วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกับ Azure Virtual Machine (Series & States)

     สวัสดีครับทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Service หนึ่งของ Microsoft Azure ซึ่งถือว่าเป็น Service ยอดนิยมและเป็นทีรู้จักกันดี นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็น Service ที่เก่าแก่มากที่สุดตัวหนึ่งหรือจะพูดอีกนัยนึงคือ เป็น Service ที่มีให้บริการอยู่บน Microsoft Azure มานานแล้วครับ 

ซึ่ง Service ที่ว่านี้คือ "Azure Virtual Machine" ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆ ว่า "Azure VM" นะครับ  และโดยส่วนตัวผมชื่อว่าท่านที่ใช้บริการ Microsoft Azure ต้องเคยสร้างและใช้งาน Azure VM แน่นอนครับ เพราะเราสามารถติดตั้ง OS หรือระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Open Source ตามที่เราต้องการใช้งานได้ครับ รวมถึงการติดตั้งฟังกชั่นและฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไปเพื่อใช้งานครับ

ดังนัั้นการเลือกใช้งาน Azure VM นั้น Microsoft Azure ได้เตรียมจัดการให้ท่านผู้อ่านสามารถควบคุมและจัดการ Virtual Machine นั้นๆ เช่น การ Configuration, การติดตั้ง Software, การอัพเดท Patches, และอื่นๆ เสมือนกับว่า Virtual Machine นั้นๆ ทำงานอยู่ใน On-Premise Data Center ครับ  ดังนัั้นในบทความนี้ของผมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Azure VM กันครับ

สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำท่านผู้อ่านก่อนเลยคือ การวางแผนและออกแบบระบบ ตลอดจนความต้องการหรือ Requirements ต่างๆ สำหรับระบบที่จะรันและทำงานอยู่บน Microsoft Azure ครับ เช่น ต้องการกี่ Virtual Machines, สเปคของ Virtual Machine แต่ละตัว, Services ที่จะติดตั้งและทำงานใน Virtual Machines และอื่นๆ ครับ และแน่นอนว่าความต้องการของแต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันครับ  สำหรับผมส่วนนี้ถือว่าสำคัญมากครับ เพราะทำให้เราสามารถวางแผนและประเมินว่าเราต้องซื้อ Microsoft Azure Subscription เท่าไร 

ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างในกรณีของ Azure VM นะครับ Microsoft Azure จะคิดตังค์เราตาม สเปคของ Azure VM หรือเรียกว่า Size ของ Azure VM ครับ โดย Microsoft Azure จะคิดเป็นนาทีครับ เช่นถ้าท่านผู้อ่านเปิดใช้งาน Azure VM 30 นาที  ทาง Microsoft Azure ก็จะคิดตังค์เรา 30 นาทีครับ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับผม

สิ่งที่ต่อมาที่ผมพบเจอบ่อยๆ เวลาที่ไปสอนหรือติดตั้ง Azure VM ให้กับลูกค้าคือ ลูกค้ามักจะถามว่า สเปคของ Azure VM มีให้เลือกเยอะแยะมากมาย แต่ไม่เข้าใจว่าควรจะเลือกอันไหนดีครับ  คำตอบที่ผมตอบลูกค้าคือ ลูกค้าต้องทำความเข้าใจและรู้จักกับ สิ่งที่เรียกว่า "Azure VM Series" เสียก่อนครับ  โดย Microsoft Azure ได้ทำการจัดแบ่ง Azure VM ออกเป็นชุดๆ หรือเรียกว่า Series ครับ โดยที่แต่ละ Series ก็จะมี สเปคหรือ Size ของ Azure VM ให้เราเลือกอีกทีครับ ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้จะมีอยู่ราวๆ 7 Series ครับ ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าจะมี Series ใหม่เพิ่มเข้ามครับผม  เอาล่ะครับผมจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรูัจักกับ Series ต่างๆ ของ Azure VM กันเลยครับ


Azure VM Series

A Series

Series นี้เหมาะสำหรับการสร้างและใช้งาน Azure VM ในการทดสอบหรือพัฒนาครับ

D Series
Series นี้จะมี CPU ที่รวดเร็วและมี Solid-State Drive (SSD) ให้เลือกใช้งานครับ ดังนั้น Azure VM ใน     Series นี้จึงเหมาะสำหรับ การใช้งาน เช่น Database หรือ Applications ต่างๆ ที่ต้องการ Performance หรือ IOPs ที่แรงและมีประสิทธิภาพครับ

F Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่เน้นเรื่องของประสิทธิภาพเป็นหลัก เช่น Web Server และอื่นๆ

G Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่ต้องการ Memory สูงๆ และ Storage ที่มีความเร็วสูง เช่น  ERP และ SAP เป็นต้นครับ

H Series
Series นี้เหมาะสำหรับงานทางด้านวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) ครับ

L Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่ต้องการ Low Latency, High Throughput, IOPS สูง ๆ และต้องการ Disk ขนาดใหญ่ๆ ครับ

N Series
Series นี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ Azure VM ที่มี GPU ที่ประสิทธภาพสูง เช่น งานทางด้านกราฟฟิคและวิดีโอ เป็นต้นครับ

เรื่องต่อมาที่ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมคือสถานะการทำงานของ Azure VM หรือเรียกว่า "Azure VM States" ครับ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่สำคัญและผมอยากให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าใจครับผม  สำหรับ Azure VM States จะมีอยู่ทั้งหมด 3 States ครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ


Azure VM States

Running

State นี้หมายถึง Azure VM รันและทำงานอยู่ครับ นั่นหมายความว่า Microsoft Azure จะคิดตังค์ เราครับตาม Azure VM Series และ Size ที่เราเลือกครับ และคิดเป็นนาทีนะครับ อย่างที่ผมอธิบายไว้ในข้างต้นครับ

Stopped
State นี้หมายถึง Azure VM มีการ Shut Down จากในตัวของ Azure VM เองไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux ครับ  ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดตังค์เราอยู่นะครับ เพราะ State นี้ทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved ทรัพยากรหรือ Resources ของ Azure VM นั้นๆ ไว้ครับ

Stopped (Deallocated)
State นี้ Azure VM ถูก Stopped หรือหยุดการทำงานโดยการส่งจาก Azure Portal ดังนั้น State นี้ Microsoft Azure ไม่คิดตังค์หรือไม่ Charge ครับ แต่ยังคงคิดตังค์ใน ส่วนของ Azure Storage อยู่ครับผม

จากประสบการณ์ของผมต้องบอกเลยครับว่า ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของ Azure VM States และทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนครับ เพราะหลายๆ เคสที่ผมเจอลูกค้าๆ จะสอบถามว่าทำไม Shut Down Azure VM แล้วแต่ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดตังค์หรือ Charge อยู่ครับ คำตอบคือ เรื่องของ Azure VM States นี่ล่ะครับ

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ Azure VM ที่ผมนำมาฝากครับผม....






                 













วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ป้องกัน Azure Virtual Machine ด้วย Microsoft Antimalware ตอนที่ 2

     สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความนี้เป็นตอนที่ต่อจากบทความตอนที่แล้วนะครับ  โดยจะเป็นเรื่องราวของ Microsoft Antimalware ครับ  โดยตอนที่แล้วผมได้เล่าและอธิบายถึงการป้องกัน Virtual Machine ที่เราได้ทำการสร้างและทำงานอยู่บน Microsoft Azure ด้วย Microsoft Antimalware ซึ่งเป็น Anti-Virus หรือ Antimalware ที่ทาง Microsoft Azure ให้ลูกค้าสามารถนำไปติดตั้งและใช้งานได้ฟรีครับ ตลอดจนผมได้อธิบายถึงฟีเจอร์ต่างๆ ของ Microsoft Antimalware และอื่นๆ ครับ  สำหรับเรื่องต่อไปที่ผมจะมานำเสนอสำหรับ Microsoft Antimalware คือการติดตั้ง Microsoft Antimalware ไปยัง Virtual Machine ที่รันและทำงานอยู่บน Microsoft Azure ครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาดูกันต่อเลยครับ


การติดตั้ง Microsoft Antimalware
ท่านผูู้อ่านสามารถทำการติดตั้ง Microsoft Antimalware ได้หลากหลายวิธี ดังนี้ครับ

1. Azure Portal
2. Visual Studio Virtual Machine Configuration
3. PowerShell
4. Azure Security Center

สำหรับ Microsoft Antimalware เป็นเพียง Option หนึ่งในส่วนของ Virtual Machine Extension ที่ท่านผู้อ่านสามารถเลือกและใช้งานได้ครับ โดยอันที่จริงแล้วใน Microsoft Azure ในส่วนของ Extensions ยังมี Options อื่นๆ สำหรับ 3rd Party Anti-Virus ให้เลือกใช้งานได้อีกครับ เช่น Symantec, Trend Micro, และ McAfee เป็นต้นครับ

สำหรับในบทความนี้ผมจะสาธิตวิธีการติดตั้ง Microsoft Antimalware โดยใช้ Azure Portal ครับ  จากรูปด้านล่างจะเป็นการแสดงถึงการติดตั้ง Microsoft Antimalware ไปใน Azure Virtual Machine ครับ โดยให้ท่านผู้อ่านเข้าไปส่วนของ Extensions จากนั้นให้ทำการ Add จะปรากฏหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ



จากนั้นให้ทำการ Click Create ครับ เพื่อเข้าสู่การกำหนดค่าต่างๆ สำหรับการทำงานของ Microsoft Antimalware ครับ ดังรูป



จากนั้นให้ Click OK  แล้วรอซักครู่สำหรับกระบวนการติดตั้ง Microsoft Antimalware ครับผม


หลังจากที่ติดตั้ง Microsoft Antimalware ไปยัง Azure Virtual Machine เครื่องดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ผมได้ทำการ Remote ไปยัง Virtual Machine ดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบดูว่า Microsoft Antimalware ติดตั้งและทำงานอยู่จริงครับ ดังรูป



จากนั้นผมได้ทำการเรียก Microsoft Antimalware ซึ่งก็คือ System Center Endpoint Protection ขึ้นมาจะปรากฏ Error ดังรูปด้านล่างครับ




อย่าเพิ่งตกใจไปครับ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าโดย Default หรือโดยปรกติ Microsoft Anitmalware จะไม่ให้เราเข้าไปผ่านทาง GUI ครับ  อย่างไรก็ตาม, ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเข้าแบบ GUI ได้ ก็ต้องทำการ Enable ผ่านทาง Registry ครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับผม

ไปที่ Registry Path: HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Policies\Microsoft Antimalware\UX Configuration  จากนั้นให้ทำการดับเบิ้ล Click ที่ UILockdown และให้เปลี่ยนค่าจาก 1 เป็น 0 ครับ

จากนั้นให้ท่านผู้อ่านลองเรียก System Center Endpoint Protection ที่ Virtual Machine ที่รันบน Microsoft Azure อีกทีครับ คราวนี้จะสามารถเปิดได้แล้ว ดังรูปด้านล่างครับผม



จากนั้นผมจะลองทำการอัพเดทครับ ดังรูป



รวมถึงการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ครับ



และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Microsoft Antimalware ครับ ท่านผู้อ่านลองไปทดสอบใช้งานกันดูนะครับผม.....

