วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รู้จักกับ Microsoft Azure (IaaS) Part 3

สวัสดีครับครับเรามาต่อกันใน Part 3 เลยนะครับ  เรื่องต่อมาจะเป็นเรื่องของการจัดการเบื้องต้นของ Microsoft Azure ครับ  เมื่อท่านผู้อ่านได้ทำการ Signed up เรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านก้อจะเป็นผู้ดูแลและจัดการ Microsoft Azure Subscription นั้นได้ทั้งหมด เช่น การสร้าง Virtual Machine, Web Site, และอื่นๆ อีกมากมายครับ  นอกจากนี้แล้วท่านผู้อ่านยังสามารถให้สิทธิในการดูแลและจัดการ Microsoft Azure ให้กับคนอื่นๆ ได้ด้วยครับ  คนอื่นๆ ที่ผมพูดถึงนี้หมายถึง Microsoft Accounts อื่นๆ นะครับ เพราะการที่เราจะเข้ามาจัดการทุกอย่างใน Microsoft Azure ได้นั้น ท่านผู้อ่านจะต้องมี 2 สิ่ง คือ


1. Microsoft Accounts
2. Microsoft Azure Subscription
 
โดยท่านผู้อ่านสามารถกำหนดหรือมอบหมายสิทธิให้ Microsoft Accounts อื่นๆ ที่ต้องการเข้ามามีสิทธิในการบริหารและจัดการ Microsoft Azure ได้ โดยสามารถทำได้ 2 ทาง ดังนี้
1. Azure Management Portal (Azure Classic Portal)
2. Azure Portal (New Azure Portal)
 
เพราะฉะนั้นถ้าท่านผู้อ่านต้องการให้ใครก้อตามสามารถเข้าถึงหรือใช้งานได้ทั้ง 2 Portals ท่านผู้อ่านจะต้องให้สิทธิคนๆนั้นทั้งสอง Portals ครับ  ผมขออนุญาตเพิ่มเติมนิดหน่อยสำหรับ Azure Portal เป็น New Portal ใหม่ที่มาพร้อมกับความสามารถและฟีเจอร์หลายๆ อย่างครับ เช่น ในการที่ท่านผู้อ่านจะทำการมอบหมายให้ใครมาช่วยเราในการบริหารและจัดการ Microsoft Azure  ตัวของ Azure Portal ใช้ “Role-Based Access Control” หรือเรียกสั้นๆ ว่า RBAC  ข้อดีของการนำเอา RBAC เข้ามาใช้งานคือ ทำให้ท่านผู้อ่านสามารถกำหนดสิทธิต่างๆ ในการดูแลและจัดการ Microsoft Azure ได้ละเอียดและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นครับผม รายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถดูจาก Link นี้ได้ครับ,
https://azure.microsoft.com/en-us/documentation/articles/role-based-access-control-configure/  เป็นต้นครับ เอาไว้ผมจะอธิบายเรื่องราวของ Azure Portal ในรายละเอียดต่อไปครับผม เมื่อท่านผู้อ่านต้องการมอบหมายสิทธิในการจัดการ Microsoft Azure ให้กับ Microsoft Accounts อื่น สามารถทำได้จาก
2 Portals ที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ โดยถ้าต้องการให้ใครสามารถเข้ามาจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure โดยใช้ Azure Preview Portal, ท่านผู้อ่านสามารถทำได้โดยการเลือก Role ที่ต้องการจากนั้นให้ทำการ Add Microsoft Account ที่ต้องการ ดังรูป
 
 

 
 
ถ้าต้องการให้ใครสามารถเข้ามาจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure ได้โดยใช้ Azure Management Portal (Azure Classic Portal), ท่านผู้อ่านสามารถทำได้โดยการ Add คนๆ นั้นหรือ Microsoft Account ที่ต้องการให้เป็น Co-Administrator ของ Azure Subscription นั้น โดย Microsoft Account นี้จะมีสิทธิเท่าเทียมกับ Owner ของ Azure Subscription นั้น แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข Service Administrator หรือทำการ Add/Remove Co-Administrator
คนอื่นๆ ได้ครับ โดยสามารถทได้ตามรูปด้านล่างครับผม  ให้ท่านผู้อ่านไปที่ Settings
 

