วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Windows 10 Deployment Part 1
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นเรื่องราวของ
Windows 10
ครับโดยในบทความนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องราวของการเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรที่กำลังวางแผนและเตรียมการที่จะนำเอา Windows 10 เข้ามาใช้งานในองค์กร แน่นอนครับต้องเริ่มจากการวางแผนสำหรับการทำ Windows 10 Deployment
โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมาผมได้รับโอกาสให้ไปเป็นวิทยากรในงานของทางไมโครซอฟท์ครับ
โดยนำเสนอเรี่องราวเกี่ยวกับ Windows 10 Deployment นั้น องค์กรจะต้องเตรียมตัวหรือเตรียมพร้อมอย่างไร
รวมถึงผมได้พูดและอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ
ที่ทางไมโครซอฟท์ได้ตระเตรียมไว้ให้สำหรับช่วยองค์กรที่จะทำการ
Deploy Windows 10
นอกจากนี้แล้วผมยังได้สาธิตการทำ Deploy แบบ In-Place Upgrade จากเครื่องที่รัน
Windows 7 (Service Pack 1) ไปเป็น Windows 10 โดยใช้เครื่องมือที่ทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้กับลูกค้าของไมโครซอฟท์
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีครับผม
โดยส่วนตัวเห็นว่าเรื่องราวของการทำ Windows 10 Deployment
นี้น่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านที่รักของผมหลายๆ ท่าน
ที่กำลังวางแผนและเตรียมการกันอยู่
แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำหรือเริ่มต้นอย่างไร ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมืออะไร
และถ้าจะใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือของทางไมโครซอฟท์นั้นจะต้องเริ่มอย่างไร
มีค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยแค่ไหน ตลอดความรู้และความเข้าใจในเชิงเทคนิค และอื่นๆ
อีกมากมายครับ
ดังนั้นผมจึงถือโอกาสนี้นำเอาเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพและมีความเข้าใจมากขึ้นสำหรับเรื่องราวของ
Windows 10 Deployment ครับ
โดยผมจะเริ่มอธิบายในภาพใหญ่ก่อนว่าคืออะไร และค่อยๆ ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนครับผม
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลามาเริ่มกันเลยครับ
รู้จักกับ WIM ไฟล์
เมื่อพูดถึงการ Deployment ไม่ว่าจะเป็นการ Deploy เซิรฟเวอร์, เดสก์ท๊อป, โน๊ตบุ๊ค และดีไวซ์อื่นๆ
เราจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งหนึ่งคือ “อิมเมจ (Image)” โดยจะต้องสร้างเจ้าอิมเมจนี้ขึ้นมาเพื่อเอาไปใช้ในการ Deploy ไปยังเครื่องอื่นๆ สำหรับในกรณี เช่น
องค์กรหรือออฟฟิศของท่านผู้อ่านสั่งซื้อเครื่องมาใหม่จำนวนเยอะๆ
ท่านผู้อ่านจะต้องทำการสร้างอิมเมจขึ้นมาเพื่อทำการ Deploy ไปยังเครื่องต่างๆ ที่ซื้อมาครับ ซึ่งทางไมโครซอฟท์มีอิมเมจเป็นของตัวเอง
เรียกว่า “Windows
Imaging File” หรือ WIM ไฟล์
ซื่งเป็นอิมเมจไฟล์ของทางไมโครซอฟท์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการทำอิมเมจโดยใช้เครื่องมืออื่นๆ
ครับ
เพราะถ้าเป็นการทำอิมเมจของเจ้าอื่นๆ ท่านผู้อ่านจะต้องมีหลายอิมเมจ
ซึ่งขึ้นอยู่กับโมเดลของเครื่องในองค์กรของท่านผู้อ่านเองว่ามีกี่แบบ
ยิ่งถ้ามีมากแบบก้อจะทำให้มีจำนวนอิมเมจมากตามไปด้วย
ซึ่งจะทำให้ยากต่อการดูแลรักษา
