วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เจาะลึกกับ Microsoft Azure Backup Part 2

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เรามาต่อกันในเรื่องราวของ "เจาะลึกกับ Microsoft Azure Backup" กันต่อครับ โดยจะเป็น Part 2 ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่าน เข้าสู่เรื่องราวของ Azure Backup กันต่อเลยครับผม

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Azure Backup Solutions (รวมถึงข้อดีและข้อจำกัด)


1. Azure Backup (MARS) Agent 
เป็น Solution ที่มีความง่ายต่อการใช้งานและมีคล้ายคลึงกับ Windows Server Backup โดยท่านผู้อ่านสามารถทำการกำหนด Schedule, เลือก Files หรือ Folders ที่ต้องการ Backup ได้ และหากต้องการ Backup ข้อมูลเครื่องไหนก็ให้ทำการติดตั้ง  Azure Backup (MARS) Agent ลงไปที่เครื่องดังกล่าว และทำการ Import Azure Backup/Recovery Vault จากนั้นก็ทำการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ Backup รวมถึงการกำหนด Schedule อย่างที่แจ้งไว้ในข้างต้นครับ  เพราะฉะนั้น Solution นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่เยอะมากครับ


ข้อดี:
- สามารถทำการ Backup Files และ Folders ที่อยู่บนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการ Windows โดยสามารถเป็น
   Virtual    Machine (จะรันอยู่ใน On-Premise หรือ MS. Azure) หรือ Physical ก็ได้ 
- ไม่ต้องมี Backup เซิรฟเวอร์
- เก็บข้อมูลที่ Azure Backup Vault

ข้อจำกัด:
- สามารรัน Backup Jobs ได้มากสุด 3 ครั้ง/วัน
- การ Restore ทำได้ที่ระดับ Volume/File/Folder
- ไม่ Support การ Backup ในระดับแอพพิเคชั่น (Application Aware)
- ไม่ Support Linux


2. System Center Data Protection Manager (DPM)
เป็นหนึ่งในโปรดักส์ที่อยู่ในชุด Cloud Management ของ Microsoft ที่ชื่อว่า   “System Center 2012 R2” รวมถึง System Center 2016 ครับ ซึ่งสามารถทำการ Backup Hyper-V, SQL, Exchange, SharePoint และอื่นๆ ที่เป็นโปรดักส์ของ Microsoft เท่านั้นนะครับ ซึ่งตัวของ DPM ต้องการ SQL ด้วยนะครับ ดังนั้นองค์กรที่จะใช้ Solution นี้จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องของ Licenses (DPM และ SQL) เราสามารถทำการ Integrate ให้ทำงานร่วมกันกับ  Azure Backup ได้ด้วยครับ เพราะฉะนั้น  Solution นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางและใหญ่ครับผม


ข้อดี:
- เป็น App Aware Snapshots (VSS)
- มีความยืดหยุ่นในการ Backup
- Support การ Recover แบบ Granularity หรือจะเรียกว่า ILR (Item Level Recovery)
- เก็บข้อมูลที่ Azure Backup Vault, Locally Attached Disk หรือ Tape (ที่อยู่ใน On-Premise)
- Support Linux (ในกรณีที่รันเป็น Virtual Machine ใน Hyper-V)

ข้อจำกัด:
- ไม่ Support การ Backup Products อื่นๆ นอกจาก Microsoft


3. Microsoft Azure Backup Server (MABS)
MABS มีความคล้ายคลึงกับ DPM ที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ แต่มันไม่สามารถ Backup ข้อมูลลง Tape ได้เหมือนกับ DPM


ข้อดี:
- เป็น App Aware Snapshots (VSS)
- Support Hyper-V, SQL Server, IIS, SharePoint, VMware, Physical Servers, และอื่นๆ
- มีความยืดหยุ่นในการ Backup
- Support การ Recover แบบ Granularity หรือจะเรียกว่า ILR (Item Level Recovery)
- เก็บข้อมูลที่ Azure Backup Vault หรือ Locally Attached Disk

ข้อจำกัด:
- ต้องมี Azure Subscription
- ไม่ Support Tape Backup


4. Azure IaaS VM Backup


ข้อดี: 
- Native Backups สำหรับ Windows/Linux
- ไม่ต้องมีการติดตั้ง Agent เพื่อทำการ Backup แต่จะมีการติดตั้ง Azure Backup Extension ไปยัง Azure VM
- เป็น Fabric Level Backup และใช้ VSS ในการทำ Backup
- เก็บข้อมูลที่ Azure Backup Vault

