วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

รู้จักกับ Windows 365 Cloud PC

      สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความนี้ผมมานำเสนอเรื่องราวที่หลายๆ ท่านให้ความสนใจกันมากเลยครับในช่วงเดือนที่ผ่านมา นั่นก็คือเรื่องราวของ Service ใหม่ของ Microsoft ที่มีชื่อว่า "Windows 365" หรือที่เรียกกันว่า Cloud PC ครับ และช่วงที่ผ่านตัวผมเองก็ได้มีโอกาสทำการศึกษาหาข้อมูลและทำการทดสอบ Windows 365 ดังนั้นผมจึงคิดว่าจะนำเอาเรื่องราวของ Windows 365 มานำเสนอและเล่าสู่กันฟังเหมือนเช่นเคยครับ




Windows 365 คืออะไร?



Windows 365 คือ Service ที่ทาง Microsoft ให้บริการ PC (ซึ่งติดตั้ง OS เป็น Windows 10  หรือ Windows 11 ในอนาคต)  ให้กับผู้ใช้งาน โดยทำการสตรีม PC (Windows 365) หรือที่เรียกกันว่า Cloud PC มายังเครื่องหรือ Device ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ใด หรือจะใช้ Device ใดครับ ซึ่งคล้ายคลึงกับการที่องค์กรนำเอา SaaS หรือ Cloud Applications เช่น Micrsoft 365 และอื่นๆ มาใช้งานในองค์กร โดยที่ไม่ต้องเตรียมเครื่องเพื่อทำการติดตั้ง SaaS หรือ Cloud Applications ดังกล่าวครับ โดยคอนเซปของ Windows 365 ที่ผมได้อธิบายเมื่อซักครู่นั้น สามารถเรียกได้ว่า Windows 365 (Cloud PC) ให้บริการในรูปแบบที่เรียกว่า Desktop-as-a-Service หรือ DaaS ครับ 




ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมทางด้านเทคนิคอีกซักนิดสำหรับ Windows 365 ครับ  นั่นก็คือตัวของ Windows 365 นั้นทาง Microsoft ได้ทำการพัฒนาและต่อยอดมาจาก Service หนึ่งใน Microosft Azure ที่ชื่อว่า "Azure Virtual Desktop" หรือ AVD ซึ่งเป็น Service ที่ให้บริการ VDI Solution บน Microsoft Azure ซึ่งทำให้องค์กรที่สนใจ VDI Solution มีทางเลือกเพิ่มเติมจากเดิมที่จะต้องเตรียมเครื่องหรือ Servers และ Components ต่างๆ เพื่อทำการติดตั้ง VDI Solution ดังกล่าวที่ On-Premise Data Center ขององค์กร ซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งรวมถึงค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงครับ  แต่ ณ วันนี้องค์กรใดที่สนใจ VDI Solution สามารถใช้ติดตั้งและใช้งาน Solution ดังกล่าวบน Microsoft Azure โดยใช้ Azure Virtual Desktop หรือ AVD ซึ่งติดตั้งง่ายและเร็วกว่าแบบเดิม อีกทั้งค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ยังถูกกว่าเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการติดตั้งและใช้งาน VDI Solution ก่อนหน้านี้ครับ  

ในส่วนของ Windows 365 จะให้บริการในรูปแบบของ Single User หรือ Single Session (ซึ่งแตกต่างจาก Azure Virtual Desktop ที่ให้บริการแบบ Multi-Sessions) เพื่อให้ทำงานเหมือนกันเป็น PC ของผู้ใช้งานแต่ละคนครับ โดยทาง Microsoft ได้พัฒนา Windows 365 ให้ง่ายและสะดวกต่อการติดตั้งและใช้งานมากขึ้นครับ โดยที่ผู้ดูแลระบบไม่ต้องไปทำการเตรียมและสร้าง Virtual Machine ใดๆ เลยเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้งาน Windows 365 รวมถึงตัวของผู้ดูแลระบบก็ไม่สามารถทำการ Remote ไปที่ Windows 365 ได้ครับ เนื่องจากทาง Microsoft เป็นคนจัดการให้ครับ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ดูแลระบบไม่ต้องทำอะไรกับ Windows 365 นะครับ ในเรื่องของการบริหารและจัดการ เช่น เรื่องของ Security และอื่นๆ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ที่ผู้ดูแลระบบจะต้องดำเนินการนะครับ 

