วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

เจาะลึกเกี่ยวกับ Windows 7 Deployment (ตอน 5)

     สวัสดีครับทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทำ Windows 7 Deployment ครับ โดยได้มีท่านผู้อ่านหลายๆ  ท่านได้ส่งเมล์มาหรือโพสไว้ที่ FB ของผมว่า  อยากให้เขียนเรื่องราวของการ Deployment ต่อ  ซึ่งผมต้องขอขอบคุณมาก ๆ  ที่ติดตามบทความของผมครับ  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเข้าสู่เรื่องราวของ Windows 7 Deployment ตอนที่ 5 กันเลยครับผม


การ Deploy อิมเมจ

โดยเริ่มจากการสร้าง Task Sequence สำหรับการ Deploy  ดังนั้นให้ไปที่ DeploymentWorkbench แล้วทำการสร้าง Task Sequence สำหรับการ Deploy ดังรูป
จากนั้นในส่วนของ General Settings  ให้กำหนดค่าของ Task Sequence ซึ่งจะเหมือนกับตอนที่เราสร้าง Task Sequence สำหรับการ Capture ดังรูป
 
 
ในส่วนของ Select Template ให้เลือก  ตามรูปด้านล่างครับผม
 
จากนั้นในส่วนของ Select OS ให้เลือกอิมเมจที่เราได้จากการ Capture
ในส่วนของ Specify Product Key ให้เลือก Do not specify a product key at this time แล้วคลิ๊ก Next  จากนั้นในส่วนของ OS Settings ให้ใส่ข้อมูลขององค์กรครับ แล้วคลิ๊ก Next  ต่อไป  ต่อมาในส่วนของ Admin Password,  ท่านผู้อ่านจะกำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้ครับ  ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กร  จากนั้นให้ทำตาม Wizard ต่อไปจนกว่าจะเสร็จครับ  และเมื่อเสร็จแล้วท่านผู้อ่านจะเห็น Task Sequence ที่ได้สร้างขึ้น  ดังรูป

และทำการอัพเดท MDT Deployment Share ครับ   จากนั้นให้ท่านผู้อ่านเตรียมเครื่อง Target ที่ต้องการติดตั้งอิมเมจให้พร้อมโดยเราจะทำการบู๊ทเครื่องดังกล่าวผ่านทางเน็คเวิรค์หรือทาง PXE ครับ  ซึ่งท่านผู้อ่านจะต้องกำหนดที่เกี่ยวกับการ Boot ที่ BIOS ครับ  จากนั้นเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านกด F12  (พยายามกดให้ทันนะครับ) ดังรูป



จากนั้นให้ท่านผู้อ่านเลือก Boot Images ที่ต้องการว่าจะเป็นแบบ 32 หรือ 64 บิต  จากตัวอย่างนี้ผมเลือก 64 บิต ครับ  เพราะเครื่อง Target และอิมเมจของผมเป็น  64 บิต ดังรูป

จากนั้นจะทำการโหลด Boot Image  (LiteTouchPE_x64.wim) เพื่อให้เครื่อง Target หรือปลายทางสามารถติดต่อกับ LTI เซิรฟเวอร์ได้

จากนั้นรอสักครู่ครับ   ท่านผู้อ่านจะเห็น  Windows Deployment  Wizard ดังรูป  จากนั้นให้คลิ๊กที่ Run the Deployment Wizard to install a new Operating System เมื่อมาถึงตรงนี้แล้วก็พร้อมแล้วครับสำหรับการ Deployment แต่จะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามในตอนที่ 6 นะครับผม.....

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

สำรวจ Windows Server 2012 ตอนที่ 12


     มาดูกันต่อครับสำหรับฟีเจอร์ใหม่ ๆ ใน Windows Server 2012 Hyper-V


4.  High Availability (HA)
เป็นฟีเจอร์ที่มีการปรับปรุงและพัฒนามากที่สุดฟีเจอร์หนึ่งของ Windows Server 2012 Hyper-V   โดยจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานเพื่อรองรับ High Availability (HA) อยู่หลายแบบ  ดังนี้ครับ
 
