วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 6


ในบทความนี้ยังอยู่ในเรื่องราวของ Server Manager ใน Windows Server 2012 ครับ และจากนั้นจะต่อกันด้วยเรื่องราวของ PowerShell 3.0 ครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมขอเข้าสู่เนื้อหาเลยครับผม

Features
จากนั้นในส่วนต่อมาคือ Features  ให้ท่านผู้อ่านทำการเลือก Features ที่ต้องการได้เลยครับ ดังรูป


จากนั้นให้คลิ๊ก Next  ครับ


ให้คลิ๊ก Next เพื่อไปยังส่วนต่อไปครับ


ในส่วนของ Confirmation  ให้คลิ๊ก Install ดังรูป ครับผม


จากนั้นให้รอสักครู่ เพื่อรอการติดตั้ง Roles และ Features ดังรูป


เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าจอที่แสดงผลการติดตั้ง Roles และ Features เสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังรูป ด้านล่างครับผม


2. PowerShell 3.0
เป็นเครื่องมือตัวต่อมาที่ผมต้องบอกว่ามีความสำคัญและมีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ  ครับ  โดย PowerShell จะเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยจัดการเซิรฟเวอร์และส่วนต่างๆ  ให้มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นมากขึ้นจากการที่เราใช้ GUI ทูลต่างๆ  โดยผมจะหยิบเอาบางส่วนมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกัน สำหรับ PowerShell ใน  Windows Server 2012 นั้น ได้มีการเพิ่มคำสั่งเข้าไปมากกว่า 2,300 cmdlets  ดังรูปด้านล่าง ครับผม


สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถไปดูได้จาก FB  ของ  ซึ่งผมได้มีการโพสLink สำหรับดาวน์โหลด PowerShell Whitepapers ครับ  ส่วนต่อมาผมจะสาธิตการใช้ PowerShell ในการจัดการ Server จาก GUI   Convert  ไปเป็น Server Core   ซึ่งใน Windows Server 2008 และ R2 จะต้องทำการ Re-Install เท่านั้น  แต่สำหรับใน  Windows Server 2012  ท่านผู้อ่านสามารถจะทำการ Remove GUI  และมาใช้เป็นแบบ Command-Line หรือ Server Core ได้อย่างรวดเร็วครับ  โดยให้ไปที่ Server Manager  ดังรูป
ให้ท่านผู้อ่านไปที่ Manage และตามด้วย Remove Roles and Features  จากนั้นให้ทำการ Remove Feature ที่ชื่อว่า User Interfaces and Infrastructure  ดังรูป
 
จากนั้นก็ทำการ Restart เพียงเท่านี้กันเป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการ Remove GUI  หลังจาก Restart เสร็จเรียบร้อยแล้วเซิรฟเวอร์ดังกล่าว ก็จะกลายเป็น Server Core  ครับผม  เป็นอย่างไรครับ  ช่างง่ายดายมากจริงๆ    หรือถ้าจะใช้ PowerShell เพื่อทำการ Remove GUI ออกไป ก็สามารถทำได้เช่นกัน จากตัวอย่างต่อไปนี้ ผมจะทำการ Remove GUI ออกจากเซิรฟเวอร์ ที่ชื่อว่า Server 1   โดยไปที่ PowerShell จากนั้นให้ท่านผู้อ่านพิมพ์คำสั่ง ดังรูปด้านล่างครับ
แล้วตามด้วยคำสั่งนี้ ดังรูป
 
จากนั้นให้รอสักครู่ครับ  จากนั้นท่านผู้อ่านจะให้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่างครับ


กลับไปดูที่ Server Manager จะเห็นว่า Server 1 จะมี Status ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊กขวา และเลือก Restart Server ดังรูป
 
จากนั้นให้คลิ๊ก OK เพื่อยีนยันการ Restart  ดังรูป

ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรโปรดติตตามต่อในตอนหน้าครับผม.....
 

