วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Dedicated Host

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความนี้ผมขอแนะนำ Service ใหม่ใน Microsoft Azure ที่เพิ่งออกมาไม่นานนี้ครับ Service ใหม่นี้มีชื่อว่า "Azure Dedicated Host" ณ ตอนนี้ที่ผมเขียนบทความนี้ยังเป็น Preview อยู่นะครับ  โดย Azure Dedicated Host นี้จะเป็น Service ที่ให้ท่านผู้อ่านสามารถสร้างและรัน Azure Virtual Machines ใน Single-Tenant Physical Services นั่นหมายความว่าท่านผู้อ่านสามารถสร้างและรัน Azure Virtual Machines โดยไม่ต้องไปแชร์ทรัพยากร (CPU, Memory, และอื่นๆ) กับคนอื่นครับ  ซึ่งแตกต่างจาก "Isolated Virtual Machine" ซึ่งเป็น Service ที่มีให้บริการก่อนหน้านี้ครับ โดย Isolated Virtual Machine ให้บริการ Virtual Machines ที่มีสเปคแรงหรือขนาดใหญ่อยู่ 2 แบบ และแน่นอนสำหรับ Azure Dedicated Host มีความแตกต่างออกไปครับ จะเป็นอย่างไรและมีรายละเอียดอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Dedicated Host กันเลยครับผม


Azure Dedicated Host คืออะไร?

เป็น Service ที่ให้บริการและรองรับการสร้างและรัน Virtual Machines ไม่ว่าจะเป็น Windows, Linux, และ SQL โดยคิดค่าใช้จ่ายตาม Host ครับ โดยไม่สนใจว่าจะรันกี่ Virtual Machines ครับ  ผมขอยกตัวอย่างสเปคของ Host ที่ให้บริการ Azure Dedicated Host เช่น

Type 1: Intel Xeon 2.3 GHz E5-2673 v4 โดย Clock Seed สามารถอัพได้ถึง 3.5 GHz
Type 2: Intel Xeon Platinum 8168 กับ Single-Core Clock Speed โดยสามารถอัพได้ถึง 3.7 GHz




สำหรับ Memory มีให้เลือกตั้งแต่ 144 GiB - 448 GiB และมี Azure Virtual Machine Series และ Sizes ให้เลือกใช้ เช่น Dsv3, Esv3, และ Fsv2 Series รวมถึง Azure Storage ที่มีให้เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็น Standard HDDs, Standard SSDs, และ Premium SSDs สำหรับรายละเอียดของ Azure Dedicated Host สามารถดูได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/details/virtual-machines/dedicated-host/




Azure Dedicated Host เป็น Service ที่สามารถช่วยองค์กรที่มีความต้องการเกี่ยวกับ Compliance สำหรับ Physical Security, Data Integrity, และ Monitoring  โดย Dedicated Host ยังคงรันและทำงานเหมือนกับ Hosts อื่นๆ ที่ติดตั้งและทำงานใน Azure Data Centers แตกต่างกันตรงที่ ท่านผู้อ่านสามารถควบคุมและดูแลรักษา Host นั้นได้ครับ นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถนำเอา Dedicated Hosts เข้ามาเพื่อทำการสร้างกลุ่มของ Physical Servers (Dedicated Servers) โดยใข้ Availability Zones For Fault Isolation หรือ Fault Domain For Fault Isolation เพื่อรองรับ High Availability และแน่นอนหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับ Hardware ของ Host นั้นๆ ก็จะส่งผลกระทบกับ Virtual Machines ที่รันอยู่ใน Dedicated Host นั้นๆ ครับ  สำหรับ Azure Dedicated Host ท่านผู้อ่านสามารถเลือกใช้ได้จาก Azure Marketplace ใน Azure Portal ดังรูป






สำหรับในส่วนของ License และราคาของ Azure Dedicated Host นั้นคิดค่าใช้จ่ายตาม Host ที่ใช้งาน โดยไม่คำนึงถึงจำนวนของ Azure Virtual Machines ที่รันใน Host (Azure Dedicated Hosts) นั้น สำหรับในส่วนของ License จะมีค่าใช้จ่ายต่างหากไม่รวมกับ Compute Resources ที่ใช้งานครับ โดยคิดตาม Virtual Machine ที่ใช้งานครับ ในกรณีที่ออฟฟิศผู้ใช้งานมีการซื้อ Windows และ SQL Server Licenses พร้อมกับ Software Assurance และมีการ Migrate Workloads หรือ Virtual Machines มารันใน Azure Dedicated Host, ท่านผู้อ่านสามารถใช้  "Azure Hybrid Benefit" รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/hybrid-benefit/





ณ ตอนที่ผมเขียนบทความนี้ Microsoft จะคิดค่าใช้จ่าย Azure Dedicated Host ในรูปแบบ pay-as-you-go นั่นก็คือ เราใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับ ข้อมูลเพิ่มเติมของ Azure Dedicated Host สามารถติดตามได้จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/services/virtual-machines/dedicated-host/




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Dedicated Hosts ครับผม…..





วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Azure Migration Part 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความ Azure Migration ของผมในบทความนี้จะเป็น Part หรือตอนที่ 2 แล้วนะครับ โดยบทความนี้ผมจะเข้าสู่กระบวนการหรือ Phases ต่างๆ สำหร้บการทำ Migration ซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วว่ามี Phases อะไรบ้างในบทความของผมตอนที่แล้วครับ โอเคครับ เพื่อให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าสู่ Phase แรกกันเลย นั่นก็คือ "Assess" ครับ

Assess-Phase นี้จะว่ากันด้วยเรื่องราวของการทำเก็บรวบรวมข้อมูลของ Workloads หรือเครื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Physical หรือ Virtual Machines ที่รันและทำงานใน On-Premise Data Center ของท่านผู้อ่านครับ ซึ่งเราต้องการย้ายหรือ Migrate ครับ คำถามคือ เราจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจัดทำ Inventory ของเครื่องหรือ Workloads ต่างๆ เหล่านี้อย่างไร มันคงไม่สะดวกแน่ถ้าเราจะใช้วิธีการเดินไปจดหรือเก็บข้อมูลทีละเครื่อง

ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ท่านผู้อ่านก็จะต้องหา Tools หรือเครื่องมือที่จะมาช่วยเก็บข้อมูลเพื่อทำการประเมินแล้วล่ะครับ ปัญหาคือ เครื่องมือเหล่านี้ต้องซื้อหรือไม่ และความยากง่ายในการใช้งาน ตลอดจนสามารถทำการประเมินเพื่อทำการ Migration ได้หรือไม่ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าเมื่อมาถึงจุดนี้เราต้องการเครื่องมือเข้ามช่วยสำหรับ Phase นี้แล้วครับ ดังนั้นผมขอแนะนำเครื่องมือตัวแรกก่อนเลยนะครับ โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า "Microsoft Assessment and Planning Toolkit" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "MAP" ครับผม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยเราในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการประเมินสำหรับการทำ Migration ครับผม และที่สำคัญคือ เครื่องมือตัวนี้ (MAP), ทาง Microsoft ได้จัดทำขึ้นให้กับลูกค้าให้ไปใช้งานกันได้ฟรีครับผม !!!!!


Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP)

MAP เป็น Agentless Inventory, Assessment, และ Reporting Tool นั่นหมายความ เราไม่ต้องทำการติดตั้ง Agent หรือ Components ใดๆ เลยที่เครื่องที่เราต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลครับ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นและไม่ทำให้เกิดปัญหากับระบบของลูกค้าด้วยครับผม เพราะจากประสบการณ์ที่ผมเจอเวลาที่จะทำ Assessment ระบบให้กับลูกค้า ทางลูกค้าจะถามผมก่อนเลยครับว่า ต้องติดตั้ง Agent ที่เครื่อง Servers รึป่าว เพราะทางลูกค้ากังวลว่าเมื่อติดตั้ง Agent ไปที่ Servers แล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ครับ แต่พอผมบอกกับลูกค้าว่าเป็น Agentless ทางลูกค้าจึงคลายความกังวลและพร้อมที่จะทำ Assessment ระบบต่อไปครับ  ด้วยตัวของ MAP เองสามารถทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (Assess) เพื่อทำ Migration ได้จากหลาย Platforms เช่น Windows 10, Windows 7, Office 2xxx, Office 365, Windows Server 2012 R2, 2016, SQL Server, Hyper-V, VMware และอื่นๆ ครับผม  ดังนั้นท่านผู้อ่านจะต้องทำการวางแผนก่อนนะครับว่าจะใช้ MAP ใน Scenario ใด เช่น การทำ Migration ไปที่ Azure, การทำ Windows 10 Deployment, และอื่นๆ ครับ ซึ่งในบทความนี้เรามีวัตประสงค์คือ การทำ Migration ไป Microsoft Azure ครับ

หลังจากที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่อง Servers หรือจาก Environment ของท่านผู้อ่านมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว  MAP ก็จะจัดทำ Report หรือรายงานสำหรับการทำ Assessment ดังรูปด้านล่างครับ





