วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

รีวิวและสำรวจฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน System Center 2012-Virtual Machine Manager (VMM) ตอนที่ 1

สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องจาก   Cloud Computing  โดยผมจะหยิบยกเอา Product ตัวหนึ่งที่อยู่ในชุด System Center 2012 ของทางไมโครซอฟท์ที่กำลังจะเปิดตัวในบ้านเราเร็ว ๆ  นี้  โดย Product ตัวนี้คือ  System Center 2012-Virtual Machine Manager  หรือเรียกสั้น ๆ ว่า VMM ครับ  ต้องบอกว่า VMM เวอร์ชั่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเวอร์ชั่นเดิมค่อนข้างมากพอครับ  เนื่องจากทางไมโครซอฟท์กำหนดและวางแผนให้ VMM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารและจัดการ Private Cloud  ไม่ใช่แค่จัดการ Virtual Machines  เหมือนกับในเวอร์ชั่นก่อนครับ  และจากที่ผมได้ทำการทดสอบและทดลองใช้งานแล้วต้องบอกว่า  VMM ตัวใหม่นี้เป็น Product ที่น่าจับตามองมากครับ  เพราะการใช้งานที่ง่ายและมาพร้อมกับฟีเจอร์ต่างๆ  ที่ตอบโจทย์สำหรับองค์กรที่กำลังวางแผนและสนใจที่จะหา Cloud โซลูชั่น มาใช้งานในองค์กรของท่าน  และในช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องของ Cloud ให้กับลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  และผมได้ทำสาธิตการสร้าง Private Cloud รวมถึงการทำ VM Provisioning  และ Service Deployment อีกด้วย  ต้องบอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่ รู้สึกชอบและสนใจเจ้า VMM กันมากเลยครับ  เอาล่ะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมขออนุญาตเริ่มทำการรีวิวฟีเจอร์ต่างๆ  ของ VMM กันเลยครับโดยสิ่งแรกที่ผมอยากจะนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นใน VMM ก่อนเลยคือ  คอนโซลที่ใช้ในการบริหารและจัดการครับ  เพราะนื่คือคอนโซลใหม่ที่มาพร้อมกับ VMM  ครับ  ดังรูปด้านล่าง
เอาล่ะครับ ผมขอเริ่มที่ฟีเจอร์แรกใน VMM  คือ “Manage Multiple Hypervisors”  ใน VMM เวอร์ชั่นใหม่  เราสามารถทำการบริหารและจัดการ  Hypervisors ได้ทั้งหมด  3 ชนิด ครับ คือ Hyper-V, VMware และ Citrix XenServer ดังรูป
ฟีเจอร์|การบริหารและจัดการ Cloud, Fabric และ Service Management
ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ใหม่และมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากครับ  เพราะนี่คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถใช้ VMM 2012  ทำการสร้างและจัดการ Cloud ได้  อย่างที่ผมเคยเล่าเรื่องราวของ Cloud เอาไว้ในบทความของผมก่อนหน้านี้ว่า Cloud คือ การบริหารและจัดการ Resources หรือเรียกว่าการจัดการ Resource Pools  และใน VMM 2012,  ยังมีสิ่งที่เรียกว่า “Fabric” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและกำหนด Resources ต่างๆ  เช่น  Compute (Processors, Memory เป็นต้น), Storage และ Network ที่จะถูกนำไปสร้างเป็น Cloud   จากนั้นเราสามารถทำ VM Provisioning และการทำ Service Templates ซึ่งผมขออธิบายเพิ่มเติมภายหลังครับ  รูปด้านล่างจะเป็น รูปของการสร้าง Cloud โดยใช้ VMM
และรูปต่อมา เป็นการกำหนด Capacity หรือกำหนด Resources รวมถึง Hypervisors ให้กับ Cloud  ดังรูป


และรูปต่อมาคือ Fabric ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนด Resources เพื่อนำเอาไปใช้ในการสร้าง Cloud ดังที่ผมได้อธิบายและแสดงรูปต่างๆ  ในข้างต้นครับ
โปรดติดตามตอน  2 เร็วๆ นี้ครับผม.....

