ทำความรู้จักกับ DPM
อย่างที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ตอนต้นครับว่า System Center 2012
Data Protection Manager หรือ DPM เป็น Product ตัวหนึ่งในชุดของ System Center โซลูชั่นครับ โดยก่อนที่ผมจะเริ่มเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของ DPM
นั้น
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านนึกถึงคอนเซปของการสำรองข้อมูลหรือการแบ็คอัพข้อมูลในรูปแบบทั่วไปหรือแบบปรกติครับ นั่นก็คือการสำรองข้อมูลจากเซิรฟเวอร์ต่างๆ แล้วนำมาเก็บไว้ในเทป
และช่วงเวลาในการสำรองข้อมูลโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นตอนกลางคืน
นอกจากนี้แล้วยังต้องวางแผนในเรื่องของจำนวนเทปที่จะใช้สำหรับการสำรองข้อมูล, เวลาที่ใช้ในการเรียกคืน และเรื่องอื่นๆ
อีกมากมายที่จะต้องทำการพิจารณาครับ
แต่สำหรับเรื่องราวของ DPM นั้นจะมาพร้อมกับคอนเซปใหม่ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรองและเรียกคืนข้อมูล
ดังนั้นคอนเซปของเจ้า DPM
จึงมีความแตกต่างเมื่อไปเปรียเทียบกับการสำรองข้อมูลในรูปแบบเก่าครับผม ดังนั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับ DPM กันเลยครับ
สำหรับตัวของ DPM นั้นจะเป็นเจนเนอเรชั่นต่อไปสำหรับการสำรองและเรียกคืนข้อมูล
โดย DPM จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการสำรองข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล์ (Microsoft Exchange), ดาต้าเบส (Microsoft
SQL Server), Windows SharePoint Server ตลอดจนไฟล์เซิรฟเวอร์ที่เป็น Windows
Server 2003, 2008 และ R2 ยังรวมถึง
Windows XP, Vista และ Windows 7 ด้วยครับ
นอกจากนี้แล้วตัวของ DPM เองยังทำการกำหนดมาตราฐานใหม่สำหรับ
Windows Backup และ Recovery และยังรวมถึงการทำ Continuous Data
Protection (CDP) ซึ่งช่วยในเรื่องของการกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สำหรับไมโครซอฟท์แอพพิเคชั่นและรวมถึงไฟล์เซิรฟเวอร์ อีกด้วย
และจุดนี้เองถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเรื่องหนึ่งของ DPM ที่จะเข้ามาช่วยให้การกู้คืนข้อมูลสามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ผมขออนุญาตสรุปอีกครั้งครับว่าตัวของ
SCDPM จะทำหน้าที่ในการสำรอง, เรียกคืนข้อมูล, การทำ
SnapShots, และตลอดจนการซิงโครไนท์
สำหรับไมโครซอฟท์ Products ด้วยกันเท่านั้นครับ ดังนั้นท่านผู้อ่านที่สนใจจะใช้ DPM
ก็จะต้องทำการสำรวจระบบคอมพิวเตอร์ของตัวเองในปัจจุบันก่อนครับว่ามีอะไรบ้างและสามารถนำเอา
DPM
เข้ามาช่วยในเรื่องของการสำรองข้อมูลหรือไม่
สำหรับในเรื่องของมีเดียที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลของ DPM นั้นสนับสนุนทั้งการสำรองหรือแบ็คอัพลงดิสก์
หรือลงเทป ซึ่งโดยปรกติทั่วไปแล้ว
การสำรองข้อมูลลงในมีเดียจะแยกออกเป็น 2 แบบ ครับ
คือ
แบบแรกจะเป็นการเก็บข้อมูลระยะสั้น แต่มีวัตถุประสงค์คือความรวดเร็วในการเรียกคืนข้อมูล ส่วนแบบที่สองจะเป็นการสำรองข้อมูลลงเทป
วัตถุประสงค์ก็จะเป็นการเก็บข้อมูลระยะยาวเพื่อรองรับกับมาตราฐานต่างๆ
ที่กำหนดครับ
สำหรับรูปด้านล่างจะเป็นรูปที่แสดงถึงคอนเซปการทำงานของ DPM ครับ
และเรายังให้ DPM ทำการสำรองข้อมูลแบบ Off-Site
ได้อีกด้วยครับ โดยเราสามารถติดตั้ง DPM
ไว้อีกที่หนึ่งและทำการ Replicate ข้อมูลไปดังรูปด้านบน
ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความต้องการของแต่ละองค์กรครับว่าจะนำ
DPM
เข้ามาช่วยในรูปแบบใด
เอาล่ะครับหลังจากทำความรู้จักกับ DPM
