วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รู้จักกับ Microsoft Azure (IaaS) Part 3

สวัสดีครับครับเรามาต่อกันใน Part 3 เลยนะครับ  เรื่องต่อมาจะเป็นเรื่องของการจัดการเบื้องต้นของ Microsoft Azure ครับ  เมื่อท่านผู้อ่านได้ทำการ Signed up เรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านก้อจะเป็นผู้ดูแลและจัดการ Microsoft Azure Subscription นั้นได้ทั้งหมด เช่น การสร้าง Virtual Machine, Web Site, และอื่นๆ อีกมากมายครับ  นอกจากนี้แล้วท่านผู้อ่านยังสามารถให้สิทธิในการดูแลและจัดการ Microsoft Azure ให้กับคนอื่นๆ ได้ด้วยครับ  คนอื่นๆ ที่ผมพูดถึงนี้หมายถึง Microsoft Accounts อื่นๆ นะครับ เพราะการที่เราจะเข้ามาจัดการทุกอย่างใน Microsoft Azure ได้นั้น ท่านผู้อ่านจะต้องมี 2 สิ่ง คือ


1. Microsoft Accounts
2. Microsoft Azure Subscription
 
โดยท่านผู้อ่านสามารถกำหนดหรือมอบหมายสิทธิให้ Microsoft Accounts อื่นๆ ที่ต้องการเข้ามามีสิทธิในการบริหารและจัดการ Microsoft Azure ได้ โดยสามารถทำได้ 2 ทาง ดังนี้
1. Azure Management Portal (Azure Classic Portal)
2. Azure Portal (New Azure Portal)
 
เพราะฉะนั้นถ้าท่านผู้อ่านต้องการให้ใครก้อตามสามารถเข้าถึงหรือใช้งานได้ทั้ง 2 Portals ท่านผู้อ่านจะต้องให้สิทธิคนๆนั้นทั้งสอง Portals ครับ  ผมขออนุญาตเพิ่มเติมนิดหน่อยสำหรับ Azure Portal เป็น New Portal ใหม่ที่มาพร้อมกับความสามารถและฟีเจอร์หลายๆ อย่างครับ เช่น ในการที่ท่านผู้อ่านจะทำการมอบหมายให้ใครมาช่วยเราในการบริหารและจัดการ Microsoft Azure  ตัวของ Azure Portal ใช้ “Role-Based Access Control” หรือเรียกสั้นๆ ว่า RBAC  ข้อดีของการนำเอา RBAC เข้ามาใช้งานคือ ทำให้ท่านผู้อ่านสามารถกำหนดสิทธิต่างๆ ในการดูแลและจัดการ Microsoft Azure ได้ละเอียดและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นครับผม รายละเอียดเพิ่มเติมท่านผู้อ่านสามารถดูจาก Link นี้ได้ครับ,
https://azure.microsoft.com/en-us/documentation/articles/role-based-access-control-configure/  เป็นต้นครับ เอาไว้ผมจะอธิบายเรื่องราวของ Azure Portal ในรายละเอียดต่อไปครับผม เมื่อท่านผู้อ่านต้องการมอบหมายสิทธิในการจัดการ Microsoft Azure ให้กับ Microsoft Accounts อื่น สามารถทำได้จาก
2 Portals ที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ครับ โดยถ้าต้องการให้ใครสามารถเข้ามาจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure โดยใช้ Azure Preview Portal, ท่านผู้อ่านสามารถทำได้โดยการเลือก Role ที่ต้องการจากนั้นให้ทำการ Add Microsoft Account ที่ต้องการ ดังรูป
 
 

 
 
ถ้าต้องการให้ใครสามารถเข้ามาจัดการ Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure ได้โดยใช้ Azure Management Portal (Azure Classic Portal), ท่านผู้อ่านสามารถทำได้โดยการ Add คนๆ นั้นหรือ Microsoft Account ที่ต้องการให้เป็น Co-Administrator ของ Azure Subscription นั้น โดย Microsoft Account นี้จะมีสิทธิเท่าเทียมกับ Owner ของ Azure Subscription นั้น แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข Service Administrator หรือทำการ Add/Remove Co-Administrator
คนอื่นๆ ได้ครับ โดยสามารถทได้ตามรูปด้านล่างครับผม  ให้ท่านผู้อ่านไปที่ Settings
 

จากนั้นให้เลือก ADMINISTRATORS จาก Azure Management Portal (Azure Classic Portal) ครับ แล้วกดปุ่ม ADD ดังรูป


จากนั้นให้ท่านผู้อ่านใส่ EMAIL ADDRESS  ของ Microsoft Accounts ที่ต้องการและเลือก Azure Subscription ไหน ในกรณีที่มีมากกว่า 1 Subscription ครับ
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการใช้งาน Microsoft Azure ครับ ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสได้สอนหรือเข้าไปให้คำปรึกษาลูกค้า  เรื่องหนึ่งที่ต้องถูกถามหรือต้องมาคุยกันก้อคือ เรื่องของ Pricing ใน Microsoft Azure ครับ เช่น มีบางท่านสงสัยว่า  ถ้าไปสร้าง Virtual Machine และรัน Windows Server 2012 R2
จะต้องจ่ายตังค์เท่าไร หรือถ้าต้องการสร้าง Web Site บน Microsoft Azure เสียตังค์เท่าไร  เป็นต้นครับ  สิ่งที่จะช่วยท่านผู้อ่านในการตอบคำถามข้างต้นคือ Pricing Calculator ครับ เพราะเจ้าเครื่องมือจะช่วยท่านผู้อ่านในการประเมินค่าใช้จ่าย  ถ้ามีการใช้งาน Resources ต่างๆ ใน Microsoft Azure  โดยท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปทำการประเมินโดยใช้ Pricing Calculator จาก Link นี้ครับ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/




