วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Service Health

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Services หรือ Resources ต่างๆ ของ Microsoft Azure อยู่ ไม่ว่าจะเป็น Azure Virtual Machines, Azure Storage, Azure App Service, และอื่นๆ  เคยนึกถึงเหตุการณ์นี้มั๊ยครับ ถ้าวันหนึ่ง Services หรือ Resources ต่างๆ ที่เราได้มีการสร้างและใช้งานอยู่เกิดมีปัญหา สิ่งที่อยากรู้หรืออยากทราบแวบแรกเลยก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มันเป็นที่เราหรือเป็นที่ฝั่งของ Microsoft Azure กันแน่

สำหรับคำถามนี้สำหรับตัวผมเองนั้นก็เจอบ่อยพอสมควรครับ เช่น ลูกค้าผมรายหนึ่งมีการสร้าง Azure Virtual Machine เพื่อทำหน้าที่เป็นรันและให้บริการแอพพิเคชั่นครับ อยู่มาวันหนึ่งผู้ใช้งานไม่สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปใช้งานได้ ปัญหาที่ผมอธิบายไว้ในข้างต้น คือ คำถามที่ลูกค้าโทรมาสอบถามผมครับ  และผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Microsoft Azure อยู่ ก็น่าจะมีคำถามแบบเดียวกันครับ ถ้าเจอกับปัญหาข้างต้นครับ และสิ่งที่เราอยากรู้หรืออยากทราบก็คือ มันเกิดที่เราหรือเกิดที่ฝั่งของ Microsoft Azure กันแน่ และด้วยเหตุนี้เอง ทาง Microsoft Azure ได้เตรียมเซอร์วิสที่ชื่อว่า "Azure Service Health" มาช่วยจัดการกับปัญหาข้างต้นครับผม และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Health Service กันเครับ โดยส่วนตัวผมคิดและเชื่อว่า Azure Health Service เป็น Service หนึ่งที่มีประโยชน์กับลูกค้าหรือท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Resources ต่างๆ บน Microsoft Azure ครับ


Azure Health Service คืออะไร?

Azure Service Health จะช่วยเราโดยการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหากับ Azure Services เช่น Incident, Planned Maintenance, และอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบกับเรา โดย Azure Service Health ได้เตรียม Personalized Dashboard ที่จะแสดงข้อมูลของ Health ของ Azure Services ต่างๆ รวมถึงการกำหนดการแจ้งเตือนครับ สามารถเข้าไปที่ Link นี้ครับ  https://azure.microsoft.com/en-us/features/service-health/  เพื่อดูข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ Azure Health Service ครับผม สำหรับบทความนี้ผมจะเริ่มทำการกำหนดต่างๆ สำหรับ Personalized Dashboard ใน Azure Health Service ครับผม




โดยจากรูปด้านบน ผมคลิ๊กที่ View your personalized dashboard ครับ ให้ท่านผู้อ่านทำการ Sign-In ครับ จากนั้นให้รอซักครู่ก็จเข้าสู่ในส่วนของ Azure Health Service ดังรูปด้านล่างครับ




จากรูปด้านบนจะเห็นว่ามีปัญหาหรือ Issues เกี่ยวกับเซอร์วิสของ Microsoft Azure ซึ่งจากรูปมี Issues เกี่ยวกับเรื่องของเน็คเวิรค์ครับ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถคลิ๊กเข้าไปดูรายละเอียดของ Issues นี้ได้ครับ ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะสาเหตุใดครับ ส่วนต่อมาจะเป็นส่วนของ Planned Maintenance, สำหรับในส่วนนี้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูเกี่ยวกับ Planned Maintenance ของ Microsoft Azure ได้ครับ ว่าจะเมื่อไรและมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เช่นกันครับ สำหรับส่วนต่อมาที่ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปดูคือ ส่วนที่ชื่อว่า Health History ครับ โดยส่วนนี้จะเก็บข้อมูลของ Health ของ Azure Services ต่างๆ เอาไว้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปดูได้ครับ ดังรูป




