วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Welcome to Cloud Computing ตอนที่ 1


สวัสดีครับ ทุกท่าน บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud Computing ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของใครหลาย ๆคนครับ บทความนี้ผมได้นำเอาข้อมูลส่วนหนึ่งที่ผมมีโอกาสเป็น Speaker ที่งาน Microsoft Solution Summit 2012 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ หลังจากนั้นผมได้รับการติดต่อจากลูกค้ามากพอสมควร เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และอยากให้ผมนำเอาเรื่องราวนี้โพสไว้ที่ Blog ของผม สำหรับเรื่องราวของ Cloud ในบทความนี้เป็นเพียงตอนแรกนะครับ โดยผมจะพูดถึงที่มาที่ไปของ Cloud Computing ก่อนจากนั้น ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Microsoft Cloud Solution ที่ทาง Microsoft ได้เตรียมไว้สำหรับ ท่านใดหรือองค์กรใดที่สนใจและเตรียมพร้อมในการวางแผน ในการปรับปรุงระบบของท่านเข้าสู่ Cloud และเพือไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมขอเริ่มเลยนะครับ    
Cloud Computing  คืออะไร ?

ก่อนอื่นต้องขอบอกท่านผู้อ่านเอาไว้ก่อนว่า  คำนิยามของ Cloud Computing นั้นมีอยู่มากมายครับ  แต่สำหรับผมแล้วผมได้พยายามเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายว่า Cloud Computing คือ  การให้บริการทางด้านทางด้านไอทีหรือคอมพิวเตอร์  โดยเริ่มตั้งแต่  สายแลนที่เชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องของผู้ใช้งานในองค์กร และเชื่อมต่อไปยังเครื่องเซิรฟเวอร์ต่างๆ  นอกจากนั้นยังมีสายไฟที่นำกระแสไฟฟ้ามาให้เครื่องของเราและเซิรฟเวอร์ทั้งหมดในองค์กรสามารถทำงานได้  และยังรวมไปถึงฮารด์แวร์ต่างๆ  ที่อยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น  ซีพียู, แรม, ดิสก์ และเน็คเวิรค์  นอกจากนี้แล้วยังมีแอพพิเคชั่นต่างๆ  ที่ให้บริการกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบเมล์, ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ   ดังนั้นเราจึงนิยามว่า Cloud Computing คือ การให้บริการทางด้านไอทีที่ครอบคลุมทั้งหมด  ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ไม่ได้ระบุหรือเฉพาะเจาะจงที่เครื่องเซิรฟเวอร์อย่างเดียว หรือไม่ได้มองเฉพาะแค่แอพพิเคชั่นอย่างเดียว  แต่มองทั้งหมดว่านี่คือการให้บริการทางด้าน ไอที หรือเรียกว่า “IT as a Service” ครับ  แต่มีสิ่งที่สำคัญคือ การให้บริการที่ว่านี้จะเป็นแบบ On-demand และทางผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน, เพิ่มหรือลดและจัดการสิ่งที่อยู่ใน Cloud ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอาศัยผู้ดูแลระบบครับ  เอาล่ะครับหลังจากทราบกันแล้วว่า Cloud คืออะไรกันแล้ว  ในส่วนที่ผมจะอธิบายต่อไปคือ คุณสมบัติของ Cloud  ไม่ว่าจะเป็น Private หรือ Public ก็จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ครับ

เริ่มด้วยคุณสมบัติแรกคือ Resource Pooling   คือ การนำเอา Resources ต่างๆ  มารวมและแชร์กันใช้งาน  เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร  สิ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ คือ คำว่า “Resource”  ในมุมของ Cloud คือ สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ซีพียู, แรม
- ดิสก์และสตอเรจ
- เน็คเวิรค์
- Virtual Machines