อีกทั้งอิมเมจแต่ละตัวก้อจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นไปเรื่อยๆ
เพราะการทำอิมเมจด้วยวิธีการนี้ จะต้องเตรียมเครื่องต้นแบบ (Master/Reference
Computer) โดยการติดตั้งระบบปฎิบัติการ ตามด้วยไดรเวอร์,
แอพพิเคชั่นต่างๆ และอื่นๆ
อีกมากมายซึ่งขึ้นอยู่กับความตัองการของแต่ละองค์กรครับ
นั่นหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมตัวกันอยู่ในไฟล์อิมเมจเดียว
และจะต้องมีหลายๆ อิมเมจตามโมเดลหรือยี่ห้อเครื่องที่ซื้อมาดังที่ผมกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้
นั่นคือ การเตรียมและการสร้าง
อิมเมจด้วยวิธีการ ณ ปัจจุบัน
แต่ถ้าท่านผู้อ่านใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ
ของทางไมโครซอฟท์เพื่อทำการเตรียมและสร้างอิมเมจ
จะมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธภาพมากกว่าครับ
เอาง่ายๆ ให้ท่านผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างกันชัด ๆ คือ
ท่านผู้อ่านสามารถเตรียมและสร้างเพียงแค่อิมเมจเดียว (WIM ไฟล์) เท่านั้น
แต่สามารถทำการ Deploy ไปยังเครื่องต่างๆ
โดยที่ฮารด์แวร์ต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อหรือรุ่นไหนครับ อีกทั้งยังสามารถทำการเพิ่มเติม, ปรับปรุง และแก้ไขค่าต่างๆ เข้าไปในอิมเมจได้โดยไม่ต้องทำการ Re-Deploy อิมเมจ
ซึ่งผลให้การจัดการและการดูแลรักษาทำได้ง่ายมากขึ้นครับ
นอกจากนี้แล้วด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือของทางไมโครโซฟอท์
ยังสามารถและช่วยท่านผู้อ่านสามารถเตรียมและสร้างอิมเมจโดยไม่ต้องมีหรือไม่ต้องเตรียมเครื่องต้นแบบครับ
!!!!! หรือต้องการทำเหมือนเดิมที่เคยทำคือการสร้างอิมเมจจากเครื่องต้นแบบก้อสามารถทำได้ครับ
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านได้ยินแล้วอาจจะงงว่าสามารถทำอิมเมจโดยไม่ต้องมีเครื่องต้นแบบ
ใช่แล้วครับ ฟังไม่ผิดครับ ย้ำอีกครั้งว่าเราสามารถสร้างอิมเมจ (WIM ไฟล์)
โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องต้นแบบ
ที่ทำได้ก็เพราะว่าทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมอิมเมจไฟล์หรือ WIM
ไฟล์เอาไว้ให้แล้วครับ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบกันครับ
โดยทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้ในแผ่นดีวีดีของ Windows ไม่ว่าจะเป็นฝั่งเซิรฟ์เวอร์หรือไคลเอ๊นท์ครับ โดยจะอยู่ภายในโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า “Source” จากนั้นจะพบไฟล์ที่ชื่อว่า “install.wim” ครับ นั่นแหละครับคือ WIM ไฟล์หรืออิมเมจไฟล์ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมเอาไว้ให้ครับ นั่นหมายความว่าเราพร้อมจะทำการ Deploy แล้วล่ะครับ รูปด้านล่างคือ การเปรียบเทียบระหว่างการทำอิมเมจในรูปแบบปัจจุบันหรือเรียกว่า Traditional ส่วนแบบใหม่ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้จะเรียกว่า Modular ครับ
โดยทางไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้ในแผ่นดีวีดีของ Windows ไม่ว่าจะเป็นฝั่งเซิรฟ์เวอร์หรือไคลเอ๊นท์ครับ โดยจะอยู่ภายในโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า “Source” จากนั้นจะพบไฟล์ที่ชื่อว่า “install.wim” ครับ นั่นแหละครับคือ WIM ไฟล์หรืออิมเมจไฟล์ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมเอาไว้ให้ครับ นั่นหมายความว่าเราพร้อมจะทำการ Deploy แล้วล่ะครับ รูปด้านล่างคือ การเปรียบเทียบระหว่างการทำอิมเมจในรูปแบบปัจจุบันหรือเรียกว่า Traditional ส่วนแบบใหม่ที่ทางไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้จะเรียกว่า Modular ครับ
