สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะครับ สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเกี่ยวข้องกับ Microsoft Sentinel ซึ่งเป็น Service หนึ่งใน Microsoft Azure ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันหลายๆ องค์กรหรือหลายๆ ท่านให้ความสนใจครับ เพราะตัวของ Microsoft Sentinel ถือว่าเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่สำคัญส่วนหนึ่งของ Azure Security Solution ครับ
โดย Microsoft Sentinel เป็น Service ที่ให้บริการ SIEM (Security Information Event Management) และ SOAR (Securiy Orchestration Automated Response) และยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI, Machine Learning เป็นต้น และ Microsoft Sentinel ยังถูกออกแบบมาสำหรับ SOC (Security Operations Center) Team หรือ Security Team เพื่อใช้ในการดำเนินการและจัดการเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security Operations) ซึ่งครอบคลุมทั้ง Hybrid และ Multi-Cloud Environments
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะใช้งาน Microsoft Sentinel นั่นคือ ทำความเข้าใจกับคอนเซปการทำงานตลอดจนส่วนประกอบต่างๆ ของ Microsoft Sentinel พร้อมกับ Requirements หรือความต้องการที่เราหรือองค์กรต้องการใช้งาน Microsoft Sentinel และอื่นๆ เสียก่อนครับ จากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่อธิบายไว้เมื่อซักครู่ มาทำการวางแผนและออกแบบ Architecture ของ Microsoft Sentinel ครับ เพราะการที่องค์กรจะนำมาเอา Microsoft Sentinel เข้ามาใช้งาน จะเกี่ยวข้องกับ Environments ณ ปัจจุบันที่องค์กรใช้งาน โดยเฉพาะในส่วนของ Microsoft Azure เช่น Azure Active Directory Tenant, Azure Subscription, Resource Group, และอื่นๆ ครับ
สำหรับบทความนี้ผมจะเจาะลึกในรายละเอียดของ Phases การทำงานต่างๆ ของ Microsoft Sentinel ครับ เผื่อท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจ Microsoft Sentinel จะได้ทราบและเข้าใจว่าตัวของ Microsoft Sentinel มีคอนเซปการทำงานอย่างไรในแต่ละ Phases เพราะท่านผู้อ่านจะต้องใช้ความเข้าใจดังกล่าวนี้มาคิดพิจารณาร่วมกับข้อมูลต่างๆ ข้างต้น เพื่อทำการวางแผนและออกแบบ และดำเนินการใช้งาน Microsoft Sentintel ครับ ส่วนรูปด้านล่างเป็นรูปที่แสดงถึง Phases ต่างๆ ของ Microsoft Sentinel ครับ
Phase 1: Collect
Phase 2: Detect
Phase 3: Investigate
Phase 4: Respond
Phase 1: Collect
Phase นี้จะเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collect) จาก Sources ต่างๆ เช่น Users, Devices, Application, Infrastructure ทั้งในส่วนของ On-Premise และ Cloud (รองรับ Multi-Cloud), และอื่นๆ ใน Environments ขององค์กร โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่อธิบายไว้เมื่อซักครู่นั้น โดย Microsoft Sentinel ได้เตรียมหลากหลายวิธีการในการเชื่อมต่อ Sources ต่างๆ เพื่อทำการรวบรวมข้อมูล หนึ่งในหลากหลายวิธีสำหรับการรวบรวมหรือ Collect ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ฟีเจอร์ที่ชื่อว่า "Data Connectors" ซึ่ง Microsoft Sentinel ได้เตรียม Built-In Data Connectors ไว้มากมายครับ เช่น Connectors สำหรับเชื่อมต่อกับ Microsoft Services ต่างๆ เช่น Microsoft Azure, Microsoft 365, Microsoft Defender, เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี Data Connectors ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ 3rd Party อีกเยอะเลยครับ สำหรับวิธีการอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการรวบรวมข้อมูลนอกเหนือจาก Data Conntectors ก็จะมี Common Event Format (CEF), Syslog, REST API, เป็นต้นครับ รูปด้านล่างเป็นรูปที่แสดงถึง Data Connectors ใน Microsoft Sentinel ครับ
Phase 4: Respond
Microsoft Sentinel สามารถโต้ตอบ (Respond) กับเหตุการณ์ (Incidents) ที่เกิดขึ้นได้ทั้งแบบ Manual และแบบ Automatic เพื่อช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับ SOC Teams ในการจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมีการวางแผนและออกแบบไว้ก่อนเช่นกันครับ สำหรับการที่เราจะทำการ Respond กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง เราเรียกรวมๆ ว่า การทำ Security Orchestration ครับ เช่น ถ้ามีเหตุการณ์เกี่ยวกับการ Attacking หรือจู่โจม เช่น RDP Attacks เข้ามายัง Virutal Machines (Virtual Machines ดังกล่าวสามารถสร้างและทำงานอยู่ที่ใดก็ได้นะครับ) ขององค์กร ตัวของ Microsoft Sentinel จะค้นหาเจอเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่ได้อธิบายไปใน Phases ต่างๆ ก่อนหน้านี้ครับ แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ทาง SOC Teams ได้ทำการวางแผนและออกแบบรูปแบบการ Respond หรือโต้ตอบกับเหตุการณ์นี้อย่างไรครับ เช่น ทำการแจ้งเตือนทุกคนที่เกี่ยวข้อง, จากนั้นทำการปิด Ports ที่เกี่ยวข้องกับจู่โจมจากเหตุการณ์ดังกล่าว, และอื่นๆ นี่คือตัวอย่างคร่าวๆ ของวางแผนออกแบบเพื่อสร้างและกำหนดการโต้ตอบครับ และอย่างที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้นว่า Microsoft Sentinel รองรับการ Respond ทั้งแบบ Manual และ Automatic ครับ
รูปแบบที่ผมแนะนำและอยากให้พิจารณาเพื่อทำการวางแผนและดำเนินการคือ การโต้ตอบและจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ แบบ Automatic ครับ เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระตลอดจนสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับ SOC Teams ครับ สำหรับฟีเจอร์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องจะมีชื่อว่า "Playbook" ครับ โดยฟีเจอร์ดังกล่าวนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันกับ Microsoft Sentinel กับอีกหนึ่ง Service ของ Microsoft Azure ที่ชื่อว่า Azure Logic Apps ครับ นอกจากนี้แล้ว Microsoft Sentinel ได้เตรียม Built-In Templates (Security Orchestration) เอาไว้ให้ด้วยครับ เพื่อให้ SOC Teams สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปครับ รูปด้านล่างแสดงถึงฟีเจอร์ Playbook และตัวอย่างการกำหนดขั้นตอนต่างๆ สำหรับการ Respond ใน Playbook ครับ
และทั้งหมดนี้คือ Phases การทำงานต่างๆ ของ Microsoft Sentinel รวมถึงฟีเจอร์และ Services ต่าง ๆ ของ Microsoft Azure ที่เกี่ยวข้องครับ และอย่างที่ผมได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทความนะครับ การทำความเข้าใจคอนเซปตลอดจนการวางแผนและออกแบบ เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจและเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะลงมือดำเนินการใช้งาน Microsoft Sentinel ครับผม.....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น