 
 


 
 






 

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 5

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวของการปรับเปลี่ยน Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 จาก GUI เป็น Server Core  ซึ่งในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น Windows Server 2008 และ Windows Server 2008 R2 การปรับเปลียนจาก GUI ไปเป็น Server Core จะได้โดยการจะต้องทำการ Format เครื่องดังกล่าว และทำการเลือก Mode ที่ต้องการ  แต่สำหรับใน Windows Server 2012 เราสามารถทำการปรับเปลี่ยน Mode ไปมาได้โดยไม่ต้องทำการ Fortmat และ ติดตั้ง Windows ใหม่อีกต่อไป  จึงทำให้เกิดความคล่องตัวและสะดวกมากขึ้นในการบริหารและจัดการ Windows Server 2012   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่ท่านผู้อ่านจะทำการติดตั้งและเลือก Mode ในการติดตั้งผมอยากจะให้ท่านผู้อ่านทำการวางแผนให้ดีเสียก่อนครับ  ว่า Servers แต่ละตัวนั้นควรจะติดตั้ง Windows Server 2012 ใน Mode ใดดี ถึงแม้ว่าจะสามารถปรับเปลียนได้ก็ตาม

ผมขอยกตัวอย่างเช่น การเลือก Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 เป็นแบบ Server Core นั้นมีข้อดีคือ ตัว Server ที่ทำการติดตั้งใน Mode นี้จะมีความปลอดภัยมากกว่าปรกติ  เนื่องจากเป็นการติดตั้งเฉพาะ Kernel ของ Windows Server 2012 เท่านั้น  ไม่มีส่วนที่เป็น GUI เลย  แต่ก็ต้องแลกกับการบริหารและจัดการในแบบ Command-Line แทน  แต่การที่เราติดตั้งและเลือกเป็นแบบ Server Core ทำให้เครื่องดังกล่าวไม่ค่อยจะมีปัญหากับเรื่องของ Malware รวมถุึงการ Update Patches ที่น้อยลงเมื่อเทียบกับการติดตั้งแบบ GUI ครับ  โดยส่วนตัวผมมีประสบการณ์ติดตั้งและใช้งาน Server Core ให้กับลูกค้ามาแล้วหลายรายครับ  และส่วนใหญ่ Roles ที่ผมเลือกติดตั้งอยู่บน Server Core คือ  Domain Controller (DC) และ RODC ซึ่ง Servers เหล่านี้จะถูกติดตั้งที่ Remote Sites หรือสาขา ซึ่งเป็นที่ที่ไม่มีผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่รู้เรื่องราวและมีความชำนาญเกี่ยวกับ Active Directory อยู่  ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยทำให้ Server เหล่านี้มีความปลอดภัยและ Reliable อยู่ได้ ก็คือ Server Core นี่แหละครับ  นอกจากนี้ท่านผู้อ่านยังสามารถกำหนด Roles ต่างๆ บน Server Core ได้อีกด้วยครับ  ไม่ใช่เพียง Acitve Directory Domain Service หรือ DC อย่างเดียว  แต่ในทางกลับกันก็ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถติดตั้งทุก Roles ได้บน Server Core เช่นกันครับ  สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จาก Link นี้ครับผม http://technet.microsoft.com/en-us/library/jj574158.aspx

เอาล่ะครับเรากลับมาดูกันต่อในเรื่องราวของการ Switching หรือการปรับเปลี่ยน Mode ในการติดตั้ง Windows Server 2012 ครับ

1.  การปรับเปลียน Mode จาก Full GUI เป็น Server Core

Import-Module Dism      
Dism /online /disable-feature /featurename:ServerCore-FullServer

จากนั้นให้ทำการ Restart เครื่อง


2.  การปรับเปลียน  Mode จาก Server Core เป็น Full GUI

Import-Module Dism      
     
Dism /online /enable-feature /featurename:ServerCore-FullServer
/featurename:Server-Gui-Shell /featurename:Server-Gui-Mgmt


จากนั้นให้ทำการ Restart เครื่อง


และนี่คือการ Switching Mode การติดตั้งของ Windows Server 2012 ครับ  แต่อันที่จริงแล้วการปรับเปลี่ยน Mode ของการติดตั้ง Windows Server 2012 จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ ให้เลือกครับ  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