เอาล่ะครับเมื่อท่านผู้อ่านรู้จัก WIM ไฟล์แล้ว ต่อไปมาดูในเรื่องต่อมาครับ
รู้จักกับ Windows 10 Deployment เทคโนโลยี
ผมจะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีของ Windows 10
Deployment กันครับโดยมี 2 แบบครับ ดังรูป
ผมขอเริ่มจาก Lite Touch Installation หรือ LTI ก่อนนะครับ
โดยก่อนอื่นต้องเรียนท่านผู้อ่านทุกท่านก่อนนะครับว่า เทคโนโลยีทั้ง 2
แบบนี้ทางไมโครซอฟท์ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายๆ
ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมีนะครับ
ที่ผมต้องบอกไว้แบบนี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้อุ่นใจและมีความมั่นใจครับว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีมานานแล้วและมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ครับผม กลับมาที่ LIT
เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำ Windows 10 Deployment ครับ
โดยประกอบไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ดังที่เห็นในรูปข้างต้นครับ เช่น
Windows Deployment Service (WDS), Windows ADK และ MDT 2013 Update 1 ครับ
โดยเครื่องมือเหล่านี้ท่านผู้อ่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งและใช้งานได้ฟรีครับผม
โดย LTI สามารถทำการสร้างอิมเมจหรือ WIM ไฟล์
ได้โดยมีหรือไม่มีเครื่องต้นแบบก้อได้ครับ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรครับผม
โดยสามารถทำการ Deploy Windows 2008, 2008 R2, 2012 , 2012 R2, Windows 7, 8 และ10 ครับ สาเหตุที่ชื่อว่า LTI นั้นเวลาที่ท่านผู้อ่านทำการ Deploy
จะต้องมีการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมครับขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าต่างๆ เวลาทำการ
Deploy ครับ
ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ Zero Touch Installation หรือเรียกสั้นๆ ว่า ZTI นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ครับ ส่วนแรก คือ ส่วนที่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ของ LTI มาทำงานร่วนกับส่วนที่สอง คือ System Center 2012 R2 Configuration Manager หรือส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อว่า SCCM
โดยเป็นส่วนที่มีความสำคัญและมีความสามารถมากมายครับ โดยถ้าเป็นแบบ ZTI องค์กรจะต้องซื้อ System Center 2012 R2 Configuration Manager ครับ แต่ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับว่า ตัวของ System Center 2012 R2 Configuration Manager นั้นมีความสามารถหรือมีฟีเจอร์ต่างๆ มากมายให้ใช้งานครับ เช่น สามารถทำ Hardware/Software Inventory, Application Management, Patch Management, Operating System Deployment (OSD หรือ ZTI), เป็นต้นครับ เพราะฉะนั้นองค์กรที่เลือกแบบ ZTI นั่นหมายความว่ามีความต้องการที่จะใช้ฟีเจอร์อื่นๆ ด้วยนอกจาก ZTI ครับ การ Deploy ในแบบ ZTI จะมีความยืดหยุ่นและมีความสามารถมากกว่า LTI ครับ
โปรดติตตาม Part 2 (Coming Soon) ครับผม.....
วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558
Azure AD Join (เชื่อมต่อ Windows 10 เข้ากับ Microsoft Azure )
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านหลังจากที่ผมได้ทำการรีวิว Features ต่างๆ ที่น่าสนใจใน Windows 10 ไปแล้วก่อนหน้านี้ ในบทความนี้ยังคงอยู่ในเรื่องราวของ Windows 10 โดยผมจะหยิบเอาอีกหนึ่ง Feature ที่น่าสนใจมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกันครับ โดยส่วนตัวผมรู้สึกตื่นเต้นและอยากใช้ Feature นี้มากครับ เพราะมันจะทำให้เรื่องของการจัดการ Identity สำหรับการใช้งาน Cloud รวมถึง On-Premise มีความสะดวกและยืดหยุ่นมากขึ้นครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับ Feature นี้กันเลยครับผม
ในช่วงที่ผ่านมา Microsoft ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงในเรื่องของการ Identity (Identity Management) มาตลอดเพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ขององค์กรได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างใน Windows 8/8.1 เราสามารถใช้ Microsoft Account แทน Local User Account ในการ Log on เข้าไปยังเครื่องที่ติดตั้ง Windows 8/8.1 ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
แต่ถ้าเครื่องหรือ Devices เหล่านี้ต้องการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ใน Domain เราจะต้องนำเครื่องหรือ Devices เหล่านั้นมาทำการ Join เข้า Active Directory Domain ซึ่งใน Windows 10 ก้อยังคงต้องทำแบบนี้อยู่ครับ โดยเครี่องหรือ Devices ที่จะทำการ Join เข้า Domain ได้นั้นเราจะต้องเตรียมเรื่องการเชื่อมต่อและ Network เพื่อให้เครื่องหรือ Devices เหล่านั้นสามารถติดต่อกับ Active Directory ให้ได้เสียก่อน เช่น การเตรียมการเชื่อมต่อผ่าน VPN และอื่นๆ เป็นต้น
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้งาน Cloud Services กันมากขึ้นเรื่อยๆ ในองค์กร มีการใช้งาน Cloud Applications ต่างๆ เช่น Office 365, Microsoft Intune, SalesForces และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงเกิดความต้องการที่จะจัดการเรื่องของ Identity สำหรับองค์กรเหล่านี้ที่จะใช้ Cloud Services หรือ Applications ด้วยความต้องการนี้เองจึงก่อให้เกิดการทำ Hybrid Identity ซึ่งเป็นกระบวนการของการเชื่อมต่อและซิงค์โครไนท์ User Accounts จาก On-Premise (เช่น Active Directory) ไปเก็บไว้ใน Cloud เช่น ถ้าเป็นของ Microsoft ก้อคือ "Azure Active Directory" ครับ
เมื่อจัดการทำเรื่องของ Hybrid Identity เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำการ Log on จากเครื่องหรือ Devices ที่ Joined เข้า Domain เข้าถึงข้อมูลและ Applications ต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ On-Premise หรือบน Cloud ได้เลย ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการ Single Sign-On (SSO) ครับ แต่ปัญหานึงที่ยังคงอยู่คือเรื่องของการ Join เครื่องเข้า Domain อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ในตอนต้นครับ จะทำอย่างไรที่จะทำให้การเข้าใช้ข้อมูลหรือ Applications ต่างๆ มีความสะดวกและหยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน วันนี้มีคำตอบครับ นั้นก้อคือ ถ้าเราใช้ Windows 10 Devices จะมาพร้อมกับ Feature หนึ่งที่สามารถมาจัดเรื่องของ Identity เพื่อเข้าไปใช้งานข้อมูลและ Applications ต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้นครับ
Azure AD Join
โดยฟีเจอร์นี้ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อหรือ Join โดยตรงกับ Azure Active Directory ได้เลยครับ ทำให้ผู้ใช้งานที่ใช้ Windows 10 Devices สามารถทำการ Log on โดยใช้ Account ที่อยู่ใน Azure Active Directory เพื่อทำการเข้าไปใช้งานบริการต่างๆ รวมถึง Resources ต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ใน Azure Active Directory, Active Directory (On-Premise) รวมถึง Office 365 ได้ด้วยครับ และที่สำคัญคือ เราไม่ต้องทำการ Join เครื่องหรือ Devices นั้นเข้ากับ Active Directory Domain ครับ
รูปด้านล่างคือ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าใน Microsoft Azure supported เรื่องของการ Azure AD Join ครับ
จากนั้้นผมจะพาท่านผู้อ่านไปที่ Windows 10 กันครับ เพื่อจะทำการ Join Windows 10 Device เข้าไปยัง Azure Active Directory ครับ โดยให้ท่านผู้อ่านไปที Settings ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊กที่ System และเลือก About ดังรูปครับ
ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็น Azure AD Join ให้คลิ๊กเข้าไปเลยครับผม แล้วรอสักครู่ครับ ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าจอ ดังรูปด้านล่างครับผม
ให้คลิ๊ก Continue ต่อไปเลยครับ จากนั้นในส่วนต่อมาให้ท่านผู้อ่านทำการใส่ Account และ Password ครับ
แล้วคลิ๊ก Sign in เลยครับ ก้อเป็นอันเสร็จสิ้นการทำ Azure Join AD ครับ และจากกระบวนการ Join นี้ จะไปทำการ Add Account ที่มาจาก Azure AD ที่เราได้ทำการ Sign in จากการทำ Azure AD Join เข้าไปเป็นสมาชิกใน Administrator Group ของเครื่องนั้นๆ ครับผม เป็นไงครับง่ายมั๊ยครับผม และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของอีก Feature หนึ่งที่น่าสนใจใน Windows 10 ครับผม.....
