จากนั้นเราจะเห็นหน้าจอของ Security Center ดังรูป
จากหน้าจอด้านบนเราสามารถำหนดค่าในส่วนต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น Windows Update, Windows Firewall, Windows Defender, และอื่นๆ แต่สำหรับใน Windows 7 จะไม่มีส่วนของ Security Center แต่จะถูกแทนที่ด้วยฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Action Center ดังรูป
Windows 7 Action Center เป็นศูนย์กลางที่เราสามารถทำการค้นหาข้อมูลต่าง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ System Maintenance , ข้อมูลเกี่ยวกับ Security และรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์สำหรับการจัดการและดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ใน Action Center ยังมีส่วนที่เรียกว่า Action Center Notification ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำการแจ้งเตือนเรา เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์เกี่ยวกับ Windows Updates, Virus Protection, Windows Firewall และอื่นๆ นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดออฟชั่นสำหรับเรี่องของการ Notification ได้ด้วยครับ ดังรูปต่อไปนี้
สำหรับ Action Center ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ มากมายครับ เช่น ส่วนของการ Maintenance และในส่วนของ Security โดยส่วนของ Security ก็จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องราวของความปลอดภัย เช่น Windows Firewall, UAC, Windows Updates เป็นต้น สำหรับในส่วนของ Maintenance เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ Backup และการ Troubleshooting โดยรูปแรกจะเป็นในส่วนของ Security และรูปต่อมาเป็นในส่วนของ Maintenance
ในส่วนต่อมาของ Action Center จะเป็นส่วนของ Troubleshooting ครับ โดยใน Windows 7 จะมี Troubleshooting Wizard ทำการค้นหาตรวจสอบปัญหาต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์และพยายามที่จะทำการแก้ไข โดย Wizard ดังกล่าวก็จะมีข้อมูลพร้อมกับขั้นตอนต่างๆ ที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหา ใน Windows 7 ในส่วนของ Troubleshoot ออฟชั่นมีทาสก์ต่างๆ มากมาย ดังรูป
นอกจากนี้แล้วยังมีในส่วนของ Troubleshooting Report ซึ่งจะให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ
สำหรับเรื่องต่อมา หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับ Action Center แล้ว ผมอยากจะนำเรื่องของ User Account Control หรือเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “UAC” สำหรับ UAC ใน Windows 7 ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไป พอสมควรครับ โดย UAC ที่มาใน Windows 7 สามารถปรับระดับการทำงานได้ 4 ระดับครับ จากในเวอร์ชั่นก่อนคือใน Windows Vista เราสามารถทำได้แค่ On/Off เท่านั้นครับ สำหรับระดับการทำงานต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
ส่วนหน้าตาของ UAC ใน Windows 7 มีหน้าตาดังรูปด้านล่างครับผม
สำหรับฟีเจอร์ต่อมา โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก และบางท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์ได้ทำการติดตั้งและใช้งานมาแล้ว ฟีเจอร์นี้คือ BitLocker ครับ BitLocker เป็นฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับ Windows Vista ครับโดยเป็นฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่ในการเข้ารหัสหรือ Encryption โวลุ่ม และทำการป้องกันการ Boot เข้าไปใน OS หรือการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน Encrypted Volume โดยปราศจากการ Authorization หรือการตรวจสอบครับ และผมเคยนำเสนอเรื่องราวของ BitLocker มาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดไม่รู้จักว่า BitLocker คืออะไร และทำงานอย่างไร ผมแนะนำว่าลองไปค้นหา EWORLD ฉบับเก่า ๆ มาดูครับ เรากลับมาที่ BitLocker ที่มาพร้อมกับ Windows 7 ครับ ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ BitLocker ใน