จากนั้นให้เลือก ADMINISTRATORS จาก Azure Management Portal (Azure Classic Portal) ครับ แล้วกดปุ่ม ADD ดังรูป


จากนั้นให้ท่านผู้อ่านใส่ EMAIL ADDRESS  ของ Microsoft Accounts ที่ต้องการและเลือก Azure Subscription ไหน ในกรณีที่มีมากกว่า 1 Subscription ครับ
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการใช้งาน Microsoft Azure ครับ ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสได้สอนหรือเข้าไปให้คำปรึกษาลูกค้า  เรื่องหนึ่งที่ต้องถูกถามหรือต้องมาคุยกันก้อคือ เรื่องของ Pricing ใน Microsoft Azure ครับ เช่น มีบางท่านสงสัยว่า  ถ้าไปสร้าง Virtual Machine และรัน Windows Server 2012 R2
จะต้องจ่ายตังค์เท่าไร หรือถ้าต้องการสร้าง Web Site บน Microsoft Azure เสียตังค์เท่าไร  เป็นต้นครับ  สิ่งที่จะช่วยท่านผู้อ่านในการตอบคำถามข้างต้นคือ Pricing Calculator ครับ เพราะเจ้าเครื่องมือจะช่วยท่านผู้อ่านในการประเมินค่าใช้จ่าย  ถ้ามีการใช้งาน Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure  โดยท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปทำการประเมินโดยใช้ Pricing Calculator จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/




จากนั้นให้ท่านผู้อ่านทำการกดปุ่ม Pricing calculator ครับ ก็จะเข้าสู่การคำนวณราคาหรือค่าใช้จ่ายโดยสามารถเลือก Services ต่างๆ ได้ตามต้องการจากก็สามารถทำการประเมินค่าใช้จ่ายได้ครับ  ดังรูปด้านล่างครับผม

 
 


ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณราคาของ Azure Pricing  โดยสมมติว่าผมต้องการสร้าง Virtual Machine แล้วทำการติตตั้ง Windows Server 2012 R2 Datacenter Edition ซัก 1 Virtual Machine จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร จากความต้องการนี้สามารถคำนวณได้โดยการคลิ๊ก Virtual Machine จากรูปด้านบนครับ แล้วคลิ๊กปุ่ม Add to calculator ดังรูปด้านล่างครับ
 


จากนั้นจะเข้าสู่การคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับส่วนที่เป็น Virtual Machine โดยจะมีรายละเอียดให้ท่านผู้อ่านเลือก จากนั้น Azure ก็จะคำนวณและแสดงราคาออกมาให้ครับ ดังรูปครับผม

 
 

จากรูปด้านบนผมต้องการสร้าง 1 Virtual Machine โดยให้ Virtual Machine ตัวนี้ถูกสร้างและรันที่ Azure Datacenter ที่ Southeast Asia และกำหนดสเปคของ Virtual Machine ตัวดังกล่าวนี้เป็น A4 โดยมีรายละเอียดของสเปคดังที่เห็นตามรูปครับ และติดตั้งระบบปฏิบัติการเป็น Windows จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ถ้า Virtual Machine นี้รันและทำงานตลอดทั้งเดือน  ผลลัพธ์จากคำนวนราคาอยู่ที่ $535.65 ดอลลาร์ครับ จากนั้นท่านผู้อ่านสามารถใช้ข้อมูลนี้นำไปวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายได้ เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องซื้อ Azure Subscription เท่าไร เพื่อให้รองรับกับความต้องการครับ  และอย่างที่ผมได้อธิบายเอาไว้ในตอนต้นครับว่าเราสามารถเลือก Services และรายละเอียดต่างๆ ของ Azure เพื่อให้ Azure ช่วยทำการคิดและคำนวณราคาคร่าวๆ ตามที่เราต้องการได้ อย่างเช่น ตัวอย่างที่ผมได้ทำการทดลองคำนวณให่ท่านผู้อ่านได้ดูกันไปแล้วครับ
 