ในช่วงที่ผ่านมา Microsoft ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงในเรื่องของการ Identity (Identity Management) มาตลอดเพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ขององค์กรได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างใน Windows 8/8.1 เราสามารถใช้ Microsoft Account แทน Local User Account ในการ Log on เข้าไปยังเครื่องที่ติดตั้ง Windows 8/8.1 ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
แต่ถ้าเครื่องหรือ Devices เหล่านี้ต้องการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ใน Domain เราจะต้องนำเครื่องหรือ Devices เหล่านั้นมาทำการ Join เข้า Active Directory Domain ซึ่งใน Windows 10 ก้อยังคงต้องทำแบบนี้อยู่ครับ โดยเครี่องหรือ Devices ที่จะทำการ Join เข้า Domain ได้นั้นเราจะต้องเตรียมเรื่องการเชื่อมต่อและ Network เพื่อให้เครื่องหรือ Devices เหล่านั้นสามารถติดต่อกับ Active Directory ให้ได้เสียก่อน เช่น การเตรียมการเชื่อมต่อผ่าน VPN และอื่นๆ เป็นต้น
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้งาน Cloud Services กันมากขึ้นเรื่อยๆ ในองค์กร มีการใช้งาน Cloud Applications ต่างๆ เช่น Office 365, Microsoft Intune, SalesForces และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงเกิดความต้องการที่จะจัดการเรื่องของ Identity สำหรับองค์กรเหล่านี้ที่จะใช้ Cloud Services หรือ Applications ด้วยความต้องการนี้เองจึงก่อให้เกิดการทำ Hybrid Identity ซึ่งเป็นกระบวนการของการเชื่อมต่อและซิงค์โครไนท์ User Accounts จาก On-Premise (เช่น Active Directory) ไปเก็บไว้ใน Cloud เช่น ถ้าเป็นของ Microsoft ก้อคือ "Azure Active Directory" ครับ
เมื่อจัดการทำเรื่องของ Hybrid Identity เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำการ Log on จากเครื่องหรือ Devices ที่ Joined เข้า Domain เข้าถึงข้อมูลและ Applications ต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ On-Premise หรือบน Cloud ได้เลย ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการ Single Sign-On (SSO) ครับ แต่ปัญหานึงที่ยังคงอยู่คือเรื่องของการ Join เครื่องเข้า Domain อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ในตอนต้นครับ จะทำอย่างไรที่จะทำให้การเข้าใช้ข้อมูลหรือ Applications ต่างๆ มีความสะดวกและหยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน วันนี้มีคำตอบครับ นั้นก้อคือ ถ้าเราใช้ Windows 10 Devices จะมาพร้อมกับ Feature หนึ่งที่สามารถมาจัดเรื่องของ Identity เพื่อเข้าไปใช้งานข้อมูลและ Applications ต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้นครับ
Azure AD Join
โดยฟีเจอร์นี้ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อหรือ Join โดยตรงกับ Azure Active Directory ได้เลยครับ ทำให้ผู้ใช้งานที่ใช้ Windows 10 Devices สามารถทำการ Log on โดยใช้ Account ที่อยู่ใน Azure Active Directory เพื่อทำการเข้าไปใช้งานบริการต่างๆ รวมถึง Resources ต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ใน Azure Active Directory, Active Directory (On-Premise) รวมถึง Office 365 ได้ด้วยครับ และที่สำคัญคือ เราไม่ต้องทำการ Join เครื่องหรือ Devices นั้นเข้ากับ Active Directory Domain ครับ