โดย Resource เหล่านี้จะถูกกำหนดให้ถูกนำไปใช้งานใน Cloud  โดยผู้ใช้งานในองค์กรจะเป็นผู้ที่เข้ามาใช้งาน Resource Pool ดังกล่าวนี้  เพราะฉะนั้นในงานจริง  เราจะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมฮาร์ดแวร์สำหรับที่จะนำมาทำเป็น Resource Pool เพื่อรองรับการใช้งานในองค์กรครับ
คุณสมบัติต่อมาคือ  Rapid Elasticity คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการ Cloud สามารถปรับเปลี่ยน Resource ได้ตามความต้องการ เช่น ถ้าผมเปิดให้บริการ E-Commerce เว็ปไซท์  ผมมีการวางแผนและคาดการณ์ว่าในช่วงปีใหม่จนถึงตรุษจีน จะมีลูกค้ามาใช้บริการเว็ปไซท์ของผมเป็นจำนวนมาก  เพราะฉะนั้นผมสามารถวางแผนในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมจำนวนเว็ปเซิรฟเวอร์ของผมให้สามารถรองรับกับความต้องการและแผนดังกล่าวนี้ได้  และเมื่อผ่านพ้นช่วงเทศกาลไปแล้วผมสามารถปรับลดจำนวนเว็ปเซิรฟเวอร์ของผมลงให้เหลือตามปรกติ  ซึ่งกระบวนการทั้งปรับเพิ่มและลดจำนวนเว็ปเซิรฟเวอร์ที่ผมกล่าวไปนั้นคือการที่ผมสามารถทำได้โดยอัตโนมัติและได้ด้วยตัวเองครับ
คุณสมบัติต่อไปคือ On-demand Service ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกอันหนึ่งสำหรับ Cloud คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Resource ของตัวเองและทำด้วยตัวเอง  ไม่ต้องเสียเวลารอผู้ดูแลระบบอีกต่อไป  ผมยกตัวอย่างเรื่องของการสร้าง Virtual Machine ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ   ในปัจจุบันกระบวนการในการสร้าง Virtual Machine สำหรับองค์กรที่นำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาใช้งานนั้น  การสร้างตลอดจนการจัดการ Virtual Machines จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบครับ  เพราะฉะนั้นถ้าหากผมต้อง Virtual Machine สักตัวหนึ่งมาใช้งาน  ผมจะต้องทำการติดต่อไปยังแผนกไอทีเพื่อช่วยจัดการเรื่องดังกล่าว  แต่ไม่ได้ทำให้ผมทันทีแน่นอนครับ  อาจจะต้องรอสัก 1-2 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับนโยบายและขั้นตอนของแต่ละองค์กร  แต่ถ้าผมใช้ Cloud ผมสามารถทำสิ่งที่ผมต้องการได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลารอครับ
ไปกันที่คุณสมบัติต่อไปคือ  Measured Service คือ  เราสามารถทำการติดตามข้อมูลการใช้งาน Resource ต่าง ๆ ที่อยู่ใน Cloud ได้ครับ  และเราสามารถทำกระบวนที่เรียกว่า Chargeback หรือคิดค่าบริการกับผู้ใช้งานหรือหน่วยงานที่ใช้งาน Resource ที่อยู่ใน Cloud ได้ ตามที่ใช้จริงครับ
และคุณสมบัติสุดท้ายคือ Broad Network Access คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการสามารถใช้งาน Cloud ได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศ, ที่บ้าน และที่ใดก็ได้ครับ

เรื่องต่อไปคือ Cloud Computing Service Models คือรูปแบบการให้บริการ Cloud จะมีอยู่ด้วยกัน  3 แบบ ดังรูปด้านล่างครับ


เริ่มจากรูปแบบแรก  คือ  Infrastructure as a Service (IaaS) 
คือ การให้บริการ Resources ต่างๆ (ดูความหมายจากข้างต้นครับ) พร้อมกับการนำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาช่วยกันทำงาน  เพราะฉะนั้น IaaS คือการให้บริการในส่วนที่เป็น Infrastructure ให้กับองค์กร เพื่อใช้งาน และการให้บริการที่ว่านี้คือ การสร้าง Private Cloud นั่นเองครับ
รูปแบบที่สองคือ Platform as a Service (PaaS) 
คือ การให้บริการในส่วนของ Platform ที่เราสามารถใช้ในการสร้างพัฒนา, ทดสอบ และอื่นๆ  สำหรับแอพพิเคชั่นและเซอร์วิสต่างๆ   ตัวอย่างเช่น Microsoft Azure, GoogleAppEngine  เป็นต้นครับ