- Live Migration With Shared Storage
ก่อนอื่นผมขออธิบายคร่าว ๆ ว่า Live Migration เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยในเรื่องของการทำ High Availability (HA) หากเกิดกรณีที่ Hyper-V Hosts ที่รัน Virtual Machines นั้นอยู่เกิดเสียหรือมีปัญหา  Virtual Machines ที่รันอยู่ใน Hyper-V Host นั้นก็จะถูกย้ายไปรันที่ Hyper-V Host อีกตัวหนึ่งโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่มีผลกระทบการผู้ใช้งาน 
การที่จะทำ Live Migration แบบนี้จะต้องอาศัยหรือจะต้องมี Host หรือเครื่องอย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป  และจะต้องมี Shared Storage  ครับ  สำหรับ OS ที่จะทำการติดตั้งที่ Host ท่านผู้อ่านสามารถใช้ Windows Server 2012 Standard หรือ Data Center Edition ก็ได้ครับ ซึ่งแตกต่างจากในเวอร์ชั่นเดิมที่จะต้องใช้ Windows Server 2008 R2 Enterprise หรือ Data Center Edition เท่านั้น  ส่วนเรื่องของ Shared Storage สามารถเป็นได้ทั้ง Fibre Channel หรือ iSCSI ก็ได้ครับ  ดังรูป
 
 
 
 การทำ Live Migration ในรูปแบบนี้จะเป็นแบบปรกติที่ใช้กันอยู่แล้วใน Windows Server 2008 R2 ครับ รวมถึง Windows Server 2012 
- Live Migration with Shared Folder (SMB 3.0) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการทำ Hyper-V HA ที่แตกต่างจากรูปแบบแรกคือ  เป็นการทำ Hyper-V HA โดยที่ไม่ต้องมี Shared Storage ซึ่งทำให้ช่วยองค์กรประหยัดหรือในกรณีที่ต้องการทำ Hyper-V HA แต่ไม่มีงบประมาณพอที่จะซื้อ Shared Storage ครับ
Live Migration With Shared Folder (SMB 3.0) นั้น จะใช้เครื่องที่ติดตั้ง Windows Server 2012 แล้วสร้าง Folder ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเก็บ Virtual Machines ต่างๆ และทำการแชร์ให้ Hyper-V Hosts สามารถเข้าถึงและจัดเก็บ Virtual Machines ได้  ถ้าจะอธิบายให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจได้มากขึ้น คือ เครื่องดังกล่าวนี้ก็คือเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น File Server นั่นเองครับ  แต่ File Server ใน Windows Server 2012 มีความสามารถมากกว่าในเวอร์ชั่นก่อนครับ โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับการทำ Hyper-V HA ใน Windows Server 2012  เพราะฉะนั้นเครื่องดังกล่าวนี้จะถูกนำมาใช้แทน Shared Storage  ครับ  นอกจากนี้เรายังสามารถทำ HA ที่ตัวของ Windows Server 2012 ที่เป็น File Server ได้อีกด้วยครับ สำหรับผมถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใหม่และน่าสนใจทีเดียวสำหรับการทำ Hyper-V HA ครับ
 
5.  Hyper-V Mobility
- Shared Nothing Live Migration เป็นการทำ Hyper-V Mobility คือความสามารถในการย้าย Virtual Machines จากเครื่องหนึ่งหรือ Host หนึ่งไปอีก Hos หนึ่งได้  โดยฟีเจอร์นี้จะไม่ใช่เป็นการทำ Hyper-V HA ครับ แต่การทำ Shared Nothing Live Migration จะเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับการวางแผนการย้าย Virtual Machines ระหว่าง  Hyper-V Hosts, ระหว่าง Clusters หรือระหว่าง Stand-Alone Hyper-V ครับ  ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการทำ Live Migration  ดังรูป
 
 
สำหรับการทำ Hyper-V Mobility (Shared Nothing Live Migration) แบบนี้ ไม่ต้องมี Shared Storage, Shared Folder รวมถึงไม่ได้อาศัยการใช้ความสามารถของ Failover Cluster  สิ่งเราต้องเตรียมพร้อมคือ  Gigabit Ethernet Connection ที่เชื่อมต่อระหว่าง Hyper-V Hosts ครับ  จากนั้นเราสามารถที่จะทำการย้าย VM (VHDs, Memory Content, Processor และ Device State) แบบไม่มี Downtime ครับ 
- Storage Migration
 