รูปด้านล่างคือ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าใน Microsoft Azure supported เรื่องของการ Azure AD Join ครับ
จากนั้้นผมจะพาท่านผู้อ่านไปที่ Windows 10 กันครับ เพื่อจะทำการ Join Windows 10 Device เข้าไปยัง Azure Active Directory ครับ โดยให้ท่านผู้อ่านไปที Settings ดังรูป
จากนั้นให้คลิ๊กที่ System และเลือก About ดังรูปครับ
ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็น Azure AD Join ให้คลิ๊กเข้าไปเลยครับผม แล้วรอสักครู่ครับ ท่านผู้อ่านจะเห็นหน้าจอ ดังรูปด้านล่างครับผม
ให้คลิ๊ก Continue ต่อไปเลยครับ จากนั้นในส่วนต่อมาให้ท่านผู้อ่านทำการใส่ Account และ Password ครับ
แล้วคลิ๊ก Sign in เลยครับ ก้อเป็นอันเสร็จสิ้นการทำ Azure Join AD ครับ และจากกระบวนการ Join นี้ จะไปทำการ Add Account ที่มาจาก Azure AD ที่เราได้ทำการ Sign in จากการทำ Azure AD Join เข้าไปเป็นสมาชิกใน Administrator Group ของเครื่องนั้นๆ ครับผม เป็นไงครับง่ายมั๊ยครับผม และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของอีก Feature หนึ่งที่น่าสนใจใน Windows 10 ครับผม.....
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558
10 Features ที่น่าสนใจใน Windows 10
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับบทความตอนนี้ของผมจะเป็นการลัดคิวซักหน่อยนะครับ เพราะตามที่ผมวางแผนไว้จะมาคุยกันต่อในเรื่องของ EMS แต่พอดีมีหลายๆ ท่านอยากให้ผมเขียนบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจใน Windows 10 ครับ เลยเป็นที่มาของบทความนี้ครับ ต้องบอกว่า Windows 10 กำลังเป็นเรื่องที่ฮอทและเป็นที่สนใจของหลายๆ ท่านครับ ประกอบทาง Microsoft ได้เปิดตัว Windows 10 แล้ว และมีหลายๆ ท่านได้ทำการดาวน์โหลด ไปติดต้ังและทดลองใช้งานกัน ส่วนตัวผมได้ทำการ Upgrade จาก Windows 8.1 มาเป็น Windows 10 เรียบร้อยแล้วครับ ส่วนตัวชอบมากครับ ประกอบกับมาพร้อมกับ Features ต่างๆ ที่น่าสนใจเพียบ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราทำความรู้จักกับ Features ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจใน Windows 10 กันเลยครับผม
1. Start Menu
เป็นฟีเจอร์แรกที่ต้องพูดถึงครับ เพราะมันถูกนำกลับมาอีกครั้ง โดยแต่เดิมมันจะเป็นอินเตอร์เฟซเต็มๆ
เลยใน Windows 8 และ 8.1 แต่ใน Windows 10 เจ้า Start Menu
จะอยู่ที่มุมล่างด้านซ้ายครับโดยทำการคลิ๊กที่ปุ่ม Windows ครับ ดังรูป ท่านผู้อ่านสามารถใส่ฟีเจอร์บางอย่างลงไปใน
Start Screen ได้ เช่น เพิ่ม Live Tiles โดยสามารถ เพิ่ม ลบ เปลี่ยนตำแหน่งและปรับขนาด
Live Tiles ได้ครับ
2. Windows Store Apps
ใน Windows 8, เมื่อต้องการใช้งานหรือเข้าไปดาวน์โหลดซอฟท์แวร์สำหรับ
Windows 8 เราจะเข้าไปใน Windows Store ซึ่งมันจะเป็นแบบ Full Screen