รูปแบบที่สามคือ  Software as a Service (Saas)
คือ การให้บริการแอพพิเคชั่นบน Cloud  เช่น  MS. Office365, Exchange Online, SharePoint และอื่นๆ อีกมากมายครับ

มีอีกส่วนหนึ่งที่ผมจะอธิบายเพิ่มเติม คือ On-Premise (ด้านซ้ายสุดของรูป) คือ ระบบ Data Center ที่มีอยู่แล้วในแต่ละองค์กร  โดยบางองค์กรอาจจะยังมี เซิรฟเวอร์ ที่เป็น  Physical  ทั้งหมดอยู่ใน Data Center หรือบางองค์กรเริ่มนำเอา Virtualization เทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านสังเกตคือ  เทคโนโลยี Cloud จะเป็นขั้นตอนต่อไปสำหรับองค์กรที่นำเอา Virtualization เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare  หรือ  XenServer  เข้ามาใช้งาน  Cloud จะเป็นส่วนที่เข้ามาต่อยอดเพื่อทำให้การบริการมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธธิภาพมากขึ้น  โดยอาศัย Virtualization เป็นพื้นฐานครับ
สำหรับเรื่องราวต่างๆ  ข้างต้นจะเป็นเรื่องของ Cloud ทางด้านทฤษฏีครับ  สำหรับตอนหน้าผมจะนำเสนอ Cloud ของทาง Microsoft ครับ ว่ามีคอนเซปอย่างไร ตลอดจนส่วนประกอบและวิธีในการสร้างและใช้งาน Cloud ของทาง Microsoft ว่าเป็นอย่างไร  เพราะฉะนั้นห้ามพลาดนะครับผม




มาทำความรู้จักกับ Dynamic Memory กับ RemoteFX

มาทำความรู้จักกับ Dynamic Memory กับ RemoteFX

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับ Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 ครับ โดยฟีเจอร์ที่ผมจะนำเสนอให้กับท่านผู้อ่านได้ทราบกันนั้น ต้องบอกว่าเป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากครับโดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่กำลังใช้งาน Hyper-V อยู่ เพราะฟีเจอร์ที่ผมได้นำมาเสนอในบทความนี้จะใช้และทำงานร่วมกับ Hyper-V ครับ และที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสได้ทำการติดตั้งและใช้งานให้กับลูกค้าไปพอสมควรครับ และได้มีโอกาสบรรยายถึงฟีเจอร์เหล่านี้ให้กับลูกศิษย์ของผมไปเช่นกัน  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันที่ฟีเจอร์แรกเลยครับ