Microsoft Azure Scenarios
สำหรับหัวข้อนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องนึงที่สำคัญมากครับ  เพราะเป็นคำถามที่ผมถูกถามจากลูกค้าบ่อยมากคือ เราสามารถนำเอา Azure  ไปใช้งานในเรื่องหรือด้านใดได้บ้าง ผมขอสรุปแนวทางและ Scenarios ที่สามารถนำเอา Azure เข้าไปใช้งานในองค์กรได้นนั้นว่ามีอะไรบ้าง โดยให้ท่านผู้อ่านดูจากรูปด้านล่างครับผม
 
 
จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านสามารถใช้ Microsoft Azure ทำเป็น Development/Test Environment เพื่อให้นักพัฒนาหรือ Developer สามารถพัฒนาและทดสอบแอพพิเคชั่นบน Azure ได้เลยครับ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียม Environment และยังเป็นการช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็น Hardware, Software และอื่นๆ อีกด้วยครับ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวมากกว่าเดิมอีกครับ
 
 
จากรูปด้านบนเป็นอีก Scenario หนึ่งที่ในปัจจุบันมีองค์กรใช้งานกันเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ นั่นคือการสำรองข้อมูลขององค์กรขึ้นไปเก็บไว้ที่ Azure ซึ่งทำให้องค์การประหยัดค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องจัดซื้อ Storage สำหรับเก็บข้อมูลอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำรุงรักษาหรือ Maintenance ครับ อีกทั้งการใช้งานก็ง่ายและสะดวกอีกด้วยครับผม
 
อีกซัก Scenario นึงครับและต้องบอกว่าเป็น Scenario ที่ฮอตฮิตและยอดนิยมมากที่สุดครับ นั่นคือการทำงานร่วมกันหรือ Integration กันระหว่าง Windows Server Active Directory กับ Azure AD ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถใช้ Identity เดียวเพื่อเข้าถึงหรือใช้งานข้อมูล, แอพพิเคชั่น, ตลอดจนเซอร์วิสต่างๆ ที่อยู่ใน Datacenter ขององค์กรและที่อยู่บน Azure และ Cloud Services อื่นๆ ครับ เช่น Office 365, SalesForce, และอื่นๆ อีกมากมายครับผม  และต้องบอกท่านผู้อ่านทุกท่านว่า Scenarios ที่ผมหยิบยกเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันในข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้นนะครับที่ Microsoft Azure ทำได้ครับผม
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Microsoft Azure เบื้องต้นที่ผมอยากจะแนะนำให้กับท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันก่อนที่จะเข้าไปดูกันในรายละเอียดต่างๆ ของเซอร์วิสและฟีเจอร์ต่างๆ ของ Microsoft Azure กันต่อไปครับ.....
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



 
 
 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รู้จักกับ Microsoft Azure (IaaS) Part 2

    
มาต่อกันใน Part 2 กันครับ โดย Part 2 ผมจะอธิบายเกี่ยว Microsoft Azure ของทาง Microsoft ว่าคืออะไรและมีรายละเอียดอย่างไรบ้างครับผม
ทุกวันนี้หลายๆ องค์กรเริ่มวางแผนและทำการพัฒนาปรับปรุงระบบไอทีและดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความยืดหยุ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพื่อรองรับกับความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา  แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไปก็คือค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนไปกับการปรับปรุงและพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีประสิทธิภาพนั้นอาจจจะมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร  ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กรเอง  เพราะจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ มากมาย เช่น เรื่องของ Resources หรือทรัพยากรต่างๆ (Compute, Memory, Network, Storage และอื่นๆ ) ว่าสามารถรองรับกับความต้องการหรือไม่ รวมถึงการบริหารจัดการ (Management), การดูแลรักษา (Maintenance) และเรื่องของ SLA เพื่อการันตีเรื่องของการให้บริการ เป็นต้น  ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้เอง ทำให้องค์กรต่างๆ เริ่มวางแผนและคิดค้นหาวิธีหรือโซลูชันต่างๆ  ที่จะมาตอบโจทย์เหล่านี้ และที่สำคัญคือ ต้องสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและคุ้มค่ากับเงินที่จะต้องลงทุนไป  สิ่งที่มาช่วยหรือตอบโจทย์นี้ได้คือ “Cloud โซลูชัน  ซึ่งทาง Microsoft ได้เตรียมพร้อมโซลูชันและเซอร์วิสที่เกี่ยวข้องกับ Cloud แบบครบวงจรมาเพื่อรองรับกับความต้องการที่หลากหลายขององค์กรต่างๆ  ครับ

