สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของเซอร์วิสตัวหนึ่งใน
Microsoft Azure ที่น่าสนใจนั่นคือ “Azure Site Recovery”
หรือเรียกสั้นๆ ว่า ASR ครับ
ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่กำลังวางแผนและเตรียมพร้อมสำหรับการทำ Business
Continuity และ Disaster Recovery (BCDR) ครับ ซึ่งทุกองค์กรจะต้องมี
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจะดูแลและรักษาให้แอพพิเคชั่นและเซอร์วิสต่างๆ
ที่ให้บริการในองค์กรสามารถให้บริการกับผู้ใช้งานได้ไม่ว่าจะเกิด Planned
Downtime หรือ Unplanned Downtime โดย BCDR จะมีกระบวนและขั้นตอนในการกู้คืน (Recover)
ให้ระบบต่างๆ
กลับมาทำงานได้ตามปรกติเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ ดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่จะมีความต้องการในการทำ
“Site Recovery” ซึ่งเป็นการวางแผนกลุยทธ์ของ BCDR ซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยี,
เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ,
และรวมถึงขั้นตอนของกระบวนการต่างๆ ครับ
นี่คือแนวคิดภาพรวมกว้างของการทำ Site Recovery ครับ
ที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น
ในส่วนต่อไปผมจะนำเสนอเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่กำลังวางแผนในการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำ
BCDR
ครับ ซึ่งเทคโนโลยีที่ผมหยิบยกเอามานำเสนอให้ทุกท่านในทำความรู้จักคือ การนำเอา
Cloud Services เข้ามาทำ BCDR ครับ ซึ่ง Cloud
ที่ผมกำลังพูดถึงนี้ก็คือ Microsoft Azure ครับ โดย Microsoft Azure
มีเซอร์วิสที่ให้บริการลูกค้าอยู่เยอะแยะมากมายครับ แต่มีเซอร์วิสหนึ่งที่ชื่อว่า “Azure
Site Recovery” หรือ ASR ครับที่จะมาช่วยองค์กรในการวางแผนและเตรียมพร้อมสำหรับการ BCDR ครับผม
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับ ASR กันเลยครับผม
Azure Site Recovery (ASR) คืออะไร?
Azure Site Recovery หรือ ASR เป็น Disaster Recovery as a Service
(DRaaS) ครับ โดย ASR สามารถทำ Site
Recovery สำหรับองค์กรที่มี Datacenter ที่มี Hyper-V, VMWare หรือ
Physical เซิรฟ์เวอร์ โดย
ASR
จะทำการ Replicate เซิรฟ์เวอร์ต่างๆ เหล่านี้ไปที่ Microsoft Azure ครับ
และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นที่ Datacenter ขององค์กร
เราก็จะสามารถทำการย้ายการให้บริการต่างๆ ไปทำงานบน Microsoft Azure แทนครับ
ASR มีความสามารถคร่าวๆ ดังนี้ครับ
- สามารถทำการ Replicate, Fail Over และ Recover
ระบบต่างๆ
จาก Datacenter ของลูกค้าไปทำงานที่ Azure
- สามารถทำงการ Replicate ระบบต่างๆ เช่น Hyper-V VMs, VMWare VMs, และ Windows/Linux
Physical เซิรฟเวอร์
- สามารถทำการ Replicate ระบบต่างๆ (Hyper-V VMs, VMWare VMs, และ Windows/Linux
Physical เซิรฟ์เวอร์) ที่ทำงานใน Datacenter ขององค์กรไปที่ Azure โดยไม่ต้องมี Secondary Site หรือ DR Site
ซึ่งจะทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษา Secondary Datacenter
- สามารถทำการทดสอบการ Fail Over โดยไม่มีผลกระทบกับระบบงานใน
Production Environment
- สามารถทำการกำหนด Recovery Plans โดยนำเอา
Scripts และ Azure Automation Runbooks
เพื่อทำให้มี
ความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การ Recover แอพพิเคชั่นที่เป็น
Multi-Tier
- สามารถทำงานร่วมกับ BCDR เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การทำงานร่วมกับ SQL
(Always On) เป็นต้น
และด้านล่างเป็นรูปภาพที่แสดงภาพรวมของ Azure Site Recovery ครับ
และเราสามารถใช้ ASR ทำการ Replicate ใน
Scenarios ต่างๆ ท่านผู้อ่านสามารถดูจากรูปด้านล่างได้เลยครับผม
นอกจากนี้แล้ว ASR ยังสามารถทำงานร่วมกับ AWS
เพื่อทำการย้าย VMs จาก AWS มาที่ Azure รายละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้จากลิ๊งก์นี้ครับผม
https://docs.microsoft.com/en-us/azure/site-recovery/site-recovery-migrate-aws-to-azure
ดังนั้นสิ่งที่จะต้องทำและเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำ ASR คือ การวางแผนและเตรียมพร้อมใน Datacenter
ขององค์กรนั้นๆ ก่อนครับว่า ระบบ ณ ปัจจุบันที่รันและทำงานอยู่ใน
Datacenter เป็นอะไร โดยดูจากรูปด้านบนครับ จากนั้นมาพิจารณาและวางแผนว่าจะทำการ
Replicate VMs หรือ Physical เซิรฟ์เวอร์ ใดบ้าง
เพื่อนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อนำไปคำนวนเรื่องของ
Capacity, Azure Subscription, และอื่นๆ ต่อไปด้วยครับ สำหรับรูปด้านล่างเป็นส่วนประกอบต่างๆ
ของ ASR ครับ
ซึ่งจะต้องใช้ส่วนประกอบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับ
Datacenter ของท่านผู้อ่านว่ารันระบบอะไรกัน (Hyper-V VMs, VMWare VMs, และ Windows/Linux
Physical เซิรฟ์เวอร์) ครับผม สำหรับการสร้างและใช้งาน
Azure Site Recovery (ASR) ในปัจจุบันนั้นจะต้องทำผ่านทาง Azure Portal
อันใหม่นะครับ ไม่สามารถทำผ่าน Azure Portal (Classic) ได้แล้วครับ
ดังรูป
อย่างที่ผมได้แจ้งไว้ตอนต้นว่า ASR
เป็นเซอร์วิสหนึ่งใน Microsoft Azure ครับ โดยสามารถเข้าไปที่ Azure Portal ใหม่
ดังรูปด้านล่างครับผม
รูปต่อมาเป็นหน้าตาของการกำหนดค่าต่างๆ ของ ASR ครับ
โดยจะมีขั้นตอนต่างๆ ให้ท่านผู้อ่านได้ทำการกำหนดอย่างง่ายดายเลยครับ
และยังมีส่วนของการ Monitoring และ Reports
ให้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปตรวจเช็คได้ด้วยครับผม ดังรูป
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ASR สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจ
สามารถไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากลิ๊งค์นี้ครับ
และรวมถึงท่านผู้อ่านที่ต้องการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของ
ASR, ผมมี Learning Path ของ
ASR
มาฝากด้วยครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปที่ลิ๊งค์นี้ครับ
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับภาพรวมของ Azure Site Recovery ครับ ที่ผมนำมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักกับ ASR ครับ ยังมีรายละเอียดอีกเยอะครับสำหรับ ASR ซึ่งผมจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับผม.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น