ป้องกัน Azure Virtual Machine ด้วย Microsoft Antimalware ตอนที่ 1

     สวัสดีครับทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวความปลอดภัยหรือ Security ของ Microsoft Azure ซึ่งต้องบอกว่า Microsoft Azure มีฟีเจอร์หลายอย่างมากครับสำหรับเรื่องของความปลอดภัยใน Microsoft Azure  และหนึ่งในนั้นก็คือ Anti-Virus หรือ Antimalware ครับ ต้องบอกว่า Anti-Virus หรือ Antimalware นี้เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งในเรื่องของความปลอดภัยครับ 

เพราะฉะนั้นเวลาที่ท่านผู้อ่านทำการสร้าง Virtual Machine บน Microsoft Azure สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการป้องกัน Virtual Machine ดังกล่าวให้รอดพ้นหรือห่างไกลจากภัยคุกคามต่างๆ ครับ  ผมขออนุญาตอธิบายและชี้แจงก่อนนะครับว่าการสร้างความปลอดภัยสำหรับ  Virtual Machine บน Microsoft Azure นั้นประกอบไปด้วยหลายส่วนครับ แต่สำหรับบทความนี้ผมจะหยิบเอามาแค่เพียงส่วนเดียวก่อนคือ การติดตั้ง Anti-Virus หรือ Antimalware เข้าไปใน Virtual Machine ครับผม

สำหรับการติดตั้ง Anti-Virus หรือ Antimalware ลงไปในเครื่องหรือ Virtual Machine นั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะเครื่องหรือ Virtual Machine นั้นที่รันและทำงานอยู่ใน On-Premise Datacenter ของเรา โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่เครื่องหรือ Virtual Machine ของเราจะโดนภัยคุกคามต่างๆ เช่น Virus, Worm, และอื่นๆ เป็นต้นครับ แนวคิดดังกล่าวนี้ก็นำมาใช้ได้เช่นกันครับ เมื่อท่านผู้อ่านกำลังวางแผนที่จะรันระบบงานต่างๆ บน Cloud เช่น ระบบนั้นๆ ประกอบไปด้วย Virtual Machine ที่รันและทำงานบน Microsoft Azure ก็ต้องป้องกันเช่นเดียวกันครับผม  เอาล่ะครับมาถึงตรงนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการป้องกัน Azure Virtual Machine โดยใช้ Microsoft Antimalware กันเลยครับ



Microsoft Antimalware 

เป็น Antimalware ที่ทาง Microsoft Azure ให้ลูกค้าใช้งานได้ฟรีครับ โดยมีความสามารถในการทำ Real-Time Protection เพื่อป้องกัน Virus, Spyware และอื่นๆ ซึ่งเปรียบเสมือน Anti-Virus ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องของท่านผู้อ่านครับ สำหรับบน Microsoft Azure นั้น Anti-Virus หรือ Antimalware จะเรียกว่า "Virtual Machine Extension" ครับ ซึ่งเราสามารถติดตั้ง Components หรือส่วนประกอบเพิ่มเข้าไปใน Azure Virtual Machine ได้เพื่อเสริมการทำงานบางอย่าง หนึ่งในนั้นคือ Anti-Virus หรือ Antimalware ครับ กลับมาที่ Microsoft Antimalware กันต่อครับ สำหรับ Microsoft Antimalware จะมีฟีเจอร์ต่างๆ ดังนี้ครับผม


- Real-Time Protection
- Scheduled Scanning
- Malware Remediation
- Signature Updates
- Antimalware Engine Updates
- Antimalware Platform Updates
- Active Protection
- Samples Reporting
- Exclusions
- Antimalware Event Collection


Antimalware Service จะรันและทำงานอยู่ใน Azure Virtual Machine โดยจะมีหน้าที่และรับผิดชอบในการรวบรวม Signatures และ Data จาก Microsoft Antimalware Engine.  เราสามารถสร้าง Azure Storage Account เพื่อเก็บข้อมูลของเหตุการณ์ต่างๆ ของ Antimalware เอาไว้ทำการรีวิวหรือวิเคราะห์ต่อไปได้ครับ รูปด้านล่างจะเป็นรูปที่แสดงถึงภาพรวมการทำงานของ Microsoft Antimalware ครับ




ดังนั้นเมื่อท่านผู้อ่านทำการสร้าง Virtual Machine ใน Microsoft Azure (*สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการติดตั้ง Anti-Virus หรือ Antimalware ครับ ห้ามลืมเด็ดขาดนะครับ) จะมีขั้นตอนหนึ่งให้ท่านผู้อ่านทำการติดตั้ง Virtual Machine Extension ครับ ให้ท่านผู้อ่านทำการติดตั้ง Microsoft Antimalware ซึ่งหน้าตาของ Microsoft Antimalware จะเป็นเหมือนกับ System Center 2012 Endpoint Protection ถ้า OS ที่รันอยู่ใน Azure Virtual Machine เป็น Windows Server 2008 R2, 2012, และ 2012 R2 ครับ แต่สำหรับ Windows Server 2016 จะเรียกว่า "Windows Defender" ครับผม

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Microsoft Antimalware ที่ผมนำมาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันครับ แต่ยังไม่จบนะครับ โปรดติดตามตอนที่ 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....










วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกับ Azure Regions และ Azure Availability Zones

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ "Azure Regions" และ Azure Availability Zones" กันครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมขออนุญาตเริ่มการที่เราเข้าไปทำงานและจัดการเกี่ยวกับ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure  มีสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำการพิจารณาคือที่ที่เราจะทำการวาง Resources นั่นหมายความว่าเราจะต้องทำการเลือกหรือกำหนดสิ่งที่เรียกว่า "Azure Region" ครับ


Azure Regions
Microsoft Azure คือ Geo-Distributed Public Cloud ซึ่งให้บริการใน 36 Regions ทั่วโลกและกำลังจะสร้างเพิ่มเติมอีก 6 Regions (ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ครับ) 




โดยแต่ละ Azure Region จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 2 หรือ 3 Datacenters ครับ และแต่ละ Datacenters ที่อยู่ในแต่ละ Regions จะมีการ Replicate ข้อมูลระหว่างกันเพื่อรองรับเรื่องของ High Availability (HA) โดยทั้งหมดนี้ทาง Microsoft จะเป็นคนคอยดูแลและจัดการทั้งหมดครับ

ดังนั้น Best Practices หรือคำแนะนำเวลาที่เราสร้างและจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure, ให้ทำการพิจารณาวาง Resources ไว้ใน Azure Region ที่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อจะได้ Performance ที่ดีและเป็นการหลีกเลี่ยงเรื่องความล่าช้า (Latency) ด้วยครับ 

ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านผู้อ่านกำลังจะเตรียมสร้าง Web Site เพื่อให้บริการลูกค้าในบ้านเรา   ดังนั้น Resources  ซึ่งก็คือ Web Site ของท่านผู้อ่านก็ควรจะวางไว้ใน Azure Region ที่ใกล้บ้านเรามากที่สุด นั่นก็คือ Azure Region "Southeast Asia" เป็นต้นครับ


Azure Availability Zones
Availability Zone เป็น Fault-Isolated Locations ที่อยู่ภายใน Azure Region ซึ่งได้เตรียมในเรื่องของการ Redundant ในส่วนต่างๆ เช่น Power, Cooling, และ Networking เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำการปกป้องระบบหรือ Services ต่างๆ เช่น Critical Application ของเราหาก Datacenters เกิดล่มหรือมีปัญหาทำให้ไม่สามารถให้บริการต่อได้

ดังนั้น Azure Availability  Zone จะอนุญาตให้ลูกค้าทำการรัน Critical Applications โดยรองรับในเรื่องของ High Availability และ Fault Tolerance หากเกิดกรณีที่ Datacenter ล่มหรือมีปัญหาครับ  และ ณ เวลานี้ Availability Zone ยังให้บริการเป็นแบบ Preview อยู่ครับ จึงมีให้บริการอยู่เพียงแค่ 2 Regions เท่านั้น คือ

1. East US2
2. West Europe



และมี Azure Services ที่ Support หรือรองรับการทำงานร่วมกับ Availability Zone ในช่วง Preview ดังนี้ครับ

- Windows Virtual Machines
- Linux Virtual Machines
- Zonal Virtual Machine Scale Sets
- Managed Disks
- Load Balancer

รายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link นี้ครับ
https://docs.microsoft.com/en-us/azure/availability-zones/az-overview



ตัวอย่างรูปด้านล่าง ผมได้ทำการสร้าง Virtual Machine ใน Microsoft Azure เพื่อกำหนดในส่วนของ Availability Zone ครับ เริ่มจาก การสร้างและกำหนด Size ของ VM ดังรูปครับ



จากนั้นจะมี Option ของ Availability Zone ให้เรากำหนดดังรูปด้านล่างครับ

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Regions และ Azure Availability Zones ที่ผมหยิบยกมาฝากครับผม....


วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

รู้จักกับ Azure Cloud Migration Assessment Tool

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเครื่องมือตัวใหม่ที่ทาง Microsoft เตรียมไว้สำหรับลูกค้าและองค์กรที่กำลังสนใจและวางแผนการย้ายหรือ Migrate เครื่องหรือระบบต่างๆ ใน Data Center (On-Premise) ขึ้นไปทำงานบน Microsoft Azure แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มทำอย่างไร ตลอดจนคำถามต่างๆ มากมาย เช่น อยากทราบว่าถ้าหากย้ายเครื่องหรือระบบต่างๆ ขึ้นไปบน Microsoft Azure จริง จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร รวมถึงจะช่วยประหยัดหรือ Save ค่าใช้จ่ายขององค์กรได้เท่าไร เป็นต้น

สิ่งแรกที่ท่านผู้อ่านจะต้องดำเนินสำหรับการ Migrate Workloads ต่างๆ ขึ้นไปบน Microsoft Azure คือการทำการประเมิน (Assessment) Workloads ต่างๆ ที่มีและทำงานอยู่ในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างก่อนครับ เพื่อเอาข้อมูลที่ได้นี้มาใช้ประกอบในการวางแผนและออกแบบครับ เช่น ในส่วนของ Infrastructure Services ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น Active Directory Domain Service (AD DS), DNS, และอื่นๆ รวมถึง Applications หรือ Services ต่างๆ ถ้ามีการ Migrate Workloads หรือระบบต่างๆ ขึ้นไปแล้ว จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอะไรบ้างครับกับระบบ IT ขององค์กร ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะมีความสำคัญมากสำหรับการวางแผนและออกแบบ Data Center ขององค์กรที่จะทำการย้ายระบบงานขึ้นไปทำงานบน Cloud ครับ นอกจากนี้แล้วจะต้องวางแผนในส่วนของการออกแบบ Cloud Service และ Deployment Models สำหรับการใช้งาน Cloud (Microsoft Azure) ด้วยครับ ต้องบอกว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะพอสมควรครับ เอาไว้ผมจะมาเล่าให้ทุกท่านได้ทราบในโอกาสต่อไปครับ 