โดย Cloud โซลูชัน ที่ผมนำมาเสนอนี้มี ชื่อว่า “Microsoft Azure”  ครับ  ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยิน Microsoft Azure มาแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเจ้า Microsoft Azure คืออะไรกันแน่  ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่ามันคือ Web Hosting บ้าง, ใช้สร้าง Virtual Machines สำหรับทำการทดสอบบ้าง หรือเป็น Public Cloud ของทาง Microsoft ที่ทำงานอยู่บนอินเตอร์เน็ตแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดแน่นอน  ดังนั้นผมจึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับ Microsoft Azure ว่าคืออะไร และมีความสามารถอะไรบ้างครับ

Microsoft Azure คืออะไร?
Microsoft Azure คือ Cloud Platform ที่ทาง Microsoft ได้เตรียม Datacenter ซึ่งมี Resources หรือทรัพยากรต่างๆ เอาไว้สำหรับองค์กรที่ต้องการใช้งานในด้านต่างๆ เช่น การเตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาแอพพิเคชั่น, การสำรองข้อมูล, การจัดการเรื่องของ Identity และอื่นๆ เพื่อให้องค์กรนั้นทำการพัฒนาและปรับปรุง Datacenter ของตัวเองให้มีความยืดหยุ่นและรองรับกับความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ อีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นฟีเจอร์ต่างๆ และเซอร์วิสมากมายให้เราได้เลือกใช้งานครับ และยังเหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาดครับไม่ว่าจะเป็น เล็ก, กลาง หรือใหญ่ครับ  และที่สำคัญคือยังช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วยครับ เช่น องค์กรหรือลูกค้าที่ใช้บริการของ Microsoft Azure ไม่ต้องซื้อหรือจัดเตรียม Hardware ครับ  และเมื่อเรานำเอา Microsoft Azure เข้ามาใช้งานจะทำให้การบริหารและจัดการดาต้าเซ็นเตอร์หรือระบบไอทีมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ  แต่ที่ผ่านมานั้นเท่าที่ผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับลูกค้าหลายๆ ราย ยังสับสนว่า Microsoft Azure คืออะไรกันแน่ บางคนก็บอกว่า Microsoft Azure คือ การทำ Web Hosting  บ้างก็บอกว่าคือการทำ Co-Location และอื่นๆ อีกมากมายครับ จึงทำให้หลายท่านเกิดความไม่แน่ใจว่า  Microsoft Azure คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร หากนำเข้ามาใช้งานในองค์กร  และอีกหลายๆ คำถามและข้อสงสัยครับ  จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมนำเอาเรื่องราวของ Microsoft Azure  มานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบและได้รู้จักกันตั้งแต่เนิ่นๆ  เพื่อจะได้นำเอาความรู้นี้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบไอทีของทุกท่านครับ




สำหรับ Microsoft Azure นั้นคือ Cloud Platform ของทาง Microsoft ที่ให้บริการครบ Cloud Service Models ทั้ง 3 รูปแบบคือ