ข้อจำกัด:
- ไม่สามารถกำหนด Schedule ได้ โดยจะถูกกำหนดให้ทำการ Backup 1 ครั้งต่อวัน
- ไม่สามารถ Backup VM ที่อยู่ใน On-Premise Datacenter
และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของ Azure Backup เบื้องต้นเท่านั้นครับ สำหรับบทความตอนหน้าผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปสัมผัสและเข้าไปในรายละเอียดต่างๆ ของ Azure Backup มากขึ้นครับ เพราฉะนั้นโปรดติดตามในตอนต่อไปกันนะครับผม.....
 
 


วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เจาะลึกกับ Microsoft Azure Backup Part 1

    
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของ Azure Backup ครับ ซึ่ง   Azure Backup จัดเป็นบริการหรือเซอร์วิสหนึ่งที่ Microsoft Azure ให้บริการอยู่ โดยเราสามารถทำการ Back up และ Restore ข้อมูล ซึ่งเราสามารถใช้ Azure Backup เป็นทางเลือกใหม่ที่จะมาใช้แทน Backup Solution ต่างๆ ที่ใช้กันใน On-Premise รวมถึงการทำ Off-Site Backup ครับ การใช้ Azure Backup นั้นมีความเสถียร, ปลอดภัย, และยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงอีกด้วยครับผม นอกจากนี้แล้ว Azure Backup ยังสามารถทำการ Back up ข้อมูลที่รันหรือทำงานอยู่ใน Microsoft Azure ได้อีกด้วยครับ
 



ทำไมจึงต้องใช้ Azure Backup
การใช้ Azure Backup นั้นมีข้อดีและมีความยืดหยุ่นรวมถึงมีประสิทธิภาพมากกว่า Backup Solution ที่ใช้กันอยู่ ณ ปัจจุบัน ดังนั้นเรามาดูกันครับว่าประโยชน์ที่ทุกท่านจะได้รับเมื่อใช้งาน Azure Backup
 
1. Automatic Storage Management,  เมื่อพูดถึงการ Back up ข้อมูลในองค์กรขึ้นมา ก็มีสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาและวางแผนควบคู่กันไปนั่นคือ “Storage” หรือที่ที่เก็บข้อมูลที่ที่เราทำการ Backup ครับ ซึ่งองค์กรจะต้องวางแผนในการจัดซื้อ Storage ซึ่งแน่นอนราคาก็ไม่ถูกแน่นอนและยังต้องวางแผนในการขยายหรือเพิ่มพื้นที่ดิสก์ของ Storage ในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย  แต่ประเด็นนี้จะหมดไปเพราะเมื่อเรามาใช้งาน Azure Backup, ตัวของ Azure จะทำการจัดเตรียม Storage หรือพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูลให้เราโดยอัตโนมัติและรองรับกับการขยายตัวหรือเพิ่มขึ้นของข้อมูลได้อีกด้วยครับ และที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าจะจ่ายเงินตามข้อมูลที่ใช้ Azure Storage เก็บข้อมูลครับ
2. Unlimited Scaling, Microsoft Azure มี High Availability เตรียมพร้อมอยู่แล้วสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ Microsoft Azure และ Azure Backup ก็เป็นบริการหรือเซอร์วิสหนึ่งที่ทำงานภายใต้ High Availability ด้วยเช่นกัน ทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องของการดูแลรักษาและตรวจสอบ
3. Multiple Storage Options, เราสามารทำการเลือก Azure Backup Storage Options ได้ตามที่เราต้องการ เช่น Locally Redundant Storage เป็นการปกป้องข้อมูลใน Storage หากเกิดกรณีที่ Hardware เกิด Failed หรือถ้าต้องการที่จะทำ Replicate ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Microsoft Azure Datacenter อีกทีหนึ่งเป็นต้น ซึ่ง Options เหล่านี้ลูกค้าสามารถเลือกได้เองตามความต้องการครับ
4. Unlimited Data Transfer, Microsoft Azure ไม่มีการคิดค่าบริการในเรื่องของการ Transferring ข้อมูล ทั้ง Outbound (Egress) และ Inbound นั่นหมายความว่าการ Transfer ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากที่เราทำการ Backup และ Restore ข้อมูล ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ
5. Data Encryption, เป็นการสร้างความปลอดภัยทั้งในส่วนของการรับ-ส่งข้อมูล (Transmission) และ Storage ของลูกค้าที่ใช้บริการ Microsoft Azure
6. Application-Consistent Backup, การ Backup ข้อมูลโดยใช้ Azure Backup จะไม่ส่งผลกระทบกับ Workloads นั้นๆ ที่กำลังทำงานและให้บริการอยู่ครับ รวมถึงไม่ต้องมีการ Shut Down ที่ Workloads หรือเครื่องนั้นๆ ครับ และรองรับการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows ในระดับ Application Level Consistency และระดับ File System Level Consistency สำหรับระบบปฏิบัติการ Linux
7. Long-Term Retention, สามารถกำหนด Policy (สามารถกำหนดเป็น รายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน, หรือปี) ที่จะให้ Azure เก็บข้อมูล และที่สำคัญสามารถเก็บข้อมูลได้นานถึง 99 ปีครับ
ส่วนประกอบของ Azure Backup (Azure Backup Components)
เนื่องจาก Azure Backup เป็น Hybrid Backup Solution, จึงประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายตัวโดยที่แต่ละตัวก็จะทำงานไปด้วยกันครับ  ดังรูป
 

