วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รีวิวแ ละสำรวจฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน System Center 2012 Operations Manager ตอนที่ 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้เป็นตอนที่ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้วครับ ว่ากันด้วยเรื่องราวของ System Center 2012 Operations Manager ซึ่งเป็น Product ตัวหนึ่งที่อยู่ใน System Center 2012 ครับ  และเพื่อให้เป็นการเสียเวลาผมจะทำการรีวิวฟีเจอร์ที่เหลือของ Operations Manager ครับ


3.  Network Monitoring

ในเวอร์ชั่น 2012 ตัวของ SCOM หรือ OpsMgr มีการปรับปรุงในเรื่องของการไปตรวจสอบ หรือ Monitor เน็คเวิรค์ให้ดีขึ้นกว่าในเวอร์ชั่นเดิม  โดยใน SCOM 2012 สามารถทำการตรวจสอหรือ Monitor เน็คเวิรค์ดีไวซ์ต่างๆ  เช่น  Routers, Switches โดย SCOM สามารถเข้าไปทำการตรวจสอบที่ Ports ของดีไวซ์เหล่านี้  รวมถึง Interfaces และ VLAN Memberships ครับ  โดย SCOM 2012 จะมาพร้อมกับรายงาน หรือ Reports  เกี่ยวกับ  Memory Utilization, Processor Utilization, Interface Traffic  Volume, Packet Analysis และอื่นๆ อีกมากมาย  และยังมี Dashboards  ซึ่งแสดงเป็นไดอะแกรมของเน็คเวิรค์ดีไวซ์เหล่านั้น  ดังรูป

ใน SCOM หรือ OpsMgr 2012 สามารถทำการ Discovery Network Devices  ดังรูป

รูปต่อมา เป็นรูปของ Dashboard ของ Network Monitoring ครับ




4.  Cross-Platform   Monitoring
ใน SCOM หรือ OpsMgr 2012 มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมการ Monitor หรือตรวจสอบ พวก Non-Microsoft  Platform เช่น Unix และ Linux   รายละเอียดดูได้จากลิสต์ด้านล่างครับ
รูปต่อมาเป็น รูปที่แสดงถึงขั้นตอนการกำหนดค่าใน SCOM 2012 เพื่อทำการ Cross-Platform Monitoring ดังรูป


