สำหรับตัวของ SCDPM 2010 นั้นเป็นโปรดักส์ในการสำรองและเรียกคืนข้อมูลต่างๆ โดยจะสนับสนุนหรือใช้งานได้กับโปรดักส์ของไมโครซอฟท์ด้วยกันเท่านั้นครับ ดังรูปด้านล่าง
สำหรับการสำรองข้อมูลและเรียกคืนข้อมูลใน SCDPM นั้น สนับสนุนทั้งการสำรองข้อมูลลงดิสก์ (D2D), การสำรองข้อมูลจากดิสก์ลงเทป (D2D2T) และการสำรองข้อมูลใน Cloud (D2C) เป็นต้น SCDPM มีความสามารถมากมายในการสำรองและเรียกคืนข้อมูลครับ ถ้าผมเล่าทั้งหมดคงจะใช้เวลานานมากเลยทีเดียว ดังนั้นผมจึงจะเลือกเอาเรื่องราวที่น่าสนใจของ SCDPM มาเล่าให้ท่านผู้อ่านของผมได้รับทราบกันครับ โดยส่วนที่ผมจะนำมาเล่าจะเป็นเรื่องของการสำรองและการเรียกคืนข้อมูลสำหรับ Hyper-V ครับ ซึ่งผมต้องบอกว่าเป็นโซลูชั่นที่ตอนนี้หลาย ๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจ และโดยเฉพาะองค์กรที่ใช้งาน Hyper-V อยู่แล้ว และกำลังหาโซลูชั่นในการสำรองและเรียกคืนข้อมูลสำหรับใช้งานกับ Hyper-V ครับ และตัวผมเองในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมให้กับลูกค้าและตลอดจน Microsoft Partners ด้วยครับ โดยจุดเด่นของ SCDPM คือใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่นมากครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะสาธิตการสำรองและการเรียกคืนข้อมูลสำหรับ Hyper-V กันเลยครับ เริ่มจากตัวอย่างที่ผมจะหยิบยกขึ้นมานี้ ผมจะสมมติว่าในระบบของผมมี Hyper-V เซิรฟเวอร์ใช้งานอยู่และมี Virtual Machines ทำงานอยู่ข้างในครับ โดยเริ่มจากที่ผมจะต้องจัดหา Disk Space หรือพื้นที่ที่จะถูกใช้ในการเก็บข้อมูลของ Hyper-V ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้ก็คือ Virtual Machines ต่าง ๆ นั่นเองครับ โดยการกำหนดพื้นที่ที่ว่านี้ใน SCDPM จะเรียกว่า “Storage Pool” ครับ ดังรูปจากรูปด้านบนผมมี Disk Space ขนาด 127 GB ซึ่งถูก Offline ไว้ครับ สิ่งที่ผมต้องทำอย่างแรกคือ ทำการ Online ครับ เพื่อจะนำเอาพื้นที่ส่วนนี้ไปกำหนดเป็น Storage Pool ใน SCDPM 2010 ต่อไป จากนั้นให้ท่านผู้อ่านทำการเปิด SCDPM 2010 Administrator Console ขึ้นมาจากนั้นให้ไปที่ Management แล้วเลือก Disks ดังรูป
จากนั้นให้เลือก Add และทำการเลือก Disk Space ที่ต้องการใช้เป็น Storage Pool ดังรูป
หลังจากเสร็จสิ้นในส่วนของ Storage Pool แล้ว ขั้นตอนต่อไปผมจะทำการติดตั้ง SCDPM 2010 Agent ไปที่ตัวของ Hyper-V ครับ ดังรูป
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิ๊ก Next เพื่อทำการกำหนด Hyper-V เซิรฟเวอร์ที่ต้องการติดตั้ง SCDPM 2010 Agent ดังรูป
จากนั้นทำการกำหนด Credentials ที่มีสิทธิในการติดตั้ง SCDPM Agent ในขั้นตอนต่อมาให้เลือก Yes เพื่อทำการรีสตาร์ท ดังรูป
จากนั้นจะเป็นการเริ่มทำการติดตั้ง SCDPM Agent ดังรูป
หลังจากติดตั้ง SCDPM Agent ลงบนเครื่องที่เป็น Hyper-V เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างและกำหนดค่าในส่วนของ Protection Group ใน SCDPM 2010 สำหรับ Protection Group จะเป็นส่วนที่เราจะต้องทำการกำหนด เครื่องที่ต้องการให้ SCDPM 2010 ทำการ Protect และจะต้องมีการกำหนดว่าจะทำการสำรองข้อมูลแบบใด รวมถึงระยะเวลาในการเก็บข้อมูล เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับจากนั้นในส่วนของ Select Protection Group Type ให้เลือกเป็น Server ดังรูปครับ
ในส่วนของ Select Group Members ให้ทำการเลือก Hyper-V เซิรฟเวอร์ที่ต้องการให้ SCDPM ทำการ Protect ดังรูปด้านล่างครับ
จากนั้นให้กำหนดชื่อของ Protection Group ดังรูปส่วนต่อมาจะเป็นการกำหนดระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูล โดยคำว่า Short-Term ใน SCDPM หมายถึง ดิสก์ ครับ ส่วนคำว่า Long-Term จะหมายถึง เทป ซึ่งจากตัวอย่างนี้ผมไม่มีเทปไดรฟ์ครับ ออฟชั่นที่เป็นเทปจึงไม่สามารถกำหนดค่าใด ๆ ได้ครับ ดังรูป
จากนั้น SCDPM จะทำการรีวิวดิสก์ที่จะต้องใช้ใน Protection Group ว่าเป็นอย่างไร ดังรูป
ในส่วนของ Choose Replica Creation Method ให้เลือก Automatically over the network และ Now ครับ และส่วนต่อมาจะเป็นส่วนของ Choose Consistency Check Options ให้เลือกค่าดังรูปด้านล่างครับ
ในส่วนของ Summary ให้กดปุ่ม Create Group ดังรูป
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านรอสักครู่ครับ เมื่อมาถึงตรงนี้ก็หมายความว่าเราได้ทำการสร้างและกำหนดค่าต่างๆ ของ Protection Group เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ดังรูป
จากเป็นต้นไป SCDPM จะทำการ Protect ตัว Hyper-V เซิรฟเวอร์ตัวดังกล่าว และรวมถึง Virtual Machines ด้วย และหากในเวลาต่อมาเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทำให้ Virtual Machine ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา และเราต้องการที่จะทำการกู้หรือเรียกคืน Virtual Machine ตัวนั้นๆ ให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายจาก SCDPM 2010 Administration Console ครับ และให้ไปที่ Recovery และเลือก Hyper-V เซิรฟเวอร์ตัวที่ต้องการ จากนั้นท่านผู้อ่านสามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องการกู้หรือเรียกคืน และ Virtual Machine ที่ต้องการ ดังรูปด้านล่างครับผมโดย SCDPM จะมี Wizard ที่ช่วยท่านผู้อ่านในการทำการกู้หรือเรียกคืน Virtual Machine ที่ต้องการด้วยการคลิ๊ก Next และตอบคำถามเพียงนิดหน่อยเท่านั้นครับ สุดท้ายท่านผู้อ่านก็จะได้ Virtual Machine ที่ต้องการกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมครับผม และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ SCDPM 2010 ที่ใช้ในการปกป้อง Hyper-V ครับ แต่ผมอยากจะบอกว่า SCDPM 2010 ยังมีฟีเจอร์และสิ่งที่น่าสนใจอีกเยอะครับ เอาไว้ในโอกาสต่อ ๆ ไปผมจะหยิบมานำเสนอและเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น