กันมาพอสมควรแล้ว สำหรับ System
Center 2012 Data Protection Manager ถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ
Microsoft Private Cloud โดย DPM มีความสามารถในการปกป้อง Virtual Machines และรวมถึงแอพพิเคชั่นต่างๆ ตามที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้น ดังนั้นผมจะเริ่มทำการรีวิวฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจของ System Center 2012 Data
Protection Manager กันเลยครับผม
1. Centralized Management
เราสามารถใช้ คอนโซลใน System
Center 2012 Data Protection Manager ทำการบริหารและจัดการ
DPM เซิรฟเวอร์ได้มากถึง
1,000 เซิรฟเวอร์และรวมถึงการจัดการ 50,000 Protected
Data Sources และนอกจากนี้ยังสามารถใช้คอนโซลเดียวทำการบริหารและจัดการ DPM
2010
และ DPM 2012 ได้อีกด้วย และใน DPM เวอร์ชั่นใหม่ยังสามารถทำงานร่วมกับ
Products ตัวอื่น ๆ ใน System Center 2012 เช่น Service Manager (Ticketing
System), Orchestrator Server (Tasks Automation) และ Operations Manager (End-to-End
Monitoring) เป็นต้น
2. Role-Based Management
ใน System Center 2012
DPM มีการปรับปรุงในส่วนของการกำหนดบทบาทและหน้าที่ในการเข้าไปบริหารและจัดการ
DPM
ให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ดังรูปด้านล่างครับ
3. Certificated-Based
Protection
System Center 2012 DPM
สามารถปกป้องดูแลเครื่องที่อยู่ใน Workgroup และเครื่องที่อยู่ใน
Untrusted Domain ได้โดยใช้ “Certificates”
ใน DPM 2010 สามารถทำการปกป้องและดูแลเครื่องที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้สเช่นกัน แต่จะใช้ NTLM Base Authentication และ Local
Accounts แต่วิธีนี้มีความปลอดภัยน้อยกว่า Certificates ครับ
4. Tape Media
Co-Location
เป็นฟีเจอร์ที่มีใน DPM 2010 โดยให้เราสามารถทำการจัดกลุ่มหรือรวบรวมหลาย
ๆ Protection Group ที่อยู่ใน
Retention Range เดียวกัน ให้อยู่ในเทปเดียวกัน
โดยใน DPM 2010, ฟีเจอร์นี้สามารถทำได้โดยใช้คอมมาน์ไลน์
และไม่สามารถระบุว่า Protection Group ใดบ้างที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ Tape
Co-Location ใน System Center 2012 DPM, สามารถให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำ
Co-Locate หลายๆ Multiple Protection Groups ให้เป็นส่วนหนึ่งในเทปเดียวหรือชุดของเทปได้
ดังรูป
5. SharePoint Item-Level
Recovery
เป็นฟีเจอร์ที่ได้มีการปรับปรุงจาก DPM 2007, 2010 จนมาถึง 2012 ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถทำการ
Recover, Single Document, Image หรือ Single
Item ที่เก็บอยู่ใน
SharePoint เซิรฟเวอร์หรือ SharePoint Farm โดยใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม รูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบถึงความแตกต่างในเรื่องของการทำ
Recover Item-Level Recovery ของ DPM
ในแต่ละเวอร์ชั่นครับ
การ Recover ในรูปแบบ Item-Level
Recovery ใน DPM เวอร์ชั่นใหม่นี้ สามารถทำการ Recover หรือ Restore
ได้โดยไม่ต้องการข้อมูลของ Content Database ทั้งหมด และสามารถใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ได้กับ
SharePoint 2007 และ 2010
โปรดติดตามตอนที่ 2 เร็ว ๆ นี้ ครับผม.....
ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
ตอบลบเชิญพบกับมิติใหม่แห่งวงการ คาสิโนออนไลน์
ถ่ายทอดสดจากสถานที่จริง โต๊ะจริง ภายในคาสิโน สดจริงวินาทีต่อวินาที ทุกวัน ที่นี่เลยค่ะ
https://www.111player.com