เอาล่ะครับ ผมขออนุญาตกลับมาที่เรื่องราวของเครื่องมือที่ทาง Microsoft เตรียมไว้สำหรับลูกค้า โดยเครื่องมือมีชื่อว่า "Cloud Migration Assessment" เป็น On-Line Tool ที่จะช่วยลูกค้าในการประเมิน Workloads ที่ทำงานอยู่ใน On-Premise Data Center ว่าหากต้องการทำการ Migrate ขึ้นไปบน Microsoft Azure จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร พร้อมกับรายละเอียดต่างๆ ครับ เพื่อให้ลูกค้านำเอาข้อมูลที่ได้ นำไปใช้ประกอบในการวางแผนและตัดสินใจครับผม

การใช้งานเครื่องมือตัวนี้ไม่ยุ่งยากครับ สิ่งที่เราจะต้องทำเป็นอันดับแรกคือการใส่ข้อมูล Workloads หรือเครื่อง Servers ต่างๆ ที่รันและทำงานอยู่ในปัจจุบันเข้าไปในตัวของ Cloud Migration Assessment ครับ โดยเราสามารถทำการใส่ข้อมูลเข้าไปได้ 3 วิธีครับ

1. Manual Import-คือการกรอกข้อมูลเข้าไปตรงที่ Cloud Migration Assessment เลยครับ ข้อมูลที่ต้องกรอก
    ก็คือ CPU, RAM, Disk ของเครื่องต่างๆ ในปัจจุบันของเราครับ ไม่ว่าจะเป็น Physical Servers หรือ Virtual
    Machines ดังรูป




2. Custom Import-คือการที่เราไปทำการ Download Template File (Excel File) มาแล้วทำการกรอกข้อมูล
    เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ก็จะทำการ Import กลับเข้าไปที่ Tool ตัวนี้ครับ



3. Automated Discovery And Import-คือการใช้ Free Tools ของทาง Microsoft อีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า "MAP"
    (Microsoft Assessment and Planning Toolkit) ครับ โดยใช้ MAP ทำการ Scan และรวบรวมข้อมูลของ
    Workloads ต่างๆ ในองค์กร จากนั้นเอาข้อมูลที่ได้จาก MAP มา Import เข้าไปครับ



หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้รู้จักและเข้าใจตัวของ Cloud Migration Assessment ตลอดจนวิธีการกรอกข้อมูลแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปใช้งาน Tool นี้ได้จาก URL นี้ครับผม https://www.tco.microsoft.com/
จะมีหน้าตาประมาณนี้ครับ


หลังจากที่เราได้ทำการกรอกข้อมูลเข้าไปเรียบร้อยแล้ว  เราสามารถใช้ Cloud Migration Assessment ทำการ สร้าง Report ขึ้นมาเพื่อดูข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย (Costs) ระหว่าง Workloads ที่รันใน Microsoft Azure กับรันอยู่ใน On-Premise Data Center ว่าเป็นอย่างไรครับ ผมมีตัวอย่าง ดังรูปด้านล่างครับผม


และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของเครื่องมือ Cloud Migration Assessment ที่ผมนำมาเล่าและนำเสนอให้ทุกท่านได้รู้จักครับ และอยากให้ท่านผู้อ่านเข้าไปทดลองใช้งานกันครับ และจะได้นำเอาข้อมูลมาใข้ในการวิเคราะห์และวางแผนในการ Migration ระบบหรือ Workloads ขององค์กรครับผม.....

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สร้าง Windows Container บน Microsoft Azure

     สวัสดีครับทุกท่านหลังจากที่บทความก่อนหน้านี้ผมได้นำเอาเรื่องราวของ Containers มานำเสนอไปแล้ว  ก้อเลยคิดว่าอยากจะนำเสนอเรื่องราวของ Containers ต่ออีกซักหน่อยครับ จึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ โดยผมจะทำการสร้าง Windows Container บน Microsoft Azure ให้ทุกท่านได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นครับผม เอาล่ะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เริ่มกันเลยครับผม

ผมไปที่ Azure Portal แล้วทำการค้นหา Windows Server 2016 Datacenter- with Containers ดังรูป เพื่อทำการติดตั้งครับ


ในส่วนของ Deployment Model ในที่นี้ผมเลือก Resource Manager แล้วคลิ๊กปุ่ม Create ดังรูปครับ


จากนั้นในส่วนของ Basic จะเป็นการกำหนดชื่อของ Virtual Machine ที่จะทำการติดตั้ง Windows Server 2016-with Containers ครับ, กำหนดชื่อยูสเซอร์และพลาสเวิรด์สำหรับการ Remote เข้าไปทำการบริหารและจัดการ, Subscriptions, และอื่นๆ ครับ เมื่อเสร็จแล้วจะเข้าสู่การเลือก Size ของ VM ตามที่ต้องการได้เลยครับ ดังรูปด้านล่างครับผม



ในส่วนของ Settings Configure Optional Features สำหรับตัวอย่างที่ผมกำลังทำอยู่นี้ คลิ๊ก Ok เลยครับผม  และในส่วนของ Summary Windows Server 2016-with Containers คลิ๊ก Ok เลยครับผม  จากนั้นรอซักครู่ครับ Microsoft Azure กำลังสร้าง Windows Server 2016-with Containers ให้อยู่ครับ  เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมจะทำการ Remote เข้าไปที่ Windows Server 2016-with Containers ที่ได้ทำการสร้างไว้ครับ  ผมได้เข้าไปที่ Server Manager เพื่อแสดงให้ดูว่า Feature ที่ชื่อว่า "Container" ได้ถูกติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ดังรูป



