คลิ๊ก Next จากนั้นให้เลือก Hyper-V ดังรูปด้านล่างครับ
คลิ๊ก Next ต่อไปครับ
จากนั้นให้คลิ๊ก Next ต่อไป ในส่วนต่อมาจะเป็นการสร้าง Virtual Network โดยส่วนนี้จะเป็นการกำหนดว่าจะให้ Virtual Machine ที่กำลังสร้างอยู่นี้จะเชื่อมต่อเข้ากับเน็คเวิรค์ใด เช่น เน็คเวิรค์ของออฟฟิศ เป็นต้น ดังรูป
เมื่อกำหนด Network ให้กับ Virtual Machine แล้ว จากนั้นให้คลิ๊ก Next เพื่อเข้าสู่ส่วนของ Confirmation ดังรูป
ให้กดปุ่ม Install ครับ จากนั้นให้รอสักครู่หนึ่งครับ ท่านผู้อ่านจะเห็นผลลัพธ์ดังรูปด้านล่าง
จากนั้นท่านผู้อ่านจะต้องกดปุ่ม Close เพื่อทำการ Restart เครื่องครับ หลังจากที่เครื่องทำการ Restart กลับมาแล้วท่านผู้อ่านจะเห็นผลลัพธ์ที่แจ้งว่าการติดตั้ง Hyper-V เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
หลังจากติดตั้ง Hyper-V เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถใช้งาน Hyper-V ได้แล้วครับ โดยเรียก Hyper-V Manager ซึ่งเป็นคอนโซลที่ใช้ในการจัดการ Hyper-V ครับ ดังรูป
มาถึงตรงนี้ถ้าผู้อ่านได้ทำการติดตั้ง Hyper-V เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ต่อจากนี้ท่านผู้อ่านสามารถที่จะสร้าง Virtual Machine ขึ้นมาเพื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ตลอดจนแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่ต้องการเพื่อให้บริการผู้ใช้งานในองค์กรต่อไปครับ โดยให้ท่านผู้อ่านคลิ๊ก New ที่ด้านขวาของ Hyper-V Manager คอนโซล แล้วเลือก Virtual Machine จากนั้นจะเข้าสู่ New Virtual Machine Wizard ดังรูป
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านกำหนดชื่อของ Virtual Machine และที่ที่เก็บ Virtual Machine ดังรูปด้านบน จากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิ๊ก Next ต่อไปครับ จากนั้น Wizard จะให้ท่านผู้อ่านกำหนดขนาดของ RAM และ Hard Disk สำหรับ Virtual Machine จากนั้นในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการกำหนดค่าในการติดตั้งระบบปฏิบัติการให้กับ Virtual Machine โดยท่านผู้อ่านสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งระบบปฏิบัติการจากที่ใด ดังรูปด้านล่าง
เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กด Next ต่อไปได้เลยครับ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ดังรูป
มาถึงตรงนี้แล้วท่านผู้อ่านสามารถทำต่อได้แล้วครับ หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อบแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถที่จะทุกอย่างเหมือนกับที่ทำกับ Physical เซิรฟเวอร์ได้เลยครับ เช่น การทำ Windows Updates, การติดตั้ง Anti-Virus หรือการติดตั้งแอพพิเคชั่นต่างๆ ครับ โดยขั้นตอนทั้งหมดที่ผมได้อธิบายไปสำหรับการติดตั้ง Hyper-V และการสร้าง Virtual Machine ใน Hyper-V มีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะมีข้อสงสัยว่า จากในตอนต้นของบทความผมบอกว่าในปัจจุบันนี้องค์กรได้ทำการย้ายระบบต่างๆ ที่ทำงานอยู่ใน Physical เซิรฟเวอร์มาทำงานที่ Virtual Machines ใน Hyper-V แทน นั้นหมายความว่า ผมจะทำการย้ายระบบเดิมที่อยู่ใน Physical เซิรฟเวอร์จริง ๆ ครับ แต่ผมจะทำโดยอาคัยกระบวนการที่เรียกว่าการทำ “Physical-To-Virtual” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “P2V” ครับ ซึ่งจะแตกต่างจากวิธีที่ผมสร้าง Virtual Machine ขึ้นมาแล้วทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการและแอพพิเคชั่นใหม่ทั้งหมด แต่สำหรับการทำ P2V คือการ Convert Physical เซิรฟเวอร์มาเป็น Virtual Machine ได้เลยครับ โดยที่ไม่มีผลกระทบกับตัว Physical เซิรฟเวอร์เลย ซึ่งทางไมโครซอฟท์ได้เตรียม Product ที่ชื่อว่า System Center Virtual Machine Manager 2008 R2 (SCVMM) เอาไว้เพื่อบริหารจัดการ Hyper-V แบบ Centralize รวมถึงการทำ P2V และยังมีฟีเจอร์ต่างๆ อีกมากมายครับ เอาไว้ผมจะหาโอกาสมานำเสนอต่อไปครับ และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Server Virtualization และพระเอกของโซลูชั่นนี้ก็คือ Windows Server 2008 R2-Hyper-V ครับ ผมขอเพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับสำหรับ Windows Server 2008 R2 ว่า ณ ตอนนี้ทางไมโครซอฟท์ได้ออก Service Pack 1 มาแล้วครับ และมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากครับ เช่น Dynamic Memory, RemoteFx เป็นต้น ทั้งนี้ท่านผู้อ่านท่านใดที่อยากจะทราบรายละเอียดของฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถไปหาดูได้จาก FB หรือ Blog ของผมครับ และทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียง Virtualization โซลูชั่นแบบแรกเท่านั้นครับ สำหรับในตอนต่อไปผมจะนำเสนอ Virtualization รูปแบบต่อไปครับ แต่ยังไม่บอกนะครับว่าเป็นแบบใด เพราะฉะนั้นอย่าพลาดเชียวนะครับ.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น