วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

มาทำความรูัจักกับ Microsoft Azure Storage ตอนที่ 1

     สวัสดีครับทุกท่านกลับมาพบกันเช่นเคย  สำหรับบทความนี้จะเป็นเรื่องราวของ "Azure Storage" ครับ  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน Microsoft Azure ครับ  ผมขอเริ่มด้วยคำว่า "Storage" ก่อนแล้วกันนะครับ เมื่อเอ่ยหรือพูดถึงคำนี้ ส่วนใหญ่จะนึกถึงที่ๆ เก็บข้อมูลต่างๆ ขององค์กรหรือแม้กระทั่งของตัวเราเอง  และต้องถือว่า Storage มีบทบาทสำคัญของทุกๆ ระบบไอทีเลยก็ว่าได้ครับ  เช่นกันกับ Microsoft Azure ครับ เราไม่สามารถสร้าง Azure Virtual Machines, Azure Web Apps, และอื่นๆ ได้เลยถ้าปราศจากหรือไม่มี Storage ครับ  เพราะทุกฟีเจอร์หรือเซอร์วิสใน Microsoft Azure จะต้องมี Azure Storage เข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน 

โดยคอนเซปและการทำงานของ Azure Storage นั้นจะมีความแตกต่างจาก Storage ปรกติที่เราใช้กันครับ เช่น สำหรับ Azure Storage รองรับกับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ๆ  เช่น หลายๆ ร้อย Terabytes ได้ และสามารถเก็บข้อมูลที่ไหนก็ได้ครับ เป็นต้น  เอาล่ะครับ ผมขอเกริ่นคร่าวๆ สำหรับ Azure Storage ประมาณนี้ก่อนครับ จากนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Azure Storage ให้มากขึ้นกันครับ


ทำไมต้องใช้ Azure Storage?


มีเหตุผลหลักๆ ที่ต้องใช้ Azure Storage ดังนี้ครับ:

- Global Presence  สามารถเก็บข้อมูลใน Azure Storage ที่ไหนก็ได้ครับ เพราะ ณ ปัจจุบัน Microsoft Azure  มี Azure Data Centers มากถึง 42 Azure Regions กระจายอยู่ทั่วโลก ดังรูป





- Redundancy & Recovery
เกี่ยวเนื่องกับ Global Presence ซึ่งท่านใช้บริการสามารถเลือกเก็บข้อมูลใน Azure Storage จากที่ไหนก็ได้แล้วทาง Microsoft Azure ยังได้ทำการดูแลและรักษา Storage ให้พร้อมใช้งานนั่นคือเรื่องของ High Availability (HA) พร้อมกับมีการทำ Data Replication อีกด้วย เพื่อป้องกันในเรื่องของ Disaster Recovery

- Features 
ตัวของ Azure Storage เองมาพร้อมกับฟีเจอร์หลายๆ อย่าง เพื่อรองรับในเรื่องของ Resiliency, Durability, Performance และอื่นๆ ให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้ตามสถานการณ์หรือความต้องการ

- Pay As You Go 
ถ้ามองในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกเรื่องที่จะต้องนำมาวางแผนและพิจารณาครับ สำหรับ Azure Storage คิดค่าใช้จ่ายตามที่ใช้จริงครับ หรือใช้เท่าไรก็จ่ายเท่านั้นครับ



เรื่องต่อมาจะเป็นการสร้าง Azure Storage ใน Microsoft Azure จะมี  2 วิธีครับ

1. สร้างโดยใช้ ASM Model ผ่านทาง Azure Classic Portal
2. สร้างโดยใช้ ARM Model ผ่านทาง Azure Portal


ผมแนะนำให้เลือกวิธีที่ 2 ครับเนื่องจากเป็นวิธีใหม่และมีข้อดีหลายๆ อย่างครับ เช่นในเรื่องของการบริหารและจัดการที่มีความยืดหยุ่น หรือเรียกว่า "RBAC" เป็นต้นครับ  จากรูปด้านล่างเป็น หน้าตาของ Azure Portal ครับ





ก่อนที่จะเลือกใช้ Azure Storage มีสิ่งที่เราจะต้องทำการพิจารณาและทำความเข้าใจหลักๆ อยู่ 3 เรื่องครับ คือ:

- Durability (หรือ Replication)
- Performance (ใน Azure Storage มีให้เลือกระหว่าง Standard กับ Premium)
- Persistency


Durability (หรือ Replication)

สำหรับเรื่องแรกคือ Durability หรือ Replication, อย่างที่ผมได้เกริ่นหรืออธิบายไปในข้างต้นว่า Azure Storage นั้นมีการทำ Data Replication ให้เลือกใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ Microsoft Azure ว่าข้อมูลเดียวกันจะถูก Replicated ไปยังอีก Azure Data Center หนึ่ง หรือไปอีก Azure Regions หนึ่งครับ 

สำหรับเรื่องการทำ Data Replication หรือการทำ Azure Storage Replication จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ ให้เลือกใช้งาน ดังนี้ครับ:


1. Locally Redundant Storage (LRS)
LRS จะทำการ Replicates ข้อมูลของเรา 3 ชุด แล้วเก็บไว้ใน Azure Data Center ที่ข้อมูลเราถูกเก็บอยู่ครับ

2. Zone Redundant Storage (ZRS)
ZRS จะทำการ Replicates 3 ชุด ที่ Azure Data Center ที่ข้อมูลเราถูกเก็บอยู่ซึ่งก็คือ LRS บวกกับจะทำการ Replicates อีก 3 ชุดไปเก็บที่ Azure Data Center อื่นๆ ที่อยู่ภายใน Azure Regions เดียวกัน

3. Geo-Redundant Storage (GRS)
GRS จะทำการ Replicates ข้อมูล 3 ชุดไปเก็บใน Azure Regions เดียวกันและจะทำการ Replicates ข้อมูลอีก 3 ชุดไปเก็บใน Azure Regions อื่นๆ 

4. Read-Access Geo-Redundant Storage (RA-GRS)
RA-GRS จะทำงานแบบเดียวกับ GRS แต่ให้ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหรือ Read-Access ข้อมูลที่ถูก Replicated ไปเก็บไว้ที่ Azure Regions อื่นๆ ได้ด้วย


สำหรับเรื่องราวของ Azure Storage ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้ครับ 
https://docs.microsoft.com/en-us/azure/storage/common/storage-redundancy 




ส่วนเรื่องและรายละเอียดเกี่ยวกับราคาของ Azure Storage สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับผม
https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/details/storage/




โปรดติตตามตอนที่ 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น