วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

รีวิวและสำรวจฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน System Center 2012-Virtual Machine Manager (VMM) ตอนที่ 1

สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องจาก   Cloud Computing  โดยผมจะหยิบยกเอา Product ตัวหนึ่งที่อยู่ในชุด System Center 2012 ของทางไมโครซอฟท์ที่กำลังจะเปิดตัวในบ้านเราเร็ว ๆ  นี้  โดย Product ตัวนี้คือ  System Center 2012-Virtual Machine Manager  หรือเรียกสั้น ๆ ว่า VMM ครับ  ต้องบอกว่า VMM เวอร์ชั่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเวอร์ชั่นเดิมค่อนข้างมากพอครับ  เนื่องจากทางไมโครซอฟท์กำหนดและวางแผนให้ VMM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารและจัดการ Private Cloud  ไม่ใช่แค่จัดการ Virtual Machines  เหมือนกับในเวอร์ชั่นก่อนครับ  และจากที่ผมได้ทำการทดสอบและทดลองใช้งานแล้วต้องบอกว่า  VMM ตัวใหม่นี้เป็น Product ที่น่าจับตามองมากครับ  เพราะการใช้งานที่ง่ายและมาพร้อมกับฟีเจอร์ต่างๆ  ที่ตอบโจทย์สำหรับองค์กรที่กำลังวางแผนและสนใจที่จะหา Cloud โซลูชั่น มาใช้งานในองค์กรของท่าน  และในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องของ Cloud ให้กับลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  และผมได้ทำสาธิตการสร้าง Private Cloud รวมถึงการทำ VM Provisioning  และ Service Deployment อีกด้วย  ต้องบอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่ รู้สึกชอบและสนใจเจ้า VMM กันมากเลยครับ  เอาล่ะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมขออนุญาตเริ่มทำการรีวิวฟีเจอร์ต่างๆ  ของ VMM กันเลยครับโดยสิ่งแรกที่ผมอยากจะนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นใน VMM ก่อนเลยคือ  คอนโซลที่ใช้ในการบริหารและจัดการครับ  เพราะนื่คือคอนโซลใหม่ที่มาพร้อมกับ VMM  ครับ  ดังรูปด้านล่าง
เอาล่ะครับ ผมขอเริ่มที่ฟีเจอร์แรกใน VMM  คือ “Manage Multiple Hypervisors”  ใน VMM เวอร์ชั่นใหม่  เราสามารถทำการบริหารและจัดการ  Hypervisors ได้ทั้งหมด  3 ชนิด ครับ คือ Hyper-V, VMware และ Citrix XenServer ดังรูป
ฟีเจอร์|การบริหารและจัดการ Cloud, Fabric และ Service Management
ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ใหม่และมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ  เพราะนี่คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถใช้ VMM 2012  ทำการสร้างและจัดการ Cloud ได้  อย่างที่ผมเคยเล่าเรื่องราวของ Cloud เอาไว้ในบทความของผมก่อนหน้านี้ว่า Cloud คือ การบริหารและจัดการ Resources หรือเรียกว่าการจัดการ Resource Pools  และใน VMM 2012,  ยังมีสิ่งที่เรียกว่า “Fabric” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและกำหนด Resources ต่างๆ  เช่น  Compute (Processors, Memory เป็นต้น), Storage และ Network ที่จะถูกนำไปสร้างเป็น Cloud   จากนั้นเราสามารถทำ VM Provisioning และการทำ Service Templates ซึ่งผมขออธิบายเพิ่มเติมภายหลังครับ  รูปด้านล่างจะเป็น รูปของการสร้าง Cloud โดยใช้ VMM
และรูปต่อมา เป็นการกำหนด Capacity หรือกำหนด Resources รวมถึง Hypervisors ให้กับ Cloud  ดังรูป


และรูปต่อมาคือ Fabric ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนด Resources เพื่อนำเอาไปใช้ในการสร้าง Cloud ดังที่ผมได้อธิบายและแสดงรูปต่างๆ  ในข้างต้นครับ
โปรดติดตามตอน  2 เร็วๆ นี้ครับผม.....

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหารวบรัดชัดเจนดีครับ ขอรบกวนคุณ Barista5 หน่อยครับ พอดีผมกำลังจะเริ่มศึกษาตัว System Center แต่พอดีไม่รู้ว่า Solution นี้ควรจะเริ่มศึกษาที่ตัวใดก่อนระหว่าง Configuration Manager, Virtual Machine Manager, Operation Manager หรืออื่นๆ ครับ

    ตอบลบ