่าของ Instances Count (จำนวนของ Azure VM ใน VMSS) และกำหนด Image ของ Azure VM ที่จะใช้ใน VMSS ครับ สำหรับบทความนี้ผมกำหนดในส่วนของ INSTANCES ดังรูปด้านล่างครับผม




ในส่วนต่อมาคือ ส่วนของ AUTOSCALE  ให้ทำการ Enable ครับ สำหรับในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการทำ Auto Scaling ครับ โดยจะมีค่าต่างๆ ให้กำหนด เช่น Scale Out และ In สำหรับ Azure VM ที่อยู่ใน VMSS นั้นๆ ครับ  ดังรูป





จากรูปข้างต้น ผมได้กำหนดค่า Minimum และ Maximum ของจำนวน Azure VMs ใน VMSS นี้ครับ สำหรับในส่วนของ Scale Out และ Scale In คือ ค่าที่กำหนดว่าจะให้เพิ่มหรือลด Instances (Azure VMs) เมื่อไรและจะให้เพิ่มหรือลดทีละเท่าไรครับ โดยในบทความนี้ผมใช้ค่า Default ทั้งหมดครับ

สำหรับในส่วนต่อมาคือส่วนของ NETWORKING จะเป็นส่วนของค่ากำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Network ครับ เช่น จะเลือกใช้อะไรระหว่าง Azure Load Balancer กับ Azure Application Gateway รวมถึงจะเชื่อมต่อกับ Azure Virtual Network ใดครับ  ดังรูป




สำหรับค่ากำหนดต่างๆ ในส่วนของ NETWORKING นั้น สำหรับในการใช้งานจริง จะต้องมีการออกแบบมาก่อนนะครับ ว่า VMSS ของเรา จะใช้ Azure Load Balancer หรือ Azure Application Gateway ตลอดจนในส่วนของ Azure Virtual Network ครับ เมื่อเลือกและกำหนดค่าต่างๆ แล้วให้ท่านผู้อ่านทำการคลิ๊ก Create ได้เลยครับ ซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรสำหรับการสร้าง VMSS ครับ

สำหรับการใช้งานจริงในองค์กร ผมแนะนำว่าก่อนที่จะมาทำการสร้างและกำหนดค่าต่างๆ ของ VMSS นั้น จะต้องมีการออกแแบบและเลือกค่ากำหนดต่างๆ มาให้เรียบร้อยเสียก่อนครับ เพื่อที่จะได้ทำการประเมินได้ว่า VMSS ที่ต้องการใช้งานนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไรต่อเดือนครับ  ก่อนที่จะเริ่มสร้างและใช้งานจริงครับผม  รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ VMSS นั้น ท่านผู้อ่านสามารถไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ

https://docs.microsoft.com/en-us/azure/virtual-machine-scale-sets/overview




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS) ครับผม…..



วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

การคิดค่าใช้จ่ายของ Azure Virtual Machine

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวของ Microsoft Azure โดยจะเป็นเรื่องของ Azure Virtual Machine หรือผมขอเรียกสั้นๆ ว่า Azure VM นะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าทุกท่านที่ใช้งาน Microsoft Azure อยู่ จะต้องมีความคุ้นเคยในการใช้งาน Service นี้แน่นอนไม่มากก็น้อยครับ เพราะ Azure VM Service ถือว่าเป็น Service ที่เก่าแก่ที่สุด Service หนึ่งใน Microsoft Azure และก็จัดว่าเป็น Service หนึ่งที่มีผู้ใช้งานใช้งานมากที่สุด Service หนึ่งเช่นกันครับ

สำหรับบทความนี้ผมไม่ได้มาสอนหรืออธิบายวิธีการสร้าง Azure VM นะครับ แต่บทความนี้ผมจะมาอธิบายว่า เมื่อท่านผู้อ่านได้ทำการสร้าง Azure VM ขึ้นใน Microsoft Azure แล้วมีการใช้งานต่างๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ทาง Microsoft Azure จะมีการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับ Azure VM นั้นอย่างไร

ถ้าเอาแบบคร่าวๆ คือ ค่าใช้จ่ายจะถูกคิดตามตามสเปคของ Azure Virtual Machine ที่ท่านผู้อ่านได้ทำการเลือกและสร้างขึ้น ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูกหรือแพง ก็จะขึ้นอยู่กับสเปคของ Azure VM หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ก็ต้องบอกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้งาน Azure VM จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Series และ Sizes ที่ท่านผู้อ่านได้เลือกและทำการติดตั้งใช้งานครับ





จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านจะเห็นรายละเอียดต่างๆ ของ Azure VM ที่ผมได้สร้างและใช้งานอยู่ โดย Azure VM ตัวดังกล่าวนี้ ผมติดตั้ง Windows Server 2016 และทำการติดตั้ง AD DS เพื่อทำการ Promote AD DS Domain บน Microsoft Azure จากรูปด้านบนมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องการเรื่องของการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่สำคัญอยู่ 2 จุด คือ สถานะหรือ Status ของ Azure VM กับ Size ของ Azure VM ครับ

ดังนั้นสำหรับ Azure VM ตัวนี้ของผม สถานะหรือ Status เป็น Running และ Series กับ Size เป็น Standard B2s หมายความว่า Azure VM ตัวนี้ของผม ผมเลือก Series เป็น B Series และ Size เป็น B2s ครับ นั่นหมายความว่า Azure VM ตัวดังกล่าวนี้จะถูก Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายตามนี้ครับ (Status เท่ากับ Running และ Series กับ Size ที่เลือก) แต่ในบางกรณีท่านผู้อ่านอาจจะมีการปิดหรือ Shutdown Azure VM ไม่ได้เปิดใช้งานตลอด คำถามคือทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าคิดค่าใช้จ่ายจะคิดอย่างไร

จากคำถามข้างต้น คำตอบคือมีทั้งคิดและไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสถานะหรือ Status ของ Azure VM ครับ ซึ่งใน Azure VM จะมีสถานะหรือ Status ทั้งหมด 3 สถานะ ดังนี้ครับ:

Running
สถานะนี้หมายถึง Azure VM รันและทำงานอยู่ครับ นั่นหมายความว่าทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายหรือคิดตังค์เราตาม Series และ Sizes ที่ได้เลือกไว้ตอนที่สร้าง Azure VM ครับ

Stopped
สถานะนี้หมายถึง Azure VM ได้ถูก Shutdown จากการที่ผู้ดูแลระบบได้ทำการรีโมทเข้าไปที่ Azure VM ตัวดังกล่าวแล้วทำการ Shutdown สำหรับสถานะนี้ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดค่าใช้จ่ายอยู่นะครับ เนื่องจากทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved Resources ต่างๆ ของ Azure VM ตัวดังกล่าวไว้ครับ


Stopped (Deallocated)
สถานะนี้หมายถึง Azure VM ถูก Stopped หรือ Shutdown โดยตรงจาก Azure Portal ครับ ซึ่งถ้าเป็นสถานะนี้ทาง Microsoft Azure ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Azure VM ครับเนื่องจากไม่ได้ Reserve Resources ให้ แต่ยังคงต้องเสียในส่วนของ Azure Storage ครับ

เอาล่ะครับเมื่อเข้าใจถึงสถานะหรือ Status การทำงานของ Azure VM กันเรียบร้อยแล้วนะครับ ว่าสถานะหรือ Status แบบไหนทาง Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่าย 

ผมขออนุญาตสรุปเกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ดังนี้นะครับ

*Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Running โดยคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้:

- เมื่อ Azure VM มีสถานะหรือ Status เป็น Running โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นชั่วโมง
- IP Address (ถ้ามีกำหนด Public IP Address เป็นแบบ Static) โดยคิดเป็นชั่วโมง
- Data Transfer (Out) ถ้ามีการส่งข้อมูลของ Azure VM นั้นๆ ออกจาก Azure Datacenter
- Standard Disk Operations (เช่น Managed Disks)

*Microsoft Azure จะยังคงคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Stopped เพราะทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved Compute และ Storage ตามที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ

*Microsoft Azure ไม่คิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Stopped (Deallocated) เพราะทาง Microsoft Azure ไม่ได้ทำการ Reserve Compute ให้ แต่ยังคงคิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Storage อยู่ครับ


สำหรับเรื่องการคิดค่าใช้จ่ายของ Microsoft Azure นั้นมีหลากหลายราคาและหลายแบบครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Services ต่างๆ ที่เลือกใช้งานครับ แต่ละ Services ก็จะมีราคาหรือค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปครับ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ การทำความเข้าใข Concept ของ Services ต่างๆ ของ Microsoft Azure ก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้นมาดูที่ค่าใช้จ่ายครับว่า Services นั้นๆ ของ Microsoft Azure ว่าการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร ยกตัวอย่างของ Azure VM ที่ผมได้นำมาเล่าและอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและทำความเข้าใจกันก่อนๆ ที่จะเริ่มใช้งานครับ เพื่อที่จะได้ประเมินค่าใช้จ่ายได้ก่อน ตลอดจนจะได้นำเอาข้อมูลนี้ไปวางแผนต่อไปครับ และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ครับผม.....






วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

Restart Azure Virtual Machine โดยใช้ Serial Console

     สวัสดีครับทุกท่านกลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะครับ  สำหรับบทความนี้ผมได้หยิบยกเอาเคสที่ผมเจอจากลูกค้ารายหนึ่งที่ใช้งาน Microsoft Azure แล้วเจอปัญหาว่า  Azure Virtual Machine ตัวหนึ่งเกิดค้างหรือ Hang ไปด้วยสาเหตุใดไม่ทราบ จากนั้นลูกค้าของผมต้องการที่จะทำการ Reboot Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าว แต่ไม่สามารถทำได้ด้วยการ Remote หรือ RDS เข้าไปครับ  สำหรับกรณีนี้ผมมีทางเลือกหนึ่งที่ขอแนะนำครับ โดยผมได้แนะนำให้ลูกค้าของผมใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า "Serial Console" ซึ่งอยู่ใน Azure Portal อยู่แล้วครับ ซึ่งใน Serial Console จะมีฟีเจอร์ที่สามารถทำการ Reboot Azure Virtual Machine ได้ครับ

ผมขออธิบายเพิ่มเติมสำหรับ Serial Console ใน Microsoft Azure ซักนิดนึงก่อนที่จะพาท่านผู้อ่านเข้าไปใช้งาน Serial Console นะครับ  สำหรับ Serial Console หรือเรียกชื่อแบบเต็มๆ ว่า "Virtual Machine Serial Console" นั้น คือสิ่งที่ Microsoft Azure ได้เตรียมการเข้าถึง Azure Virtual Machine นั้นด้วย Text-Based Console ครับ หรืออธิบายง่ายๆ คือ การเข้าไปยัง Azure Virtual Machine นั้นๆ โดยใช้ Command Line ครับ โดยการเข้าถึงดังกล่าวนั้นจะเป็นการเข้าถึงแบบ Serial Connection ครับ หมายความว่า คือการเข้าถึง Azure Virtual Machine นั้น โดยการเชื่อมต่อหรือติดต่อกับ COM1 Serial Port ของ Azure Virtual Machine นั้นครับผม โดยการเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ติดต่อกับ Network หรือ OS ครับ เอาคร่าวๆ ประมาณนี้ครับ


จากนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปใช้งาน Serial Console เพื่อทำการ Restart Azure Virtual Machine กันครับ
สำหรับขั้นตอนการเข้าไป Reboot Azure Virtual Machine ที่เกิดอาการข้างต้นนั้น เริ่มด้วยให้ท่านผู้อ่านไปที่ Azure Portal จากนั้นให้ไปที่ Azure Virtual Machine ตัวที่เกิดปัญหาดังกล่าวครับ แล้ว Click Serial Console ดังรูปด้านล่างครับ





จากนั้นให้รอซักครู่ จะปรากฎหน้าจอ ดังรูปครับ และหมายความว่าท่านผู้อ่านสามารถติดต่อเข้าไปที่ Serial Console ได้เรียบร้อยแล้วครับ








สำหรับใน Serial Console ท่านผู้อ่านสามรถใช้ CMD หรือ PowerShell Command ได้เลยครับ ดังรูป




จากนั้นที่ SAC Prompt ให้ท่านผู้อ่านพิมพ์คำว่า Help เพื่อดูว่ามีคำสั่งอะไรบ้าง ที่สามารถใช้ได้ดังรูปด้านล่างครับ





จากนั้นผมจะพิมพ์คำสั่ง Restart แล้วกด Enter เพื่อทำการ Restart Azure Virtual Machine ดังกล่าว และสมมุติว่า Azure Virtual Machine ตัวนี้เช่นกันเกิดปัญหาและผมต้องการ Restart ครับ ดังรูป




จากนั้น Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าวจะทำการ Restart ซึ่งต้องบอกว่ามันเร็วมากเลยครับ และหลังจากที่ Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าว Restart แล้ว กลับมาที่ Serial Console ท่านผู้อ่านก็จะเห็นหน้าตาดังรูปด้านล่างครับผม



อ้นที่จริงแล้วเรื่องราวของ Serial Console ยังมีอีกเยอะเลยครับ สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถไปที่ Link นี้ได้เลยครับ   https://docs.microsoft.com/en-us/azure/virtual-machines/troubleshooting/serial-console-windows



และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Serial Console ใน Microsoft Azure ครับผม…..