และในส่วนต่อมาคือ ส่วนที่เรียกว่า Health Alerts ซึ่งผมถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งใน Azure Health Service เพราะในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องการกำหนดการแจ้งเตือนเมื่อมีปัญหาหรือ Issues ที่เกิดขึ้นกับ Services หรือ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure แล้วมีผลกระทบกับการทำงานของสิ่งต่างๆ หรือ Resources ต่างๆ ที่ท่านผู้อ่านได้มีการสร้างและใช้งานอยู่ครับผม เริ่มด้วยให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Health Alerts แล้วไปคลิ๊กที่ Create service health alert ครับ จากนั้นจะเข้าสู่การกำหนดค่าในส่วนการสร้าง Rule (Create rule) เพื่อที่จะให้ทาง Azure Service Health ทำการแจ้งเตือนเราครับ ดังรูป




สิ่งที่ผู้อ่านจะต้องทำการกำหนดค่าต่างๆ ในส่วนของ Rule ใน Health Alerts ดังนี้:

 ALERT TARGET เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านกำหนด Subscription, Services, และ Regions ที่ต้องการให้ทำการแจ้งเตือน ต่อมาในหัวข้อ Service health criteria ให้ทำการเลือกรูปแบบหรือชนิดของ Azure Services เช่น Service Issues, Planned Maintenance, และอื่นๆ ครับ

ACTION GROUPS เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดกลุ่มของผู้ใช้งานที่ต้องการให้ Azure Health Service ทำการแจ้งเตือน รวมถึงวิธีการแจ้งเตือน เช่น แจ้งผ่านทางอีเมล์, ทาง SMS, เป็นต้นครับ ในกรณีที่ท่านผู้อ่านยังไม่เคยมีการสร้าง Action Group มาก่อนเลย ก็สามารถสร้างได้จากตรงนี้เลยครับ แต่ถ้าในกรณีที่มีอยู่แล้วก็สามารถกำหนดได้เลยครับผม

ALERT DETAILS เป็นส่วนที่ให้ท่านผู้อ่านตั้งชื่อของ Alert rule name ตลอดจนรายละเอียด และกำหนด Resource Group ใดที่จะเก็บ alerts ครับผม




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Health Service ครับผม…..















วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

รู้จักกับ Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

     สวัสดีครับทุกท่าน สืบเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสจัด Workshop "Practical Microsoft Azure IaaS" ให้กับลูกค้าที่หนึ่ง และมีเนื้อหาของ Azure Virtual Machine หัวข้อหนึ่งที่เน้นหรือโฟกัสเรื่องของ High Availability และ Performance สำหรับ Applications ที่รันและทำงานอยู่ใน Azure Virtual Machines ว่าจะทำอย่างไรให้ Applications ที่รันอยู่ใน Azure Virtual Machines นั้นสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพตลอดจนเรื่องของ High Availability เมื่อให้บริการผู้ใช้งานหรือลูกค้าจำนวนมากๆ  สำหรับ Challenges หรือความต้องการนี้สามารถใช้เซอร์วิสหนึ่งใน Microsoft Azure ที่ชื่อว่า "Azure Virtual Machine Scale Set" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "VMSS" มาช่วยได้ครับ  และต้องบอกว่า VMSS ถือว่าเป็นเซอร์วิสที่ทำให้หลายๆ องค์กรอยากย้ายหรือสร้างระบบงานต่างๆ บน Cloud กันเลยล่ะครับ เพราะด้วยความสามารถของ VMSS นั้นทำให้องค์กรได้ประโยชนในเรื่องของ "Rapid Elasticity" ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งที่สำหรับของ Cloud (Cloud Characteristics) ครับ เพราะทำให้องค์กรหรือผู้ดูแลระบบที่ย้ายขึ้นไปทำงานบน Cloud นั้นสามารถขยายหรือลดทรัพยากร (Resources) ที่ใช้งานได้ตามความต้องการ (On-Demand) ครับ

