วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เตรียมความพร้อมสำหรับ Windows 8 Deployment ในองค์กร (ตอนที่ 2)

    
สำหรับเครื่องมือตัวต่อมาที่ผมจะแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จัก คือ Application Compatibility Toolkit (ACT) ครับ  จะเป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการประเมืนว่า Applications ต่างๆ  ที่มีอยู่ในองค์กรของทุกท่านนั้น รองรับหรือสามารถทำงานกับ Windows เวอร์ชั่นใหม่ๆ  หรือ Windows 8 ได้หรือไม่  ซึ่งขั้นตอนของการทำการประเมิน Applications นี้จะเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่ง เพราะองค์กรจะต้องทำงานหรือใช้งาน Applications ต่างๆ  เหล่านี้เป็นประจำ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราได้ทำการย้ายหรือเปลี่ยนไปใช้งาน Windows เวอร์ชั่นใหม่แต่ Applications ต่างๆ  ที่องค์กรจำเป็นต้องใช้งานกลับใช้งานไม่ได้ !!!!!
ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินเรื่องของ Application Compatibility  ด้วยโดยใช้ ACT เข้ามาจัดการเรื่องราวเหล่านี้ให้ครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถทำการดาวน์โหลด  ACT ใข้งานกันได้ฟรีเช่นกันครับ  โดยท่านผู้อ่านสามารถทำการ Download ได้จาก Link นี้ครับ, http://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=7352
โดย ACT จะมีหลักการทำงานคร่าวๆ  ดังรูป ด้านล่างครับ
โดย ACT จะทำการรวบรวมข้อมูล Applications ต่างๆ  จากเครื่อง Desktop ของผู้ใช้งานจากนั้นจะนำเอาข้อมูลที่ได้นั้นไปทำการวิเคราะห์ และจากนั้นจะนำไปทดสอบเพื่อทำรายงานว่า Applications1 เหล่านั้นๆ  รองรับและทำงานกับ Windows 8
ได้หรือไม่ พร้อมกับแนวทางการแก้ไขครับ  รูปต่อมาเป็นผลลัพธ์ที่ได้หลังจากที่ ACT ได้ทำการวิเคราะห์แล้ว
ผมขออธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อยสำหรับเรื่องราวของ ACT ครับ  ในแง่ของการติดตั้งนั้นเราจะต้องมีเครื่องต่างหากสำหรับติดตั้งเป็น ACT Server และจะต้องทำการติดตั้ง ACT Agent ไปที่เครื่องของผู้ใช้งานที่เราต้องการ เพื่อให้ Agent ทำการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Applications ต่างๆ  แล้วส่งไปยัง ACT Server เพื่อทำการรวบรวมและทำการวิเคราะห์ต่อไปครับ  สำหรับผลลัพธ์ที่ได้จากการ ACT นั้นหาก Application ตัวใดที่รองรับหรือสามารทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้  ท่านผู้อ่านก็จะมีข้อมูลและมีความมั่นใจว่า Application ดังกล่าวสามารถทำงานได้  แต่สำหรับในกรณีที่ Application บางตัวไม่สามารถทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้ เราก็จะต้องหาทางแก้ไข เช่น อาจจะต้องนำเอา Solution อื่นๆ  เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น Desktop Virtualization, Application Virtualization เป็นต้น ซึ่งเป็น Solution ที่ทาง Microsoft ได้เตรียมพร้อมเอาไว้สำหรับลูกค้าของทาง Microsoft ที่ต้องการแก้ไขปัญหา Application Compatibility ครับ


Designing Phase
จะเป็น Phase ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบ Images เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำ Desktop Deployment   สำหรับ Images ที่ท่านผู้อ่านจะต้องทำการออกแบบนั้นจะเป็น Image ของทาง Microsoft ครับ  เรียกว่า “Windows Imaging ” ซึ่งมีนามสกุล .WIM    โดยส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าเมื่อเราพูดถึงการทำ Image เครื่องมือที่ทุกท่านคุ้นเคยและนิยมใช้กันมากคือ Ghost ซึ่งมีนามสกุลเป็น .GHO 

ซึ่งการใช้งาน Ghost ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น Image ที่ได้จากการทำ Ghost จะได้เฉพาะกับเครื่องโมเดลนั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นหลายๆ  องค์กรจำเป็นจะต้องมีหลายๆ   Images ก็เนื่องจากสาเหตุนี้ล่ะครับ  อีกทั้งเมื่อต้องการเพิ่มเติม Patches หรือ Drivers ต่างๆ  เข้าไปใน Image เดิม ก็จะต้องทำการ Re-Deploy Image กลับมาก่อนจากนั้นจึงทำการเพิ่มเติม Patches หรือ Drivers ต่างๆ เข้าไป เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงค่อยทำการ Capture Image กลับ  ซึ่งทำให้เสียเวลาในการดูแลและจัดการ Images ฯลฯ  และท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ครับว่า  ถ้าผมบอกว่าผมมีเครื่องมือต่างๆ  ที่ช่วยทำให้การสร้าง, ดูแลและจัดการ Images ให้กับทุกท่านได้สะดวก มีความยืดหยุ่นและง่ายดายมากขึ้น โดยเฉพาะสามารถจัดการปัญหาต่างๆ  ที่ผมได้ยกตัวอย่างเอาไว้ตอนต้น  

และเครื่องมือที่ว่านี้ทาง Microsoft ได้เตรียมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ   และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ไม่ค่อยมีใครรู้จักเครื่องมือเหล่านี้ครับ  และนี่ก็เป็นอีกวัตถุประสงค์หนึ่งครับ  ที่ผมได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการให้ทุกท่านได้ทราบว่ามีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยท่านในการประเมิน, วางแผน และทำ Desktop Deployment  ที่ทาง Microsoft ได้เตรียมเอาไว้และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องครับ 

โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม.....









 
 
 

 

 

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น