วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



มีอะไรใหม่ใน System Center 2012 Service Pack 1

     สำหรับท่านที่ใช้งานหรือรู้จัก System Center 2012 กันอยู่แล้ว จะทราบว่า System Center 2012 เป็นชุดของ Products ที่ทาง Microsoft ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการ Clouds ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Private, Public และ Hybrid Clouds โดยประกอบไปด้วย Products ทั้งหมด 8 ตัว คือ

1. System Center 2012 Configuration Manager

2. System Center 2012 Virtual Machine Manager

3. System Center 2012 Operations Manager

4. System Center 2012 Data Protection Manager

5. System Center 2012 Service Manager

6. System Center 2012 Orchestrator

7. System Center 2012 AppController

8. System Center 2012 Endpoint Protection Manager

โดย Products แต่ละตัวจะมีหน้าที่ในการบริหารและจัดการ Clouds  ที่แตกต่างๆ กันไป  โดยเริ่มตั้งแต่การสร้าง, การจัดการ, การ Monitoring, การดูแลรักษา และการทำ Automation งานต่างๆ  สำหรับ Private และ Public Clouds  สำหรับท่านที่อยากรู้ว่าแต่ละตัวทำหน้าที่และมี Features อะไรบ้าง  ผมแนะนำว่าลองไปอ่านบทความของผมก่อนหน้านี้ดูครับ  โดยผมได้ทำการรีวิว Features ต่าง ๆ ของ System Center 2012 ไว้ให้แล้ว

สำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวที่ผมถูกถามบ่อยมาก ๆ  ในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่มาเรียนกับผม หรือที่ผมไปเป็นที่ปรึกษาให้ครับ  คือ Features ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจใน System Center 2012 Service Pack 1 ครับ โดยผมทำการหยิบยกเอาเฉพาะ Features ที่น่าสนใจจากมุมมองของผมครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันเลยครับ 

 

1. System Center 2012 Configuration Manager

- สามารถทำการ Convert Standalone Primary Site ไปเป็น CAS

- SC 2012 Configuration Manager Client รองรับและติดตั้งได้กับ Windows 8 รวมถึงการ Deploy และ Upgrade

  เวอร์ชั่นเดิมมาเป็น Windows 8

- รองรับการทำ Windows Server 2012 และ Windows 8 Deployment

- SC 2012 Configuration Manager supported Windows To Go Feature (ของ Windows 8)

- SC 2012 Configuration supported Windows Server 2012 และ SQL Server 2012

- รองรับการจัดการ Mac OSX (10.6 และ 10.7), Linux และ Unix Servers   โดยสามารถทำการ Deploy

   Software, Hardware Inventory และจัดการในส่วนของ Compliance Settings

- มี New PowerShell Cmdlets

- สามารถมี Distribution Points อยู่บน Clouds ที่ใช้ Windows Azure Cloud ได้

- Email Alert Subscriptions supported ทุกฟีเจอร์ของ SC 2012 Configuration Manager

- รองรับการทำงานร่วมกับ App-V 4.6 SP2 และ 5.0

- สำหรับ SC 2012  Endpoint Protection รองรับ Cross-Platform supported Windows, Mac, Linux และ Unix

 

2. System Center 2012 Virtual Machine Manager

- VMM Self-Service Portal ไม่มีให้ใช้แล้วครับ แต่สามารถใช้ SC 2012 AppController มาทำหน้าที่แทนได้

- รองรับ File Shares ที่เป็น SMB 3.0

- รองรับ VHDX และสามารถทำการ Convert VHD ไปเป็น VHDX และสามารถใช้ VHDX ทำเป็น OS Base Image

- รองรับ Network Virtualization (เป็นฟีเจอร์ใหม่ใน Windows Server 2012)

- รองรับ Windows Standards-Based Storage Management Service, Thin Provisioning สำหรับ

   Logical Units และ Discovery ของ SAS

 

3. System Center 2012 Operations Manager

- New Management Pack สำหรับ Windows 2012 และ IIS 8

- ACS supported Dynamic Access Control (ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows Server 2012) 

- APM (Application Performance Monitoring) supported SharePoint 2010

- รองรับการทำงานร่วมกับ Team Foundation Server 2010 และ 2012

- รองรับการ Monitoring WCF, MVC  และ .NET NT Services

- รองรับ Azure SDK

 
4. System Center 2012 Data Protection Manager

- รองรับการ Protection SQL Server 2012

- เพิ่มประสิทธิภาพในการ Backup Hyper-V over CSV 2.0

- รองรับการ Protection Hyper-V ที่เป็นแบบ Remoter SMB 3.0 Share

- รองรับการ Protection Windows Server 2012 De-Duplicated Volumes

- รองรับการ Protection Resilient File System (ReFS) Volumes

 
5. System Center 2012 Service Manager

- รองรับการทำ Chargeback Model (ต้องทำงานร่วมกับ SC 2012 ตัวอื่นๆ ด้วย)