 
 
เอาล่ะครับเรามาดูกันครับว่ามีอะไรบ้างครับ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบจะแตกต่างกันไปตาม Scenarios ที่เราใช้ Azure Backup ครับผม
 
เอาล่ะครับเรามาดูกันครับว่ามีอะไรบ้างครับ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบจะแตกต่างกันไปตาม Scenarios ที่เราใช้ Azure Backup ครับผม
- Microsoft Azure Backup Agent, เรียกสั้นๆ ว่า “MARS” เป็นส่วนประกอบที่เราจะต้องทำการติดตั้งไปที่เครื่องหรือ Virtual Machine ที่เราต้องการ Backup ครับ โดยจะอยู่ใน On-Premises หรืออยู่บน Microsoft Azure ครับ
 
- System Center Data Protection Manager (DPM), ในกรณีที่มีการใช้งาน DPM, Azure Backup สามารถเข้าไปทำงานร่วมกันกับ DPM ได้ครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าตัว DPM มีการติดตั้งอยู่ที่ไหน เช่น DPM ติดตั้งและทำงานอยู่น On-Premises Datacenter (จะติดตั้งเป็น Physical หรือเป็น Virtual Machine ใน Hyper-V) สามารถ Backup ข้อมูลไปที่ Azure Backup (Azure Recovery Services Vault) ได้ครับ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ เราไปทำการติดตั้ง DPM เป็น Virtual Machine ซึ่งรันและทำงานใน Microsoft Azure, ก็สามารถ Backup ข้อมูลไปยัง Azure Disks ที่อยู่ใน DPM (ที่เป็นVirtual Machine ซึ่งรันและทำงานใน Microsoft Azure) และสามารถทำการ Offload ข้อมูลดังกล่าว โดยการ Backup ไปที่ Recovery Services Vault ครับ
 
 - Microsoft Azure Backup Server, เรียกสั้นๆ ว่า “MABS” โดย MABS เป็น Disk-to-Disk-to-Cloud Backup (D2D2C) ซึ่งใช้ Azure Backup Vault สำหรับการทำ Long-Term Offsite Retention ครับ โดยจริงๆ แล้ว MABS คือ DPM ที่ถูก Customized เวอร์ชั่นของ DPM ครับ เพราะฉะนั้นคอนเซปและการทำงานของ MABS ก็จะเหมือนกับ DPM ที่สามารถทำการปกป้องหรือ Back up ข้อมูลของ Business Applications Workloads ต่างๆ เช่น Exchange, SQL, Active Directory, IIS, Hyper-V, VMware VMs, Physical Servers และ Windows Clients ซึ่งรันอยู่ใน On-Premises หรือใน Microsoft Azure และการบริหารและจัดการก็จะเป็นแบบ Centralized Management เช่นเดียวกับ DPM ครับ
- Azure Backup (VM Extension), จะเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับการ Backup Azure Virtual Machine หรือ
Azure IaaS VM Backup ครับ
 
โปรดติดตาม Part 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....
 
 
-