แบบที่ 1 Full Installation
คือ Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 แบบปรกติ คือ จะมีการติดตั้งทั้ง "Graphical Management Tools and Infrastructure" และ "Server Graphical Shell" เพราะฉะนัั้น Mode นี้จะเป็น Mode ที่เราจะใช้กันมากที่สุดและน่าจะคุ้นเคยมากที่สุดเช่นกันครับ

แบบที่ 2 Server Core
คือ Mode การติดตั้ง Window Server 2012  แบบไม่มี GUI เลย   เพราะทุก GUI Server Features จะถูก Disabled ทั้งหมด  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการการติดตั้ง Windows Server 2012 แบบที่เน้นหนักทางด้านความปลอดภัยเป็นหลัก

แบบที่ 3 Minimal Shell (MinShell)
คือ Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 แบบลูกผสมระหว่าง ServerCore กับ Full Installation ครับ โดยชื่อก่อนหน้านี้คือ "Features On Demands" ครับ

แบบที่ 4 Full Installation with Desktop Experience
คือ Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 โดยเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากการติดตั้งแบบ Full Installation โดยทำการ Enable "Desktop Experience" สิ่งที่ได้เพิ่มเติม เช่น คุณสามารถทำการ Add Windows RunTime, Windows Store เพื่อทำการซื้อและ Download Applications ต่างๆ  และรัน Applications ใน Start Screen เป็นต้น  รูปด้านล่างเป็นการ Enable Desktop Experience


และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการสำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 5 ครับ ที่ผมนำเอาเรื่องราวของ Mode การติดตั้ง Windows Server 2012 มาให้ทุกท่านได้ทราบกัน  แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปนะครับผม ......

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 RC ตอนที่ 4

มาพบกับการรีวิว Windows Server 2012 กันต่อครับ  โดยเรายังอยู่ในเรื่่องราวของ Server Manager ใน Windows Server 2012 ครับ  มาดูกันเลยครับว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง


BEST PRACTICES ANALYZER (BPA)

ส่วนต่อมาผมอธิบายในส่วนของ BEST PRACTICES ANALYZER ( BPA)  จะเป็นส่วนที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาพร้อมกับคำแนะนำต่างๆ สำหรับ Roles และFeatures ต่างๆ ที่ได้มีการติดตั้งอยู่ในเซิรฟเวอร์นั้น ๆ   ดังรูป ครับ


ตัวอย่างของ BPA ด้านล่างเป็นคำแนะนำว่า ควรจะมี Domain Controller อย่างน้อย 2 ตัว เพื่อช่วยในเรื่องของ Redundancy และ Availability ของ Active Directory


Add Roles and Features
จากที่ผมเกริ่นเอาไว้ในตอนต้นของบทความว่าเราสามารถทำการ Add Roles and Features ใน Server Manager ได้แบบ Local และ Remote หรือแม้กระทั่งใน Virtual Machines เรามาดูวิธีกันเลยครับ  โดยเริ่มจากการคลิ๊กที่ Manage แล้วทำการเลือก Add Roles and Features ดังรูป


จากนั้นจะมี Wizard ดังรูป



ให้ท่านผู้อ่านทำการคลิ๊ก Next ต่อไปได้เลยครับ


สำหรับในส่วนของ Installation Type ให้เลือก Role-based or feature-based installation แล้วคลิ๊ก Next ครับ


จากรูปด้านบน ผมเลือก Server1 และคลิ๊ก Next ครับ  ในส่วนของ Server Roles  ท่านผู้อ่านสามารถทำการเลือก Roles ที่ต้องการติดตั้งได้เลยครับ  ดังรูป

ผมขอหยุดไว้ตรงเรื่องของการ Add Roles ใน Windows Server 2012 ก่อนนะครับ  สำหรับในส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ Add Features และ PowerShell 3.0  ผมขอยกยอดไปในตอนหน้าครับ 






 