1. Infrastructure as a Service (IaaS)

2. Platform as a Service (PaaS)
3. Software as a Service (SaaS)
 
 
ตามที่ผมได้อธิบายเอาไว้ในบทก่อนหน้านี้  นั่นหมายความว่า Microsoft Azure มีความสามารถในการจัดการ Infrastructure  คือ  เราสามารถทำการสร้าง Virtual Machines และทำการติดตั้งแอพพเคชั่นต่างๆ  ที่ต้องการเพื่อให้บริการกับผู้ใช้งานได้เลย โดยที่เราไม่ต้องเสียตังค์หรือลงทุนซื้อ Hardware และ Software ครับ  ซึ่งคอนเซปนี้จะแตกต่างจากการบริหารและจัดการระบบไอที หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันครับ  เพราะการบริหารและจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ นั้นองค์กรจะต้องมีการลงทุนจัดซื้อหลายอย่างครับ เช่น Physical Servers, Storages, Networks เป็นต้นครับ อีกทั้งยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบอีกต่างหาก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกครับ  ผู้ดูแลระบบก็จะต้องรับผิดชอบตั้งแต่ส่วนที่ Hardware ที่ผมได้ยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ รวมถึง Virtual Machines ต่างๆ ที่รันและทำงานอยู่ภายใน Hardware เหล่านั้นด้วย  ซึ่งจากรูปด้านบนให้ท่านผู้อ่านดูรูปกล่องต่างๆ ที่เรียงกันเป็นสีน้ำเงินหมด ที่อยู่ด้านซ้ายสุดครับ  นั้นคือ ส่วนประกอบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น Hardware และ Virtual Machines ต่างๆ  ที่อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ของท่านซึ่งท่านผู้อ่านจะต้องดูแลทั้งหมดเองตั้งแต่กล่องแรกที่อยู่ล่างสุดไปจนถึงกล่องที่อยู่บนสุดเองครับ  และโดยส่วนใหญ่ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ณ วันนี้ก็จะเป็นในรูปแบบนี้ครับ  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็นครับ สำหรับการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ผู้ดูแลระบบต้องบริหารและจัดการเองทั้งหมด เช่น การลงทุนที่ต้องใช้เงินค่อนข้างเยอะพอสมควรขึ้นอยู่กับความต้องการ รวมถึงการดูแลรักษาด้วยครับ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเช่นกัน  และอื่นๆ อีกครับ 
ประเด็นต่อมาคือ การปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการแอพพิเคชั่นหรือเซอร์วิสต่างๆ  กับผู้ใช้งานหรือลูกค้า ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้การบริการเหล่านี้สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ  ประเด็นต่อมาคือ การวางแผนในเรื่องของ Disaster Recovery ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ  เช่น น้ำท่วม, ไฟไหม้ หรือภัยธรรมชาติ   และประเด็นต่อมาคือ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมและทรัพยากรสำหรับการพัฒนาและทดสอบแอพพิเคชั่น สำหรับองค์กรที่มีทีมพัฒนาแอพพิเคชั่น
เพราะเค้าเหล่านี้ต้องสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่พร้อมสำหรับการทดสอบครับ  และทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพของการบริหารและจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ ณ ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร รวมถึงปัญหา เพื่อจะได้เตรียมพร้อมวางแผนที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ของท่านมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ  จากประเด็นต่างๆ  ที่ผมได้หยิบยกมานั้น  เราสามารถนำเอา Microsoft Azure เข้ามาช่วยจัดการได้ครับ  อย่างที่ผมเกริ่นไว้ตอนต้นว่า Microsoft Azure ให้บริการในส่วนที่เป็น IaaS และ PaaS
 
ส่วนแรกที่ Microsoft Azure เข้ามาช่วยคือส่วนที่เป็น IaaS ครับ  โดย Microsoft Azure ได้เตรียม Infrastructure เอาไว้ให้เราเรียบร้อยแล้วครับ ท่านผู้อ่านไม่ต้องลงทุนซื้อ Hardware รวมถึง Software ด้วยครับ  ผมอยากให้ท่านผู้อ่านดูรูป Cloud Service Models อีกครั้งครับ  โดยครั้งนี้ให้ท่านผู้อ่านดูรูปที่ 2 จากซ้ายที่ผมทำเป็นกรอบไว้ครับ ดังรูปด้านล่างครับ

 
 
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า 4 กล่องแรกจะที่เคยเป็นสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว  นั่นหมายความว่า Microsoft Azure ได้เตรียม Server (Hyper-V), Storage และ Network ให้เรียบร้อยแล้วครับ  ท่านผู้อ่านมีหน้าที่และรับผิดชอบกล่องที่เป็น OS คือ การติดตั้ง OS ไปยัง Virtual Machine ขึ้นไปจนถึงกล่องที่อยู่บนสุด  ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะพอสมควรเลยครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรนั้นครับผม  ผมกำลังจะบอกทุกท่านว่าท่านผู้อ่านสามารถที่จะขยายระบบดาต้าเซ็นเตอร์ของท่านไปอยู่บน Microsoft Azure ได้ครับ โดยการย้ายงานบางส่วนหรือทั้งหมดก็สามารถทำได้ครับ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรครับ เพราะฉะนั้นจะทำให้ขอบเขตของการบริหารและจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ของท่านไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในตึกๆ หนึ่งหรือโลเกชั่นหนึ่งๆ เท่านั้น ขอบเขตการบริหารและจัดการจะไม่มีขอบเขตอีกต่อไปครับ  เพราะเราได้ยืดระบบดาต้าเซ็นเตอร์ของเราเข้าไปทำงานอยู่ใน Microsoft Azure  