- รองรับ SQL Server 2012

- รองรับการติดตั้ง Service Manager Console สำหรับผู้ใช้งานเพื่อเข้าถึง Self-Service Portal บน

  Windows 8

 
6. System Center 2012 Orchestrator

- New Integration Packs (รวมถึง 3rd Party)

- สามารถจัดการ VMM Self-Service User Roles

 

7. System Center 2012 AppController

- สามารถทำการ Upload VHD จาก VMM Library ไปยัง Windows Azure Cloud

- สามารถทำการ Migrate VM จาก VMM ไปยัง Windows Azure Cloud



และนี่คือ New Features ของ System Center 2012 ที่ผมได้รวบรวมบางส่วนที่น่าสนใจมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบครับผม  สำหรับท่านที่อยากทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จาก Link นี้ครับ, http://technet.microsoft.com/en-us/systemcenter/bb980621.aspx
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทำความรู้จัก Hyper-V Replica (HVR) ตอนที่ 1 (Special)

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน  สำหรับบทความนี้ถือว่าเป็นการลัดคิว เพราะผมตั้งใจว่าจะทำการรีวิวฟีเจอร์ของ Hyper-V ใน Windows Server 2012 ก่อน แล้งจึงตามด้วยเรื่องของ Hyper-V Replica  แต่เนื่องด้วยมีหลาย ๆ ท่านส่งเมล์หรือสอบถุามกันมามาก  ผมจึงของหยิบเอา Hyper-V Replica มาเล่าให้ทุกท่านได้ทราบกันก่อนนะครับ 

Hyper-V Replica หรือ HVR เป็นฟีเจอร์ใหม่และน่าสนใจมากใน Windows Server 2012 ครับ  วัตถุประสงค์ที่ผมหยิบเอาฟีเจอร์นี้มาเล่่าในรายละเอียดให้ทุกท่านได้ทราบกัน ส่วนหนึ่งเพราะว่า ช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสติดตั้งและใช้งานฟีเจอร์นี้ที่ Site ของลูกค้า และมีหลายท่านได้สอบถามผมเกี่ยวกับเจ้า Hyper-V Replica ว่าคืออะไรและสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับองค์กรได้มากหรือน้อยแค่ไหน หรือสามารถนำมาใช้ประกอบกับแผนของ Business Continuity และ Disaster Recovery ได้หรือไม่อย่างไร  อีกทั้งยังมีหลาย ๆ ท่านที่ยังสับสนกับคำว่า High Availability (HA) กับ Disaster Recovery (DR) มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  และทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยครับผม


มาทำความรู้จักกับ Hyper-V Replica (HVR)
ผมขอเริ่มด้วยการอธิบายเรื่องของ High Availability (HA) กับ Disaster Recovery (DR)  เนื่องด้วยยังมีหลาย ๆ คนยังสับสน  บางคนคิดว่าสองเรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน  ทำให้เกิดปัญหาเวลาที่จะทำการวางแผนและออกแบบระบบ Virtualization (Hyper-V) รวมถึง Private Cloud เพราะในความเป็นจริงแล้ว HA และ DR เป็นโซลูชั่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการคนละส่วนกันครับ  เช่น  ในกรณีของ HA จะเป็นเรื่องของการที่เราวางแผนและออกแบบระบบให้สามารถให้บริการหรือ Availability  ให้กับผู้ใช้งาน  ดังนั้นเวลาที่เราออกแบบระบบ  Virtualization (Hyper-V) หรือ Private Cloud เราจะต้องดูและพิจารณาว่ามีจุดใดบ้างที่เป็น Single Point Of Failure บ้าง  ตัวอย่างเช่น  Physical Servers ที่นำมาติดตั้งเป็น Hyper-V นั้น  Hard Disk ที่อยู่ใน Physical Server หากมีเพียงแค่ลูกเดียว  หากเกิดความเสียหายขึ้นกับ Hard Disk ลูกดังกล่าวก็จะส่งผลให้ Hyper-V ไม่สามารถทำงานหรือให้บริการได้  ดังนั้นเราจึงต้องมองหาโซลูชั่นหรือเทคโนโลยีที่จะทำอย่างไรให้ Hard Disk ที่อยู่ใน Physical Server ที่ทำหน้าที่เป็น Hyper-V นั้นสามารถทำงานต่อได้ถึงแม้ Hard Disk เสียหาย  โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีที่ว่านี้คือ  การทำ RAID สำหรับ Hard Disk   เช่น  ผมทำการเพิ่ม Hard Disk เข้าไปอีก 1 ลูก จากเดิมที่มีลูกเดียว  โดยเมื่อผมทำ RAID ให้กับ Hard Disks แล้ว  หากเกิดเหตุการณ์ที่ Hard Disk ลูกใดลูกหนึ่งเสียหาย 