เป็นฟีเจอร์ที่สามารพทำการย้ายที่เก็บ Virtual Machines (VHDs) หรือเรียกว่า Virtual Machine Storage จากที่เก่าไปที่ใหม่ได้โดยไม่มี Downtime  รูปด้านล่างเป็น รูปที่แสดงถึงการทำ Storage Migration
Storage Migration นั้นช่วยเราในกรณีที่มีความต้องการที่จะย้าย Location ที่เก็บ Virtual Machines จากเดิม ที่มีพื้นที่ไม่พอ ไปยัง Locations ใหม่ที่มีพื้นที่มากกว่าเดิม  โดยในขณะที่ย้ายนั้น Virtual Machines เหล่านนั้นยังรันและทำงานโดยปรกติ และไม่มีผลกระทบใด ๆ กับผู้ใช้งาน
- Network Virtualization
 
 
 
เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานกับ Microsoft Private Cloud  โดยตัวของ Network Virtualization จะช่วยให้การย้าย Private Cloud จาก Physical Cloud Data Center จาก Location หนึ่งไปอีก Location หนึ่ง โดยไม่มีผลกระทบกับ Virtual Machines และ IP Addresses ที่ Virtual Machines นั้นใช้งานอยู่ 
Hyper-V Network Virtualization มีความสามารถดังนี้  เราสามารถรันหลายๆ  Virtual Networks บน 1 Physical Network ได้โดยไม่ได้ใช้ VLANs, ในแต่ละ Virtual Networks สามารถใช้ IP Addresses ที่ต่างกันหรือเหมือนได้ โดยไม่มีผลกระทบกับ Virtual Networks อื่น  และการกำหนด IP Addressing สำหรับ Virtual Machines ไม่ได้ขึ้นกับ Locations อีกต่อไป  โดยใน Hyper-V Network Virtualization จะมีให้เราทำการกำหนด Addresses 2 แบบ คือ
Customer Address (CA) คือ IP Address ของ Virtual Machines และสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้งาน Private Cloud
Provider Address (PA) คือ IP Address  ของ Host  และถู่กบริหารจัดการโดยผู้ให้บริการ    รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับเรื่องราวของ Hyper-V Network Virtualization สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ครับผม http://technet.microsoft.com/en-us/library/jj134230.aspx
6.  Hyper-V Disaster Recovery (Hyper-V Replica (HVR))
Hyper-V Replica เป็นฟีเจอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่องของการเตรียมพร้อมสำหรับการทำ Disaster Recovery (DR) ในกรณีที่องค์กรต้องการทำ DR Site เพื่อรองรับในกรณีหากไม่อะไรเกิดขึ้นกับ Hyper-V Hosts ต่างๆ ที่ Site หลัก  VMs ต่างๆ  จะต้องสามารถรันและทำงานได้ที่ DR Site   ซึ่งความต้องการดังกล่าวนี้ใน Hyper-V เวอร์ชั่นก่อนๆ  จะไม่สามารถทำได้ครับ ถ้าลูกค้าหรือองค์กรต้องการทำ DR จริงๆ  จะต้องอาศัยความสามารถและฟีเจอร์ของ SAN Storage หรือใช้ 3rd Party ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการทำ Replication ข้อมูล (Virtual Machines) จาก Site หลักไปยัง DR Site เข้ามาช่วยครับ  แต่ถ้าท่านผู้อ่านใช้ Hyper-V ใน  Windows Server 2012 ความสามารถในการทำ Replication จะมีมาให้เลยครับ นั่นก็คือฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Hyper-V Replica นี่แหละครับ  ส่วนตัวต้องขอบอกว่า Hyper-V Replica เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากครับและตอบโจทย์สำหรับองค์กรที่ต้องการทำ Hyper-V Disaster Recovery โดยที่ไม่ต้องหาซื้อ Solution อื่นๆ  มาช่วยเหมือนเมื่อก่อนครับ




รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับเรื่องราวของ Hyper-V Replica สามารถไปดูได้จาก Link นี้ครับ http://technet.microsoft.com/en-us/library/jj134172.aspx
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของการสำรวจฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจของ Windows Server 2012 Hyper-V ครับ โดยอันที่จริงแล้วยังมีอีกหลายๆ ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Hyper-V ครับ แต่สำหรับบทความนี้ของผม ได้เลือกเอาฟีเจอร์ที่ผมคิดว่าน่าสนใจจริงๆ  บวกกับประสบการณ์ของผม จึงเลือกเอาฟีเจอร์ทั้งหมดข้างต้นมาจัดหมวดหมู่แยกแยะให้ง่ายต่อการเข้าใจครับ