ผมขอยกตัวอย่าง เช่น ถ้าท่านผู้อ่านมี Web Application รันใน Virtual Machine และอยู่ใน On-Premise Datacenter เพื่อรองรับการเข้ามาใช้บริการของผู้ใช้งานไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกออฟฟิศ ในเวลาต่อมาท่านผู้อ่านพบว่ามีผู้เข้ามาใช้งาน Web Application ดังกล่าวเยอะมาก ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของ Performance ดังนั้นสิ่งที่ท่านผู้อ่านจะต้องทำการวางแผนและพิจารณาคือ จะทำอย่างไรให้ Web Application ดังกล่าวสามารถมี Performance ที่ดีและรองรับ HA (High Availability)  ซึ่งแน่นอนในตลาดมีโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการข้างต้น แต่มีค่าใช้จ่ายเท่าไรล่ะครับ เพราะมีความเป็นไปได้ที่โซลูชั่นดังกล่าวนัั้นจะมาพร้อมกับ Hardware, Software, และค่า Services ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการข้างต้นครับ  แต่ในทางกลับกันถ้า Web Application ดังกล่าวถูกสร้างและติดตั้งเป็น Virtual Machine บน Microsoft Azure ท่านผู้อ่านสามารถใช้ VMSS ได้เลยครับ โดยที่ไม่ต้องรอการจัดซื้อและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด้วยครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ VMSS กันเลยครับผม


Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

คือเซอร์วิสหนี่งใน Microsoft Azure ที่ให้เราสามารถทำการสร้างและจัดการกลุ่มของ Azure Virtual Machine ที่เป็น Identical คือ เป็น Azure Virtual Machine ที่มีทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น Series, Sizes, OS Disks, Configuration, และอื่นๆ รวมถึงการทำ Load Balancing ด้วยครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถกำหนดเงื่อนไขใน VMSS เพื่อทำการเพิ่มหรือลด Instances (Azure VM ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Azure VM ตัวแรกใน VMSS โดยจะมีทุกอย่างเหมือนกัน) ได้ตามความต้องการ (On-Demand) หรือกำหนดเป็น Schedule ครับ เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของ Application ที่ให้บริการนั้นดีและมีความยืดหยุ่นขึ้นครับ เพราะ ณ ขณะใดขณะหนึ่งมี Azure Virtual Machines มากกว่าหนึ่งตัว (Instances) ช่วยกันทำงานครับ ในแง่ของการใช้จ่ายสำหรับ VMSS นั้นทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะ Azure VMs หรือ Instances ที่รันและทำงานอยู่เท่านั้นครับ ดังนั้นทำให้ผู้ใช้บริการอย่างเราๆ สามารถใช้งาน VMSS ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ Compute ไม่มากเท่าไร เนื่องจาก Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Compute (Azure VM หรือ Instance) ใน VMSS ที่รันและทำงานเท่านั้น ทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครับ






ทำไมต้องใช้และประโยชน์ของ Azure Virtual Machine Set (VMSS)

จากตัวอย่างที่ผมได้เล่าไปในข้างต้นว่า องค์กรนั้นจะวางแผนและจัดการในเรื่องของ Redundancy และ Performance ของ Web Application ตัวนั้นๆ อย่างไร ในกรณีที่ Web Application ดังกล่าวรันและทำงานอยู่ใน On-Premise Datacenter และประสบกับปัญหาข้างต้น แน่นอนครับ องค์กรนั้นๆ ก็จะต้องทำการวางแผนเพื่อจัดซื้อโซลูชั่นเพื่อมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่สิ่งสำคัญคือ โซลูชั่นนั้นๆ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร และจะต้องใช้เวลาเท่าไรในการติดตั้งใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษา (Maintainance) ครับ และในทางกลับกันถ้า Web Application ดังกล่าวติดตั้งและทำงานอยู่ใน Azure Virtual Machine องค์กรนั้นๆ สามารถใช้งาน VMSS ได้เลยครับและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าด้วยครับ จากจุดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ที่องค์กรนั้นๆ จะได้รับจากการนำเอาระบบงานต่างๆ ขึ้นไปทำงานอยู่บน Cloud (Microsoft Azure) ครับผม  และนอกเหนือจากที่ VMSS จะเข้าช่วยในเรื่องของการจัดการ Performance และ High Availability แล้ว ในส่วนของผู้พัฒนา Web Application จะสามารถทำการแก้ไขหรืออัพเดทได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้นครับ