ซึ่งในมุมมองของผู้ใช้งานรู้สึกว่าไม่ค่อยสะดวกและคล่องตัวในการใช้งานครับ ดังนั้นใน Windows 10 ในส่วนของ
Windows Store Apps จะเปิดและทำงานเป็น Windows นึงเท่านั้นครับไม่ได้เป็น Full Screen
เหมือนในเวอร์ชั่นก่อนครับ
3. Cortana
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะยังไม่รู้จัก Cortana คืออะไร? และเอาไว้ใช้ทำอะไร
ผมขออธิบายและแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ Cortana ครับ Cortana คือ ผู้ช่วยส่วนตัวที่ความเฉลียวฉลาด
ที่จะมาช่วยเราในการค้นหาสิ่งต่างๆ ในเครื่องของคุณ, จัดการ
Calendar, ค้นหาไฟล์ และอื่นๆ โดยเราสามารถพิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหาหรือพูดกับ
Cortana ครับ หรือจะให้ Cortana ช่วยเตือนความจำเรา เช่น
ให้ทำการเตือนเราให้โทรหาลูกค้า ตอนเวลาบ่ายโมง ครับ เป็นไงครับ
น่าใช้มั๊ยครับสำหรับ Cortana
4. Task View
คือฟีเจอร์ที่แสดงรายการแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่ถูกเปิดใช้งานอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถสลับหน้าจอไปมาได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น
สามารถเรียกใช้งานได้โดยคลิ๊กที่ปุ่ม Task View หรือกด
ALT + Tab ครับ ดังรูป
5. Snap Assist
คือฟีเจอร์ที่ทำการจัดเรียงแอพพิเคชั่นที่เปิดใช้งานอยู่ใน
Task View ให้ขึ้นมาทำงานพร้อมๆ กันบนหน้าจอ ซึ่งสามารถทำได้โดยการคลิ๊ก
ลากและวางแอพพิเคชั่นนั้นๆ ที่ต้องการ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถวางแอพพิเคชั่นในหน้าจอเดียวกันได้มากถึง
4 แอพพิเคชั่นครับ
6. Microsoft Edge
เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากที่สุดฟีเจอร์หนึ่งใน Windows 10 ครับ
เพราะนี้คือ Browser ตัวใหม่ที่จะมาใช้งานแทน Internet Explorer
ที่เราคุ้นเคยและใช้งานกันมานานครับ โดย Microsoft
Edge
ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วยังเป็น Browser
ที่ให้ท่านผู้อ่านสามารถทำการจดโน๊ต, เขียน, ขีดเส้น
และรวมถึงไฮไลท์ไปที่หน้าเว็ปเพจได้เลยโดยตรง จากนั้นทำการ Save
และแชร์ได้ด้วยครับ
7. Virtual Desktop
เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจและถูกใส่เข้ามาใน Windows 10 ครับ ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างสะดวกมากขึ้นครับ
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านยังสงสัยอยู่ใช่มั๊ยครับว่า Virtual Desktop ใน Windows
10
คืออะไร ผมขออธิบายแบบนี้นะครับว่า โดยปรกติแล้ว
ถ้ามีจอหรือมอนิเตอร์เดียวแล้วต่อเข้ากับเครื่องของเรา เราก้อจะมีหน้าจอหรือ Screen
เดียวที่เราใช้ในการทำงานรวมถึงการรันแอพพิเคชั่นต่างๆ
ซึ่งมันยังคงใช้งานลักษณะแบบนี้ได้ถ้าเราทำงานโดยเปิดใช้งานแค่
Browser และ Microsoft Office
นั่นหมายถึงเราเปิดหรือรันแอพพิเคชั่นแค่สองถึงสามแอพพิเคชั่นเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้วผมเชื่อว่าเราเปิดใช้งานหรือรันแอพพิเคชั่นมากกว่านั้นเยอะครับ
สิ่งที่จะมาช่วยเราได้ในการจัดการการใช้งานแอพพิเคชั่นหลายๆ
ตัวในกรณีที่เรามีจอหรือมอนิเตอร์เดียวได้คือ เราต้องมีจอหรือมอนิเตอร์เพิ่มครับ