Dynamic Memory
สำหรับฟีเจอร์นี้ต้องบอกว่าเป็นฟีเจอร์ที่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานใน Windows Server 2008 R2    Hyper-V  ให้มีความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นครับ  และจากการที่ผมได้พบปะพูดคุยกับลูกค้าที่ใช้งาน Hyper-V แล้วต่างก็บอกว่าตรงกันว่าอยากให้เพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวเข้าไปใน Hyper-V เสียที  และมาถึงตอนนี้ต้องบอกว่าฝันเป็นจริงแล้วครับสำหรับเรื่องของการจัดการ Memory หรือ Ram ใน Hyper-V ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม  สำหรับท่านที่ใช้งานหรือจัดการ Hyper-V อยู่แล้วจะทราบว่า เมื่อเราทำการสร้าง Virtual Machine หรือผมขอเรียกสั้น ๆ ว่า VM นะครับ เราจะต้องทำการกำหนดค่าหลายๆ อย่างครับ  แต่โดยหลัก ๆ ก็จะเป็นการกำหนด Processor, Network และ Memory ให้กับ VM ตัวนั้น ๆ   ดังรูป
และโดยเฉพาะ Memory ที่เราได้กำหนดให้กับ VM นั้นจะเป็นการกำหนดแบบตายตัวหรือที่เราเรียกว่า Static ครับ  ดังรูป
เมื่อเราทำการเปิด VM ตัวนั้นขึ้นมาใช้งาน Hyper-V ก็จะทำการจอง Memory ให้กับ VM ตัวดังกล่าวตามที่กำหนดเอาไว้ เช่น ถ้าผมกำหนดให้ VM ตัวนั้นมี Memory เท่ากับ 1 GB   Windows Server 2008 หรือ 2008 R2  จะทำการจอง Memory ตามนั้นให้กับ VM ของเราครับ  และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าเราจะทำการปิด VM   และในกรณีที่เราจะทำการปรับเปลี่ยน Memory ใน VM เราสามารถทำได้ครับ  แต่จะต้องทำการปิด VM ตัวนั้นเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำการปรับเปลี่ยน Memory ให้กับ VM ตัวนั้น ๆ ตามความต้องการ   ในการทำงานจริงนั้นการที่กำหนด Memory ในรูปแบบที่เป็น Static อาจจะไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นมากเท่าที่ควร เนี่องด้วยสาเหตุข้างต้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว Memory ที่เราได้กำหนดให้กับแต่ละ Virtual Machine ไปนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ค่อยได้ใช้ทั้งหมดครับ  จึงทำให้การใช้งาน Memory ใน Hyper-V ไม่ค่อยคุ้มค่ามากซะเท่าไรนัก    และด้วยเหตุผลข้างต้นจึงทำให้เป็นที่มาของฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Dynamic Memory ครับ  โดยทาง Microsoft ได้ให้มาใน Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 ครับ  โดย  Dynamic Memory จะทำให้เราสามารถใช้งาน Memory ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการที่ Hyper-V จะจัดการ Memory ราวกับเป็นแชร์รีสอรท์ที่สามารถจะถูกจัดสรรให้กับ Virtual Machines ต่างๆ  ได้โดยอัติโนมัติ ตามความต้องการของ Virtual Machines ในแต่ละเวลา  ซึ่งจากเดิมที่เราทำการกำหนด Memory เป็นแบบตายตัวหรือ Static  ณ ตอนนี้ด้วยความสามารถของ Dynamic Memory เราสามารถกำหนดเป็นช่วงของปริมาณ Memory ที่จะให้กับ Virtual Machines ได้  ดังนั้นการที่เราจะใช้งาน Dynamic Memory ได้นั้นมีสิ่งที่เราจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้รองรับกับฟีเจอร์ดังกล่าว คือ เราจะต้องทำการติดตั้ง Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 บนเครื่องที่รัน Hyper-V จะต้องเป็น
- Windows Server 2008 R2 ที่มี Hyper-V Server Role ติดตั้งอยู่
- Microsoft Hyper-V Server 2008 R2
สำหรับเครื่องที่เป็น Virtual Machine หรือ Guest Machine ที่สามารถใช้หรือทำงานร่วมกับ Dynamic Memory มีดังต่อไปนี้
- Windows Server 2008 R2 Standard Edition SP1
- Windows Server 2008 R2 Enterprise Edition SP1
- Windows Server 2008 R2 Datacenter Edition SP1
- Windows Server 2008 R2 Web Edition SP1
- Windows Server 2008 Standard Edition SP2
- Windows Server 2008 Enterprise Edition SP2
- Windows Server 2008 Datacenter Edition SP2
- Windows Server 2008 Web Edition SP2
- Windows Server 2003 R2 Standard Edition SP2 or Higher
- Window Server 2003 R2 Enterprise Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 R2 Datacenter Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 R2 Web Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 R2 Standard Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 R2 Enterprise Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 Datacenter Edition SP2 or Higher