ในแง่เทคนิคสำหรับ Infrastructure นั้น, VMSS ยังสามารถทำงานร่วมกับ Azure Load Balancer และ Azure Application Gateway ด้วยครับ รวมถึงการทำ Availability Zones เพื่อรองรับการทำ High Availability อีกด้วยครับผม  VMSS สามารถรองรับจำนวน Instances (Azure VMs) ได้มากถึง 1,000 VM Instances ครับ ถ้า Azure VM ที่ถูกสร้างขึ้นใน VMSS ท่านผู้อ่านเลือกจาก Azure Marketplace ครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านใช้ Custom Images, VMSS จะรองรับจำนวน Instances ได้ 600 VM Instances ครับผม

*ข้อมูลตัวเลขตลอดจนความสามารถต่างๆ ของ VMSS อาจมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ ข้อมูลตัวเลขตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ของ VMSS ที่อยู่ในบทความนี้ อ้างอิงจาก Microsoft ณ วันที่ผมเขียนบทความนะครับ


การสร้าง Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS)

เริ่มจากให้ท่านผู้อ่านเปิดและ Sign-In Azure Portal ขึ้นมาครับ จากนั้นให้ไปที่ Azure Marketplace ดังรูปครับ




จากนั้นในช่อง Search ให้พิมพ์คำว่า Virtual Machine Scale Set แล้วกด Enter ครับ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่างครับ



ให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กที่ Virtual Machine Scale Set จากรูปด้านบนครับ แล้วคลิ๊ก Create ครับ จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างและการกำหนดค่าต่างๆ (Create virtual machine scale set) ซึ่งจะมีหลายส่วนนะครับ สำหรับ VMSS ดังรูปด้านล่างครับ





ในการทำงานจริงหรือเพื่อทดสอบ, ท่านผู้อ่านสามารถกำหนดค่าต่างๆ ใน VMSS ได้ตามความต้องการเลยครับ สำหรับในบทความนี้ในส่วนแรก คือ ส่วนของ BASIC ครับ  *VMSS รองรับ Azure VM ที่ติดตั้ง OS เป็น Open Source ด้วยนะครับ




ในส่วนของ BASIC สำหรับท่านผู้อ่านที่คุ้นเคยและใช้งาน Microsoft Azure อยู่แล้ว ผมเชื่อว่าสามารถกำหนดค่าต่างๆ จากรูปข้างต้นได้เองเลยครับ  จากนั้นในส่วนต่อมาที่จะต้องกำหนดค่าต่างๆ คือ ส่วนของ INSTANCES ครับ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ท่านผู้อ่านจะต้องกำหนดค่าของ Instances Count (จำนวนของ Azure VM ใน VMSS) และกำหนด Image ของ Azure VM ที่จะใช้ใน VMSS ครับ สำหรับบทความนี้ผมกำหนดในส่วนของ INSTANCES ดังรูปด้านล่างครับผม




ในส่วนต่อมาคือ ส่วนของ AUTOSCALE  ให้ทำการ Enable ครับ สำหรับในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการทำ Auto Scaling ครับ โดยจะมีค่าต่างๆ ให้กำหนด เช่น Scale Out และ In สำหรับ Azure VM ที่อยู่ใน VMSS นั้นๆ ครับ  ดังรูป





จากรูปข้างต้น ผมได้กำหนดค่า Minimum และ Maximum ของจำนวน Azure VMs ใน VMSS นี้ครับ สำหรับในส่วนของ Scale Out และ Scale In คือ ค่าที่กำหนดว่าจะให้เพิ่มหรือลด Instances (Azure VMs) เมื่อไรและจะให้เพิ่มหรือลดทีละเท่าไรครับ โดยในบทความนี้ผมใช้ค่า Default ทั้งหมดครับ

สำหรับในส่วนต่อมาคือส่วนของ NETWORKING จะเป็นส่วนของค่ากำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Network ครับ เช่น จะเลือกใช้อะไรระหว่าง Azure Load Balancer กับ Azure Application Gateway รวมถึงจะเชื่อมต่อกับ Azure Virtual Network ใดครับ  ดังรูป




