วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 8

     ต่อจากตอนที่แล้วสำหรับเรื่องราวของ Storage Space และ Storage Pool ใน Windows Server 2012  โดยผมจะทำการสร้าง Storage Pool โดยคลิ๊กที่ Tasks ที่อยู่มุมขวาด้านบน แล้วเลือก New Stroage Pool  ดังรูปด้านล่างครับ




จากนั้นจะเข้าสู่ Storage Pool  Wizard ดังรูปต่อไปนี้ครับ



จากนั้นให้ผมจะคลิ๊ก Next เพื่อทำการตั้งชื่อ Storage Pool ดังรูป

 
หลังจากที่ผมทำการตั้งชื่อ Storage Pool   ของผมว่า Pool1  เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็คลิ๊ก Next  เพื่อเข้าสู่ส่วนของ Physical Disks ดังรูป


โดยผมจะเลือกทำการเลือก Physical หรือ Raw ดิสก์ สำหรับ Pool1 แค่ 2 ลูกก่อนนะครับ คือ Physical Disk1 และ 2 ครับ  สำหรับในส่วนของ Allocation  ผมเลือกเป็น Data Store ครับ เพื่อใช้ใน Storage Pool นี้สำหรับการเก็บข้อมูล  สำหรับ Allocation นั้นจะมีให้เลือก 3 แบบ ครับ คือ

- Data Store  ใช้เก็บข้อมูล

- Manual  ให้ผู้ดูแลระบบเป็นกำหนดค่าต่างๆ เอง

- Hot Spare ใช้สำหรับในกรณีเกิดดิสก์เสีย

รูปด้านล่างจะเป็นชนิดของ Allocation ที่มีให้เลือก ครับ



จากนั้นให้คลิ๊กต่อไปครับผม



จากนั้นผมจะทำการคลิ๊ก Create เพื่อทำการสร้าง Storage Pool ครับผม



จากรูปด้านบนจะเป็นสถานะที่แจ้งให้เราทราบว่ากระบวนการสร้าง Storage Pool ครับ ซึ่งจะใช้เวลามากหรือน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับจำนวนและขนาดของดิสก์ครับ



จากรูปด้านบน  ท่านผู้อ่านจะเห็น Storage Pool ที่ผมสร้างขึ้นมาที่ชื่อว่า Pool1  ซึ่งประกอบไปด้วย Physical ดิสก์  2 ลูกครับ ก็เป็นอันเสร็จในส่วนของการสร้าง Storage Space และ Storage Pool ใน Windows Server 2012 ครับ  แต่ว่ายังไม่จบนะครับ เพราะขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้าง Virtual Disks  จาก Storage Pool ที่ผมได้ทำการสร้างขึ้น  ซึ่งผมขอยกยอดไปเป็นตอนหน้านะครับ
 
 


วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 7


สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นการสำรวจเรื่องราวของฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Storage ครับ  ฟีเจอร์ที่ว่านี้คือ Storage Space และ Storage Pool ครับ 
Storage Space และ Storage Pool คืออะไร
“Storage Space”  เป็นฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการดิสก์และ Storage  โดยจะทำการรวบรวม Physical  ดิสก์  หลาย ๆ ลูกให้อยู่ใน Container หรืออยู่ใน Logical Storage โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Disk Array ที่มีราคาแพง   จากนั้นผู้ดูแลระบบสามารถทำการบริหารและจัดการดิสก์เสมือนว่าเป็นดิสก์ลูกเดียว (แต่ความเป็นจริงคือเป็นกลุ่มของดิสก์) หรือเรียกว่า JBOD โดยเราสามารถสร้าง Volumes ที่ประกอบไปด้วย Physical ดิสก์หลายๆ  ลูก ได้  ซึ่งจะทำให้เราสามารถสร้าง  Volumes ที่มีขนาดใหญ่กว่า Physical ดิสก์ได้ และยังสามารถเพิ่มขนาดของ Storage Space ได้ภายหลังอีกด้วย  เพราะว่าเราสามารถจัดการดิสก์ที่ถูกรวบรวมมานั้นผ่านทาง Storage Space ได้  ซึ่งจะทำให้การบริหารและจัดการดิสก์มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Storage Spaces ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ:
1. Spaces คือ Collection หรือการรวบรวมดิสก์
2. Disk Pools หรือ Storage Pools คือ สิ่งที่สร้างอยู่บน Storage Spaces โดยเราจะเห็นเป็น Physical ดิสก์ต่างๆ   ก่อนที่เราจะนำมาทำเป็น Volumes
 3. Volumes คือ Logical ดิสก์ ที่ถูกสร้างขึ้นจาก Disk Pool หรือ Storage Pool  ซึ่งดิสก์เหล่านี้ตัวของ Windows จะเห็นเป็นไดรฟ์
 เราจะเรียกดิสก์ที่ถูกเลือกไว้และรวมอยู่ในที่เดียวกันนั้นว่า  “Storage Pool”   โดย  Storage Pool จะเป็นส่วนที่เข้ามาทำงานต่อจาก Storage Space  โดยมันจะทำการจัดการกลุ่มของดิสก์ที่ได้จาก Storage Space มาจัดการในรูปแบบที่เรียกว่า “Pool”   จากนั้นเราสามารถทำการสร้างสิ่งที่เรียกว่า  “Virtual Disks” โดยสามารถกำหนดขนาด, การทำ Provisioning Scheme และรวมถึงการทำ RAID   ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถมองเห็นดิสก์หรือ Virtual Disks นี้ผ่านทาง Windows Explorer โดยการกำหนดเป็นไดรฟ์ เหมือนกับดิสก์ปรกติทั่วๆ ไป ครับ

ผมขออธิบายเพิ่มเติมในส่วนของ Storage Pool ครับว่า  มันสามารถประกอบไปด้วยดิสก์ที่ต่างชนิดกันได้ (Heterogeneous Physical Disks) ไม่ว่าจะเป็น  SATA, USB, SAS และอื่นๆ  และรวมถึงการ Attached VHD/VHDX ด้วยครับ 
สำหรับวิธีการสร้างและจัดการดิสก์โดยใช้ Storage Space และ Storage Pool  นั้น  สามารถทำได้โดยผ่านทางเครื่องมือที่ชื่อว่า “Server Manager”  ครับ  สำหรับท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกับ Server Manager ใน Windows Server 2012 ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  ผมแนะนำให้ทุกท่านไปอ่านบทความของผมตอนที่แล้วครับผม  จะช่วยทำให้เห็นภาพและเข้าใจได้มากขึ้นครับ  สำหรับตอนนี้ผมจะขอเริ่มสาธิตการใช้งาน Storage Space และ Storage Pool ครับ  โดยเริ่มจากไปที่ Server Manager  จากนั้นให้คลิ๊กที่ Tools จากนั้นให้เลือก Computer Management  ดังรูปด้านล่าง


 
 
โดยตัวอย่างนี้ผมมี Physical ดิสก์เปล่าที่จะนำมาใช้ใน Storage Space และ Storage Pool ทั้งหมด 4 ลูก โดยมีขนาด 127 GB  เท่า ๆ กัน ดังรูป
 
จากนั้นผมจะเริ่มด้วยการจัดการ Physical Disks เหล่านี้ โดยทำการ Online และ Initialize ดิสก์ ดังรูปด้านล่างครับผม
 
จากนั้นผมจะกลับไปที่ Server Manager จากนั้นไปคลิ๊กที่  File and Storage Services  ดังรูป
 


จากนั้นคลิ๊กที่ Storage Pools  ท่านผู้อ่านจะเห็น Physical Disks ทั้ง 4 ลูก ดังรูปด้านล่างครับ
 
ในตอนหน้าผมจะเข้าสู่ขั้นในการสร้าง Storage Pool ขึ้นมาเพื่อนำเอา Raw ดิสก์ทั้ง 4 ลูกนี้มาอยู่ใน Storage Pool ครับผม .....