ซี่งผมเองก้อใช้งานแบบนี้เหมือนกัน
ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้มอนิเตอร์เพิ่มกับผู้ใช้งานทุกคนในองค์กร
เพราะฉะนั้นเราจัดการกับแอพพิเคชั่นต่างๆ ที่เราทำงานอยู่ได้โดยมีเพียงแค่มอนิเตอร์เดียวได้อย่างไร คำตอบคือ เราสามารถทำได้ใน Windows 10 โดยใช้ Virtual
Desktop ครับ
โดยฟีเจอร์นี้จะให้ท่านผู้อ่านทำการสร้างหลาย ๆ Screens ขึ้นมา
และสามารถทำการจัดเรียงแอพพิเคชั่นต่างๆ แยกตาม Screens ได้ครับ เช่น
Screen
แรกของผมจะเป็นแอพพิเคชั่นที่ใช้เกี่ยวกับการทำงาน ส่วนอีก Screen
หนึ่งรันแอพพิเคชั่นเกี่ยวกับการดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้นครับ
8. Action Center
เป็นฟีเจอร์ที่ถูกปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะช่วยเตือนให้เราทราบถึงข้อมูลต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์ และจะไม่หายไปเหมือนใน Windows 8 โดย Action
Center ใน Windows 10 จะมี Notification Slide และมาพร้อมกับ
Quick-Action Buttons เพื่อใช้ในการทำงานต่งๆ เช่น การ Activate Bluetooth, การเชื่อมต่อ
VPN
และอื่นๆ ดังรูปด้านล่างครับ
9. Universal Apps
เป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับท่านผู้อ่านที่มีดีไวซ์ใช้งานหลายๆ ดีไวซ์
แต่ต้องบอกว่าเป็น Windows ดีไวซ์นะครับ ใน Windows 10
ได้เตรียมแอพพเคชั่นต่างๆ ดังนี้ Photos, Videos, Music, Maps, People
& Messaging and Mail & Calendar) สามารถใช้งานแอพพิเคชั่นเหล่านี้
ซึ่งในอนาคตจะมีมากกว่านี้บน Windows ดีไวซ์ตัวไหนก้อได้โดยการใช้งานแอพพิเคชั่นดังกล่าวนี้จะยังคงทำงานและให้ความรู้สึกไม่แตกต่างเลย
ถึงแม้ว่าเราจะทำการเปลี่ยนดีไวซ์ นอกจากนี้แล้วข้อมูลต่างๆ
ท่านผู้อ่านสามารถเก็บและทำการซิงค์โดยอัตโนมัติผ่านทาง OneDrive
ได้อีกด้วยครับ
10. Windows Hello
เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับความปลอดภัยในการ Authentication เพื่อเข้าใช้งานเครื่องหรือดีไวซ์ต่างๆ
เพราะโดยปรกติผู้ใช้งานจะสามารถเข้าไปใช้งานเครื่องหรือดีไวซ์ต่างๆ
จะต้องมี
Username และ Password เพื่อทำการ Authentication ซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยมีความปลอดภัยมากเท่าไร
เพราะฉะนั้นถ้าท่านผู้อ่านต้องการความปลอดภัยที่ดีกว่าการเข้าใช้งานและการ Authentication โดยใช้
Username และ Password ผมอยากให้ลองใช้งาน Windows Hello ครับ เพราะ
Windows Hello ใช้ Biometrics ครับ เช่น ใบหน้า, ม่านตา หรือลายนิ้วมือ เพื่อเข้าใช้งาน Windows 10 ดีไวซ์ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้จากลิ๊งค์นี้ครับผม http://blogs.windows.com/bloggingwindows/2015/03/17/making-windows-10-more-personal-and-more-secure-with-windows-hello/
ต้องบอกว่ายังมี Features ที่น่าสนใจมากกว่านี้นะครับ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า Features ข้างต้นที่ผมนำมาเสนอนั้นน่าสนใจครับ อย่าลืมไปลองเล่นและใช้งาน Windows 10 กันนะครับผม.....
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)