สำหรับค่ากำหนดต่างๆ ในส่วนของ NETWORKING นั้น สำหรับในการใช้งานจริง จะต้องมีการออกแบบมาก่อนนะครับ ว่า VMSS ของเรา จะใช้ Azure Load Balancer หรือ Azure Application Gateway ตลอดจนในส่วนของ Azure Virtual Network ครับ เมื่อเลือกและกำหนดค่าต่างๆ แล้วให้ท่านผู้อ่านทำการคลิ๊ก Create ได้เลยครับ ซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรสำหรับการสร้าง VMSS ครับ

สำหรับการใช้งานจริงในองค์กร ผมแนะนำว่าก่อนที่จะมาทำการสร้างและกำหนดค่าต่างๆ ของ VMSS นั้น จะต้องมีการออกแแบบและเลือกค่ากำหนดต่างๆ มาให้เรียบร้อยเสียก่อนครับ เพื่อที่จะได้ทำการประเมินได้ว่า VMSS ที่ต้องการใช้งานนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไรต่อเดือนครับ  ก่อนที่จะเริ่มสร้างและใช้งานจริงครับผม  รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ VMSS นั้น ท่านผู้อ่านสามารถไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับ

https://docs.microsoft.com/en-us/azure/virtual-machine-scale-sets/overview




และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Azure Virtual Machine Scale Set (VMSS) ครับผม…..



วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

การคิดค่าใช้จ่ายของ Azure Virtual Machine

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวของ Microsoft Azure โดยจะเป็นเรื่องของ Azure Virtual Machine หรือผมขอเรียกสั้นๆ ว่า Azure VM นะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าทุกท่านที่ใช้งาน Microsoft Azure อยู่ จะต้องมีความคุ้นเคยในการใช้งาน Service นี้แน่นอนไม่มากก็น้อยครับ เพราะ Azure VM Service ถือว่าเป็น Service ที่เก่าแก่ที่สุด Service หนึ่งใน Microsoft Azure และก็จัดว่าเป็น Service หนึ่งที่มีผู้ใช้งานใช้งานมากที่สุด Service หนึ่งเช่นกันครับ

สำหรับบทความนี้ผมไม่ได้มาสอนหรืออธิบายวิธีการสร้าง Azure VM นะครับ แต่บทความนี้ผมจะมาอธิบายว่า เมื่อท่านผู้อ่านได้ทำการสร้าง Azure VM ขึ้นใน Microsoft Azure แล้วมีการใช้งานต่างๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ทาง Microsoft Azure จะมีการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับ Azure VM นั้นอย่างไร

ถ้าเอาแบบคร่าวๆ คือ ค่าใช้จ่ายจะถูกคิดตามตามสเปคของ Azure Virtual Machine ที่ท่านผู้อ่านได้ทำการเลือกและสร้างขึ้น ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูกหรือแพง ก็จะขึ้นอยู่กับสเปคของ Azure VM หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ก็ต้องบอกว่าค่าใช้จ่ายของการใช้งาน Azure VM จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Series และ Sizes ที่ท่านผู้อ่านได้เลือกและทำการติดตั้งใช้งานครับ





จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านจะเห็นรายละเอียดต่างๆ ของ Azure VM ที่ผมได้สร้างและใช้งานอยู่ โดย Azure VM ตัวดังกล่าวนี้ ผมติดตั้ง Windows Server 2016 และทำการติดตั้ง AD DS เพื่อทำการ Promote AD DS Domain บน Microsoft Azure จากรูปด้านบนมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องการเรื่องของการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่สำคัญอยู่ 2 จุด คือ สถานะหรือ Status ของ Azure VM กับ Size ของ Azure VM ครับ

ดังนั้นสำหรับ Azure VM ตัวนี้ของผม สถานะหรือ Status เป็น Running และ Series กับ Size เป็น Standard B2s หมายความว่า Azure VM ตัวนี้ของผม ผมเลือก Series เป็น B Series และ Size เป็น B2s ครับ นั่นหมายความว่า Azure VM ตัวดังกล่าวนี้จะถูก Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายตามนี้ครับ (Status เท่ากับ Running และ Series กับ Size ที่เลือก) แต่ในบางกรณีท่านผู้อ่านอาจจะมีการปิดหรือ Shutdown Azure VM ไม่ได้เปิดใช้งานตลอด คำถามคือทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าคิดค่าใช้จ่ายจะคิดอย่างไร

