วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

เครื่องมื่อช่วยในการประเมินและวางแผน Microsoft Assessment And Planning Toolkit (MAP) 8.0 ตอนที่ 1

    
สำหรับบทความตอนนี้ผมจะหยิบเอาเครื่องมือที่มีประโยชน์ตัวหนึ่งของทาง Microsoft ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยเราในการเก็บข้อมูล, วางแผน และทำการประเมินว่า  ทรัพยากรปัจจุบันที่มีอยู่ใน Data Center หรือในห้อง Servers ของเราไม่ว่าจะเป็นเครื่อง Desktops, Servers, Workloads (VMs) และอื่นๆ  ว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นจะนำเอาข้อมูลส่วนนี้ไปทำการประเมินเพื่อทำการ Deployment หรือ Migration ระบบตามที่ได้วางแผนไว้ เช่น การทำ Windows Server 2012 Deployment, การทำ Server Virtualization, Private Cloud และอื่นๆ  เครื่องที่ผมกำลังพูดถึงนี้คือ “Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP) “ เวอร์ชั่น 8.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด  ที่ทาง Microsoft ได้ทำการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องครับ  ผมขออนุญาติเรียกสั้น ๆ ว่า MAP นะครับ 
และจากประสบการณ์ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปทำการ Planning และ Designing ระบบต่างๆ  เช่น Windows 7 & Windows 8 Deployment, Server Virtualization และ Private Cloud ให้กับลูกค้า ขั้นตอนแรกซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องทำก่อนและเป็นอันดับแรก คือ การทำ Assessment ระบบปัจจุบันที่ลูกค้ามีอยู่ครับ  ว่ามีอะไรบ้างจากนั้นข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลตั้งต้นเพื่อที่จะนำเอามาใช้ในการวางแผนและออกแบบครับ    และผมขอย้ำนะครับว่าขั้นตอนในการทำ Assessment นี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและค่อนข้างใช้เวลามากพอสมควร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละองค์กรเองว่ามีความสลับซับซ้อนมากน้อยเพียงไร  เพราะว่าข้อมูลที่ได้จาก MAP นั้นมีประโยชน์มากครับ เพราะเราจะได้เห็นและทราบว่าระบบของลูกค้าหรือองค์กรนั้นมีอะไรบ้าง  อีกทั้งการใช้ MAP ในการทำ Assessment จะประหยัดเวลาและช่วยให้ IT Manager หรือผู้ดูแลระบบสามารถทำประเมินระบบของตัวเองได้อย่างง่ายดาย, สะดวกและรวดเร็ว ด้วยครับ  ไม่ต้องใช้คนมากรวมถึงเวลามากด้วยครับ  เพราะส่วนใหญ่ที่ผมเจอคือระบบของลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการทำ Inventory อย่างละเอียดเท่าที่ควร หรือบางที่อาจจะไม่มีเลยก็เป็นไปได้ครับ  แต่พอว่าวันหนึ่งต้องการที่จะทำการประเมินและทำ Inventory ระบบขึ้นมา เราก็จะต้องทำการหาเครื่องมือมาช่วยซึ่งแน่นอน เครื่องไม้เครื่องมือเหล่านั้นอาจจะมีค่าใช้จ่ายและต้องใช้เวลาในการเรียนรู้  บางองค์กรไม่มีงบประมาณก็จะต้องใช้กำลังคนในการเก็บข้อมูลหรือ Inventory ของระบบ  ซึ่งก็จะทำให้ต้องใช้กำลังคนและเวลามากอย่างที่ผมเกริ่นเอาไว้ก่อนหน้านี้ 
ดังนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการทำ Assessment นั้นจะต้องมีการวางแผนและเลือกเครื่องไม้เครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งานและประหยัดกำลังคนและเวลาด้วย อีกทั้งข้อมูลที่ได้มาสามารถนำเสนอเป็น Proposals และ Reports ได้อีกด้วย  ทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมาคือ ที่มาที่ไปของการนำเอา MAP เข้ามาช่วยเราในการทำเก็บข้อมูล, วางแผนและประเมิน ตลอดจนสามารถจัดทำเป็นรายงานได้ด้วยครับ  และที่สำคัญมากที่สุดคือ MAP เป็นเครื่องมือที่ทาง Microsoft สร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าของ Microsoft สามารถดาวน์โหลดและนำมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ  ทั้งสิ้น หรือสั้นและเข้าใจง่าย ๆ คือ  ฟรี นั่นเองครับผม  และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับ MAP กันเลยครับ
 