ผมอยากให้ทุกท่านมอง Windows 365 คือ Windows 10 หรือต่อไปจะมี Windows 11 ที่ทาง Microsoft ได้จัดการเบื้องหลังสำหรับในส่วนของ System หรือ Infrastrusture เพื่อให้ Windows 365 ดังกล่าวนั้นสามารถให้บริการกับเราได้ครับ ในส่วนของผู้ใช้งานอย่างตัวผมหรือทุกท่าน เราก็จะได้เครื่องหรือ PC มาตัวหนึ่ง ซึ่งโดยปรกติเราจะได้มาในรูปแบบของ Physical เช่น PC หรือ Notebook จากนั้นเราก็จะทำการติดตั้ง Applications และกำหนดค่าต่างๆ ตามที่เรารวมถึงองค์กรต้องการครับ แต่ในมุมของ Windows 365 คือเราจะได้ PC มาเช่นกันครับแต่เป็นแบบ Virtual ครับ ผมหรือท่านผู้อ่านสามารถใช้งาน Windows 365 ผ่านทาง Device ของเรา เช่น Notebook, Tablet , และอื่นๆ ผ่านทาง Browser ครับ และอย่างที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น คือ ท่านผู้อ่านสามารถใช้งาน Windows 365 จากที่ใดหรือ Device ใดก็ได้ครับ เพราะตัวของ Windows 365 อยู่บน Cloud (Microsoft Azure) ครับ เราจึงเรียกว่า Windows 365 คือ Cloud PC นั่นเองครับผม

และจากที่ผมได้อธิบายเกี่ยวกับคอนเซปของ Windows 365 ไว้ข้างต้น ทำให้องค์กรสามารถที่จะนำเอา Windows 365 มาให้ผู้ใช้งานในองค์กรใช้งานได้อย่างสะดวกและง่ายกว่าแต่ก่อน เพราะองค์กรไม่ต้องเตรียมหรือซื้อเครื่อง PC หรือ Notebook และทำการติดตั้ง OS และอื่นๆ มาให้ผู้ใช้งานเหมือนที่ผ่านมาครับ ดังนั้นทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในการบริหารและจัดการรวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยครับ ในมุมของผู้ใช้งานนั้นแทบจะไม่ต้องปรับตัวหรือเรียนรู้มากซักเท่าไรกับ Windows 365 (OS เป็น Windows 10 หรือ Windows 11 ในอนาคต) เพราะผู้ใช้งานคุ้นเคยการใช้งาน Windows 10 (หรือ Windows 11) ที่ใช้งานกันอยู่แล้วครับ


Windows 365 Requirements & Options

ณ ขณะนี้ Windows 365 มีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ หรือ 2 Options ครับ คือ แบบ Business กับ Enterprise ครับ โดยจะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการครับ *สำหรับบทความนี้ผมจะนำเสนอ Windows 365 แบบ Business นะครับ 

Option 1: Windows 365 Business

สำหรับ Windows 365 แบบ Business นั้นถูกออกแบบมารองรับกับองค์กรขนาดเล็กหรือกลางที่มีผู้ใช้งาน 300 Users หรือน้อยกว่าครับ  องค์กรหรือท่านผู้อ่านสามารถดำเนินการซื้อ Windows 365 Business ได้เลยครับ โดยสั่งซื้อโดยตรงจาก Windows 365 Portal หรือจาก Microsoft 365 admin center ครับ ไม่ต้องซื้อ Azure Subscription นะครับ รองรับและสามารถนำไปใช้กับองค์กรที่มีหรือไม่มี Azure Active Directory (Azure AD) Tenant ก้อได้ครับ นั่นหมายความว่า Windows 365 Business อาศัยการทำงานร่วมกับ Azure AD เป็นหลักหรือจะเรียกว่า Windows 365 หรือ Cloud PC รองรับแบบ Native Azure AD Support ครับ 

