วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Windows 10 Deployment Part 1


     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของ Windows 10 ครับโดยในบทความนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องราวของการเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรที่กำลังวางแผนและเตรียมการที่จะนำเอา Windows 10  เข้ามาใช้งานในองค์กร แน่นอนครับต้องเริ่มจากการวางแผนสำหรับการทำ Windows 10 Deployment 
โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมาผมได้รับโอกาสให้ไปเป็นวิทยากรในงานของทางไมโครซอฟท์ครับ โดยนำเสนอเรี่องราวเกี่ยวกับ Windows 10 Deployment นั้น  องค์กรจะต้องเตรียมตัวหรือเตรียมพร้อมอย่างไร รวมถึงผมได้พูดและอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ  ที่ทางไมโครซอฟท์ได้ตระเตรียมไว้ให้สำหรับช่วยองค์กรที่จะทำการ Deploy Windows 10 
นอกจากนี้แล้วผมยังได้สาธิตการทำ Deploy แบบ In-Place Upgrade จากเครื่องที่รัน Windows 7 (Service Pack 1) ไปเป็น Windows 10 โดยใช้เครื่องมือที่ทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้กับลูกค้าของไมโครซอฟท์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีครับผม 
โดยส่วนตัวเห็นว่าเรื่องราวของการทำ Windows 10 Deployment นี้น่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านที่รักของผมหลายๆ ท่าน ที่กำลังวางแผนและเตรียมการกันอยู่  แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำหรือเริ่มต้นอย่างไร ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมืออะไร และถ้าจะใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือของทางไมโครซอฟท์นั้นจะต้องเริ่มอย่างไร มีค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยแค่ไหน ตลอดความรู้และความเข้าใจในเชิงเทคนิค และอื่นๆ อีกมากมายครับ 
ดังนั้นผมจึงถือโอกาสนี้นำเอาเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพและมีความเข้าใจมากขึ้นสำหรับเรื่องราวของ Windows 10 Deployment ครับ  โดยผมจะเริ่มอธิบายในภาพใหญ่ก่อนว่าคืออะไร และค่อยๆ ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนครับผม และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลามาเริ่มกันเลยครับ 
รู้จักกับ WIM ไฟล์
เมื่อพูดถึงการ Deployment ไม่ว่าจะเป็นการ Deploy เซิรฟเวอร์, เดสก์ท๊อป, โน๊ตบุ๊ค และดีไวซ์อื่นๆ  เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งหนึ่งคือ อิมเมจ (Image)”  โดยจะต้องสร้างเจ้าอิมเมจนี้ขึ้นมาเพื่อเอาไปใช้ในการ Deploy ไปยังเครื่องอื่นๆ สำหรับในกรณี เช่น องค์กรหรือออฟฟิศของท่านผู้อ่านสั่งซื้อเครื่องมาใหม่จำนวนเยอะๆ  ท่านผู้อ่านจะต้องทำการสร้างอิมเมจขึ้นมาเพื่อทำการ Deploy ไปยังเครื่องต่างๆ ที่ซื้อมาครับ ซึ่งทางไมโครซอฟท์มีอิมเมจเป็นของตัวเอง เรียกว่า   “Windows  Imaging File” หรือ WIM ไฟล์ ซื่งเป็นอิมเมจไฟล์ของทางไมโครซอฟท์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการทำอิมเมจโดยใช้เครื่องมืออื่นๆ ครับ
 
เพราะถ้าเป็นการทำอิมเมจของเจ้าอื่นๆ ท่านผู้อ่านจะต้องมีหลายอิมเมจ ซึ่งขึ้นอยู่กับโมเดลของเครื่องในองค์กรของท่านผู้อ่านเองว่ามีกี่แบบ ยิ่งถ้ามีมากแบบก้อจะทำให้มีจำนวนอิมเมจมากตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการดูแลรักษา อีกทั้งอิมเมจแต่ละตัวก้อจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะการทำอิมเมจด้วยวิธีการนี้ จะต้องเตรียมเครื่องต้นแบบ (Master/Reference Computer) โดยการติดตั้งระบบปฎิบัติการ ตามด้วยไดรเวอร์,
แอพพิเคชั่นต่างๆ  และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งขึ้นอยู่กับความตัองการของแต่ละองค์กรครับ  นั่นหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมตัวกันอยู่ในไฟล์อิมเมจเดียว และจะต้องมีหลายๆ อิมเมจตามโมเดลหรือยี่ห้อเครื่องที่ซื้อมาดังที่ผมกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ นั่นคือ การเตรียมและการสร้าง
อิมเมจด้วยวิธีการ ณ ปัจจุบัน  แต่ถ้าท่านผู้อ่านใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ของทางไมโครซอฟท์เพื่อทำการเตรียมและสร้างอิมเมจ จะมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธภาพมากกว่าครับ  เอาง่ายๆ ให้ท่านผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างกันชัด ๆ คือ ท่านผู้อ่านสามารถเตรียมและสร้างเพียงแค่อิมเมจเดียว (WIM ไฟล์) เท่านั้น แต่สามารถทำการ Deploy ไปยังเครื่องต่างๆ  โดยที่ฮารด์แวร์ต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อหรือรุ่นไหนครับ อีกทั้งยังสามารถทำการเพิ่มเติม, ปรับปรุง และแก้ไขค่าต่างๆ เข้าไปในอิมเมจได้โดยไม่ต้องทำการ Re-Deploy อิมเมจ  ซึ่งผลให้การจัดการและการดูแลรักษาทำได้ง่ายมากขึ้นครับ
นอกจากนี้แล้วด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือของทางไมโครโซฟอท์ ยังสามารถและช่วยท่านผู้อ่านสามารถเตรียมและสร้างอิมเมจโดยไม่ต้องมีหรือไม่ต้องเตรียมเครื่องต้นแบบครับ !!!!!  หรือต้องการทำเหมือนเดิมที่เคยทำคือการสร้างอิมเมจจากเครื่องต้นแบบก้อสามารถทำได้ครับ  ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านได้ยินแล้วอาจจะงงว่าสามารถทำอิมเมจโดยไม่ต้องมีเครื่องต้นแบบ ใช่แล้วครับ ฟังไม่ผิดครับ ย้ำอีกครั้งว่าเราสามารถสร้างอิมเมจ (WIM ไฟล์) โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องต้นแบบ ที่ทำได้ก็เพราะว่าทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมอิมเมจไฟล์หรือ WIM ไฟล์เอาไว้ให้แล้วครับ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบกันครับ 

โดยทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้ในแผ่นดีวีดีของ Windows ไม่ว่าจะเป็นฝั่งเซิรฟ์เวอร์หรือไคลเอ๊นท์ครับ โดยจะอยู่ภายในโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า “Source” จากนั้นจะพบไฟล์ที่ชื่อว่า “install.wim” ครับ นั่นแหละครับคือ WIM ไฟล์หรืออิมเมจไฟล์ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมเอาไว้ให้ครับ นั่นหมายความว่าเราพร้อมจะทำการ Deploy แล้วล่ะครับ  รูปด้านล่างคือ การเปรียบเทียบระหว่างการทำอิมเมจในรูปแบบปัจจุบันหรือเรียกว่า Traditional  ส่วนแบบใหม่ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้จะเรียกว่า Modular ครับ
 
 
เอาล่ะครับเมื่อท่านผู้อ่านรู้จัก WIM  ไฟล์แล้ว ต่อไปมาดูในเรื่องต่อมาครับ
รู้จักกับ Windows 10 Deployment เทคโนโลยี
ผมจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีของ Windows 10 Deployment กันครับโดยมี 2 แบบครับ ดังรูป
 
ผมขอเริ่มจาก Lite Touch Installation หรือ LTI  ก่อนนะครับ โดยก่อนอื่นต้องเรียนท่านผู้อ่านทุกท่านก่อนนะครับว่า  เทคโนโลยีทั้ง  2 แบบนี้ทางไมโครซอฟท์ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมีนะครับ  ที่ผมต้องบอกไว้แบบนี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้อุ่นใจและมีความมั่นใจครับว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีมานานแล้วและมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ครับผม  กลับมาที่ LIT เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำ Windows 10 Deployment ครับ
โดยประกอบไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ดังที่เห็นในรูปข้างต้นครับ เช่น Windows Deployment Service (WDS), Windows ADK และ MDT 2013 Update 1 ครับ โดยเครื่องมือเหล่านี้ท่านผู้อ่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งและใช้งานได้ฟรีครับผม  โดย LTI สามารถทำการสร้างอิมเมจหรือ WIM ไฟล์ ได้โดยมีหรือไม่มีเครื่องต้นแบบก้อได้ครับ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรครับผม โดยสามารถทำการ Deploy Windows 2008, 2008 R2, 2012 , 2012 R2, Windows 7, 8 และ10 ครับ  สาเหตุที่ชื่อว่า LTI  นั้นเวลาที่ท่านผู้อ่านทำการ Deploy จะต้องมีการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมครับขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าต่างๆ เวลาทำการ Deploy ครับ 
ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ Zero Touch Installation หรือเรียกสั้นๆ ว่า ZTI นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ครับ ส่วนแรก คือ ส่วนที่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ของ LTI มาทำงานร่วนกับส่วนที่สอง คือ System Center 2012 R2 Configuration Manager หรือส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อว่า SCCM โดยเป็นส่วนที่มีความสำคัญและมีความสามารถมากมายครับ

โดยถ้าเป็นแบบ ZTI องค์กรจะต้องซื้อ System Center 2012 R2 Configuration Manager ครับ แต่ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับว่า ตัวของ System Center 2012 R2 Configuration Manager นั้นมีความสามารถหรือมีฟีเจอร์ต่างๆ มากมายให้ใช้งานครับ เช่น สามารถทำ  Hardware/Software Inventory, Application Management, Patch Management, Operating System Deployment (OSD หรือ ZTI), เป็นต้นครับ  เพราะฉะนั้นองค์กรที่เลือกแบบ ZTI  นั่นหมายความว่ามีความต้องการที่จะใช้ฟีเจอร์อื่นๆ ด้วยนอกจาก ZTI ครับ   การ Deploy ในแบบ ZTI จะมีความยืดหยุ่นและมีความสามารถมากกว่า LTI ครับ เพราะอาศัยความสามารถของ System Center 2012 R2 Configuration Manager เข้ามาช่วยจัดการในเรื่องของ Deployment

โปรดติตตาม Part 2 (Coming Soon) ครับผม.....