ผมขอยกตัวอย่างระบบงานที่เราสามารถย้ายขึ้นไปทำงานอยู่ใน Microsoft Azure เช่น  Active Directory, Web Applications และอื่นๆ อีกมากมายครับ  ข้อดีอีกข้อที่สำคัญสำหรับการที่เราย้ายงานต่างๆ ไปอยู่บน Microsoft Azure คือเรื่องของ Availability   ครับ  เพราะทาง Microsoft มี SLA อยู่ที่ 99.95% ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการที่จะย้ายระบบงานต่างๆ มาทำงานอยู่ใน Microsoft Azure  ส่วนของผู้ใข้งานอย่างเราๆ เองจะมีหน้าที่จัดการ Virtual Machines และแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่เราเป็นคนติดตั้งเท่านั้นครับ  นั่นคือเหตุผลส่วนหนึ่งและเป็นประโยชน์ที่ท่านผู้อ่านจะได้รับเมื่อนำเอา Microsoft Azure เข้ามาใช้งานในส่วนที่เป็น IaaS ครับ  สำหรับส่วนที่เป็น PaaS และ SaaS นั้นทาง Microsoft Azure ได้เตรียม Platforms และ Components ต่างๆ  เอาไว้ให้ใช้งาน   ดังนั้นถ้าท่านผู้อ่านท่านใดเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพิเคชั่น และต้องการ Platform รวมถึง Environment ที่จะใช้ในการพัฒนา ก็ไม่ต้องไปเสียตังค์ซื้อเครื่องสเปคแรงมาใช้ครับ รวมถึงเวลาที่จะต้องใช้ในการติดตั้งและเตรียม Environment ครับ  สามารถมาใช้งานบน Microsoft Azure ได้เลยครับ มีให้เลือกหลาย Platforms ครับไม่ว่าจะเป็น .Net, Node.js, Python, Ruby และอื่นๆ   ตัวผมเองยังแนะนำให้รุ่นน้องผมที่เป็นนักพัฒนาจากเดิมต้องของบประมาณจากผู้ใหญ่มาทำการติดตั้ง Environment หรือสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ให้มาใช้บน Microsoft Azure แทนครับ ประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาครับผม 
 สำหรับส่วนที่เป็น SaaS นั้นเราสามารถใช้ Microsoft Azure ในการสร้าง Storage เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ตามที่ต้องการหรือจะใช้เก็บข้อมูลที่องค์กรต้องการสำรองไว้ก็ได้เช่นกันครับ เพื่อใช้ในกรณีที่เกิดข้อมูลสูญหาย เราสามารถทำการกู้ข้อมูลที่เก็บไว้ใน Microsoft Azure กลับมาใช้งานได้เลยครับ หรือจะใช้ Azure AD สำหรับการจัดการ Identity เป็นต้นครับผม 
ก่อนจะที่ผมจะพาท่านผู้อ่านเข้าไปเริ่มใช้งาน Microsoft Azure ผมอยากให้ท่านผู้อ่าน ดูรูปต่อไปนี้ครับ เป็นรูปที่แสดงถึงฟังก์ชั่นฟีเจอร์และเซอร์วิสต่างๆ ที่ Microsoft Azure ให้บริการอยู่ครับ ซึ่งเยอะมากๆ ครับ และจะมีเพิ่มเติมอีกเป็นระยะๆ ครับผม
 
 
 
 
 
 

 
 
เอาล่ะครับผมว่าน่าจะได้เวลาที่ผมพาท่านผู้อ่านใช้งาน Microsoft Azure กันได้แล้วครับ หลังจากที่ผมได้อธิบายให้ทุกท่านได้เห็นภาพและข้อมูลต่างๆ  กันไปแล้ว
 
เริ่มต้นการใช้งาน Microsoft Azure
ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน MS. Azure ท่านผู้อ่านต้องเตรียมสองสิ่งครับ
1. Outlook.com, Hotmail หรือ Live ID Account
2. บัตรเครดิต (Credit Card)
 