Option 2: Windows 365 Enterprise

สำหรับ Windows 365 แบบ Enterprise นั้นถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะเป็น Hybrid Cloud (Hybrid Identity) โดย Windows 365 Enterprise จะทำงานร่วมกับ Azure Active Directory (Azure AD) และ Active Directory Domain Service (AD DS) ไม่สามารถติดต่อหรือ Reomote ไปยัง Windows 365 เช่นกันครับ แต่สามารถกำหนดค่าให้ Windows 365 Enterprise ดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อเข้ามายัง Azure Virtual Network (Azure VNet) ขององค์กรได้ เพราะฉะนั้นองค์กรที่สนใจ Windows 365 Enterprise จะต้องเตรียม Windows 365 Enterprise Licenses, Microsoft Azure Subscription, และอื่นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จาก Link นี้ครับ, Windows 365 requirements | Microsoft Docs

รูปด้านล่างแสดงถึงความแตกต่างด้านเทคนิคระหว่าง Windows 365 Business กับ Enterprise ครับ



สำหรับ Applications ต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ใน Windows 365 ณ ขณะที่ผมเขียนบทความอยู่นี้ มีเยอะเลยครับ โดยส่วนใหญ่ท่านผู้อ่านจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น Microsoft 365, Microsoft Dynamics 365, Microsoft Power Platform, Line of Business (LOB), และอื่นๆ ครับ 


Windows 365 Pricing

สำหรับราคาหรือค่าใช้จ่ายของ Windows 365 นั้นคิดเป็นต่อ User ต่อเดือนครับ ไม่ได้มีการคิดค่าใช้จ่ายค่า Compute หรือ Azure Virtual Machine ของตัว Cloud PCs (Windows 365) ครับ เช่น ถ้าองค์กรหรือออฟฟิศของท่านผู้อ่านมีผู้ใช้งานที่วางแผนต้องการใช้งาน Windows 365 สมมติว่า 50 Users ก็ซื้อ Windows 365 จำนวน 50 Licenses ครับ  ค่าใช้จ่ายของ Windows 365 จะสูงหรือไม่ขึ้นอยู๋กับจำนวนผู้ใช้งานและสปเค (Specification) ของ Windows 365 ครับ ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบครับ โดยจะคิดต่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นรายเดือนตามที่แจ้งไว้ในตอนต้นครับ  รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างของรายละเอียดและราคาของ Windows 365 ครับ






รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่ Link นี้ได้ครับ Windows 365 Plans and Pricing | Microsoft


Windows 365 Security

ทาง Microsoft ได้ทำการออกแบบและพัฒนา Windows 365 โดยรองรับกับคอนเซปของ "Zero Trust"  ในส่วนของ User Experience นั้นก็ถูกออกแบบมาให้รองรับและคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยเช่นกันครับ ข้อมูลทุกอย่างของ Windows 365 จะถูกเก็บไว้บน Cloud (Microsoft Azure) ไม่ได้มีการเก็บไว้ที่อุปกรณ์หรือ Device ของผู้ใช้งาน ตลอดจนได้มีการเข้ารหัส (Encryption) ตลอดการใช้งานไม่ว่าจะเป็น Network Traffics จนถึงข้อมูล (Disk ของ Windows 365) ครับ  Windows 365 รองรับกับเทคโนโลยีที่ทาง Microsoft ได้มีการคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่เรียกว่า "Passwordless Technology" ครับ นอกเหนือจาก MFA ครับ ตัวของ Windows 365 ยังสามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Security Services อื่นๆ เช่น Microsoft Endpoint Manager (MEM), Microsoft Defender, เป็นต้นครับ

และนี่คือเรื่องราวและคอนเซปของ Windows 365 ในเบื้องต้นครับ สิ่งที่สำคัญที่ผมอยากจะแนะนำเพิ่มเติมก่อนที่ท่านผู้อ่านทุกท่านหรือองค์กรใดที่สนใจจะเริ่มนำเอา Windows 365 ไปใช้งาน ก็คือ การวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบครบถ้วนครับ โดยเริ่มเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบหรือ Environment ณ ปัจจุบันขององค์กรเป็นอย่างไร, มีการใช้งาน Cloud Services ใดของ Microsoft เช่น Microsoft Azure, Microsoft 365, เป็นต้น, รวมถึงความต้องการครับ จากนั้นนำเอาสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาควบคู่ไปกับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ Windows 365 ไม่ว่าจะเป็น คอนเซปการทำงานของ Windows 365, Windows 365 Options (Business และ Enterprise), ค่าใช้จ่าย, และอื่นๆ ครับ เมื่อพิจารณทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อและตามด้วยขั้นตอนการ Deploy Windows 365 ครับผม.....