สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Service หนึ่งของ Microsoft Azure ซึ่งถือว่าเป็น Service ยอดนิยมและเป็นทีรู้จักกันดี นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็น Service ที่เก่าแก่มากที่สุดตัวหนึ่งหรือจะพูดอีกนัยนึงคือ เป็น Service ที่มีให้บริการอยู่บน Microsoft Azure มานานแล้วครับ
ซึ่ง Service ที่ว่านี้คือ "Azure Virtual Machine" ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆ ว่า "Azure VM" นะครับ และโดยส่วนตัวผมชื่อว่าท่านที่ใช้บริการ Microsoft Azure ต้องเคยสร้างและใช้งาน Azure VM แน่นอนครับ เพราะเราสามารถติดตั้ง OS หรือระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Open Source ตามที่เราต้องการใช้งานได้ครับ รวมถึงการติดตั้งฟังกชั่นและฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไปเพื่อใช้งานครับ
ดังนัั้นการเลือกใช้งาน Azure VM นั้น Microsoft Azure ได้เตรียมจัดการให้ท่านผู้อ่านสามารถควบคุมและจัดการ Virtual Machine นั้นๆ เช่น การ Configuration, การติดตั้ง Software, การอัพเดท Patches, และอื่นๆ เสมือนกับว่า Virtual Machine นั้นๆ ทำงานอยู่ใน On-Premise Data Center ครับ ดังนัั้นในบทความนี้ของผมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Azure VM กันครับ
สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำท่านผู้อ่านก่อนเลยคือ การวางแผนและออกแบบระบบ ตลอดจนความต้องการหรือ Requirements ต่างๆ สำหรับระบบที่จะรันและทำงานอยู่บน Microsoft Azure ครับ เช่น ต้องการกี่ Virtual Machines, สเปคของ Virtual Machine แต่ละตัว, Services ที่จะติดตั้งและทำงานใน Virtual Machines และอื่นๆ ครับ และแน่นอนว่าความต้องการของแต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันครับ สำหรับผมส่วนนี้ถือว่าสำคัญมากครับ เพราะทำให้เราสามารถวางแผนและประเมินว่าเราต้องซื้อ Microsoft Azure Subscription เท่าไร
ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างในกรณีของ Azure VM นะครับ Microsoft Azure จะคิดตังค์เราตาม สเปคของ Azure VM หรือเรียกว่า Size ของ Azure VM ครับ โดย Microsoft Azure จะคิดเป็นนาทีครับ เช่นถ้าท่านผู้อ่านเปิดใช้งาน Azure VM 30 นาที ทาง Microsoft Azure ก็จะคิดตังค์เรา 30 นาทีครับ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับผม
สิ่งที่ต่อมาที่ผมพบเจอบ่อยๆ เวลาที่ไปสอนหรือติดตั้ง Azure VM ให้กับลูกค้าคือ ลูกค้ามักจะถามว่า สเปคของ Azure VM มีให้เลือกเยอะแยะมากมาย แต่ไม่เข้าใจว่าควรจะเลือกอันไหนดีครับ คำตอบที่ผมตอบลูกค้าคือ ลูกค้าต้องทำความเข้าใจและรู้จักกับ สิ่งที่เรียกว่า "Azure VM Series" เสียก่อนครับ โดย Microsoft Azure ได้ทำการจัดแบ่ง Azure VM ออกเป็นชุดๆ หรือเรียกว่า Series ครับ โดยที่แต่ละ Series ก็จะมี สเปคหรือ Size ของ Azure VM ให้เราเลือกอีกทีครับ ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้จะมีอยู่ราวๆ 7 Series ครับ ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าจะมี Series ใหม่เพิ่มเข้ามครับผม เอาล่ะครับผมจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรูัจักกับ Series ต่างๆ ของ Azure VM กันเลยครับ
Azure VM Series
A Series
Series นี้เหมาะสำหรับการสร้างและใช้งาน Azure VM ในการทดสอบหรือพัฒนาครับ
D Series
Series นี้จะมี CPU ที่รวดเร็วและมี Solid-State Drive (SSD) ให้เลือกใช้งานครับ ดังนั้น Azure VM ใน Series นี้จึงเหมาะสำหรับ การใช้งาน เช่น Database หรือ Applications ต่างๆ ที่ต้องการ Performance หรือ IOPs ที่แรงและมีประสิทธิภาพครับ
F Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่เน้นเรื่องของประสิทธิภาพเป็นหลัก เช่น Web Server และอื่นๆ
G Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่ต้องการ Memory สูงๆ และ Storage ที่มีความเร็วสูง เช่น ERP และ SAP เป็นต้นครับ
H Series
Series นี้เหมาะสำหรับงานทางด้านวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) ครับ
L Series
Series นี้เหมาะสำหรับ Applications ที่ต้องการ Low Latency, High Throughput, IOPS สูง ๆ และต้องการ Disk ขนาดใหญ่ๆ ครับ
N Series
Series นี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ Azure VM ที่มี GPU ที่ประสิทธภาพสูง เช่น งานทางด้านกราฟฟิคและวิดีโอ เป็นต้นครับ
เรื่องต่อมาที่ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมคือสถานะการทำงานของ Azure VM หรือเรียกว่า "Azure VM States" ครับ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่สำคัญและผมอยากให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าใจครับผม สำหรับ Azure VM States จะมีอยู่ทั้งหมด 3 States ครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
Azure VM States
Running
State นี้หมายถึง Azure VM รันและทำงานอยู่ครับ นั่นหมายความว่า Microsoft Azure จะคิดตังค์ เราครับตาม Azure VM Series และ Size ที่เราเลือกครับ และคิดเป็นนาทีนะครับ อย่างที่ผมอธิบายไว้ในข้างต้นครับ
Stopped
State นี้หมายถึง Azure VM มีการ Shut Down จากในตัวของ Azure VM เองไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Linux ครับ ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดตังค์เราอยู่นะครับ เพราะ State นี้ทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved ทรัพยากรหรือ Resources ของ Azure VM นั้นๆ ไว้ครับ
Stopped (Deallocated)
State นี้ Azure VM ถูก Stopped หรือหยุดการทำงานโดยการส่งจาก Azure Portal ดังนั้น State นี้ Microsoft Azure ไม่คิดตังค์หรือไม่ Charge ครับ แต่ยังคงคิดตังค์ใน ส่วนของ Azure Storage อยู่ครับผม
จากประสบการณ์ของผมต้องบอกเลยครับว่า ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของ Azure VM States และทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนครับ เพราะหลายๆ เคสที่ผมเจอลูกค้าๆ จะสอบถามว่าทำไม Shut Down Azure VM แล้วแต่ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดตังค์หรือ Charge อยู่ครับ คำตอบคือ เรื่องของ Azure VM States นี่ล่ะครับ
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ Azure VM ที่ผมนำมาฝากครับผม....
ขอบคุณมากคะ อ่านเข้าใจง่ายมากๆเลย :)
ตอบลบ- K.Thun