ในบทความนี้ยังอยู่ในเรื่องราวของ Server Manager ใน Windows
Server 2012 ครับ และจากนั้นจะต่อกันด้วยเรื่องราวของ PowerShell 3.0 ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
ผมขอเข้าสู่เนื้อหาเลยครับผม
Features
จากนั้นในส่วนต่อมาคือ Features ให้ท่านผู้อ่านทำการเลือก Features
ที่ต้องการได้เลยครับ ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊ก Next ครับ
ให้คลิ๊ก Next เพื่อไปยังส่วนต่อไปครับ
ในส่วนของ Confirmation ให้คลิ๊ก
Install ดังรูป ครับผม
จากนั้นให้รอสักครู่ เพื่อรอการติดตั้ง Roles และ Features ดังรูป
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าจอที่แสดงผลการติดตั้ง
Roles และ Features เสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังรูป ด้านล่างครับผม
2. PowerShell 3.0
เป็นเครื่องมือตัวต่อมาที่ผมต้องบอกว่ามีความสำคัญและมีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ
โดย PowerShell จะเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยจัดการเซิรฟเวอร์และส่วนต่างๆ
ให้มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นมากขึ้นจากการที่เราใช้ GUI ทูลต่างๆ
โดยผมจะหยิบเอาบางส่วนมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกัน สำหรับ
PowerShell ใน Windows Server
2012 นั้น ได้มีการเพิ่มคำสั่งเข้าไปมากกว่า 2,300 cmdlets ดังรูปด้านล่าง ครับผม
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถไปดูได้จาก FB ของ
ซึ่งผมได้มีการโพสLink สำหรับดาวน์โหลด PowerShell Whitepapers ครับ ส่วนต่อมาผมจะสาธิตการใช้ PowerShell ในการจัดการ
Server จาก GUI Convert
ไปเป็น Server Core ซึ่งใน Windows Server 2008 และ R2 จะต้องทำการ
Re-Install เท่านั้น แต่สำหรับใน Windows Server 2012 ท่านผู้อ่านสามารถจะทำการ Remove GUI และมาใช้เป็นแบบ Command-Line หรือ Server
Core ได้อย่างรวดเร็วครับ
โดยให้ไปที่ Server Manager
ดังรูป
ให้ท่านผู้อ่านไปที่ Manage และตามด้วย Remove Roles and
Features จากนั้นให้ทำการ Remove Feature ที่ชื่อว่า User
Interfaces and Infrastructure ดังรูป
จากนั้นก็ทำการ Restart เพียงเท่านี้กันเป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการ
Remove GUI หลังจาก Restart
เสร็จเรียบร้อยแล้วเซิรฟเวอร์ดังกล่าว ก็จะกลายเป็น Server Core ครับผม
เป็นอย่างไรครับ
ช่างง่ายดายมากจริงๆ
หรือถ้าจะใช้ PowerShell เพื่อทำการ Remove GUI ออกไป
ก็สามารถทำได้เช่นกัน จากตัวอย่างต่อไปนี้ ผมจะทำการ Remove GUI
ออกจากเซิรฟเวอร์ ที่ชื่อว่า Server 1 โดยไปที่ PowerShell จากนั้นให้ท่านผู้อ่านพิมพ์คำสั่ง
ดังรูปด้านล่างครับ
แล้วตามด้วยคำสั่งนี้ ดังรูป
จากนั้นให้รอสักครู่ครับ
จากนั้นท่านผู้อ่านจะให้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่างครับ
กลับไปดูที่ Server Manager จะเห็นว่า Server 1 จะมี Status ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊กขวา และเลือก Restart Server ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊ก OK เพื่อยีนยันการ Restart ดังรูป
ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรโปรดติตตามต่อในตอนหน้าครับผม.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น