โดยผมขอเริ่มที่ทูลหรือเครื่องที่ใช้ในการบริหารและจัดการเซิรฟเวอร์ที่ชื่อว่า
Server Manager และ PowerShell ซึ่งท่านผู้อ่านรู้จักและคุ้นเคยการใช้งานกันเป็นอย่างดีจากใน
Windows Server 2008 และ R2 แต่ใน Windows Server
2012
ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง Server Manager และ PowerShell
ไปพอสมควรครับ ผมขอเริ่มที่ Server
Manger เป็นลำดับแรกก่อนครับ
1. Server Manager
โดยเราสามารถใช้ Server Manager ในการจัดการ Local และ Remote
เซิรฟเวอร์ รวมถึง Virtual Machines ด้วยได้ รวมถึงการติดตั้ง Roles และ Features ครับ
Server Manager ใน Windows Server 2012
ประกอบไปด้วยหลายส่วนๆ ไม่ว่าจะเป็น
EVENTS, SERVICES, BPA และอื่น ๆ ซึ่งผมจะค่อยๆ
ไล่เรียงไปทีละส่วน รวมถึงการใช้ PowerShell 3.0 ด้วยครับ
รูปด้านล่าง คือ หน้าตาใหม่ของ Server Manager
โดยผมจะสาธิตการใช้งาน Server Manager โดยใช้เริ่มด้วยการใช้ฟีเจอร์เรียกว่า “Server Group” โดย
Server Group จะเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยในการจัดการเซิรฟเวอร์หลาย ๆ ตัวครับ โดยเราสามารถทำการสร้างกลุ่มของเซิรฟเวอร์เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและจัดการโดยเฉพาะถ้าเรามีเซิรฟเวอร์มาก
ๆ เมื่อเราสร้าง Server Group เสร็จเรียบร้อย
ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปตรวจสอบดูข้อมูลต่างๆ เช่น Events, Services
และอื่นๆ ของเครื่องเซิรฟเวอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ใน Server Group ได้ ผมจะสาธิตการสร้าง Server Group ดังรูปครับ
จากนั้นผมทำตั้งชื่อ Server Group ที่ชื่อว่า
Infrastructure-Servers และทำการ Add เซิรฟเวอร์ที่ต้องการเข้าไปยัง Server
Group ดังรูป
จากนั้นให้กด OK
นอกจากนี้แล้วท่านผู้อ่านยังสามารถทำการ Add Roles and
Features (ผมจะอธิบายในรายละเอียดภายหลังครับ)
ให้กับเซิรฟเวอร์ที่อยู่ใน Server Group ดังรูปด้านล่างครับผม
หลังจากที่ผมอธิบายคอนเซปของ Server Group และการใช้งาน
Server Manager กันไปแบบคร่าวๆ แล้ว
คราวนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปสำรวจในแต่ละส่วนที่อยู่ใน Server
Manager ซึ่งจะให้ข้อมูลต่างๆ
ของเซิรฟเวอร์
เพื่อช่วยทำให้เราสามารถทำการบริหารและจัดการเซริฟเวอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
มาเริ่มกันกันเลยครับผม
EVENTS และ SERVICES
EVENTS
จะเป็นส่วนที่เราใช้เพื่อการตรวจสอบดูว่ามีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นในเซิรฟเวอร์แต่ละตัวบ้าง
รวมถึงมี Errors เกิดขึ้นที่ใดบ้าง
เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์หาทางแก้ไขต่อไป สำหรับ SERVICES
จะเป็นส่วนที่เราใช้ดูข้อมูลและสถานะ Services ต่างๆ
ที่ทำงานอยู่ในเซิรฟเวอร์แต่ละตัวว่าเป็นอย่างไรบ้างเป็นต้น นอกจากนี้ท่านผู้อ่านสามารถทำการ Filter ดูข้อมูลได้
เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ครับผม
PERFORMANCE
ส่วนต่อมาที่ผมจะพาท่านผู้อ่านไปดูกันคือ ส่วนที่เรียกว่า PERFORMANCE โดยผมจะสาธิตการ Track Performance
โดยผมจะทำการ Scroll-Down ไปที่ PERFORMANCE
จากนั้น
ผมจะทำการเลือก Server1 และ Server2 และคลิ๊กที่ Start Performance Counter ดังรูป
จากนั้นก็จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ Performance
Counters ดังรูป ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น