จากรูปด้านบนคือ Reports หรือรายงานที่ทาง MAP ได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาครับ ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นว่ามีทั้งเครืองที่รันเป็น Virtual Machines รวมถึงรันอยู่ใน VMware ด้วยครับ

"ผมขอสรุปง่ายๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงตัวของ MAP นะครับ เริ่มจาก MAP จะทำเก็บข้อมูลจากเครื่องต่างๆ ที่อยู่น On-Premise Data Center จากนั้นก็จะทำการประเมินให้ด้วยว่าเครื่องใดบ้างที่พร้อมจะทำการ Migrate รวมถึงทำการประเมินให้ด้วยครับว่า เครื่องเหล่านี้เมื่อ Migrate ขึ้นไปบน Microsoft Azure จะใช้ Azure Virtual Machine Series และ Sizes ใดครับ"

มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านอยากจะดาวน์โหลด MAP มาติดตั้งและลองใช้งานดูแล้วใช่มั๊ยครับ :)  MAP สามารถดาวน์โหลดได้จาก Link นี้ครับ,
https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=7826

เมื่อดาวน์โหลดมาเรียบร้อย ให้ท่านผู้อ่านทำการติดตั้ง MAP ได้เลยครับ โดยเครื่องที่จะทำการติดตั้ง MAP คือเครื่องของท่านผู้อ่านเองนะครับ ไม่ต้องไปติดตั้ง MAP ที่เครื่องหรือ Servers ที่เราจะทำ Assessment นะครับ เพราะอย่างที่ผมบอกเอาไว้ในตอนต้นว่า MAP เป็น Agentless Tools ครับ การติดตั้ง MAP ไม่มีอะไรยุ่งยากสลับซับซ้อนครับ เหมือนกับการติดตั้งโปรแกรมปรกติทั่วไปครับ สำหรับ OS ที่รองรับสำหรับการติดตั้ง MAP มีด้งนี้ครับ

- Windows 10 (Professional, Enterprise, และ Ultimate Editions)
- Windows 8 (Professional และ Enterprise Editions)
- Windows 7 + SP1 (Professional, Enterprise และ Ultimate Editions)
- Windows Server 2012 และ 2012 R2
- Windows Server 2016

และเมื่อทำการติดตั้ง MAP, จะมีการติดตั้ง SQL Server 2xxx Express LocalDB นะครับ หรือจะใช้เป็น  SQL Server ปรกติก็ได้เช่นกันครับ  เมื่อติดตั้ง MAP เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านผู้อ่านทำการเปิดใช้งาน MAP เลยครับ ก็จะปรากฏหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นก็เริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกันได้แล้วครับ โดย MAP รองรับการเก็บข้อมูลจากหลากหลายวิธีครับ มีอะไรวิธีใดบ้างไปดูกันเลยครับผม




เมื่อกำหนดวิธีการเสร็จเรียบร้อยแล้ว MAP ก็จะเริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ Inventory ครับ ดังรูป




จากนั้นก็สามารถไปดูผลลัพธ์ครับและรวมถึง Reports หรือรายงาน ซึ่งผมได้แสดงให้ดูในตอนต้นครับผม

ในขั้นตอนต่อไปคือการประเมินค่าใช้จ่ายของ Azure Virtual Machines ครับ ซึ่งตรงจุดนี้ MAP ยังไม่สามารถทำ Costing หรือประเมินค่าใช้จ่ายได้นะครับ ดังนั้นท่านผู้อ่านจะต้องข้อมูลตรงนี้ไปคำนวนค่าใช้จ่ายจากเครื่องมือที่ชื่อว่า "Azure Pricing Calculator",  https://azure.microsoft.com/en-in/pricing/calculator/ครับ ดังรูป




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Assess Phase สำหรับการทำ Migration ครับ ในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเครื่องมือตัวอื่นๆ ที่จะมาช่วยท่านผู้อ่านในการทำ Assessment ครับ โปรดติดตามครับผม…..