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 RC ตอนที่ 3.1

   บทความตอนนี้ผมขอเรียกว่าเป็นการสำรวจฟีเจอร์ใน Windows Server 2012 ตอน 3.1 แล้วกันนะครับ เนื่องด้วยเมื่อช่วงที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรและนำเอาเรื่องราวของฟีเจอร์หนึ่งใน Windows Server 2012 นั่นก็คือ Hyper-V  ครับ  และได้มีผู้เข้าฟังท่านหนึ่งมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องราวของการ Importing Virtual Machines ใน Windows Server 2012 Hyper-V  ซึ่งมีหลาย Options แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะเลือก Options ใดดีจึงจะเหมาะสม  จากคำถามดังกล่าวผมคิดว่าเป็นคำถามที่ดีและน่าสนใจครับ เพราะไม่ใช่ครัังแรกที่ผมได้ยินคำถามนี้  ดังนั้นผมจึงถือโอกาสนี้นำเอาเรื่องราวของการ Importing มาอธิบายให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าใจกัน

การ Importing Virtual Machines ใน Windows Server 2012 Hyper-V

เมื่่อท่านผู้อ่านต้องการทำการ Import Virtual Machines เพื่่อนำมาใช้งานใน Hyper-V  ซึ่งการ Importing ใน Windows Server 2012 Hyper-V จะมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 3 Options ดังรูปด้านล่างครับ



Option 1:  Register the virtual machine in-place (use the existing unique ID)
เลือก Option นี้,  ถ้าคุณมี Virtual Machine Files ต่าง ๆ  อยู่แล้วและต้องการนำเอาเข้ามาใช้ใน Windows Server 2012 Hyper-V

Option 2:  Register the virtual machine (use the existing unique ID)
เลือก Option นี้,  ถ้าคุณมี Virtual Machine Files ที่เก็บอยู่ที่ต่างๆ  เช่น File Shares, Removable Drives ป และอื่นๆ  และต้องการ Move Virtual Machines เหล่านี้มายังที่ที่คุณต้องการและทำการ Register เพื่อนำเอา  Virtual Machines เหล่านั้นเข้ามาใช้งานใน Windows Sever 2012 Hyper-V

Option 3:  Copy the virtual machine (create a new unique ID)
เลือก Option นี้,  ถ้าคุณมี Virtual Machines อยู่แล้วเพื่อและต้องการทำการ Import ได้หลาย ๆ ครั้ง เพื่อใช้ในการทดสอบหรือใช้งานจริงๆ  ก็แล้วแต่  โดย Option ดังกล่าวนี้จะให้คุณทำการกำหนดที่ที่เก็บ Virtual Machines และทำการสร้าง Unique ID ใหม่ จากนั้นทำการ Register เพื่อใช้งานใน Windows Server 2012 Hyper-V

และทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องราวการรีวิวฟีเจอร์ของ Windows Server 2012 ตอน 3.1, การ Importing Virtual Machines ใน Windows Server 2012 Hyper-V ลองนำไปใช้ครับผม.....

สำรวจ Windows Server 2012 RC ตอนที่ 3

สวัสดีครับ มาพบกันการรีวิว Windows Server 2012 กันต่อครับ และต้องบอกว่าตอนนี้เจ้า Windows Server ตัวใหม่นี้กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากครับ และในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้กับทาง Microsoft โดยผมได้นำเรื่่องราวและฟีเจอร์ต่างๆ  ที่น่าสนใจ รวมถึงการนำเอาไปใช้งานร่วมกับ System Center 2012 เพื่อสร้างและจัดการ Private Cloud Solution ครับ และนอกจากนี้ผมยังได้มีการจัด IT Camp เพื่ออัพเดทความรู้และฟีเจอร์ใหม่ ๆ ให้กับ Partners  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เชิญทุกท่านเข้าสู่การรีวิว Windows Server 2012 กันต่อเลยครับ


โดยผมขอเริ่มที่ทูลหรือเครื่องที่ใช้ในการบริหารและจัดการเซิรฟเวอร์ที่ชื่อว่า Server Manager และ PowerShell  ซึ่งท่านผู้อ่านรู้จักและคุ้นเคยการใช้งานกันเป็นอย่างดีจากใน Windows Server 2008 และ R2  แต่ใน Windows Server 2012 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง Server Manager และ PowerShell ไปพอสมควรครับ  ผมขอเริ่มที่ Server Manger เป็นลำดับแรกก่อนครับ

