Desktop Virtualization
ก่อนที่จะไปที่ Desktop Virtualization ผมอยากจะย้อนกลับไปที่เรื่องของ Microsoft Virtualization ซึ่งมีโซลูชั่นต่าง ๆ มากมายหลายรูปแบบครับ แต่ผมได้อธิบายว่าเราสามารถแบ่งประเภทหรือรูปแบบของ Virtualization ได้เป็น 2 รูปแบบ คือ Virtualization สำหรับเซิรฟเวอร์ซึ่งก็คือ Server Virtualization ซึ่งมี Hyper-V เป็นพระเอกคอยดูแลและจัดการอยู่ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ Virtualization สำหรับเดสก์ท๊อปครับ ซึ่งประกอบด้วย Desktop Virtualization, Application Virtualization, Presentation Virtualization และ User State Virtualization เอาล่ะครับมาถึงตรงนี้ผมขอเริ่มเข้าสู่เรื่องราวของ Desktop Virtualization ครับ อย่างที่ผมได้กล่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้ครับว่า การนำเอาเทคโนโลยีหรือโซลูชั่นของ Virtualization เข้ามาบริหารจัดการในองค์กรมีอยู่หลายแบบ แต่สำหรับ Desktop Virtualization จะเป็นโซลูชั่นที่มาช่วยในการจัดเครื่องเดสก์ท๊อปหรือเครื่องของผู้ใช้งานในองค์กรครับ โดยที่ผ่านมาท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการบริหารจัดการเครื่องเดสก์ท๊อปหรือเครื่องของผู้ใช้งานนั้นมีหลายเรื่องที่จะต้องจัดการ เช่น การติดตั้งระบบปฏิบัติการ, การกำหนดค่าคอนฟิกต่างๆ ในการงาน, การติดตั้งซอฟท์แวร์หรือแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน และยังรวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เป็นต้น ซึ่งงานต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นงานที่จะต้องใช้ทั้งกำลังคน, เวลา และค่าใช้จ่ายมากพอสมควรครับ
จากรูปด้านบนเป็นรูปที่แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ
ของเครื่องของผู้ใช้งานในองค์กรครับว่าประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นครับ เพราะฉะนั้นการที่จะนำเอา Desktop
Virtualization เข้ามาใช้งานในองค์กรจะช่วยให้งานต่างๆ
ที่จะต้องทำสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในขณะเดียวกันจะต้องลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายขององค์กรด้วย ผมอยากให้ท่านผู้อ่านดูรูปดังต่อไปนี้ครับ
โดยคอนเซปของ Desktop
Virtualization จะเป็นการแยกส่วนต่างๆ
ของเครื่องเดสก์ท๊อปออกมาดังรูปด้านบนครับ
โดยสิ่งสำคัญสำหรับ Desktop Virtualization คือ
การแยกส่วนที่เป็น ระบบปฏิบัติการ Operating
System (OS) และ ส่วนที่เป็นแอพพิเคชั่นออกจากส่วนที่เป็นฮารด์แวร์ โดยส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการและแอพพิเคชั่นนั้นเราเอา
Desktop Virtualization เข้ามาจัดการแทน
นั้นหมายความว่าต่อไปเราสามารถนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งคู่ไปรันหรือทำงานบนฮารด์แวร์ที่มีความแตกต่างกันได้และยังสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับความไม่เข้ากันระหว่างระบบปฏิบัติการใหม่
เช่น Windows 7 กับแอพพิเคชั่นเก่าๆ
ได้ด้วยโดยเราเรียกปัญหานี้ว่า “Application Compatibility” ครับ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาที่ทำให้หลายองค์กรที่จะปรับเปลี่ยนระบบปฏิบัติการ
เช่น จาก Windows XP ไปเป็น Windows 7 ไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดปัญหาที่
Application Compatibility เพราะฉะนั้นผมขอสรุปว่า
Desktop Virtualization จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยจัดในส่วนของ Application Compatibility
และยังช่วยทำให้การบริหารจัดการงานต่างๆ
สำหรับเดสก์ท๊อปสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์กรประหยัดทั้งกำลังคนและเงินครับ สำหรับ Desktop Virtualization จะมี 3
แบบครับ
ดังรูป
โดยทั้ง 3 แบบคือ Virtualization เทคโนโลยีที่เข้ามาจัดการในส่วนที่เป็น
ระบบปฏิบัติการหรือแอพพิเคชั่น
เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของ Application Compatibility ตามที่ผมได้อธิบายไปในช้างต้นครับ
ผมขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ที่ผมได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับลูกค้าที่ต้องการนำเอา
Desktop Virtualization
เข้ามาใช้งานในองค์กร
โดยสิ่งที่ลูกค้าผมต้องการคือ
เปลี่ยนระบบปฏิบัติการจากเดิมที่ใช้อยู่ไปเป็น Windows 7