- Windows Server 2003 Web Edition SP2 or Higher
หมายเหตุ  Dynamic Memory สามารถทำงานได้กับ x86 และ x64 ของ Windows Server 2003, Windows Server 2003 R2 และ Windows Server 2008
 และสำหรับ Windows Client Operating Systems   ทั้ง x86 และ x64 ที่สนับสนุนการทำงานของ Dynamic Memory มีดังต่อไปนี้
- Windows 7 Enterprise Edition
- Windows 7 Ultimate Edition
- Windows Vista Enterprise Edition SP2
- Windows Vista Ultimate Edition SP2
จากนั้นในส่วนต่อมาจะเป็นการเตรียมพร้อมการใช้งานและรวมถึงการกำหนดค่าต่างๆ สำหรับ Dynamic Memory โดยมีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
1. การอัพเกรท Integration Components  ก่อนที่เราจะใช้งาน Dynamic Memory ใน Virtual Machine ได้, สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือ การอัพเกรท Integration Components ที่ติดตั้งใน Guest Operating System (OS ที่ได้ติดตั้งใน Virtual Machine)   ถ้า Guest Operating System เป็น Windows 7 หรือ Windows Server 2008 R2 ที่สนับสนุนการทำงานกับ Dynamic Memory มี 2 วิธีให้เลือกครับ คือ
 - ทำการติดตั้ง Service Pack 1 สำหรับ Windows 7 หรือ Windows Server 2008 R2 ลงไปใน Guest Operating  System
- ทำการเลือก Action เมนูใน Virtual Machine Connection tool จากนั้นเลือก Insert Integration Services Setup Disk  จาก Virtual Machine ที่ต้องการ ดังรูป
2. การเอ็นเอเบิ้ล Dynamic Memory สำหรับ Virtual Machines   สำหรับการเอ็นเอเบิ้ล Dynamic Memory ใน Virtual Machine, เริ่มแรกเราจะต้องทำการปิด หรือ Shut Down ตัว Virtual Machines เสียก่อนครับ จากนั้นไปที่ Settings ของ Virtual Machine ตัวที่ได้ทำการ Shut Down ไปแล้วก่อนหน้านี้ครับ จากนั้นให้ไปที่ Memory ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าตาของค่า Settings ในส่วนของ Virtual Machine ดังรูปด้านล่าง ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านสังเกตจะมีความแตกต่างไปจากเดิมครับ
จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านจะเห็นว่าในการกำหนดค่า Memory ให้กับ Virtual Machine เราสามารถเลือกได้ครับว่าจะกำหนดเป็นแบบคงที่ไปเลยซึ่งก็คือ Static หรือจะเป็นกำหนดแบบ Dynamic ก็สามารถทำได้ครับ  สิ่งที่ผมอยากจะอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการกำหนด Memory เป็นแบบ Dynamic คือ การกำหนดค่าในส่วนของ Startup RAM และ Maximum RAM ครับ   สำหรับค่าที่เรากำหนดลงไปใน Startup RAM จะเป็นค่าเริ่มของ Memory ที่จะให้กับ Virtual Machine ตัวนั้นๆ ครับ และ Memory ที่ถูกจัดสรรให้ไปจะต้องเป็นค่านี้ไม่สามารถต่ำกว่านี้ได้ครับ  ค่าดีฟลอต์สำหรับ Startup RAM คือ 512 MB ครับ  ตารางด้านล่างจะเป็นค่าของ Startup RAM ที่ทางไมโครซอฟท์ แนะนำครับ
สำหรับ Maximum RAM คือ ค่าของ Memory ที่ถูกจัดสรรหรือกำหนดให้กับ Virtual Machine ว่ามากที่สุดคือเท่าไร และไม่มีทางที่จะสูงเกินกว่านี้ครับ ค่าดีฟลอต์คือ 65,536 MB หรือ 64 GB ครับ   เพราฉะนั้นการกำหนดค่าของ Startup และ Maximum RAM ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กรครับ 
3. การกำหนดค่าของ Memory Buffer  คือค่าที่กำหนด (เป็นเปอร์เซนต์) ของ Memory ซึ่งค่านี้จะเป็นเท่าไรจะขึ้นอยู่กับ Workload ของแต่ละ Virtual Machine   โดย Memory Buffer คือ Memory  พิเศษที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้การทำงานของ Virtual Machine ให้มีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า File System Cache  โดยสามารถกำหนดเปอร์เซนต์ของ Memory Buffer ได้ตั้งแต่ 5%-95% ครับ  สำหรับค่าดีฟอลต์คือ 20%   ตัวอย่าง เช่น ถ้าเรามีการกำหนด Memory ให้กับ Virtual Machine เป็น 1200 MB และกำหนดค่าของ Memory Buffer เป็น 20%  ตัวของ Hyper-V จะทำการคำนวณและพยายามจะจัดสรร Memory ให้เพิ่มเติม โดยมีวิธีการดังนี้  20% / (100%-20%) x 1200 MB = 300 MB  เพราะฉะนั้น Hyper-V จะพยายามทำการจัดสรร  Memory พิเศษให้อีก 300 MB และรวมทั้งหมดเป็น 1500 MB เป็นต้น ดังรูป