จากคำถามข้างต้น คำตอบคือมีทั้งคิดและไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสถานะหรือ Status ของ Azure VM ครับ ซึ่งใน Azure VM จะมีสถานะหรือ Status ทั้งหมด 3 สถานะ ดังนี้ครับ:

Running
สถานะนี้หมายถึง Azure VM รันและทำงานอยู่ครับ นั่นหมายความว่าทาง Microsoft Azure จะคิดค่าใช้จ่ายหรือคิดตังค์เราตาม Series และ Sizes ที่ได้เลือกไว้ตอนที่สร้าง Azure VM ครับ

Stopped
สถานะนี้หมายถึง Azure VM ได้ถูก Shutdown จากการที่ผู้ดูแลระบบได้ทำการรีโมทเข้าไปที่ Azure VM ตัวดังกล่าวแล้วทำการ Shutdown สำหรับสถานะนี้ทาง Microsoft Azure ยังคงคิดค่าใช้จ่ายอยู่นะครับ เนื่องจากทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved Resources ต่างๆ ของ Azure VM ตัวดังกล่าวไว้ครับ


Stopped (Deallocated)
สถานะนี้หมายถึง Azure VM ถูก Stopped หรือ Shutdown โดยตรงจาก Azure Portal ครับ ซึ่งถ้าเป็นสถานะนี้ทาง Microsoft Azure ไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Azure VM ครับเนื่องจากไม่ได้ Reserve Resources ให้ แต่ยังคงต้องเสียในส่วนของ Azure Storage ครับ

เอาล่ะครับเมื่อเข้าใจถึงสถานะหรือ Status การทำงานของ Azure VM กันเรียบร้อยแล้วนะครับ ว่าสถานะหรือ Status แบบไหนทาง Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่าย 

ผมขออนุญาตสรุปเกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ดังนี้นะครับ

*Microsoft Azure คิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Running โดยคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้:

- เมื่อ Azure VM มีสถานะหรือ Status เป็น Running โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นชั่วโมง
- IP Address (ถ้ามีกำหนด Public IP Address เป็นแบบ Static) โดยคิดเป็นชั่วโมง
- Data Transfer (Out) ถ้ามีการส่งข้อมูลของ Azure VM นั้นๆ ออกจาก Azure Datacenter
- Standard Disk Operations (เช่น Managed Disks)

*Microsoft Azure จะยังคงคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Stopped เพราะทาง Microsoft Azure ยังคง Reserved Compute และ Storage ตามที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ

*Microsoft Azure ไม่คิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ที่มีสถานะหรือ Status เป็น Stopped (Deallocated) เพราะทาง Microsoft Azure ไม่ได้ทำการ Reserve Compute ให้ แต่ยังคงคิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Storage อยู่ครับ


สำหรับเรื่องการคิดค่าใช้จ่ายของ Microsoft Azure นั้นมีหลากหลายราคาและหลายแบบครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Services ต่างๆ ที่เลือกใช้งานครับ แต่ละ Services ก็จะมีราคาหรือค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปครับ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ การทำความเข้าใข Concept ของ Services ต่างๆ ของ Microsoft Azure ก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้นมาดูที่ค่าใช้จ่ายครับว่า Services นั้นๆ ของ Microsoft Azure ว่าการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร ยกตัวอย่างของ Azure VM ที่ผมได้นำมาเล่าและอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและทำความเข้าใจกันก่อนๆ ที่จะเริ่มใช้งานครับ เพื่อที่จะได้ประเมินค่าใช้จ่ายได้ก่อน ตลอดจนจะได้นำเอาข้อมูลนี้ไปวางแผนต่อไปครับ และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการคิดค่าใช้จ่ายของ Azure VM ครับผม.....






วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

Restart Azure Virtual Machine โดยใช้ Serial Console

     สวัสดีครับทุกท่านกลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะครับ  สำหรับบทความนี้ผมได้หยิบยกเอาเคสที่ผมเจอจากลูกค้ารายหนึ่งที่ใช้งาน Microsoft Azure แล้วเจอปัญหาว่า  Azure Virtual Machine ตัวหนึ่งเกิดค้างหรือ Hang ไปด้วยสาเหตุใดไม่ทราบ จากนั้นลูกค้าของผมต้องการที่จะทำการ Reboot Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าว แต่ไม่สามารถทำได้ด้วยการ Remote หรือ RDS เข้าไปครับ  สำหรับกรณีนี้ผมมีทางเลือกหนึ่งที่ขอแนะนำครับ โดยผมได้แนะนำให้ลูกค้าของผมใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า "Serial Console" ซึ่งอยู่ใน Azure Portal อยู่แล้วครับ ซึ่งใน Serial Console จะมีฟีเจอร์ที่สามารถทำการ Reboot Azure Virtual Machine ได้ครับ

ผมขออธิบายเพิ่มเติมสำหรับ Serial Console ใน Microsoft Azure ซักนิดนึงก่อนที่จะพาท่านผู้อ่านเข้าไปใช้งาน Serial Console นะครับ  สำหรับ Serial Console หรือเรียกชื่อแบบเต็มๆ ว่า "Virtual Machine Serial Console" นั้น คือสิ่งที่ Microsoft Azure ได้เตรียมการเข้าถึง Azure Virtual Machine นั้นด้วย Text-Based Console ครับ หรืออธิบายง่ายๆ คือ การเข้าไปยัง Azure Virtual Machine นั้นๆ โดยใช้ Command Line ครับ โดยการเข้าถึงดังกล่าวนั้นจะเป็นการเข้าถึงแบบ Serial Connection ครับ หมายความว่า คือการเข้าถึง Azure Virtual Machine นั้น โดยการเชื่อมต่อหรือติดต่อกับ COM1 Serial Port ของ Azure Virtual Machine นั้นครับผม โดยการเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้ติดต่อกับ Network หรือ OS ครับ เอาคร่าวๆ ประมาณนี้ครับ


จากนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปใช้งาน Serial Console เพื่อทำการ Restart Azure Virtual Machine กันครับ
สำหรับขั้นตอนการเข้าไป Reboot Azure Virtual Machine ที่เกิดอาการข้างต้นนั้น เริ่มด้วยให้ท่านผู้อ่านไปที่ Azure Portal จากนั้นให้ไปที่ Azure Virtual Machine ตัวที่เกิดปัญหาดังกล่าวครับ แล้ว Click Serial Console ดังรูปด้านล่างครับ





จากนั้นให้รอซักครู่ จะปรากฎหน้าจอ ดังรูปครับ และหมายความว่าท่านผู้อ่านสามารถติดต่อเข้าไปที่ Serial Console ได้เรียบร้อยแล้วครับ








สำหรับใน Serial Console ท่านผู้อ่านสามรถใช้ CMD หรือ PowerShell Command ได้เลยครับ ดังรูป




จากนั้นที่ SAC Prompt ให้ท่านผู้อ่านพิมพ์คำว่า Help เพื่อดูว่ามีคำสั่งอะไรบ้าง ที่สามารถใช้ได้ดังรูปด้านล่างครับ





จากนั้นผมจะพิมพ์คำสั่ง Restart แล้วกด Enter เพื่อทำการ Restart Azure Virtual Machine ดังกล่าว และสมมุติว่า Azure Virtual Machine ตัวนี้เช่นกันเกิดปัญหาและผมต้องการ Restart ครับ ดังรูป




จากนั้น Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าวจะทำการ Restart ซึ่งต้องบอกว่ามันเร็วมากเลยครับ และหลังจากที่ Azure Virtual Machine ตัวดังกล่าว Restart แล้ว กลับมาที่ Serial Console ท่านผู้อ่านก็จะเห็นหน้าตาดังรูปด้านล่างครับผม



อ้นที่จริงแล้วเรื่องราวของ Serial Console ยังมีอีกเยอะเลยครับ สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถไปที่ Link นี้ได้เลยครับ   https://docs.microsoft.com/en-us/azure/virtual-machines/troubleshooting/serial-console-windows



และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Serial Console ใน Microsoft Azure ครับผม…..