จากนั้นไปที่ PowerShell แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้ครับ Start-Service Docker แล้วกด Enter ครับ จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งนี้ครับ Docker info ดังรูปครับ



คำสั่งด้านบนเป็นการ Start Docker Service และทำการตรวจสอบค่าและข้อมูลบางอย่างครับผม  มาถึงตรงนี้ผมมีเครื่องที่สามารถทำงานกับ Docker และ Container ได้แล้วครับ จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งตามนี้ครับ

docker pull microsoft/windowsservercore  แล้วกด Enter ครับ จากนั้นพิมพ์
docker pull microsoft/nanoserver  แล้วกด Enter ครับ แล้วพิมพ์คำสั่ง
docker images แล้วกด Enter ครับ ดังรูป




จากรูปด้านบนจะเห็นว่ามี Imageห ให้เลือกว่าจะกำหนดเป็น Server Core หรือ Nano Server ครับ  ในบทความนี้ผมขอเลือกเป็น Server Core นะครับ โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ครับ

docker run -it microsoft/windowsservercore cmd แล้วกด Enter จากนั้นให้รอซักครู่ครับ หลังจากนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นตามหน้าจอด้านล่างครับผม


คำสั่งเมื่อซักครู่ที่รันไป จะเป็นการ Start Container โดยใช้ Server Core ครับ และให้ Start Cmd ภายใน Container ด้วย สำหรับ -it จะเป็นการ Start Container ใน Interactive Mode จึงทำให้เราสามารถติดต่อกับ Container และใช้ Cmd ภายในตัวมันได้ครับผม

จากนั้นผมลองรันคำสั่งนี้ครับ docker run -it microsoft/nanoserver แล้วกด Enter นั่นหมายความว่าตอนนี้ใน Windows Server 2016 Container ผมรัน Windows Server Core และ Nano Server อยู่บนเครื่องเดียวกันครับ
ดังรูป



และถ้าเราอยากรู้ว่าตอนนี้มีอะไรรันอยู่บ้าง  ให้ท่านผู้อ่านพิมพ์คำสั่งนี้ครับผม docker ps แล้วกด Enter ดังรูป



และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของการสร้าง Windows Server 2016 Container อย่างง่ายๆ บน Microsoft Azure ครับผม.....







วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ทำความรู้จักกับ Container (ใน Windows Server 2016 และ Microsoft Azure)

    
     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของ ฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจในซึ่งอยู่ในWindows Server 2016 และ Microsoft Azure นั่นก็คือ “Container” ครับ  ท่านผู้อ่านบางท่านได้ยินแล้วอาจจะไม่รู้สึกแปลกใจอะไร  เพราะ Container นั้นไม่ใช่ของใหม่ครับ เพราะในฝั่งของ Open Source (Unix และ Linux)  ได้มีการพัฒนาและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมานานพอสมควรแล้วครับ  แต่สำหรับฝั่งของทางไมโครซอฟท์นี่คือสิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ใน Windows Server 2016 และใน Microsoft Azure ครับผม
การที่ทางไมโครซอฟท์ได้นำเอา Container เข้ามาใช้งานจะทำให้ การให้บริการเซอร์วิสต่างๆ ของไอทีมีความรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นครับ  เพราะที่ผ่านมาการที่หน่วยงานไอทีจะทำการจัดเตรียมหรือเรียกว่าการ “Provisioning” เซอร์วิสให้กับผู้ใช้งานหรือหน่วยงานในองค์กรนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร  ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบันจะหน่วยงานทางด้านไอทีได้มีการปรับปรุงและพัฒนาจากเดิมที่ติดตั้งระบบที่ให้บริการเซอร์วิสต่างๆ บนเครื่อง Physical Server มาเป็นการติดตั้งบน Virtual Machine หรือ VM  แทนแล้วก็ตาม  แต่ยังคงใช้เวลาในการเตรียมการ Virtual Machine ต่างๆ เพื่อติดตั้งแอพพิเคชั่นตามที่ผู้ใช้งานต้องการเช่นเดิม อีกทั้งยังติดปัญหาทางด้านเทคนิคสำหรับการเตรียมสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น   OS, การกำหนดค่าต่างๆ, Components หรือส่วนประกอบที่แอพพิเคชั่นนั้นต้องการ และอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจเกิดปัญหาว่าติดตั้งไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องเตรียมการให้พร้อมทั้งหมดเพื่อให้  Virtual Machine ดังกล่าวพร้อมให้บริการงานหรือเซอร์วิสต่างๆ ในองค์กรได้ 
จากปัญหาข้างต้นนี้เองจึงมีการคิดค้นและพัฒนาการ Provisioning ให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  จึงมีการนำเอา Container เข้ามาใช้งานและแก้ไขปัญหาข้างต้นครับ  ก่อนอื่นผมต้องบอกท่านผู้อ่านก่อนนะครับว่า Container จัดว่าเป็น Virtualization เทคโนโลยีแบบหนึ่งครับ ซึ่งต่างจาก Virtualization ที่เราใช้งานกันในปัจจุบัน, ที่เรามีเครื่อง Physical Server 1 ตัวจากนั้นก็ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ เช่น Windows Server 2012 R2 และทำการติดตั้ง Hyper-V Role เข้าไป จากนั้นเราก็สามารถทำการสร้าง Virtual Machine ขึ้นเสมือนกับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องนึงได้เลย จากนั้นก็สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปยัง Virtual Machine เครื่องดังกล่าว และตามด้วยแอพพิเคชั่นที่ต้องการได้เลยครับ  เรายังสามารถสร้าง Virtual Machine ได้อีกตามความต้องการเลยครับ  โดยที่แต่ละ Virtual Machine จะแยกกันทำงานอย่างเป็นอิสระ เราเรียก Virtualization แบบนี้ว่า “Server Virtualization” ครับ ดังรูปด้านล่างครับผม