4. การกำหนดค่า Memory Weight  คือ การกำหนดความสำคัญของ Virtual Machine ในการจัดสรร Memory หรือ RAM   ดังนั้นถ้า Virtual Machine ตัวใดที่มีการกำหนดค่าของ Memory Weight ไว้สูง จะเป็นการแสดงว่า Virtual Machine ตัวดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่ต้องการ Memory ในการทำงานจริงหรือสูงกว่า Virtual Machine ตัวอื่นๆ ที่อยู่ใน Hyper-V Host ตัวเดียวกัน ดังรูป

และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Dynamic Memory ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Windows Server 2008 R2 Service Pack 1  ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองไปทำการดาวน์โหลดมาใช้งานกันดูครับ  โอเคครับสำหรับฟีเจอร์ต่อไปที่ผมจะหยิบเอามานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านคือ RemoteFX ครับ 

RemoteFX
เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้เราสามารถใช้งานยูสเซอร์อินเตอร์เฟสและกราฟฟิคได้อย่างมีประสิทธิภาพในมากขึ้นกว่าเดิมในกรณีที่เราติดต่อผ่านทาง Remote Desktop Service (RDS) และเกิดเป็น Session ของการรีโมทเข้าไปเพื่อทำงานต่างๆ ครับ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือพวกยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่เป็นกราฟฟิคและฟีเจอร์ต่างๆ กราฟฟิคพีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows Aero, High-Synchronized Audio, Animation ประเภท Silverlight และกราฟฟิคแอพพิเคชั่นแบบสามมิติ  จะไม่สามารถใช้ได้ครับ  แต่ด้วยความสามารถของ RemoteFX ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมียูสเซอร์อินเตอร์เฟสแบบเดียวกันที่งานปรกติ และยังสามารถใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ข้างต้นได้ แม้ว่าเราจะใช้งานผ่านทาง RDS ครับ  และจะมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรที่กำลังวางแผนใช้งาน VDI ครับ  ดังนั้นมาดูกันต่อครับว่าเราจะต้องเตรียมอะไรกันบ้างสำหรับการใช้งาน RemoteFX
เตรียมพร้อมและความต้องการของ RemoteFX
- ทำการติดตั้ง Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 ที่ Hyper-V
- ทำการเปิดใช้งาน SLAT ที่ CPU (Intel EPT หรือ AMD RVI)
- Graphic Processing Unit (GPU) ต้องสนับสนุนการทำงานกับ DirectX  9c หรือ 10
- RDP 7.1
สำหรับเรื่องของการติดตั้ง RemoteFX ก็ไม่ยุ่งยากอะไรมากมายครับ  สามารถทำได้โดยการติดตั้ง Roles เข้าไปใน Windows Server 2008 R2 ซึ่งจะเหมือนกับการเพิ่ม Roles อื่นๆ ครับ  ดังรูป

จากนั้นให้เลือกค่าต่างๆ  ดังรูปด้านล่างครับ

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เราสามารถ Add  Hardware ที่เป็น Video Adapter ที่เป็น RemoteFX  3D Video Adapterให้กับ Virtual Machine ได้ ดังรูป
ผมมีวิดีโอที่อยู่ใน YouTube ซึ่งเป็นการแสดงถึงการทำงานของ RemoteFX  ตามลิ๊งค์ดังต่อไปนี้ครับ http://www.youtube.com/watch?v=H4LGv1lQOB8   และ  http://www.youtube.com/watch?v=46bi-j_KzCQ    และทั้งหมดนี้คือฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 ครับ ผมเชื่อว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะถูกใจท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านครับ  และอยากให้ไปดาวน์โหลดมาติดตั้งและใช้งานกันดูครับ  เหมือนเช่นเคยครับหากท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยสามารถเมล์มาสอบ-ถามได้ครับ  แล้วพบกันใหม่ครับผม