1. Server Manager
โดยเราสามารถใช้ Server Manager ในการจัดการ Local และ Remote เซิรฟเวอร์ รวมถึง Virtual Machines ด้วยได้  รวมถึงการติดตั้ง Roles และ Features ครับ 
Server Manager ใน Windows Server 2012 ประกอบไปด้วยหลายส่วนๆ  ไม่ว่าจะเป็น EVENTS, SERVICES, BPA และอื่น ๆ  ซึ่งผมจะค่อยๆ ไล่เรียงไปทีละส่วน รวมถึงการใช้ PowerShell 3.0  ด้วยครับ  รูปด้านล่าง คือ หน้าตาใหม่ของ Server Manager


โดยผมจะสาธิตการใช้งาน Server Manager  โดยใช้เริ่มด้วยการใช้ฟีเจอร์เรียกว่า “Server Group”   โดย Server Group จะเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยในการจัดการเซิรฟเวอร์หลาย ๆ ตัวครับ โดยเราสามารถทำการสร้างกลุ่มของเซิรฟเวอร์เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและจัดการโดยเฉพาะถ้าเรามีเซิรฟเวอร์มาก ๆ  เมื่อเราสร้าง Server Group เสร็จเรียบร้อย  ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปตรวจสอบดูข้อมูลต่างๆ  เช่น Events, Services และอื่นๆ  ของเครื่องเซิรฟเวอร์ต่าง ๆ  ที่อยู่ใน Server Group ได้  ผมจะสาธิตการสร้าง Server Group  ดังรูปครับ
 

จากนั้นผมทำตั้งชื่อ Server Group ที่ชื่อว่า Infrastructure-Servers และทำการ Add เซิรฟเวอร์ที่ต้องการเข้าไปยัง Server Group ดังรูป



จากนั้นให้กด OK  นอกจากนี้แล้วท่านผู้อ่านยังสามารถทำการ Add Roles and Features (ผมจะอธิบายในรายละเอียดภายหลังครับ) ให้กับเซิรฟเวอร์ที่อยู่ใน Server Group ดังรูปด้านล่างครับผม
 
 
 
 
และยังสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ  อีกมากมายในการบริหารและจัดการเซิรฟเวอร์ครับ  รวมถึงการใช้งาน PowerShell  เพื่อทำการจัดการแบบ  Remote Session ดังรูป
 
หลังจากที่ผมอธิบายคอนเซปของ Server Group และการใช้งาน Server Manager กันไปแบบคร่าวๆ  แล้ว  คราวนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปสำรวจในแต่ละส่วนที่อยู่ใน Server Manager ซึ่งจะให้ข้อมูลต่างๆ  ของเซิรฟเวอร์ เพื่อช่วยทำให้เราสามารถทำการบริหารและจัดการเซริฟเวอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ มาเริ่มกันกันเลยครับผม
 
EVENTS และ SERVICES
EVENTS จะเป็นส่วนที่เราใช้เพื่อการตรวจสอบดูว่ามีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นในเซิรฟเวอร์แต่ละตัวบ้าง รวมถึงมี Errors เกิดขึ้นที่ใดบ้าง  เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์หาทางแก้ไขต่อไป  สำหรับ SERVICES จะเป็นส่วนที่เราใช้ดูข้อมูลและสถานะ Services ต่างๆ  ที่ทำงานอยู่ในเซิรฟเวอร์แต่ละตัวว่าเป็นอย่างไรบ้างเป็นต้น  นอกจากนี้ท่านผู้อ่านสามารถทำการ Filter ดูข้อมูลได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ครับผม
 
PERFORMANCE
ส่วนต่อมาที่ผมจะพาท่านผู้อ่านไปดูกันคือ ส่วนที่เรียกว่า PERFORMANCE  โดยผมจะสาธิตการ Track  Performance   โดยผมจะทำการ Scroll-Down  ไปที่ PERFORMANCE จากนั้น ผมจะทำการเลือก Server1 และ Server2  และคลิ๊กที่ Start  Performance Counter ดังรูป


จากนั้นก็จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ Performance Counters ดังรูป ครับ
 
ยังมีอีกหลายๆ อย่างใน Server Manager ที่น่าสนใจครับ โปรดติดตามนะครับผม.....