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าจากรูปด้านบนซึ่งแสดงถึงภาพรวมของ Server Virtualization ซึ่งก็คือ Hyper-V ที่ท่านผู้อ่านคุ้นเคยและใช้งานกันอยู่นั่นล่ะครับ โดยที่แต่ละ Virtual Machine จะมี ระบบปฏิบัติการหรือ OS เป็นของตัวเองและมีแอพพิเคชั่นที่ติดตั้งบน Virtual Machine ดังกล่าว  โดยที่แต่ละ Virtual Machine ต้องการทรัพายากร เช่น Processor, Memory และ Disk ในการทำงานครับ  นั้นหมายความถ้าเรามีซัก 10 Virtual Machines, เราจะต้องมี OS หรือระบบปฏิบัติการกับแอพพิเคชั่นทั้งหมดตามจำนวน Virtual Machine เช่นกัน  และเมื่อถึงคราวที่เราต้องการใช้งานแอพพิเคชั่นตัวนึงใน Virtual Machine ตัวใดก็ตาม  สิ่งแรกที่จะต้องทำการคือการ Start หรือการ Boot Virtual Machine เพื่อให้ระบบปฏิบัติการที่อยู่ใน Virtual Machine นั้นพร้อมให้บริการ และจากนั้นเราถึงจะทำการ Start หรือเริ่มใช้งานแอพพิเคชั่นนั้นได้อย่างที่เราต้องการครับ ซึ่งกระบวนตั้งแต่เราทำการ Start และ Boot ระบบปฏิบัติการที่อยู่ใน Virtual Machine นั้นบางครั้งใช้เวลานานพอสมควร และเราจะต้องรอมัน ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่สามารถใช้งานแอพพิเคชั่นที่ต้องการได้เลยครับ ที่นี้เรามาดูอีกรูปนึงด้านล่างซึ่งเป็นการนำเอา Container เข้ามาใช้งานครับ
อย่างที่ผมเกริ่นไว้ตอนต้นว่า  Container นั้นเป็น Virtualization อีกแบบนึงที่เรียกว่า “OS Virtualization” ซึ่งมีความแตกต่างออกไปจาก Server Virtualization (Hyper-V) ครับ  โดยที่แต่ละ Container ที่เห็นในรูปนั้นจะมีเพียงแค่แอพพิเคชั่นเท่านั้นครับ และแต่ละ Container จะแชร์ OS ของเครื่องที่ Containers เหล่านั้นทำงานอยู่ครับ และด้วยการทำงานของ Container แบบนี้ทำให้การใช้งานทรัพยากรต่างๆ น้อยลงกว่าเดิมครับ นั่นหมายความว่า Container นั้นมีขนาดเล็กกว่า Virtual Machine ถ้ามองในแง่ของการใช้ทรัพยากรครับ นอกจากนี้แล้วต้องบอกเครื่องที่จะให้ Containers มารันและทำงานได้นั้นจะเป็น Physical หรือ Virtual Machine ที่อยู่ใน Private Cloud หรือ Public Cloud ก็ได้ครับแล้วแต่ความต้องการครับผม 
กลับมามองในส่วนของแอพพิเคชั่นที่อยู่ใน Container นั้นสามารถทำงานหรือใช้งานได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอ Virtual Machine ทำการ Boot ให้เสร็จก่อนเหมือนกับ Server Virtualization ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า Container แชร์การใช้งาน OS (Kernel + Libraries) จากเครื่องที่ Container นั้นทำงานอยู่ครับ หมายความว่าเมื่อไรก็ตามที่เราต้องการรันแอพพิเคชั่นที่ติดตั้งใน Container,  แอพพิเคชั่นนั้นๆ จะสามารถทำงานได้ทันทีครับ  และแต่ละแอพพิเคชั่นที่รันและทำงานอยู่ในแต่ละ Container จะทำงานแยกจากกันโดยที่ไม่มีผลกระทบใดๆ กับแอพพิเคชั่นที่รันใน Container อื่นๆ ครับผม  ดังนั้นคอนเซปของ Container นั้นจึงเหมาะกับการทำงานในองค์กรในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  Developing และ Testing แอพพิเคชั่น ก่อนที่จะรันมันใน Production, ใช้เป็น Cloud-Based แอพพิเคชั่นและเซอร์วิส หรือจะสำหรับการ Provisioning เซอร์วิสต่างๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นครับ
เอาล่ะครับหลังจากรู้จัก Container กันไปพอสมควรแล้ว  คราวนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Container ที่มาใน Windows Server 2016 กันก่อนนะครับว่ามีคอนเซปและรายละเอียดเป็นอย่างไรบ้าง

ใน Windows Server 2016 จะมี Container อยู่ 2 แบบ:
1.  Windows Container
2.  Hyper-V Container