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

Welcome to Cloud Computing ตอนที่ 3

Welcome to Cloud Computing ตอนที่ 3


รูปต่อไปจะเป็นรูปที่แสดงถึง Products ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ  System Center 2012 Suite ที่จะใช้ในการสร้าง Microsoft Private Cloud

จุดที่น่าสนใจคือในส่วนที่เป็น Hypervisor นั้น  Microsoft Private Cloud สามารถบริหารจัดการ Hypervisor ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare ESX/ESXi  และ Citrix XenServer   ดังรูป

และ System Center Suite จะเป็นส่วนที่มาบริหารและจัดการ Clouds ครับ  สำหรับรายละเอียดของ System Center 2012 นั้นผมจะทยอยนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันเร็ว ๆ นี้ครับ  ผมมีหน้าตาของ VMM 2012 ซึ่งเป็น Product ตัวหนึ่งใน System Center 2012  และเป็นตัวที่ใช้ในการบริหารและจัดการ Clouds ดังรูปด้านล่างครับ

รูปด้านบนคือ การสร้าง Cloud ใน VMM 2012 และรูปต่อมาเป็นการกำหนด Capacity ใน Cloud ที่เราสร้างขึ้น

และรูปต่อมาจะเป็น Self-Service Portal ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ในการบริหารและจัดการ Cloud ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอผู้ดูแลระบบ

ผู้ใช้งานสามารถใช้ Self-Service Portal ในการสร้าง Virtual Machine ด้วยตัวเอง  ดังรูป

และนี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud ที่ผมได้นำเสนอครับ  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านที่รักของผมคงจะได้ประโยชน์ไปบ้างไม่มากก็น้อย  และสามารถนำเอาบทความของผมนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนในการเตรียมพร้อมระบบสำหรับการก้าวเข้าสู่ Cloud   และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเรื่องราวของ Microsoft Private Cloud สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็ปไซท์ของทางไมโครซอฟท์ได้เลยครับ  ตามลิ๊งค์นี้ครับผม  http://www.microsoft.com/en-us/server-cloud/private-cloud/default.aspx   

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

Welcome to Cloud Computing ตอนที่ 2

Welcome to Cloud Computing ตอนที่ 2

Microsoft Private Cloud คืออะไร
คือ การจัดเตรียม Resources ต่างๆ  ขึ้นมาเพื่อให้บริการกับองค์กรเดียวเท่านั้น  เช่น ถ้าท่านผู้อ่านทำการสร้าง Cloud ขึ้นมาและกำหนดให้สำหรับออฟฟิศของท่านผู้อ่านใช้อ่านเพียงองค์กรเดียว  แบบนี้แหละครับเราจะเรียก Cloud ที่สร้างขึ้นมาในลักษณะแบบนี้ว่า Private Cloud ครับผม  และรูปด้านล่างจะเป็นโซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ที่เตรียมไว้ให้เราใช้งาน  โดยครอบคลุมทั้ง 3 Cloud Service Models ครับ


สำหรับบทความนี้ผมจะโฟกัสไปที่ Iaas Service Model หรือการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์  โดยประกอบไปด้วย Microsoft Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ Microsoft System Center 2012 Suite  ย้ำนะครับถ้าจะสร้าง Private Cloud ผมแนะนำครับว่าจะต้องใช้ทั้ง Windows Server 2008 R2 และ System Center 2012 ครับ  โดยเฉพาะตัวของ System Center 2012 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการบริหารและจัดการ Cloud  ไม่ว่าจะเป็น Private และ Public Clouds   ดังนั้นถ้าเราต้องการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของไมโครซอฟท์ เราจะต้องมี Windows Server 2008 R2 Hyper-V ซึ่งเป็น Hypervisor ที่จัดทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการ Resources ครับ  ส่วนการบริหารและจัดการ Cloud จะเป็นหน้าที่ของ System Center 2012 ดังรูป
มาถึงตรงนี้ผมมีคำถามนึงที่อยากจะถามท่านผู้อ่านครับ  ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อยมากครับ  เพราะลูกค้าที่มาเรียนหรือที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้ยังมีความสับสน  เอาล่ะครับมาลองดูคำถามกันเลย  ถ้าองค์กรที่มีการย้ายระบบ Datacenter   ที่มีเซิรฟเวอร์เป็น Physical  ไปเป็น Virtual Machines แล้ว นั่นหมายความว่าได้นำเอา Virtualization เทคโนโลยีมาใช้แล้ว จะย้ายระบบดังกล่าวเข้าสู่ Private Cloud  ได้อย่างไร  และจำเป็นต้องย้ายเซิรฟเวอร์ที่เป็น  Physical มาเป็น Virtual Machines หรือไม่  และระบบปัจจุบันที่ใช้ Virtualization แล้ว มีความแตกต่างจาก Private Cloud อย่างไร  นี่แหละครับคำถามทั้งยาว และสร้างความสับสนได้มากพอสมควรทีเดียวครับ  ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผมจะตอบหรืออธิบายอย่างไรครับ  หรือท่านผู้อ่านบางท่านที่อ่านบทความตอนนี้และมาถึงจุดนี้อาจจะมีคำถามคล้าย ๆ แบบนี้ก็ได้ครับ  ผมให้เวลาท่านผู้อ่านสัก 1-2 นาทีครับ…..
เอาล่ะครับได้เวลาตอบคำถามแล้วครับ  ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีคำตอบแล้ว  เรามาลองดูครับว่าตรงกับคำตอบที่ผมกำลังจะเฉลยและอธิบายหรือไม่  คำตอบ คือ  องค์กรที่ได้ย้ายระบบที่เป็น Physical เข้าสู่ Virtualization แล้วต้องบอกว่าสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมระบบเข้าสู่ Private Cloud ได้ครับ  และถ้าท่านผู้อ่านสังเกตบทความนี้ของผม  ในตอนต้นผมได้อธิบายไปแล้ว่า Virtualization เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับระบบไอทีขององค์กรที่จะก้าวเข้าสู่ Cloud ครับ  สำหรับคำถามที่ถามถึงความแตกต่างระหว่างระบบที่ได้นำเอา Virtualization  มาใช้แล้วกับ Private Cloud นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร  ผมขอตอบว่ามีความแตกต่างกันแน่นอนครับ  ผมขออธิบาย  จากรูปด้านล่างครับ