 
พอผมพูดถึงบัตรเครดิต ผมเชื่อได้เลยครับว่าท่านผู้อ่านเริ่มกังวลครับว่า  ต้องจ่ายเงินเลยเหรอเมื่อจะใช้ Microsoft Azure  คำตอบคือ ยังไม่ต้องจ่ายครับ เพราะทาง Microsoft เค้าใจดีครับให้เราทดลองใช้งานได้ 30 วัน และมีเงินให้เรา 200 เหรียญครับ  การใช้งาน MS. Azure นั้นเค้าคิดจากการใช้งานทรัพยากรและเซอร์วิสต่างๆ ครับ เช่น Processor, Memory, Storage, Network และอื่นๆ ครับ  เมื่อมีการใช้งานทรัพยากรเหล่านี้ทาง Microsoft เค้าก็จะคิดตังค์เราครับ  โดยตัดจากเงิน 200 เหรียญนี่ละครับ  หากถึงกำหนด 30 วันหรือเงิน 200 เหรียญหมด คืออย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ก็เป็นอันว่าการทดสอบใช้งาน Microsoft Azure หรือ Trial ก็เป็นอันจบสิ้นครับ ทาง Microsoft ก็จะส่งเมล์มาแจ้งครับว่าหมดแล้ว และสอบถามเราว่าสนใจจะใช้บริการต่อมั๊ย  ตรงนี้ล่ะครับที่เราจะต้องเสียตังค์  โดยทาง Microsoft จะให้เราเลือกรูปแบบการใช้งานครับ ซึ่งก็คล้ายๆ กับที่เราเลือกแพ็คเกจโทรศัพท์ครับ เช่น ใช้เท่าไรจ่ายเท่านั้น (Pay-as-you-go) หรือจะสั่งซื้อกับตัวแทนหรือพารท์เนอร์ของทาง Microsoft ก้อได้ครับ โดยสามารถสั่งซื้อ Microsoft Azure Subscription ซึ่งเหมือนกับการสั่งซื้อ Software และ Licenses ของ Microsoft เลยครับ  โดยสามารถสั่งซื้อขั้นต่ำคือ 100$ ต่อหนึ่ง License ครับ รายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถติดต่อกับทาง Microsoft หรือพาร์ทเนอร์ของทาง Microsoft ได้เลยครับ และถ้าท่านผู้อ่านไม่ต้องการใช้งานต่อหลังจากจบ Trial หรือการทดลองใช้งานก็จบครับ เราไม่ต้องเสียตังค์ใด ๆ ทั้งสิ้นครับ  ถ้าท่านผู้อ่านเตรียมสองสิ่งที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วก็ไปใช้งาน Microsoft Azure กันได้เลยครับผม  โดยไปที่ www.azure.microsoft.com ดังรูปด้านล่างครับ
 
 
 
 
 
 
คลิ๊กที่ Try for free ครับ
 
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านเลือก Try it now ได้เลยครับ เพื่อทำการ Register  โดยท่านผู้อ่านทำการกรอกข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้งาน Microsoft Azure ที่เป็นแบบ Trial   ครับ  หลังจากผ่านกระบวนดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถ Log On เข้าไปใช้งาน Microsoft Azure กันได้แล้วครับผม ดังรูป
 




 




 
เมื่อ Log on เข้ามาแล้วท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าตาดังรูป ด้านล่างครับผม
 


 

 

รูปด้านบนเราเรียกว่า Microsoft Azure Management Portal หรือปัจจุบันจะเรียกว่า Azure Classic Portal ครับ เป็น Portal ที่เราจะใช้ในการบริหารและจัดการฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ต่างๆ ของ Microsoft Azure ครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่เพิ่งเริ่มใช้งานครั้งแรก มันจะไม่มีอะไรขึ้นมาอย่างในรูปด้านบนนะครับ เราต้องเข้าไปทำการกำหนดค่าต่างๆ สำหรับฟังกชั่นหรือฟีเจอร์ต่างๆ ที่เราต้องการใช้ครับ  สำหรับเรื่องราวการใช้งานฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ต่างๆ  ของ Microsoft Azure เช่น การสร้าง Virtual Machine, การสร้าง Virtual Network (VNet) และอื่นๆ อีกมากมายครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถเรียกใช้ Azure Classic Portal ได้จาก Link นี้ครับ https://manage.windowsazure.com/
 