ระบบหรือ Hyper-V ก็ยังสามารถทำงานต่อได้  คอนเซปแบบนี้เรียกว่าการทำ Availability เพื่อตอบโจทย์หรือความต้องการที่ระบบยังคงสามารถทำงานต่อได้  ถึงแม้ว่ามี Hardware เสียหาย   หลังจากที่เราทำ Availability ในส่วนที่เป็น Hardware แล้ว  สิ่งต่อมาเราจะต้องมาดูและพิจารณาการทำ HA กับ Hyper-V ครับ  โดยใน Windows Server 2012,  Hyper-V มีฟีเจอร์ที่รองรับการทำ Hyper-V HA อยู่แล้ว นั่นคือ  การทำ Live Migration ซึ่งใน Windows Server 2012 มีหลายรูปแบบครับ  แต่ยังคงมีวัตถุประสงค์เหมือนเดิมคือ  เมื่อ Hyper-V เกิดเสียหายขึ้น  Virtual Machines ที่รันหรือทำงานอยู่ใน Hyper-V ตัวดังกล่าว ก็จะถูกย้ายไปรันหรือทำงานที่ Hyper-V อีกตัวหนึ่งโดยอัตโนมัติ  โดยไม่มี Downtime ครับ 


สำหรับ DR นั้นเป็นโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการของการทำ Recovery หากเกิดความเสียหายกับระบบทั้งหมด เช่น ระบบที่รันหรือทำงานที่ Site หลัก เกิดล่มหรือเสียหาย  งานต่างๆ  จะต้องถูกย้ายไปรันและทำงานที่ Site สำรอง  เช่นกันกับระบบ Virtualization (Hyper-V)  เราสามารถทำการ Replicate Virtual Machines จาก Site หลักมาที่ Site สำรอง  หาก Virtual Machines ที่รันและให้บริการอยู่ที่ Site หลักเกิดมีปัญหา  ท่านผู้อ่านสามารถสั่งรัน Virtual Machines ที่ได้ทำการ Replicated มาก่อนหน้านี้ให้ทำงานแทนได้ครับ  ฟีเจอร์ของ Hyper-V ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้คือ Hyper-V Replicas ครับ  โดยเราสามารถทำการติดตั้ง Hyper-V Replicas ได้เพียงแค่เรามี 2 Hyper-V Servers และไม่สำคัญว่า Servers ดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่ไหน  จะอยู่ที่เดียวกันหรือคนละที่ก็ได้ครับ  สิ่งสำคัญที่ Hyper-V Replicas ต้องการคือ  Hyper-V Servers เหล่านั้น จะต้องมีการเชื่อมต่อหรือสามารถติดต่อกันได้, มี Storage หรือพื้นที่เพียงพอสำหรับเก็บ Copy ของ Virtual Machines ที่ได้ทำการ Replicated มา และมี Network Bandwidth เพียงพอสำหรับการทำ Replication   สำหรับการทำ Replication ของ Hyper-V Replica นั้นมีความยืดหยุ่นมาก โดยสามารถที่จะทำการ Replicate Virtual Machines ที่อยู่ใน Cluster หนึ่งไปอีก Cluster หนึ่ง หรือไปที่ Stand-Alone Hyper-V ก็ได้


เพราะฉะนั้นในการทำงานจริงเราจะต้องทำการวางแผนทั้ง HA ก่อนจากนั้นค่อยต่อด้วย DR ครับ และที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่งนอกเหนือทั้งการทำ HA และ DR แล้ว  คือเราจะต้องมีการวางแผนการสำรองข้อมูล เพื่อตอบโจทย์และความต้องการสำหรับการปกป้องข้อมูลเสียหาย (Data Loss) ด้วย  มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็น HA, DR และการสำรองข้อมูลแต่ละโซลูชั่นจะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับความต้องการที่แตกต่างกัน แต่อยู่ที่ผู้ดูแลระบบหรือที่ปรึกษาทางด้านไอทีว่าจะวางแผนและออกแบบอย่างไรครับ

มาถึงตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านพอจะเห็นภาพและเข้าใจคอนเซปต่างๆ  ของ  HA, DR และอื่นๆ ตามที่ผมได้อธิบายไปแล้วในข้างต้น  สำหรับในตอนหน้าผมจะเริ่มเข้าสู่เรื่องราวของ Hyper-V Replica (HVR) โปรดติดตามกันนะครับผม ......