 
 
Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP) 8.0 คืออะไร ?
MAP เป็นเครื่องมือที่เรียกว่า  “Multi-Products Planning และ Assessment”  ซึ่งทำงานแบบ Agentless Inventory, Assessment และ Reporting Tool ครับ หมายความว่าเราไม่ต้องทำการติดตั้ง MAP Components ใดๆ เลยที่เครื่องที่เราต้องการเข้าไปทำการประเมินหรือทำ Inventory ครับ  เมื่อทำการติดตั้ง MAP แล้ว  MAP จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น Desktops, Servers และ VMs ให้โดยอัตโนมัติ  จากนั้นท่านผู้อ่านสามารถเอาข้อมูลนี้ไปช่วยในการวางแผนการทำ Deployment หรือ Migration ได้ต่อไปครับ  โดย MAP ยังมีความสามารถในการจัดทำ Assessment Reports และ Executive Proposals  เรียกได้ว่าเราไม่ต้องเสียเวลาเอาข้อมูลที่ได้จากการทำ Inventory ไปจัดหน้าตาให้ดูส่วยงามหรือทำเป็น Reports ครับ เพราะ MAP เค้าจัดการให้เสร็จสรรพครับผม  โดยเฉพาะเรื่องของการทำ Server Virtualization และ Private Cloud,  MAP จะเป็นเครื่องมือที่เหมาะมากสำหรับการรวบรวมข้อมูล จากนั้น MAP จะนำเอาข้อมูลที่ได้ไปทำ Virtualization Planning, Identifying Server Placements, รวมถึง ROI Analysis สำหรับการทำ Server Consolidation ด้วย Hyper-V  ด้วยครับผม  และใน MAP 8.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ทาง Microsoft ได้เพิ่มความสามารถให้ MAP อีกมากมาย ดังนี้:
1. ทำการเก็บข้อมูลและประเมิน สำหรับวางแผนการทำ Windows 8 และ Windows Server 2012 Deployment
2. ทำการประเมินระบบเพื่อการใช้งาน Office 2013
3. ทำการประเมินและวางแผนการ Migration ระบบของคุณไปทำงานใน Windows Azure Virtual Machines
4. ทำการประเมินและติดตามการใช้ Lync Enterprise และ Plus
5. ทำการประเมินสำหรับการใช้งาน Virtual Desktop Infrastructure (VDI) และ Session-Based Virtualization โดยใช้ RDS
6. ทำการประเมิน Linuxs และ VMware Servers เพื่อทำการ Migration
7. ทำการประเมินข้อมูลสำหรับ Cloud กับ SQL Server 2012
 
โปรดติดตาม MAP ตอนที่ 2 เร็วๆ นี้ครับผม.....
 

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำความรู้จัก Hyper-V Replica (HVR) ตอนที่ 3 (Special)

      มาดูกันต่อครับสำหรับเรื่องราวของ Hyper-V Replica 

การติดตั้ง Hyper-V Replica
Hyper-V Replica รองรับการทำงานทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็น Workgroup และ Domain ครับ ผมจะเริ่มขั้นตอนแรกคือ การติดตั้ง Replica Server ที่ DR Site หรือ Site สำรองครับ โดยผมขอใช้ตัวอย่างสภาพแวดล้อม ตามนี้ครับ
ผมมี 2 Hyper-V (Windows Server 2012) คือ HPV1 และ HPV2 ครับ โดยตัวของ HPV1 จะเป็น Hyper-V Server ที่อยู่ที่ Primary Site  ส่วน HPV2 จะเป็น Hyper-V Server ที่อยู่ที่ DR Site หรือ Site สำรองครับ และทั้งหมดนี้จะอยู่ใน Active Directory Domain เดียวกันครับ คือ Demo.net  สำหรับขั้นตอนแรกผมจะทำการติดตั้ง Hyper-V Replica ที่ HPV1 ก่อนครับ  การติดตั้งและกำหนดค่า Replica Server โดยไปที่ Hyper-V Console จากนั้นไปที่ Hyper-V Setting ดังรูป