5. Application Monitoring
ก่อนอื่นผมอยากบอกว่าฟีเจอร์ที่ผมกำลังจะเล่าต่อจากนี้ เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจและถือว่าเป็น Highlight ฟีเจอร์ใน SCOM หรือ OpsMgr 2012 ฟีเจอร์หนึ่งเลยทีเดียวครับ  เพราะฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยขยายขีดความสามารถของ SCOM ให้สามารถทำการตรวจสอบ Code ของแอพพเคชั่นได้ครับ  ซึ่งถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากสำหรับองค์กร  เพราะทุกวันนี้ในการดูแลและจัดการระบบไอทีในองค์กรนั้น ผู้ดูแลระบบจะต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเซิรฟเวอร์หรือเซอร์วิสต่างๆ  มากมายครับ และสิ่งเหล่านี้ก็ทำงานอยู่บน Infrastructure ที่เรากำลังดูแลอยู่  ซึ่งในกรณีถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในส่วนที่เป็น Infrastructure ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านสามารถเข้าไปจัดการปัญหานั้นได้ครับ  แต่ถ้าปัญหาดังกล่าวเกิดกับแอพพิเคชั่นล่ะครับ จะทำอย่างไร  ผมขออนุญาตยกตัวอย่างซึ่งเป็น ปัญหาที่จัดอยู่ในขั้นคลาสสิคเลยครับ  และเป็นตัวอย่างที่ผมจะหยิบยกมาทุกครั้งเวลาที่ผมคุยหรือสอน  ปัญหาที่ว่านี้กืคือ  สมมติว่าทุกท่านเป็นผู้ดูแลระบบให้กับองค์กรหนึ่งครับ  อยู่มาวันหนึ่งได้รับแจ้งจากผมซึ่งเป็นผู้ใช้งานแอพพิเคชั่นตัวหนึ่งว่า  ทำไมช่วงนี้แอพพิเคชั่นถึงทำงานช้า ไม่เหมือนก่อนหน้านี้   คำถามสั้นๆ  แค่นี้ครับ แต่หาคำตอบอย่างมากครับ ว่าเป็นเพราะอะไร และจากจุดใด  เพราะเมื่อปัญหานี้เกิดขึ้น  คนที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ท่านผู้อ่านซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบ, ทีมเน็คเวิรค์  และทีมแอพพิเคชั่น ต่างก็ไม่ยอมรับว่าปัญหานี้ ต่างฝ่ายต่างก็ถกเถียงกันว่าปัญหาดังกล่าวไม่น่าจะเกิดจากส่วนที่ตัวเองดูและหรือรับผิดขอบอยู่  เช่น ทางทีม Infrastructure ก็แจ้งการทำงานของ Infrastructure เซอร์วิสปรกติ,  ทีมเน็คเวิรค์ก็แจ้งว่าได้ทำการตรวจสอบทราฟฟิคและอุปกรณ์แล้วทุกอย่างทำงานปรกติ และสุดท้ายทีมแอพพิเคชั่นก็แจ้งเหมือนกันครับว่าทุกอย่างปรกติ    เอาล่ะครับเมื่อเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไรล่ะครับ?????    ไม่ต้องตกใจครับ เพราะถ้าเราใช้ SCOM หรือ OpsMgr 2012  เราสามารถทำการตรวจสอบได้ทั้งหมดครับ ตั้งแต่ Infrastructure, Network และ Application  ตามที่ผมได้เกริ่นไว้ในตอนต้น ครับ  ซึ่งเราสามารถใช้ SCOM ทำการตรวจสอบการทำงานของ แอพพิเคชั่นต่างโดยตัวของ SCOM จะเข้าไปตรวจสอบในระดับของ Code ครับ  โดยSCOM จะเข้าไปทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ดูว่า Code ใดหรือบรรทัดใดที่อาจจะก่อให้เกิดหรือสงสัยว่าจะทำให้เกิด Bottleneck  ครับ  จากนั้นก็จะแสดงถึง Code ที่น่าสงสัยใดดังกล่าว  เราก็เอาข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษากับทีมที่ดูแลแอพพิคชั่นครับ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงหรือแก้ไขต่อไป  รูปด้านล่างเป็นรูปที่แสดงถึงการกำหนดค่าในการทำ Application Monitoring โดยแอพพิเคชั่นนั้นเป็น .NET ครับ


รูปต่อมา เป็นรูปที่แสดงถึง การรายงานว่า Code หรือ Statement  นี้น่าสงสัยครับ

เพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับว่า  ในการทำ   Application Monitoring นั้น  SCOM หรือ OpsMgr  2012  รองรับการ   Monitoring  ของแอพพิเคชั่นอยู่ 2 แบบ คือ .NET , แอพพิเคชั่นของทางไมโครซอฟท์ โดยทางเป็นของทางไมโครซอฟท์  SCOM 2012 สามารถเข้าไปทำการตรวจสอบในระดับ Code ได้ครับ  และอีกแบบคือ JEE Application โดยรายละเอียดให้ดูจากรูปด้านล่างครับ
รูปด้านล่างเป็นรูปที่แสดงถึง JEE Application ที่ SCOM หรือ OpsMgr 2012 รองรับกับการทำ Application Monitoring ครับ

และทั้งหมดนี้คือการรีวิวฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจใน  System Center 2012 Operations Manager ที่น่าสนใจที่ผมได้หยิบยกเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับผม  แต่ต้องบอกว่ายังมีอีกหลายฟีเจอร์นะครับที่ผมไม่ได้นำมา  สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม  ท่านผู้อ่านสามารถไปดูได้จาก Link นี้ครับ,  http://www.microsoft.com/en-us/server-cloud/system-center/datacenter-management-capabilities.aspx  ดังรูปด้านล่างครับผม

จะเป็นเว็ปไซท์ของทางไมโครซอฟท์ที่เกี่ยวกับ System Center 2012 ครับ  ลองเข้าไปดูกันนะครับ  และเหมือนเช่นเคยครับถ้าหากมีข้อสงสัยใดๆ  หรืออยากพูดคุยสามารถติดต่อผมได้ที่ FB หรือทาง Email นะครับ  สำหรับตอนนี้ผมชักหิวแล้วครับ  ขออนุญาตไปทานข้าวก่อนนะครับ  และพบกันใหม่ครับผม …..











วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รีวิวแ ละสำรวจฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน System Center 2012 Operations Manager ตอนที่ 1

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน  เรายังคงอยู่ในเรื่องราวของการรีวิวและสำรวจฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของ System Center 2012  และสำหรับบทความนี้ผมจะรีวิว Product ที่ชื่อว่า “Operations Manager  (OpsMgr)”  หรือที่เรียกกันติดปากในบ้านเราว่า SCOM  ครับ  และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับ Product ตัวนี้กันเลยครับ
ทำความรู้จักกับ SCOM หรือ OpsMgr
เป็น Product ที่ช่วยในเรื่องของการตรวจสอบ (Monitoring) การทำงานของเซิรฟเวอร์หรือเซอร์วิสต่างๆ   โดยการ Monitoring ของ SCOM หรือ OpsMgr  นั้น จะเป็นการตรวจสอบในรูปแบบที่เรียกว่า “End-To-End Monitoring” คือเป็นการตรวจสอบการทำงานของเซิรฟเวอร์หรือเซอร์วิสนั้น โดย SCOM จะเข้าไปตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ  ของเซิรฟเวอร์หรือเซอรวิสนั้นว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานผิดปรกติหรือไม่  ซึ่งทำให้ใช้เวลาน้อยลงในการตรวจสอบในกรณีที่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะ SCOM จะแสดงส่วนประกอบหรือ Component ใดของเซิรฟเวอร์หรือเซอร์วิสมีปัญหา  ซึ่งจะแสดงเป็น Diagram ดังรูปด้านล่าง
จากรูปด้านบน  จะเป็นการแสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ  ของเซอร์วิสหนึ่ง ซึ่งมีทั้ง IIS Service และ Database และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น  เราสามารถใช้ SCOM เข้าไปตรวจสอบดูว่าเกิดปัญหาที่ส่วนใด  ดังนั้นทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถทราบต้นตอได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งต่างจากการที่เราไม่มี SCOM  เพราะเราจะต้องใช้เวลาในการค้นหาต้นตอของปัญหาว่าน่าจะมาจุดใดบ้าง ซึ่งในระบบการทำงานจริงนั้น  อาจจะต้องใช้เวลาและรวมถึงกำลังคนที่จะเข้ามาช่วยในการค้นหาแหล่งที่มาหรือต้นตอ   ผมขอย้อนกลับไปที่รูปด้านบนนะครับ  ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นว่ามีกากบาทสีแดงเกิดขึ้นสามที่ คือ ที่ Application และ Databases  ด้วยความสามารถของ SCOM เราสามารถเข้าไปดูลึกลงไปในแต่ละส่วนประกอบว่าเกิดปัญหาที่จุดใด เพราะว่าอะไรและมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร  ดังรูปด้านล่าง
จากรูป SCOM ได้แจ้งว่าสถานะหรือ State ของ SQL Service ว่า “Not Running” คือ ไม่ทำงาน หรือไม่ Start  แนวทางการแก้ไขหรือ Resolutions คือ ให้ทำการ Start Service ดังกล่าว  และนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเล็ก ๆ น้อยๆ เท่านั้นที่ผมได้หยิบยกมาครับ  แต่สิ่งสำคัญที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านได้เห็นและทราบคือ  ประโยชน์ที่เราได้รับเมื่อนำเอา SCOM เข้ามาช่วยในเรื่องของการตรวจสอบการทำงานของระบบไอทีในองค์กรครับ  สิ่งสำคัญที่ทำให้ SCOM มีความแตกต่างจาก Product หรือ โซลูชั่นอื่นๆ  ที่มีอยู่ในตลาด ก็คือ การตรวจสอบการทำงานที่เป็นแบบ End-To-End Monitoring  ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น  การดูจาก Monitoring Workspace  ดังรูป