Windows 7 สามารถที่จะทำการเข้ารหัสพวก Portable ฮารด์ดิสก์ และพวกแฟลช Memory ดีไวซ์ ได้แล้ว โดยเราเรียกฟีเจอร์นี้ว่า “BitLocker To Go” ครับ และเจ้า BitLocker To Go นี้ เป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรอยากได้มาใช้งานครับ แต่ทุกวันนี้ต้องไปหาซื้อซอฟท์แวร์อื่นๆ มาใช้ และยังมีอีกหลาย ๆ องค์กรที่กำลังรอว่าเมื่อ Windows จะสามารถทำได้สักที และจากการที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปคุยกับลูกค้าของผม หลาย ๆ รายครับ ก็กำลังมองหาวิธีการที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูลเมื่อถูกเก็บไว้ในพวกแฟลชดีไวซ์ โดยวิธีการคอนฟิกก็ทำได้ง่ายดายมากครับ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างว่า ผมต้องการที่จะเข้ารหัสแฟลชไดรฟ์สักตัวหนึ่ง ก็ทำได้โดยการคลิ๊กขวาที่แฟลชไดรฟ์นั้นแล้วเลือกเมนู Turn On BitLocker… ดังรูป
จากนั้นเราจะต้องกำหนด Password สำหรับการ Unlock ไดรฟ์ หรือใช้สมารท์การด์ในการ Unlock ดังรูป
ขั้นตอนต่อมาเราจะต้องหาที่เก็บ Recovery Key ครับ เพื่อเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินครับ เช่น ในกรณีที่เราเกิดทำหรือลืม Password หรือสมารท์การด์ ครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านผู้อ่านต้องทราบคือ ห้ามเซฟ Recovery Key ไว้ที่เดียวกับไดรฟ์ที่กำลังทำการเข้ารหัสอยู่ครับ ดังรูป
จากนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นแม็สเสจนี้ปรากฏขึ้นมา ดังรูปด้านล่าง เพื่อเป็นการแสดงว่า Recovery Key ได้ทำการเซฟเรียบร้อยแล้วครับ
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ก็พร้อมแล้วครับ สำหรับการเข้ารหัสไดรฟ์ โดยให้ท่านผู้อ่านกดปุ่ม Start Encrypting ครับ ดังรูป
จากนั้นก็เริ่มการเข้ารหัสแล้วครับ ดังรูป
และเมื่อเสร็จสิ้นการเข้ารหัสแล้ว ท่านผู้อ่านก็จะเห็นหน้าจอดังรูปด้านล่างครับ
และสิ่งต่อมาที่ผมอยากจะให้ท่านผู้อ่านได้สังเกตคือ ไดรฟ์ที่ถูก BitLocker To Go เข้ารหัสแล้วจะมีหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ
และในครั้งต่อไปถ้าเรานำเอาแฟลชไดรฟ์เสียบเข้าที่เครื่อง ท่านผู้อ่านก็จะเห็นหน้าตาดังรูปด้านล่างครับ
เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจะต้องทำการใส่ Password ที่ถูกต้องจึงจะสามารถใช้งานได้ครับ สำหรับฟีเจอร์ต่อไปที่ผมจะนำมาเสนอคือ AppLocker โดยถือว่าเป็นฟีเจอร์ใหม่ของ Group Policy โดยมันอนุญาตให้ผู้ดูแลระบบทำการควบคุมเวอร์ชั่นของแอพพิเคชั่นที่จะให้ยูสเซอร์สามารถติดตั้งและใช้งาน โดยใน Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้เรามีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Software Restriction Policies ซึ่งใช้ในการควบคุมว่าจะให้โปรแกรมใดสามารถรันหรือทำงานได้
สำหรับรายละเอียดของ AppLocker เอาไว้ในคราวต่อไปผมจะเล่าให้ฟังกันอีกครั้งหนึ่งครับ เพราะเนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะพอสมควรครับและฟีเจอร์สุดท้ายที่ผมจะนำเสนอคือ Biometric Framework เป็นฟีเจอร์ที่มีไว้เพี่อรองรับและซัพพอร์ต Fingerprint Device ถ้าท่านผู้อ่านต้องการ Log On โดยใช้แบบ Fingerprint Logon โดยถ้าเป็นใน Windows Vista เราจะต้องใช้ซอฟทแวร์ที่มาจาก Fingerprint Sensor Vendor ครับ แต่ถ้าเป็นใน Windows 7 ไม่ต้องครับเพราะมี Biometric Framework มาให้แล้วดังรูป
และทั้งหมดที่ผมได้เล่ามานี้เป็นฟีเจอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Security ที่มาใน Windows 7 และผมหวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์และได้นำไปทดลองใช้กันก่อนที่ Windows 7 ตัวจริงจะมาครับ โดยส่วนตัวผมคิดว่าฟีเจอร์ต่างๆ ที่ผมได้กล่าวไป ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานครับ อีกทั้งยังใช้งานได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยครับ และเหมือนเช่นเดิม ถ้าหากท่านผู้อ่านท่านใดมีคำถามหรือคำแนะนำใด ๆ ก็สามารถโพสที่ FB นี้ได้ครับ แล้วพบกันใหม่ครับผม…..
ถ้าลืมรหัสทำไงได้บ้างครับ
ตอบลบ