วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกับ Azure Regions และ Azure Availability Zones

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ "Azure Regions" และ Azure Availability Zones" กันครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมขออนุญาตเริ่มการที่เราเข้าไปทำงานและจัดการเกี่ยวกับ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure  มีสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องทำการพิจารณาคือที่ที่เราจะทำการวาง Resources นั่นหมายความว่าเราจะต้องทำการเลือกหรือกำหนดสิ่งที่เรียกว่า "Azure Region" ครับ


Azure Regions
Microsoft Azure คือ Geo-Distributed Public Cloud ซึ่งให้บริการใน 36 Regions ทั่วโลกและกำลังจะสร้างเพิ่มเติมอีก 6 Regions (ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ครับ) 




โดยแต่ละ Azure Region จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 2 หรือ 3 Datacenters ครับ และแต่ละ Datacenters ที่อยู่ในแต่ละ Regions จะมีการ Replicate ข้อมูลระหว่างกันเพื่อรองรับเรื่องของ High Availability (HA) โดยทั้งหมดนี้ทาง Microsoft จะเป็นคนคอยดูแลและจัดการทั้งหมดครับ

ดังนั้น Best Practices หรือคำแนะนำเวลาที่เราสร้างและจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure, ให้ทำการพิจารณาวาง Resources ไว้ใน Azure Region ที่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อจะได้ Performance ที่ดีและเป็นการหลีกเลี่ยงเรื่องความล่าช้า (Latency) ด้วยครับ 

ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านผู้อ่านกำลังจะเตรียมสร้าง Web Site เพื่อให้บริการลูกค้าในบ้านเรา   ดังนั้น Resources  ซึ่งก็คือ Web Site ของท่านผู้อ่านก็ควรจะวางไว้ใน Azure Region ที่ใกล้บ้านเรามากที่สุด นั่นก็คือ Azure Region "Southeast Asia" เป็นต้นครับ


Azure Availability Zones
Availability Zone เป็น Fault-Isolated Locations ที่อยู่ภายใน Azure Region ซึ่งได้เตรียมในเรื่องของการ Redundant ในส่วนต่างๆ เช่น Power, Cooling, และ Networking เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำการปกป้องระบบหรือ Services ต่างๆ เช่น Critical Application ของเราหาก Datacenters เกิดล่มหรือมีปัญหาทำให้ไม่สามารถให้บริการต่อได้

ดังนั้น Azure Availability  Zone จะอนุญาตให้ลูกค้าทำการรัน Critical Applications โดยรองรับในเรื่องของ High Availability และ Fault Tolerance หากเกิดกรณีที่ Datacenter ล่มหรือมีปัญหาครับ  และ ณ เวลานี้ Availability Zone ยังให้บริการเป็นแบบ Preview อยู่ครับ จึงมีให้บริการอยู่เพียงแค่ 2 Regions เท่านั้น คือ

1. East US2
2. West Europe



และมี Azure Services ที่ Support หรือรองรับการทำงานร่วมกับ Availability Zone ในช่วง Preview ดังนี้ครับ

- Windows Virtual Machines
- Linux Virtual Machines
- Zonal Virtual Machine Scale Sets
- Managed Disks
- Load Balancer

รายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link นี้ครับ
https://docs.microsoft.com/en-us/azure/availability-zones/az-overview



ตัวอย่างรูปด้านล่าง ผมได้ทำการสร้าง Virtual Machine ใน Microsoft Azure เพื่อกำหนดในส่วนของ Availability Zone ครับ เริ่มจาก การสร้างและกำหนด Size ของ VM ดังรูปครับ



จากนั้นจะมี Option ของ Availability Zone ให้เรากำหนดดังรูปด้านล่างครับ

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Regions และ Azure Availability Zones ที่ผมหยิบยกมาฝากครับผม....


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอความรู้เรื่อง HA หน่อยได้มั้ยครับ
    ลองเสิร์ชหาเรื่องนี้อ่านจากเอกสารของเว็บไมโครซอฟท์ก็เจอ HA ในหลายๆ เซ็ตติ้ง
    มีทั้งแบบ
    - แบบดีฟัลต์ (รึเปล่า) ที่จะมี virtual ทำการอัพเดตระบบปกติ ก็จะทำการอัพเดต และรีสตาร์ตให้อัตโนมัติ ณ ตอนดาวน์ไทม์
    - สร้างขึ้น 2+ instance แต่อยู่ใน region เดียวกัน (น่าจะเพื่อป้องกัน fail ระดับระบบทำการอัพเกรดให้เอง)
    - สร้างแยกคนละ region อันนี้ยังหา practice ไม่เจอ แต่หัวหน้าสั่งให้หารายละเอียดเรื่องนี้ไปรายงาน คือสงสัยอยู่ว่าเราจะสามารถสร้างข้าม region ได้กันในระดับไหน ข้ามประเทศ ข้ามทวีปได้มั้ย ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

    อันตัวสุดท้ายพยายามลองสร้างบน portal แล้ว แต่ก็หาไม่เจอว่าจะต้องทำไง
    พอจะให้คำแนะนำอะไรหน่อยได้มั้ยครับ

    ตอบลบ