วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รู้จักกับแนวคิด “Flexible WorkStyle” ตอนที่ 2

    "สวัสดีครับท่านผู้อ่านและเพื่อนชาว IT Pro ทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยนะครับที่บทความ Flexible WorkStyle ตอนที่ 2 นั้นมาช้าไปหน่อย  เนื่องด้วยตัวผมต้องเตรียมงานหลายๆ  อย่างครับรวมถึงงานสอนด้วยครับ  ขอบคุณสำหรับหลายๆ ท่านที่เมล์มาเตือนให้ผมเขียนตอนต่อมาของ Flexible WorkStyle   เพราะมีหลายๆ  ท่านไม่ได้เข้าไปฟังเรื่องนี้ตอนที่ผมไปเป็นวิทยากรที่ Microsoft ครับ  เอาล่ะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลามาดูกันต่อครับกับเรื่องราวของ Flexible WorkStyle ครับ"


Flexible WorkStyle คืออะไร?
อย่างที่อธิบายไว้ในตอนต้นครับว่า เป็นแนวคิดหรือ Framework ที่ทางไมโครซอฟท์ได้ออกแบบมาให้ลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยองค์กรในการวางแผนการบริหารและจัดการเครื่อง Desktops ในองค์กรให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ  นอกจากนี้แล้ว Flexible WorkStyle ยังประกอบด้วย Products และเครื่องมือต่างๆ  อีกมากมายครับ  สิ่งแรกที่จะต้องทำสำหรับการที่องค์กรจะพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเข้าสู่แนวคิด Flexible WorkStyle คือ การวางแผนและออกแบบ Desktop ในรูปแบบใหม่ (Modernize Desktops) เพื่อเป็นมาตราฐานของ Desktop ที่จะถูกนำมาใช้ในองค์กรครับ  จากรูปด้านล่าง
จากรูปที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้ แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ  ของเครื่อง Desktop ของผู้ใช้งานในองค์กรครับ 
องนึกภาพตามผมนะครับว่าเจ้ารูปสี่เหลี่ยมด้านบนนั้นคือ เครื่อง Desktop ที่เราเห็นอยู่ในออฟฟิศของเราเองหรือเห็นอยู่ทั่วไปครับ ภายในเครื่อง Desktop จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบย่อยๆ ดังนี้ครับ
1. Hardware คือ ส่วนตัวเครื่อง Desktop ทั้งหมดครับไม่สนใจว่าจะมีสเปคอย่างไร จะเป็น Desktop หรือ Notebook
2. Operating System คือ ระบบปฎิบัติการที่ถูกติดตั้งและทำงานบน Hardware ดังกล่าว เช่น Windows XP ที่เราใช้งานกันอยู่
3. Application Management คือ แอพพิเคชั่นต่างๆ  ที่ถูกติดตั้งมาที่เครื่องของผู้ใช้งาน จะเป็นแอพพิเคชั่นที่องค์กรติดตั้งมาให้จะผ่านทาง Scripts, Group Policy หรืออื่นๆ  ก็แล้วแต่ครับ หรือแม้กระทั่งผู้ใช้งานติดตั้งแอพพิเคชั่นเองด้วย
4. Data & Settings คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่บนเครื่อง Desktop ครับ โดยจะแบ่งได้ 2 แบบ คือ ข้อมูลส่วนตัว (Personal Data)   และ ข้อมูลของการกำหนดค่าต่างๆ   (Data Settings) เช่น User State และ Application Settings เป็นต้นครับ
 
และทั้ง 4 ส่วนที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นจะอยู่ที่เครื่อง Desktop ของผู้ใช้งานครับ ซึ่งเป็นภาพที่เราเห็นอยู่แล้วเป็นปรกติ  แต่การออกแบบ Desktop ในแบบนี้ซึ่งผมเรียกว่าเป็นแบบ Traditional Desktop จะทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในการบริหารและจัดการครับ ซึ่งผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านของผมหลายๆ  ท่านน่าจะประสบพบเจอมาบ้างแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะมาเป็นระยะ ๆ ครับ เช่น เมื่อองค์กรของท่านผู้อ่านมีแผนที่จะต้องเปลี่ยน Hardware ของเครื่อง Desktop ใหม่ตามรอบที่กำหนด
เช่น ทุกๆ 3-5 ปีจะต้องเปลี่ยน  สิ่งที่เราจะต้องมาเตรียมคือ สเปคเครื่องจะเป็นอย่างไร, จะทำ Image ทั้งหมดกี่  Images, จะติดตั้งแอพพิเคชั่นอย่างไร, จะทำการย้ายข้อมูลและค่า Settings (User State Settings) อย่างไร และอื่นๆ  ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่หลายองค์กรต้องเจอครับ แต่จะวางแผนรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะส่วนใหญ่ยังมองแค่ว่า การเปลี่ยน Hardware ของเครื่อง Desktop คือ การเตรียมทำ Image ใหม่ โดยที่ Image ดังกล่าวนี้จะมีแอพพิเคชั่นต่างๆ  ติดตั้งเข้าไปด้วยครับ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ Image มีขนาดใหญ่ และอาจจะมีหลาย Images ทำให้ดูแลยาก  ด้วยรูปแบบนี้เองทำให้เกิดปัญหาต่างๆ  ตามมาอีก เช่น เกิดความไม่คล่องตัวหรือความยืดหยุ่นในการใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานอยากใช้งานจากดีไวซ์ต่างๆ ได้ จากที่ไหนก็ได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เครื่อง Desktop ที่องค์กรเตรียมให้  เรื่องต่อมาคือ ผู้ใช้งานอยากได้สภาพแวดล้อมในการทำงาน (User Environment),แอพพิเคชั่น, ข้อมูล, User State Setting และอื่นๆ  ตามมา เมื่อใช้งานในดีไวซ์ต่างๆ    ซึ่งจาก 4 ส่วนประกอบย่อยๆ  ของ Desktop ด้านบนที่ออกแบบในรูปแบบที่เป็น Traditional Desktop จะตอบโจทย์หรือรองรับกับความต้องการแบบนี้ไม่ได้เลย เนื่องจากทุกส่วนประกอบติดตั้งอยู่ในเครื่อง Desktop ทั้งหมดเลย 
 
ดังนั้นการที่จะพัฒนาและปรับปรุง Modernize Desktop หรือ Desktop ในรูปแบบใหม่และจะเป็นมาตราฐานของเครื่อง Desktop ในองค์กรและเพื่อรองรับกับแนวคิดหรือคอนเซป Flexible WorkStyle นั้นจะต้องทำการแยกส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ออกมาครับ จากนั้นใช้ Virtualization เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบ Desktop ครับ  ดังรูปด้านล่างครับ
สำหรับตอนหน้าผมจะทำการ Map ว่าแต่ละส่วนของ Desktop ที่ผมได้อธิบายไว้ในตอนต้นนั้น จะนำเอาเทคโนโลยี, Products หรือเครื่องมือใดมาช่วยจัดการเพื่อกำหนดเป็น Standardized Desktop ใหม่สำหรับองค์กร เพื่อรองรับกับความต้องการขององค์กร อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วยครับ  เพราะฉะนั้นโปรดติดตามตอนต่อไปครับผม.....

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น