เรามาเริ่มที่แบบแรกคือ Windows Container กันก่อนนะครับ  โดยตัวของ Windows Container เองจะทำงานและมีคอนเซปเหมือนกับ Open Source Containers (Unix หรือ Linux) ครับ โดยที่แต่ละ Container ก็จะมีแอพพิเคชั่นซึ่งรันอยู่ใน Container นั้นๆ โดยจะทำงานใน User-Mode  ซึ่งแต่ละ Container จะทำงานแยกจากกันและยังแชร์ OS และอื่นๆ จากเครื่องที่ Containers เหล่านี้ทำงานอยู่ครับ คอนเซปและรายละเอียดนั้นผมได้ทำการอธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วครับผม แต่ Windows Container มีเรื่องที่ต้องระวังคือ เรื่องของความปลอดภัยครับ เพราะถ้าหากมีใครก็ตามที่ใช้แชร์ OS (Kernel + Libraries) แล้วพยายามเข้าถึง Container อื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ครับ  รวมถึงเรื่องของการอัพเดท Patches ต่างๆ ด้วยก็อาจมีผลกระทบกับ Container แบบนี้ด้วยเช่นกันครับ
ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นทางไมโครซอฟท์ได้สร้าง Container แบบที่สองที่เรียกว่า Hyper-V Container ขึ้นมาครับ โดย Hyper-V Container จะทำการสร้าง Hyper-V Virtual Machine (ไม่เหมือน Virtual Machine ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Hyper-V ใน Windows Server 2012 R2 นะครับ) ขึ้นมาโดย จะมี OS และ Libraries รวมถึงมีทั้ง Isolated Kernel และ User Modes มาด้วย ซึ่งแตกต่างจาก Windows Server Container ที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ครับ
นั่นหมายความว่า Hyper-V Container ใช้ Windows Containers ให้รันและทำงานอยู่ภายใน Hyper-V Virtual Machine ของตัว Hyper-V Container ครับผม และยิ่งไปกว่านั้น Hyper-V Container บู๊ทเร็วกว่า Virtual Machine ที่ถูกสร้างจาก Hyper-V ปรกติ อีกทั้งมันได้เตรียม Isolated Kernel และ User Modes มาให้ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและการบริหารและจัดการครับ  และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ Container ซึ่งจะเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่จะมาพร้อมกับ Windows Server 2016 และใน Microsoft Azureครับผม เอาไว้โอกาสหน้าผมจะนำเอาเรื่องราวของ Container และ มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบและรู้จัก Container มากขึ้นไปอีกครับผม…..







 

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สำรองข้อมูล Windows Server หรือ Client ไปยัง Microsoft Azure ด้วย Azure Backup (MARS) Agent Part 3

     สวัสดีครับทุกท่าน มาต่อกันที่ Part 3 กันเลยครับ ไปที่ขั้นตอนต่อไปกันเลยครับผม

ขั้นตอนที่ 4: ทำการสำรองข้อมูล
มาถึงขั้นตอนนี้ให้ท่านผู้อ่านกลับไปยัง Windows 10 ที่ได้ทำการติดตั้งและรีจีสเตอร์ไว้ก่อนหน้านี้  จากนั้นให้ทำการเปิดหรือเรียก Microsoft Azure Recovery Services Agent (ที่ผมได้หยุดเอาไว้ก่อนหน้านี้ครับ)  ดังรูป



รูปด้านบนคือหน้าตาของ Microsoft Azure Backup ที่ได้ทำการติดตั้งไปครับ ในขั้นตอนต่อมา ผมจะทำการกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนของ Schedule Backup ครับ ดังนั้นให้คลิ๊กที่ Schedule Backup ครับ จะเข้าสู่ในส่วนของ Getting Started จากนั้นให้คลิ๊ก Next ครับ



ต่อมาในรูปด้านล่าง  จะเป็นส่วนของ Select Items to Backup จะเป็นส่วนที่ให้เราทำการกำหนดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการสำรองข้อมูลครับ  ดังนั้นให้ท่านผู้อ่านเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการสำรองข้อมูลได้เลยครับ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิ๊ก Next ครับ

ในส่วนของ Specify Backup Schedule จะเป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดตารางหรือ Schedule ที่จะทำการสำรองข้อมูลครับ โดยจากตัวอย่างนี้ผมขอใช้ค่าดีฟอลต์นะครับ ดังรูป


ในส่วนของ Select Retention Policy คือ การกำหนดให้ Azure Backup ทำการเก็บรักษาข้อมูลไว้นานเท่าไรครับ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิ๊ก  Next ครับ
ในส่วนของ Choose Initial Backup Type ให้คลิ๊ก Next ต่อไปเลยครับ


จากนั้นในส่วนของ Confirmation ให้คลิ๊ก Finish ครับ

จากนั้นให้รอซักครู่ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฏหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ

ให้คลิ๊ก Close ครับ  จากนั้นก็รอเวลาที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ครับ เมื่อถึงเวลา Azure Backup ก็จะเริ่มทำการสำรองข้อมูลจากเครื่อง Windows 10 ของผมไปเก็บไว้บน Microsoft Azure ครับ  สำหรับในกรณีที่ท่านผู้อ่านไม่ต้องการกำหนด Schedule แต่ต้องการให้ทำการสำรองข้อมูลเลย ก็สามารถทำได้โดยเลือก Backup Now ดังรูปด้านล่างครับ


และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวต่างๆ ของการสำรองข้อมูลจาก Windows Server หรือ Client ไปเก็บไว้บน Microsoft Azure ซึ่งเป็น Solution หนึ่งของ Azure Backup ครับ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถสร้างและกำหนดค่าต่างๆ ได้อย่างง่ายดายครับ  สุดท้ายผมอยากให้ท่านผู้อ่านไปทดลองใช้งาน Azure Backup กันดูครับผม…..