จากนั้นให้ท่านผู้อ่านทำการกดปุ่ม Pricing calculator ครับ ก็จะเข้าสู่การคำนวณราคาหรือค่าใช้จ่ายโดยสามารถเลือก Services ต่างๆ ได้ตามต้องการจากก็สามารถทำการประเมินค่าใช้จ่ายได้ครับ  ดังรูปด้านล่างครับผม

 
 


ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณราคาของ Azure Pricing  โดยสมมติว่าผมต้องการสร้าง Virtual Machine แล้วทำการติตตั้ง Windows Server 2012 R2 Datacenter Edition ซัก 1 Virtual Machine จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร จากความต้องการนี้สามารถคำนวณได้โดยการคลิ๊ก Virtual Machine จากรูปด้านบนครับ แล้วคลิ๊กปุ่ม Add to calculator ดังรูปด้านล่างครับ
 


จากนั้นจะเข้าสู่การคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับส่วนที่เป็น Virtual Machine โดยจะมีรายละเอียดให้ท่านผู้อ่านเลือก จากนั้น Azure ก็จะคำนวณและแสดงราคาออกมาให้ครับ ดังรูปครับผม

 
 

จากรูปด้านบนผมต้องการสร้าง 1 Virtual Machine โดยให้ Virtual Machine ตัวนี้ถูกสร้างและรันที่ Azure Datacenter ที่ Southeast Asia และกำหนดสเปคของ Virtual Machine ตัวดังกล่าวนี้เป็น A4 โดยมีรายละเอียดของสเปคดังที่เห็นตามรูปครับ และติดตั้งระบบปฏิบัติการเป็น Windows จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ถ้า Virtual Machine นี้รันและทำงานตลอดทั้งเดือน  ผลลัพธ์จากคำนวนราคาอยู่ที่ $535.65 ดอลลาร์ครับ จากนั้นท่านผู้อ่านสามารถใช้ข้อมูลนี้นำไปวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายได้ เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องซื้อ Azure Subscription เท่าไร เพื่อให้รองรับกับความต้องการครับ  และอย่างที่ผมได้อธิบายเอาไว้ในตอนต้นครับว่าเราสามารถเลือก Services และรายละเอียดต่างๆ ของ Azure เพื่อให้ Azure ช่วยทำการคิดและคำนวณราคาคร่าวๆ ตามที่เราต้องการได้ อย่างเช่น ตัวอย่างที่ผมได้ทำการทดลองคำนวณให่ท่านผู้อ่านได้ดูกันไปแล้วครับ
 
Microsoft Azure Scenarios
สำหรับหัวข้อนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องนึงที่สำคัญมากครับ  เพราะเป็นคำถามที่ผมถูกถามจากลูกค้าบ่อยมากคือ เราสามารถนำเอา Azure  ไปใช้งานในเรื่องหรือด้านใดได้บ้าง ผมขอสรุปแนวทางและ Scenarios ที่สามารถนำเอา Azure เข้าไปใช้งานในองค์กรได้นนั้นว่ามีอะไรบ้าง โดยให้ท่านผู้อ่านดูจากรูปด้านล่างครับผม
 
 
จากรูปด้านบนท่านผู้อ่านสามารถใช้ Microsoft Azure ทำเป็น Development/Test Environment เพื่อให้นักพัฒนาหรือ Developer สามารถพัฒนาและทดสอบแอพพิเคชั่นบน Azure ได้เลยครับ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียม Environment และยังเป็นการช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็น Hardware, Software และอื่นๆ อีกด้วยครับ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวมากกว่าเดิมอีกครับ
 
 
จากรูปด้านบนเป็นอีก Scenario หนึ่งที่ในปัจจุบันมีองค์กรใช้งานกันเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ นั่นคือการสำรองข้อมูลขององค์กรขึ้นไปเก็บไว้ที่ Azure ซึ่งทำให้องค์การประหยัดค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องจัดซื้อ Storage สำหรับเก็บข้อมูลอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำรุงรักษาหรือ Maintenance ครับ อีกทั้งการใช้งานก็ง่ายและสะดวกอีกด้วยครับผม
 
อีกซัก Scenario นึงครับและต้องบอกว่าเป็น Scenario ที่ฮอตฮิตและยอดนิยมมากที่สุดครับ นั่นคือการทำงานร่วมกันหรือ Integration กันระหว่าง Windows Server Active Directory กับ Azure AD ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถใช้ Identity เดียวเพื่อเข้าถึงหรือใช้งานข้อมูล, แอพพิเคชั่น, ตลอดจนเซอร์วิสต่างๆ ที่อยู่ใน Datacenter ขององค์กรและที่อยู่บน Azure และ Cloud Services อื่นๆ ครับ เช่น Office 365, SalesForce, และอื่นๆ อีกมากมายครับผม  และต้องบอกท่านผู้อ่านทุกท่านว่า Scenarios ที่ผมหยิบยกเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันในข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้นนะครับที่ Microsoft Azure ทำได้ครับผม
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Microsoft Azure เบื้องต้นที่ผมอยากจะแนะนำให้กับท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันก่อนที่จะเข้าไปดูกันในรายละเอียดต่างๆ ของเซอร์วิสและฟีเจอร์ต่างๆ ของ Microsoft Azure กันต่อไปครับ.....
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น