Azure Migration Part 1

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สบายดีกันนะครับ สำหรับผมห่างหายไปจากการเขียนบทความไปซักระยะหนึ่งเนื่องจากมีงานหลายๆ อย่างต้องทำครับเลยไม่มีเวลา แต่ว่าตอนนี้พอจะมีเวลาแล้วครับ ประกอบกับตัวผมเองอขากจะนำเอาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ Microsoft Azure มาถ่ายทอดเป็นบทความให้กับทุกท่าน ได้ติดตามกันครับผม  เอาล่ะครับทักทายทุกท่านกันเรียบร้อย มาเข้าสู่บทความเกี่ยวกับเรื่องราวของ Microsoft Azure กันเลยครับ

โดยบทความนี้จะเป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องของ Migration ครับ ซึ่ง ณ ตอนนี้เป็น Topic ที่หลายๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนสำหรับการ Migrate ระบบขึ้นไปทำงานบน Cloud ครับ  และในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าไปให้คำปรึกษากับลูกค้าตลอดจนได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรที่ Microsoft ไปพูดคุยและอธิบายถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกันครับ  และพบว่าหลายๆ ท่านและหลายๆ องค์กรยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Migration ครับ จึงทำให้หลายๆ องค์กรยังไม่แน่ใจและไม่มั่นใจ เพราะยังไม่ทราบว่าถ้าจะทำการ Migration นั้นจะต้องเริ่มต้นจากตรงไหน อย่างไร และอื่นๆ เป็นต้น และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าสู่เรื่องราวของ Azure Migration กันเลยครับ

อย่างที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้นว่า ณ วันนี้ หลายๆ องค์กรกำลังเตรียมความพร้อมที่จะทำการวางแผนและพิจารณาที่จะทำการย้ายระบบงานต่างๆ ที่รันและทำงานอยู่ใน On-Premise Data Center ไปที่ Cloud
(Microsoft Azure)




โดยมีสิ่งที่องค์กรจะต้องทำการพิจารณาหลายอย่างครับ เช่น ค่าใช้จ่าย, ROI, เทคนิค, และอื่นๆ  และคำถามที่ตัวผมเองมักจะถูกถามบ่อยๆ คือ จะเริ่มจากตรงไหนและมีกระบวนการของการทำ Migration ที่จะต้องทำการวางแผนนั้นมีรายละเอียดอย่างไร เป็นต้น จากจุดนี้เอง ผมขอเริ่มด้วยการอธิบาย Phases งานต่างๆ สำหรับการทำ Azure Migration ซึ่งประกอบไปด้วย Phases ต่างๆ ดังนี้ครับ:

1. Assess-เป็น Phase ที่ให้ท่านผู้อ่านทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเครื่อง Physical หรือ Virtual Machines ที่ต้องการทำการ Migrate



จากนั้นนำเอาข้อมูลที่ได้มาทำการประเมินในเรื่องต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่าย, ขนาดหรือ Size ของ Azure Virtual Machines ที่จะใช้เมื่อ Migrate เครื่องต่างๆ ขึ้นไปแล้ว เป็นต้น  โดยข้อมูลที่ได้จาก Phase นี้ก็จเป็นข้อมูลตั้งต้นที่จะนำมาใช้ประกอบในการวางแผนในการทำ Migrate ต่อไปครับ

2. Migrate-เป็น Phase ที่จะทำการ Migrate เครื่องต่างๆ หลังจากที่ได้ทำการประเมินและวางแผนเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

3. Optimize-เป็น Phase ที่เกี่ยวกับการเข้าไปตรวจสอบและพิจารณาดูว่า หลังจากที่ได้ทำการ Migrate เครื่องต่างๆ ขึ้นไปทำงานบน Microsoft Azure แล้วเป็นอย่างไร จะต้องทำการปรับ, แก้ไข, หรือเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น เรื่องของ High Availability, Performance, และอื่นๆ เป็นต้นครับ

4. Secure & Manage-เป็น Phase ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในส่วนต่างๆ เช่น เรื่องของ การป้องกันข้อมูลสูญหาย (Data Loss Protection), เรื่องของความปลอดภัย (Security), เรื่องของ Disaster Recovery, และอื่นๆ

ซึ่งแต่ละ Phases ที่ผมได้อธิบายในข้างต้นนั้น ทาง Microsoft ได้เตรียมข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ สำหรับนำไปใช้งานในแต่ละ Phases ให้กับลูกค้าเรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งผมจะนำเสนอในบทความของผมต่อไปครับผม

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจอยากไปศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Azure Migration สามารถไปที่ "Azure Migration Center" จาก Link นี้ได้เลยครับ, https://azure.microsoft.com/en-us/migration/




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Migration Part 1 ครับ เป็นการปูเรื่องราวต่างๆ ของการทำ Migration กันก่อนครับ สำหรับในตอนหน้า ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักในรายละเอียดของ Phases ต่างๆ พร้อมกับเครื่องมือที่จะเข้ามาช่่วยงานครับผม…..