ในปัจจุบันนอกจาก Azure Classic Portal แล้ว Microsoft Azure ยังมี Portal อีกแบบหนึ่งซึ่งเป็น Portal ใหม่เรียกว่า “Azure Portal” ครับ โดยใน Azure Portal จะมีความสามารถและฟีเจอร์ต่างๆ มากกว่า Azure Classic Portal ครับ และโดยส่วนตัวผมเองเชื่อว่าท้ายที่สุด Azure Portal จะเป็น Portal หลักที่มาแทน Azure Classic Portal ครับ ท่านผู้อ่านสามารถเรียกใช้งาน Azure Portal ได้จาก Link นี้ครับ portal.azure.com ครับ โดยหน้าตาของเจ้า Azure Portal นั้น ท่านผู้อ่านสามารถดูได้จากรูปด้านล่างครับ
 
 
 
 
เรื่องต่อมาที่ผมจะพูดถึงคือเรื่องของ Microsoft Azure Subscription และ Billing  โดยตัวของ Microsoft Azure เองนั้นมี Subscription หลากหลายแบบครับ  และท่านผู้จะต้องมี Microsoft Account  เพื่อกำหนดให้ Account นี้เข้าถึงและจัดการ Subscriptions เหล่านี้ครับ
โดยผมขอสรุปรูปแบบต่างๆ ของ Subscriptions ใน Microsoft Azure ว่ามีกี่แบบและมีรายละเอียดอย่างไรบ้างครับ
1. Free Trial เป็น Azure Subscription ที่ท่านผู้อ่านทำการ Sign up จาก azure.microsoft.com โดยจะเป็นการใช้งาน Subscription แบบ Trial หรือชั่วคราว ซึ่งจะใช้งานได้ 30 วัน และมี Credit ให้เราใช้งาน 200 เหรียญ เมื่อเวลาหรือ Credit หมดอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งที่เราสร้างและใช้งานอยู่บน Microsoft Azure ก็จะใช้งานไม่ได้แล้วและจะถูกลบหรือเคลียร์ออกไปในที่สุด โดยท่านผู้อ่านสามารถทำการอัพเกรทจาก Trial มาเป็นแบบ Pay-as-you-go ได้ รายละเอียดสำหรับการใช้แบบ Free Trail ท่านผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link นี้ครับ
 
 
 
 
2. MSDN Subscription  เป็น Azure Subscription ที่ได้จากการที่คุณมี MSDN Subscription อยู่แล้ว เช่น ถ้าท่านผู้อ่านซื้อ Visual Studio Premium กับ MSDN Subscription  ท่านผู้อ่านจะได้ Azure Subscription ซึ่งมี Credit 100 เหรียญใช้งาน  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ Link นี้ครับ  http://azure.microsoft.com/en-us/pricing/member-offers/msdn-benefits-details/
 


 
 
3. Pay-as-you-go  เป็น Azure Subscription ที่ได้จากการสมัครและซื้อ Azure Subscription ด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากที่นี่ครับ  http://azure.microsoft.com/en-us/offers/ms-azr-0003p/
 
 
 
4. Buy from a Microsoft Reseller เป็น Azure Subscription ที่ท่านผู้อ่านสามารถซื้อได้จากตัวแทนของ Microsoft โดยจะมีวิธีการสั่งซื้อเหมือนกับการสั่งซื้อ Software Licenses ของทาง Microsoft
5. Enterprise Agreements เป็น Azure Subscription ที่ได้จากการที่เรามีการกำหนดปริมาณการใช้งานว่าจะมีการใช้งาน Azure Subscription เท่าไร
 
ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Link  นี้ครับ
 
 
เอาล่ะครับ  หลังจากที่ทราบถึงเรื่องราวของ Azure Subscription กันแล้ว เรื่องต่อมาจะเป็นเรื่องของการจัดการเบื้องต้นของ Microsoft Azure ครับ  โดยผมขอยกยอดไปเป็น Part 3 นะครับ โปรดติดตามครับผม.....