เพราะลูกค้าต้องการใช้ฟีเจอร์ใหม่ ๆ
ความต้องการต่อมาคือจะทำอย่างไรให้แอพพิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถรันและทำงานกับ
Windows 7 ได้
ซึ่งโดยปรกติจะมีทั้งแอพพิเคชั่นที่สามารถทำงานหรือรันกับ Windows 7 ได้
แต่บางแอพพิเคชั่นไม่สามารถรันหรือทำงานใน Windows 7
ได้
สิ่งที่ลูกค้าถามผมคือจะทำอย่างไรกับปัญหานี้ เพราะถ้าไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้
แผนงานที่จะย้ายระบบปฎิบัติการจากเดิมไปเป็น Windows 7 ก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมบอกลูกค้าคือ
ให้ลูกค้าทดลองใช้งาน Desktop Virtualization
ของทางไมโครซอฟท์ครับ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของ Application Compatibility ซึ่งใน Desktop
Virtualization มีหลายแบบที่สามารถนำมาใช้ในกรณีนี้ครับ โดยผมขอหยิบเอาแบบแรกคือ “Client-Hosted
(XP Mode)”
Client-Hosted
(XP Mode)
เป็นรูปแบบหนึ่งของ Desktop Virtualization ที่จะเข้ามาช่วยจัดการปัญหาเรื่องของ
Application Compatibility โดยมีคอนเซปดังรูปด้านล่างครับผม
จากรูปด้านบนเป็นการแสดงถึงคอนเซปและส่วนประกอบต่างๆ ของ Client-Hosted (XP Mode) โดยมีรายละเอียดดังนี้ เครื่องเดสก์ท๊อปของผู้ใช้งานจะติดตั้ง
Windows 7 Enterprise Edition ครับ
จากนั้นทำการติดตั้งส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ Windows Virtual PC และ XP
Mode ครับ
โดยจะต้องทำการดาวน์โหลดจากไมโครซอฟท์ตามลิ๊งค์ด้านล่างครับ http://www.microsoft.com/windows/virtual-pc/download.aspx
ดังรูปด้านล่างครับ
โดยให้ท่านผู้อ่านทำการดาวน์โหลดตามขั้นตอนต่างๆ ที่เห็นจากรูปด้านบน
และจะได้ไฟล์ทั้งหมดดังรูปด้านล่างครับ
- Windows
XP Mode คือ Virtual Machine ที่ติดตั้ง
Windows XP SP3 มาให้เลย และเราไม่ต้องเสียค่า License
-
Windows Virtual PC คือ เวอร์ชั่นใหม่ของ
Microsoft Virtual PC 2007 SP1
และมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ ๆ ดังนี้
Windows
Virtual PC สามารถติดตั้งและใช้งานได้กับ Windows 7 Editions
ดังต่อไปนี้ครับ
-
Windows 7 Home Basic Edition
-
Windows 7 Home Premium Edition
-
Windows 7 Professional Edition
-
Windows 7 Ultimate Edition
-
Windows 7 Enterprise Edition
และนี่คือหน้าตาของ Windows Virtual PC ครับ
สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยใช้ Microsoft Virtual PC มาแล้ว
สามารถใช้งาน Windows Virtual PC ได้อย่างรวดเร็วครับ ไม่ต้องไปเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยใช้มาก่อน
ผมขอบอกว่าสามารถทำตาม Wizard
ที่ท่านผู้อ่านเห็นจากรูปด้านบนได้ครับ
เอาล่ะครับผมคงไม่ลงไปในรายละเอียดสำหรับ Windows Virtual PC นะครับ เพราะอย่างที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น สำหรับขั้นตอนต่อไปผมจะเริ่มทำการติดตั้ง
XP Mode จากไฟล์ที่ผมได้ทำการดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้ครับ และรูปด้านล่างจะเป็นการเริ่มติดตั้ง XP
Mode
ให้ท่านผู้อ่านทำการคลิ๊ก Next ต่อได้เลยครับ
สำหรับในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการกำหนดที่ที่ใช้เก็บ Virtual Hard Disk ของ XP Mode (ซึ่งก็คือ Virtual Machine ที่มาพร้อมกับ Windows XP + SP3) ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊ก Next เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง XP Mode ดังรูปด้านล่างครับผม
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านรอสักครู่ครับ
จะปรากฏไดอะล๊อกซ์ที่แจ้งว่าการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊ก Finish ครับ เอาล่ะครับเมื่อมาถึงตรงนี้เราได้ทำการติดตั้ง Windows XP Mode เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับ Windows XP Mode ซึ่งจะมีขั้นตอนอีกเล็กน้อยครับ จากนั้นเราจะได้ Virtual Machine ที่มี Windows XP + SP3 มาใช้งานกัน และทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่รูปแบบแรกของ Desktop Virtualizaiton ของทาง Microsoft เท่านั้นนะครับ คราวหน้าผมจะมาอธิบายรูปแบบที่เหลือของ Desktop Virtualization ครับผม.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น