จากนั้นให้ทำกำหนดค่าให้ Hyper-V Server เครื่องนี้เป็น Replica Server โดยให้ทำการคลิ๊กที่ Enable this computer as a Replica Server จากนั้นให้เลือก Authentication ว่าจะเป็น Kerberos หรือ Certificate-Based Authentication ในที่นี้ผมเลือกเป็น Kerberos
 สำหรับในส่วนของ Authorization and Storage จะเป็นการกำหนดว่าจะอนุญาตให้ Hyper-V Servers ตัวใดหรือกำหนดเป็นลิสต์ของ Hyper-V Servers ทำการ Replicate Virtual Machines  ในที่นี้ผมเลือก Allow replication from the specified servers:  จากนั้นให้ใส่ชื่อของ HPV2.Demo.net ครับ
จากนั้นในฝั่งของ Site สำรองให้ท่านผู้อ่านทำการกำหนดค่าต่างๆ  เหมือนกับที่ทำที่ Primary Site  แต่ให้เปลี่ยนในส่วนของ Allow replication from the specified servers:  เป็น HPV1.Demo.net  
จากนั้นให้ไปที่เครื่อง HPV1 แล้วเรียก Windows Firewall with Advanced Security ขึ้นมาจากนั้นไป คลิ๊กขวาที่ Inbound Rules แล้วเลือก New Rule ดังรูป

เลือก Predefined แล้วเลือก Hyper-V Replica HTTP ดังรูปครับ
จากนั้นให้คลิ๊ก Next  ในส่วนของ Predefined Rules คลิ๊กเลือก Hyper-V HTTP Listener (TCP-In) ดังรูป ด้านล่างครับ
จากนั้นให้คลิ๊ก Next  ในส่วนของ Action ให้เลือก Allow the connection แล้วคลิ๊ก Finish  ดังรูป
จากนั้นให้ท่านผู้อ่านทำการสร้าง Rule ดังกล่าวที่เครื่อง HPV2 อีกครั้งครับผม  จากนั้นผมจะเริ่มขั้นตอนต่อไปคือ การเริ่มทำการ Replication ครับ  โดยสามารถทำการกำหนด Virtual Machines ที่ต้องการทำการ Replication โดยใช้ Hyper-V Manager Console แล้วเลือก Virtual Machine ที่ต้องการจากนั้นให้คลิก๊ขวาแล้วเลือก Enable Replication ดังรูปครับ
จากนั้น Wizard ในการทำ Replication ก็จะปรากฏขึ้นดังรูปด้านล่าง  ให้ใส่ชื่อของ Replica Server แล้วคลิ๊ก Next ครับ
 
ในส่วนของ Specify Connection Parameter ให้คลิ๊ก Next ครับ
 
 
ในส่วนของ Choose Replication VHDs ให้คลิ๊ก Next ครับ


จากนั้นในส่วนของ Configure Recovery History ให้คลิ๊ก Next ต่อไปได้เลยครับ



ในส่วนของ Configure Initial Replication จะเป็นการกำหนดว่าเราจะทำ Initial Replication ด้วยรูปแบบใด (*ดูรายละเอียดได้จากตอนต้นของบทความครับ)  และกำหนดช่วงเวลาสำหรับการทำ Replication



จากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิ๊ก Next ต่อไป ก็จะเข้าสู่ส่วนของ Summary  จากนั้นก็จะเป็นการเริ่มการทำ Replication ตามค่าต่างๆ  ที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมดก่อนหน้านี้ครับ ดังรูป

 
ทั้งหมดนี้คือคอนเซปและการติดตั้ง Windows Server 2012 Hyper-V Replica  ครับ  และผมหวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านที่ใช้ Hyper-V อยู่นะครับ และกำลังหาเครื่องมือในการทำ Replication เพื่อรองรับการทำ Disaster Recovery Plan อันที่จริงเรื่องราวของ Hyper-V Replica ยังมีอยู่อีกเยอะครับ  หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ครับผม  http://technet.microsoft.com/en-us/library/jj134172.aspx   และหากมีข้อสงสัยใด ๆ สามารถเมล์มาสอบถามหรือโพลส์ที่ FB ผมก็ได้ครับ....