หรือจะดูแบบ Distributed Applications  ดังรูปแรกของบทความครับ  และนี่เป็นเพียงตัวอย่างบางรูปแบบเท่านั้นครับ  นอกจากนี้แล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากและถือเป็นสมองของ SCOM เลยครับ  สิ่งนั้นคือ “Management Packs” ครับ  และผมต้องบอกว่า Management Packs นี่แหละครับที่สร้างความแตกต่างและทำให้ SCOM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบการทำงานของระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นมากตัวหนึ่งครับ  และการใช้งานก็ไม่ได้มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากเท่าไรนัก  ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ Management Packs นี่แหละครับ ที่ทำให้การ Monitoring มีความสะดวกและง่ายมากครับ  โดยท่านผู้อ่านเพียงดาวน์โหลด Management Packs ที่ต้องการมา  จากนั้นทำการอิมพอร์ต Management Packs ที่ได้ทำการดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้ เข้าไปใน SCOM  จากนั้น SCOM ก็เริ่มทำการตรวจสอบทันทีครับ 
มาถึงตรงนี้ผมคิดว่าท่านผู้อ่านเริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมครับว่า  Management Packs  คืออะไร   ผมขออธิบายสั้นๆ  และง่ายๆ  ดังนี้ครับ  Management Packs คือคอลเลคชั่นที่ประกอบไปด้วย ส่วนต่าง ๆ ที่จะใช้การตรวจสอบ  เช่น  Predefined ค่าต่างๆ  ที่ใช้สำหรับการ Monitoring, Reports, Knowledge Bases  และอื่นๆ    โดย Management Packs จะมีการแบ่งแยกตาม Products และ Roles ต่างๆ  ครับ  เช่น  ถ้าผมต้องการทำการตรวจสอบ SQL Server 2008 R2  ผมก็จะทำการดาวน์โหลด Management Pack For SQL Server 2008 R2 มา  และถ้าผมต้องการตรวจสอบ Windows Server 2008 R2 Active Directory ด้วย  ผมก็จะทำการดาวน์โหลด Management Pack for Windows Server 2008 R2 Active Directory มาครับ และเมื่อผมได้ทำการดาวน์โหลด Management Packs  มาเรียบร้อยแล้ว ผมก็จะทำการอิมพอร์ต Management Packs เหล่านี้เข้าไปใน SCOM  จากนั้น SCOM ก็จะเริ่มทำการ Monitoring ทันทีครับ  และ เพียงแค่นี้ท่านผู้อ่านก็จะสามารถตรวจสอบการทำงานของเซิรฟเวอร์หรือเซอร์วิสต่างๆ  ในแล้วครับ  และยังสามารถดูรายงานต่างๆ   รวมถึงข้อมูลอื่นๆ  อีกมากมายครับ
ท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมของ Management Packs ได้ที่ http://systemcenter.pinpoint.microsoft.com/en-US/home
เอาล่ะครับ หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับ SCOM หรือ OpsMgr กันพอสมควรแล้ว  พบขอเริ่มการรีวิว  SCOM เวอร์ชั่นใหม่นะครับ และมาดูกันว่ามีฟีเจอร์อะไรที่น่าสนใจบ้างครับ
1.  RMS (Root Management Server) Removal
ใน SCOM 2007 R2,  RMS ทำหน้าที่ในการจัดการส่งค่า Configurations ต่างๆ  ไปยัง SCOM Agents, จัดการในเรื่องของ Workflows และการ Notifications เป็นต้น  ดังรูปด้านล่าง
 เพราะฉะนั้น RMS จึงมีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของ SCOM  ดังนั้นใน SCOM 2007 จึงต้องมีการปกป้อง RMS ให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลา  เพราะถ้าหาก RMS เกิด Down ไป ก็จะส่งผลกับการทำงานทั้งหมดของ SCOM  ดังนั้นวิธีการที่จะทำการปกป้อง RMS ได้คือ การทำ Cluster ให้กับ RMS ครับ 
แต่ใน SCOM 2012 ไม่มี RMS  และให้ Management Servers  มาทำหน้าที่ต่างๆ  แทน  และใน SCOM 2012 เราสามารถทำการเพิ่ม Management Servers เข้าไปหลายๆ ตัว ได้ และ Management Servers แต่ละตัวจะมีการติดต่อกันเพื่อทำการอัพเดทและแชร์ Workload กัน  รวมถึงเราสามารถทำ High Availability ให้กับ Management Servers ได้โดยไม่ต้องอาศัย Microsoft Failover Clustering  ดังรูป
เมื่อไม่ RMS ใน SCOM 2012 ทำให้ SCOM Topology มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังรูปด้านล่างครับผม


2.  Server Pool
คือการจัดการ  Workload  ระหว่าง Management Servers หลาย ๆ ตัว เพื่อช่วยกันจัดการ Agents  และหากเกิดกรณีที่ Agents   มีการติดต่อและรายงานกับ Management Server ตัวหนึ่งแล้ว Management Server ตัวดังกล่าวเกิดมีปัญหา  Agents เหล่านั้นจะทำการติดต่อกับ Management Server ตัวอื่นโดยอัตโนมัติ  นอกเหนือจากนี้แล้ว  Server Pool  ยังทำหน้าที่ต่างๆ  ดังรูป
โปรดติดตามตอนที่ 2 ครับผม.....