รูปดังกล่าวนี้แสดงถึงการบริหารและจัดการระบบไอทีในองค์กรที่มีการนำเอา Virtualization มาใช้งานแล้ว  ซึ่งผมขอเรียกว่า “Traditional Virtualization”  ปัญหาหรือข้อจำกัดของ Traditional  Virtualization คือ การบริหารและจัดการ Resources ต่างๆ  จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น  ดังนั้นหากผู้ใช้งานในองค์กรต้องการ Virtual Machine มาใช้งานแอพพิเคชั่นของแผนก ก็จะต้องทำการร้องขอทางเมล์, ทางโทรศัพท์  หรือทางอื่นๆ  แล้วแต่นโยบายของแต่ละองค์กร  สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ  ผู้ใช้งานที่ร้องขอจะต้องรอจนกว่าผู้ดูแลระบบจะทำการสร้าง Virtual Machine และติดตั้ง
ระบบปฏิบัติตามที่ได้ร้องขอเอาไว้ก่อนหน้านี้  ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน  และนอกจากนี้แล้วหลังจากที่ได้ Virtual Machine   แล้ว  หากผู้ใช้งานมีความต้องการอื่นๆ  เพิ่มเติมอีก เช่น ต้องการ Virtual Machine เพิ่ม หรือต้องการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ใน Virtual Machine  เช่น ต้องการ Virtual Processor, Virtual Memory และอื่นๆ  เป็นต้น  ซึ่งการร้องขอเพิ่มเติมก็จะพบปัญหาเดียวกันคือ การใช้เวลานานในการจะทำสิ่งต่างๆ  ที่ต้องการ  เพราะจะต้องรอให้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้จัดการอีกเช่นเดียวกัน  นี่คือปัญหาหรือข้อจำกัดของ Traditional Virtualization ครับ  แต่ถ้าผมจะบอกว่าความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้งานจากตัวอย่างนี้ สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวของเขาเอง  ไม่ต้องรอหรือให้ผู้ดูแลระบบมาจัดการให้เหมือนเช่นเคย  นอกจากนี้แล้วหากผู้ใช้งานต้องการอะไรเพิ่มเติมก็สามารถทำได้แบบ On-demand ทันทีเช่นกัน  และการกระบวนการดังกล่าวจะทำให้โดยอัตโนมัติ และผู้ใช้งานที่ร้องขอไม่จำเป็นที่จะต้องทราบเรื่องราวของ Virtualization ต่างๆ  เลย แต่สามารถที่จะทำการสร้าง Virtual Machine ได้ด้วยตัวเอง  และคำตอบที่ผมตอบและอธิบายนี้คือความแตกต่างระหว่าง Traditional Virtualization กับ Private Cloud ครับ และในเวลาเดียวกันท่านผู้อ่านจะทราบถึงข้อจำกัดของ Traditional Virtualization ไปด้วยครับ  สำหรับรูปต่อมา                จะแสดงถึงคอนเซปการทำงานของ Private Cloud ที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากกว่า
โดยเริ่มจากผู้ดูแลระบบทำการสร้าง Private Cloud เตรียมไว้ก่อน  จากนั้นทำการกำหนดผู้ใช้งานว่ามีใครบ้างที่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้แล้วผู้ดูแลระบบยังสามารถกำหนด Quota (โควต้า)  ของ Resources ใน Cloud ได้ว่าจะมี Capacity เท่าใด  และยังสามารถกำหนดบทบาทต่างๆ  ให้กับผู้ใช้งานได้ตามความเหมะสมอีกด้วย    สำหรับในตอนหน้าผมจะอธิบายการสร้าง Private Cloud โดยการใช้ System Center 2012 ครับ  โปรดติดตามในตอนต่อไปครับผม.....